วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
สคก. ปลดล็อกศักยภาพกฎหมายไทย ใช้ AI-คลาวด์ เร่งขับเคลื่อนสู่สมาชิก OECD อย่างยั่งยืน

สคก. ปลดล็อกศักยภาพกฎหมายไทย ใช้ AI-คลาวด์ เร่งขับเคลื่อนสู่สมาชิก OECD อย่างยั่งยืน

วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 10.56 น.
Tag : กฏหมาย ไมโครซอฟท์ สคก AI เปิดตัวระบบ TH2OECD
  •  

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ในฐานะหน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลไทย เดินหน้าขับเคลื่อนการเข้าถึงข้อมูลกฎหมายด้วยเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยจับมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อยกระดับระบบกฎหมายของประเทศ และก้าวเข้าสู่การเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) อย่างมั่นคง พร้อมสะท้อนว่า “การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล” ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของ “ผู้คน”

ภายในอาคารอันสง่างามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าสำคัญของภูมิภาคในอดีต กำลังมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางดิจิทัลเกิดขึ้นในวันนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมีหน้าที่ดูแลโครงสร้างกฎหมายของประเทศมากว่าศตวรรษ กำลังก้าวสู่บทบาทใหม่ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ที่จะไม่เพียงยกระดับการยกร่าง ปรับปรุง และเข้าถึงกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับประเทศไทยบนเวทีโลก


“การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่คือเรื่องของคน และการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น และสนับสนุนความก้าวหน้าของประเทศไทย” นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าว

ด้วยความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ สคก. ได้นำศักยภาพของคลาวด์และ AI ในใช้ในการบริหารจัดการเอกสารกฎหมายจำนวนมหาศาล ลดความซับซ้อนของการเปรียบเทียบกฎหมาย และเร่งผลักดันเป้าหมายของไทยในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OECD ให้เป็นรูปธรรม

ความท้าทายของระบบกฎหมายไทยในยุคดิจิทัล

ระบบกฎหมายไทยในปัจจุบันเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก จากจำนวนกฎหมายที่มีอยู่มากกว่า 70,000 ฉบับ ซึ่งรวมถึงพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกา ประกาศ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ทำให้เกิดความซับซ้อนทั้งในเชิงโครงสร้างและเนื้อหา

“เอกสารทางกฎหมายเหล่านี้มีจำนวนมากและมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างยิ่ง” นายปกรณ์ อธิบาย “กฎหมายแต่ละฉบับอาจมีผลต่อหรือถูกจำกัดโดยกฎหมายอื่น ๆ อีก และทุกฉบับต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ รวมถึงมาตรฐานสากล การดูแลให้ทุกอย่างเชื่อมโยงและสอดคล้องกันจึงเป็นภารกิจที่สำคัญมาก”

ในอดีต บุคลากรของสคก. ต้องอาศัยเอกสารฉบับพิมพ์และองค์ความรู้ภายในองค์กรเป็นหลัก แม้จะมีการพัฒนาฐานข้อมูลกฎหมายมาตั้งแต่พ.ศ. 2537 แต่ยังคงมีข้อจำกัดด้านการสืบค้น การจัดโครงสร้าง และการเข้าถึงข้อมูล

เปิดตัวระบบ TH2OECD พลิกโฉมการเปรียบเทียบกฎหมายด้วย AI

หัวใจของการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้คือ “TH2OECD” ระบบ AI เพื่อการเปรียบเทียบกฎหมาย ที่สคก.พัฒนาร่วมกับ STelligence พันธมิตรของไมโครซอฟท์ ระบบ AI นี้สร้างบนแพลตฟอร์ม Microsoft Azure OpenAI ซึ่งระบบนี้สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายไทยกว่า 70,000 ฉบับ กับข้อกำหนดของ OECD กว่า 270 ฉบับ ได้แบบเรียลไทม์ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

“ทึ่ผ่านมาภาษาเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการทำให้กฎหมายไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล” นายปกรณ์ กล่าว “แต่วันนี้ ด้วยเครื่องมือแปลภาษาและเปรียบเทียบที่ขับเคลื่อนด้วย AI เราสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นได้”

ระบบ AI ช่วยแปลกฎหมายไทยเป็นภาษาอังกฤษ และแปลข้อกำหนดของ OECD เป็นภาษาไทยโดยอัตโนมัติ จากนั้นใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) เพื่อเปรียบเทียบและไฮไลต์ความแตกต่าง ทำให้เจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายสามารถประเมินความสอดคล้อง และแนะนำแนวทางปรับปรุงได้อย่างแม่นยำ

ระบบทั้งหมดทำงานบน Microsoft Azure ซึ่งทำให้สคก. สามารถเปลี่ยนจากการเก็บข้อมูลกฎหมายในรูปแบบ PDF ที่ไม่สามารถสืบค้นได้ ไปสู่การจัดเก็บในรูปแบบที่เป็นโครงสร้าง พร้อมค้นหาได้ทันที นอกจากนี้ ยังใช้ Microsoft 365 และ Copilot เพื่อให้ทีมงานสามารถทำงานร่วมกัน อัปเดตเอกสาร และวิเคราะห์เชิงนโยบายได้จากทุกที่ทั่วประเทศ

นายไมค์ เย รองประธานภูมิภาคฝ่ายกิจการองค์กรภายนอกและกฎหมาย กล่าวว่า “เราภูมิใจที่ได้สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการนำ AI มาใช้เพื่อปรับกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD ภารกิจในการเปรียบเทียบกฎหมายไทยกว่า 70,000 ฉบับกับเครื่องมือทางกฎหมายของ OECD กว่า 276 รายการภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายประเทศต้องใช้เวลาหลายปีในการดำเนินการ ขณะที่สคก. ได้แสดงให้เห็นถึงความกล้าและความเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน”

ก้าวสู่การเป็นสมาชิก OECD อย่างยั่งยืน

การปรับปรุงระบบกฎหมายของไทยไม่ใช่เพียงการปฏิรูประดับชาติ แต่ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็นสมาชิก OECD ซึ่งจะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือระดับโลก

“การเป็นสมาชิก OECD ไม่ใช่เพียงการได้เครื่องหมายรับรอง แต่เป็นคำมั่นสัญญาว่าเราจะยึดมั่นในมาตรฐานสากล ความโปร่งใส และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” นายปกรณ์ กล่าวเสริม “ระบบ TH2OECD กำลังช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายนี้ได้เร็วขึ้น ด้วยการปรับโครงสร้างกฎหมายให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติระดับโลก”

ในอนาคต สคก. มีแผนขยายการใช้งานระบบนี้ไปยังหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ รวมถึงเชื่อมต่อฐานข้อมูลจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ พร้อมพัฒนา “ศูนย์รวมข้อมูลกฎหมายส่วนกลาง” ที่ให้ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยมี AI คอยสนับสนุน

สร้างรากฐานแห่งความยั่งยืนผ่านเทคโนโลยี

เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความโปร่งใส ครอบคลุม และทันสมัย ผู้นำในภาครัฐทราบดีว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นผ่านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อความยุติธรรมและระบบกฎหมาย ตลอดจนการร่วมมือกับพันธมิตรที่เชื่อถือได้ โดยสคก. ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเทคโนโลยี AI และคลาวด์สามารถรับใช้ประโยชน์สาธารณะได้อย่างแท้จริง

“เราไม่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงเพียงเพราะต้องเปลี่ยน” นายปกรณ์ กล่าวปิดท้าย “แต่เราเชื่อในการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยส่งเสริมพลังของผู้คน ให้ทุกกฎหมายไม่ใช่แค่มีอยู่ในเล่ม แต่สามารถเข้าถึงและปกป้องทุกคนได้จริง”

- 030 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ทรู’ย้ำจุดยืน AI ต้องถูกใช้อย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิมนุษยชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ‘ทรู’ย้ำจุดยืน AI ต้องถูกใช้อย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิมนุษยชน โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • หัวเว่ยจับมือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเปิดตัวโซลูชัน IDS หัวเว่ยจับมือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเปิดตัวโซลูชัน IDS
  • Kyndryl เปิด AI Innovation Lab ในสิงคโปร์ Kyndryl เปิด AI Innovation Lab ในสิงคโปร์
  • LTS รับหุ้นเพิ่มทุน 32 ล้านหุ้น เข้าซื้อขาย 25 มิ.ย.นี้ LTS รับหุ้นเพิ่มทุน 32 ล้านหุ้น เข้าซื้อขาย 25 มิ.ย.นี้
  • ซินเน็คฯ เปิดตัว Nintendo Switch 2 ซินเน็คฯ เปิดตัว Nintendo Switch 2
  • ซีเมนส์ ร่วมมือ เอ็นวิเดีย ดึง AI ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ซีเมนส์ ร่วมมือ เอ็นวิเดีย ดึง AI ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
  •  

Breaking News

สภาสูงขยับ! ถกดันโครงการถนน 5.2 กม. บนเกาะกูด หนุนกำลังพล-ยุทโธปกรณ์ ป้องอธิปไตยชายแดนไทย-กัมพูชา

ไทยเตรียมเข้าร่วมประชุม‘รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน’ ครั้งที่ 58

ผ่าตัดปอด! เหตุ'โชต้า'เปลี่ยนแผนกลับแอนฟิลด์ก่อนเสียชีวิต

'เจิมศักดิ์'ขุดคลิปประจาน'ทักษิณ' ตีแสกหน้า'ค่านิยมจอมปลอม'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved