วันพุธ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
สนค.ชี้จับตา6ปัจจัยเสี่ยง  กระทบดัชนีราคาส่งออก-นำเข้า

สนค.ชี้จับตา6ปัจจัยเสี่ยง กระทบดัชนีราคาส่งออก-นำเข้า

วันศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : สนค. ราคาส่งออก-นำเข้า
  •  

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ดัชนีราคาส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เท่ากับ 110.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลง 0.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) เป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางกลุ่มที่ปรับลดลงจากอุปทานส่วนเกิน และการแข่งขันทางด้านราคา ประกอบกับมาตรการกีดกันทางการค้าที่อาจรุนแรงขึ้น จากการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการค้าของสหรัฐฯ รวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างทางการผลิตของไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งผลให้ราคาส่งออกของไทยขยายตัวได้อย่างจำกัด

อย่างไรก็ตาม หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกยังคงปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้น 1.6% ได้แก่ ทองคำ ตามความ
ต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากความกังวลด้านนโยบายทางภาษีของสหรัฐฯ รวมถึงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค สำหรับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งตลาดยังมีความต้องการสูง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้น 1.0% ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ตามความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงแบบสดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตามความต้องการของตลาดโลกที่มีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง กลับมาหดตัว 5.1% โดยเฉพาะน้ำมันสำเร็จรูป ตามความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกและอุปสงค์น้ำมันชะลอตัว และหมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลง 2.3% ได้แก่ ข้าว ตามอุปทานข้าวโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการข้าวไทยในตลาดโลกชะลอลงและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามความต้องการที่ลดลง เนื่องจากเผชิญกับคุณภาพของผลผลิตที่ลดลง รวมถึงการแข่งขันจากคู่แข่ง ซึ่งเสนอราคาที่ถูกกว่าไทย


ด้านดัชนีราคานำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เท่ากับ 114.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.0% (YoY) ตามความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในการผลิต การลงทุน และการบริโภคของประเทศ โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุปโภค-บริโภค สูงขึ้น 8.1% ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ตามความต้องการเพื่อใช้ในการอุปโภ-คบริโภคของประเทศ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปสูงขึ้น 4.7% ได้แก่ ทองคำ ได้รับปัจจัยหนุนจากเงินดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า ทำให้ความน่าสนใจในการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า และปุ๋ย ตามความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และพืชผลทางการเกษตร หมวดสินค้าทุน สูงขึ้น 4.6% ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ตามความต้องการสินค้าเพื่อใช้ในการลงทุนของภาคการผลิต และภาคบริการเพิ่มขึ้นและหมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้น 0.3% โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากบางภูมิภาคยังเผชิญกับสภาพอากาศหนาวเย็น ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงเล็กน้อย ที่ 0.1% จากรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกตามความต้องการที่ชะลอลงเนื่องจากสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนสูง รวมถึงประชาชนมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จากเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวช้า

“ดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้าของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการสินค้าส่งออกในหลายกลุ่มสินค้าที่ยังขยายตัวดี รวมถึงการนำเข้าสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกีดกันทางการค้า และความผันผวนของค่าเงินบาท อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางด้านราคาของไทยในระยะข้างหน้าโดยมีรายละเอียด ดังนี้

นายพูนพงษ์กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า เดือนมีนาคม 2568 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน
แม้จะเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1.ฐานราคาปี 2567 ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปี 2568 2.สินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรบางประเภท ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง 3.สินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ยังขยายตัวได้ดี 4.ราคาพลังงานและวัตถุดิบ ยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น และ 5.การเร่งนำเข้าสินค้าก่อนการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ 1.การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าอาจช้ากว่าที่คาด 2.ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ยังมีแนวโน้มยืดเยื้อในหลายภูมิภาค 3.ความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าและภาษีของสหรัฐฯ 4.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงน้อยกว่าปี 2567 อาจส่งผลให้ผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจนนำมาสู่ภาวะอุปทานส่วนเกิน 5.การแข่งขันทางด้านราคามีแนวโน้มสูงขึ้น และ 6.ความผันผวนของค่าเงินบาท

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ยังมีความหวังแข่งขันในตลาดได้ อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ยังมีความหวังแข่งขันในตลาดได้
  • ดัชนีราคาผู้ผลิต เม.ย.68 หดตัวตามการแข่งขันที่สูงขึ้น-ภาวะการค้าโลกที่ไม่แน่นอน ดัชนีราคาผู้ผลิต เม.ย.68 หดตัวตามการแข่งขันที่สูงขึ้น-ภาวะการค้าโลกที่ไม่แน่นอน
  • สนค. เปิดเวทีระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาฯ หนุนการค้าปศุสัตว์ไทยยั่งยืน สนค. เปิดเวทีระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาฯ หนุนการค้าปศุสัตว์ไทยยั่งยืน
  • สินค้าเกษตรไทย ท่ามกลางสงครามการค้าสหรัฐ-จีน สินค้าเกษตรไทย ท่ามกลางสงครามการค้าสหรัฐ-จีน
  • ส่องผลกระทบสินค้าเกษตรไทย หลังสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ส่องผลกระทบสินค้าเกษตรไทย หลังสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน
  • สนค.ชี้อาหารทางการแพทย์-อาหารเฉพาะบุคคลโอกาสผู้ประกอบการไทย สนค.ชี้อาหารทางการแพทย์-อาหารเฉพาะบุคคลโอกาสผู้ประกอบการไทย
  •  

Breaking News

สยองเมืองน้ำหอม! เจ้าของร้านพิซซ่าพลั้งมือทำคนเสียชีวิต ชำแหละร่างต้มในหม้อเพื่ออำพราง

ผลิต'อาหารปลา' สุดประหยัด...ลดต้นทุน!!!

'ธรรมนัส'ลงพื้นที่ อ.ต.ก.พบปะชาวสวน-เกษตรกร ในงาน'มหานครผลไม้ไทยภาคตะวันออก'

เปรี้ยวได้...แต่อย่าผิดที่ 'ทนายรณณรงค์'วิเคราะห์คดี'เสก โลโซ'ทำไม'ไม่รอลงอาญา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved