วันพฤหัสบดี ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
กรมพัฒน์ เผย4 เดือนแรกตั้งธุรกิจใหม่มูลค่าทะลุแสนล้านบาท

กรมพัฒน์ เผย4 เดือนแรกตั้งธุรกิจใหม่มูลค่าทะลุแสนล้านบาท

วันอังคาร ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 13.39 น.
Tag : ผู้ประกอบการ ธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จดทะเบียน
  •  

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้วิเคราะห์สถานการณ์การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่เดือนเมษายน 2568 พบว่า มีธุรกิจจัดตั้งใหม่ 6,325 ราย ลดลง 205 ราย (-3.14%) เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567 (6,530 ราย) และทุนจดทะเบียนรวม 32,141 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,870 ล้านบาท (17.86%) เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567 (27,272 ล้านบาท) ด้านธุรกิจที่มีการจัดตั้งใหม่สูงสุด3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 502 ราย ทุนจดทะเบียน 988 ล้านบาท 2) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 439 ราย ทุนจดทะเบียน 1,569 ล้านบาท 3) ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 264 ราย ทุนจดทะเบียน 469 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.94%, 6.94% และ 4.17% ของจำนวนการจัดตั้งธุรกิจในเดือนเมษายน 2568 ตามลำดับ


ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2568 มีธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนจัดตั้งเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 2 ราย มูลค่าทุน   จดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 16,520 ล้านบาท ได้แก่ 1) บมจ.กัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าทุนจดทะเบียน 14,940 ล้านบาท ประกอบกิจการเข้าเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลใดๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อประโยชน์ของบริษัท และ 2) บจ.อิเดมิตสึ อพอลโล (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าทุนจดทะเบียน 1,580 ล้านบาท ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ผลิตภัณฑ์จารบี และสินค้าอื่นๆ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้งานคล้ายคลึงกัน

นางอรมน กล่าวว่า การจัดตั้งใหม่ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม-เมษายน 2568) มีจำนวน 30,148 ราย ลดลง 1,385 ราย (-4.39%) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 (31,533 ราย) ทุนจดทะเบียน 112,062 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,849 ล้านบาท (17.70 %) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 (95,212 ล้านบาท) ด้านธุรกิจที่มีการจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 2,394 ราย ทุนจดทะเบียน 5,102 ล้านบาท  2) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 2,047 ราย ทุนจดทะเบียน 7,834 ล้านบาท และ 3) ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 1,237 ราย     ทุนจดทะเบียน 2,428 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.94%, 6.79% และ 4.10% จากจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใน 4 เดือนแรกของปี 2568 ตามลำดับ ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 68 มีธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนจัดตั้งเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวนรวมทั้งสิ้น 7 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน รวมทั้งสิ้น 37,499 ล้านบาท

ขณะที่การจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการเดือนเมษายน 2568 มีจำนวน 814 ราย เพิ่มขึ้น 4 ราย (0.49%) เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567 (810 ราย) และมีทุนจดทะเบียนเลิก 4,131 ล้านบาท ลดลง 965 ล้านบาท (-18.94%) เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567 (5,097 ล้านบาท) สำหรับประเภทธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 65 ราย ทุน 110 ล้านบาท 2) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 47 ราย ทุนจดทะเบียนเลิก 416 ล้านบาท และ
3) ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 30 ราย ทุนจดทะเบียนเลิก 50 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.99%, 5.77% และ 3.69%
จากจำนวนการเลิกประกอบธุรกิจในเดือนเมษายน 2568 ตามลำดับ

นางอรมน กล่าวว่า การจดทะเบียนเลิก 4 เดือนแรกของปี 2568 (มกราคม-เมษายน 2568) มีจำนวน 3,921 ราย เพิ่มขึ้น 302 ราย (8.34%) เมื่อเทียบกับ 4 เดือนแรกของปี 2567 (3,619 ราย) ทุนจดทะเบียนเลิกสะสมอยู่ที่ 15,990 ล้านบาท ลดลง 1,050 ล้านบาท (-6.16%) เมื่อเทียบกับ 4 เดือนแรกของปี 2567 (17,040 ล้านบาท) โดยธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 372 ราย ทุนจดทะเบียนเลิก 652 ล้านบาท 2) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 184 ราย ทุนจดทะเบียนเลิก 912 ล้านบาท และ 3) ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 159 ราย ทุนจดทะเบียนเลิก 391 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 9.49%, 4.69% และ 4.06% จากจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใน 4 เดือนแรกของปี 2567 ตามลำดับ ทั้งนี้ ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 มีนิติบุคคลเลิกประกอบกิจการที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 2 ราย รวมทุนจดทะเบียนเลิกทั้งสิ้น 4,128 ล้านบาท

ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2568) มีธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคลรวมทั้งสิ้น 1,994,979 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 30.61 ล้านล้านบาท โดยมีนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ 947,791 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 22.34 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็นบริษัทจำกัด 748,685 ราย หรือ 78.99% ของจำนวนนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมดทุนจดทะเบียนรวม 16.53 ล้านล้านบาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดและห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 197,616 ราย หรือ 20.85% ของจำนวนนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมด ทุนจดทะเบียนรวม 0.43 ล้านล้านบาท และบริษัทมหาชนจำกัด 1,490 ราย หรือ 0.16% ของจำนวนนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่ทั้งหมด ทุนจดทะเบียนรวม 5.38 ล้านล้านบาท สำหรับนิติบุคคลในกลุ่มธุรกิจบริการเป็นประเภทธุรกิจที่มีสัดส่วนการจดทะเบียนมากที่สุดมีจำนวน 512,359 ราย ทุนจดทะเบียน 12.85 ล้านล้านบาท รองลงมาคือ กลุ่มธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีก 310,856 ราย ทุน 2.57 ล้านล้านบาท และธุรกิจผลิต 124,576 ราย ทุน 6.92 ล้านล้านบาท คิดเป็น 54.06%, 32.80% และ 13.14% ของจำนวนนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่ตามลำดับ

ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์การจัดตั้งธุรกิจ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 (ม.ค.-เม.ย.) ที่ลดลง 4.39% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567 จะพบว่าธุรกิจที่มีการจัดตั้งลดลง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต ธุรกิจขายปลีกสินค้าในร้านทั่วไป และธุรกิจตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น จากความผันผวน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาหนี้สินครัวเรือนของไทย ความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ธุรกิจบางประเภทยังคงมีการจัดตั้งเพิ่มขึ้นในช่วง 4 เดือนของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เช่น ธุรกิจขายส่งสินค้าทั่วไป ธุรกิจขายส่งผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจโรงพยาบาล และธุรกิจขายยานยนต์เก่า เป็นต้น สืบเนื่องจากกิจกรรมและมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล เทรนด์เรื่องสุขภาพ และไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่

ในส่วนของการจดทะเบียนเลิกธุรกิจในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 (มค.-เม.ย.) ที่เพิ่มขึ้น 8.34% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากธุรกิจบางประเภทมีการจดเลิกเพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านบริหารจัดการ ธุรกิจขายปลีกสินค้าในร้านค้าทั่วไป และธุรกิจตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องปรับตัวให้ไวตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และกลไกการแข่งขัน

นางอรมณ กล่าวว่า ขณะนี้ได้เข้าสู่ช่วงท้ายของการนำส่งงบการเงินรอบปีบัญชี 2567 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 4 มิถุนายน 2568 นี้ โดยปี 2568 มีนิติบุคคลที่ต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่ประมาณ 867,911 ราย ซึ่ง ข้อมูล     ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2568 มีนิติบุคคลที่นำส่งงบการเงินเข้าสู่ระบบแล้วประมาณ 332,448 ราย หรือคิดเป็น 38% ของผู้มีหน้าที่นำส่งทั้งหมด (ส่งผ่านระบบ e-Filing 331,753 ราย คิดเป็น 99.8% และส่งในรูปแบบกระดาษ 695 ราย คิดเป็น 0.2%) ยังขาดอยู่อีก 535,463 ราย คิดเป็น 62% ที่ยังไม่ได้นำส่ง

“ขอเตือนให้นิติบุคคลที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 และยังไม่ได้นำส่งงบการเงิน ขอให้เร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ต้องรอจนถึงช่วงใกล้ปิดรับงบการเงินเพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการนำส่งได้ และหากส่งล่าช้าหรือไม่นำส่งจะมีโทษปรับตามกฎหมายซึ่งจะทำให้ธุรกิจเสียต้นทุนทางธุรกิจโดยไม่จำเป็นและยังส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจ รวมไปถึงถ้าขาดส่งงการเงินต่อเนื่องเกิน 3 รอบปีบัญชีจะถูกถอนทะเบียนเป็นนิติบุคคลร้างและขีดชื่อออกจากฐานข้อมูลนิติบุคคลจะทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อีกต่อไปด้วย ทั้งนี้ ขอให้นิติบุคคลเลือกใช้ช่องทางนำส่งงบการเงินผ่านระบบ DBD e-Filing ที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเตรียมเอกสาร ลดการใช้กระดาษของนิติบุคคล และสามารถใช้ประโยชน์จากงบการเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ขณะเดียวกันภาครัฐยังนำข้อมูลที่เป็นปัจจุบันไปประเมินทิศทางและวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจเพื่อส่งเสริม สนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศได้ทันทีอีกด้วย” นางอรมน กล่าว

-031

 

 

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กรมพัฒน์ นำทัพผู้ประกอบการสมุนไพรร่วมงาน THAIFEX 2025 กรมพัฒน์ นำทัพผู้ประกอบการสมุนไพรร่วมงาน THAIFEX 2025
  • หมุนตามทุน : ญี่ปุ่นยังครองแชมป์ลงทุนในไทย ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติยังโตไม่หยุด หมุนตามทุน : ญี่ปุ่นยังครองแชมป์ลงทุนในไทย ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติยังโตไม่หยุด
  • ธุรกิจเจอหลายปัจจัยลบ  ตั้งบริษัทวูบสวนทวงปิดกิจการพุ่ง ธุรกิจเจอหลายปัจจัยลบ ตั้งบริษัทวูบสวนทวงปิดกิจการพุ่ง
  • 4 เดือนแรกญี่ปุ่นแห่ลงทุนไทยมากสุด 4 เดือนแรกญี่ปุ่นแห่ลงทุนไทยมากสุด
  • กรมพัฒน์ ผนึก LINE ติดอาวุธผู้ประกอบการยุคดิจิทัล กรมพัฒน์ ผนึก LINE ติดอาวุธผู้ประกอบการยุคดิจิทัล
  • สสว. จัดกิจกรรม Hackathon หนุนผู้ประกอบการสร้างโมเดลธุรกิจบริการใหม่ สสว. จัดกิจกรรม Hackathon หนุนผู้ประกอบการสร้างโมเดลธุรกิจบริการใหม่
  •  

Breaking News

‘พิเชษฐ์‘ไม่ไหวทนฟัง! ออกโรงโต้-ให้ตรวจสอบ‘งบฯสภาฯ’ 8 พันล้าน ท้าตรวจกระทรวง-หน่วยงานอื่นด้วย

'ไอซ์'สับเละงบฯ 69 ชี้ทุจริตภาครัฐทำสูญเงิน 5 แสนล้านต่อปี ซัดโยกงบไปลง'ผู้รับเหมา'หมด

'ฮุนเซน'ลั่นไม่อยากเห็น การปะทะไทย-เขมร! แต่หนุนรัฐบาลส่งทหาร-อาวุธหนัก ป้องกันชายแดน

รวบแล้ว! หนุ่มคลั่งยา-พนันออนไลน์ วิ่งราวทรัพย์สาวพม่า กราบเท้าแม่สำนึกผิด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved