วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน
รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

จักรพงษ์ เมษพันธุ์
วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
เงินเดือนเอาไว้ใช้หนี้ (โอทีเอาไว้ ... !!)

ดูทั้งหมด

  •  

ชื่อเรื่องวันนี้อาจฟังดูแล้วโหดไปสักนิด แต่มันเป็นชีวิตจริงของคนทำงาน โดยเฉพาะคนทำงานโรงงาน ที่มี “โครงสร้างรายได้” แบบผสมคือ มีส่วนที่เป็นรายได้หลักก้อนหนึ่ง อาทิ เงินเดือน และส่วนที่เหลือเป็นส่วนเพิ่มจากความขยันหรือผลงาน อาทิ เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา (OT) คอมมิชชั่น ฯลฯ

ที่จริงปัญหานี้ผมพบเห็นในกลุ่มผู้ที่เข้ามาขอคำปรึกษาหลายปีแล้ว ตัวอย่างที่เคยถูกเชิญไปแก้ปัญหาให้ คือ บริษัทชั้นนำของประเทศแห่งหนึ่งที่พนักงานพากันประท้วงในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (2551) ตอนนั้นคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงอย่างมาก ทำให้บริษัทลดโอทีพนักงานลง ซึ่งก็น่าจะเข้าใจได้ เพราะคำสั่งซื้อลด เวลาในการผลิตก็ย่อมต้องลดตามไปด้วย


แต่เอาเข้าจริงพนักงานไม่เข้าใจ เพราะปากท้องรายเดือนของพวกเขาผูกสูตรกับโอทีไว้แล้ว ถ้าไม่มีโอที ก็ไม่มีกินแน่ๆ ด้วยเหตุเงินเดือนที่มีเจ้าหนี้จับจองไว้ทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนี้สวัสดิการบริษัทและหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ที่หักตรงจากบัญชีทันทีในวันที่เงินเดือนออก ไหนจะยังมีหนี้อื่นๆ อีก ฉะนั้นการจะมีเงินเหลือกินอีก 30 วัน จึงต้องพึ่งพาเงินโอทีเพียงอย่างเดียว

และนั่นคือที่มาของสโลแกน “เงินเดือนเอาไว้ใช้หนี้ โอทีเอาไว้แดก!”

อีกกลุ่มหนึ่งที่เจอปัญหานี้บ่อยครั้งไม่แพ้กัน ก็คือ กลุ่มพนักงานขายที่มีรายได้แบบผสมเช่นกัน คือ เงินเดือนนิดหน่อย (บางที่นี่นิดเดียวจริงๆ นะ)บวกด้วยคอมมิชชั่นจากการขาย ซึ่งถ้าขายดีขายได้มีคอมมิชชั่นทุกเดือน ชีวิตก็ยังพอไหว

ในช่วง 2 ปีกว่าที่โควิดมาเยือน อย่าว่าแต่ยอดขายไม่เข้าเป้าเลย เพราะร้านแทบไม่เปิดให้ขายของเสียด้วยซ้ำ เดือดร้อนกันหนักมาก เพราะถ้านับกันแต่เงินเดือน แน่นอนว่าย่อมไม่พอกิน

เรื่องรายได้มากหรือน้อย ผมเองคงไปพูดถึงอะไรไม่ได้มาก แต่ที่อยากจะพูดถึงคือ ในช่วงเวลาปกติที่รายได้บวกโอทีหรือคอมมิชชั่นเยอะๆ หลายคนก็ใช้ชีวิตกันล้นไปหน่อย อู้ฟู่หรูหรากันเลยทีเดียว ไม่หักเก็บหักออมไว้บ้าง แถมยังสร้างรายจ่ายคงที่ (Fixed Expenses) ไว้สูงมาก สูงจนเกินเพดานรายได้หลัก และต้องรักษาสถานะการเงินไว้ด้วย “รายได้ส่วนเพิ่ม”

ตัวอย่างเช่น เงินเดือน 30,000 บาท โอทีเฉลี่ย 15,000 บาท (มากกว่านี้ก็มีนะ) แต่สร้างรายจ่ายคงที่ อาทิ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถผ่อนบัตร และอื่นๆ ไว้เต็มเหนี่ยวร่วมๆ 30,000 บาท ในช่วงเวลาที่อะไรๆ ยังดี ก็ยังกินสบาย เพราะมีโอที 15,000 บาท เอาไว้หมุนเวียนใช้ทั้งเดือน

แต่พอเหตุไม่ปกติผ่านเข้ามา เช่น ยอดส่งออกตก ยอดขายร่วงโควิดมา เศรษฐกิจโดนพิษโดนภัย ฯลฯ ยอดโอที 15,000 บาท หายวับกลายเป็นศูนย์ก็เลยเดือดร้อน (ยังดีที่ยังไม่ปิดแผนกเอาคนออกด้วย)

ซึ่งวิธีจัดการกับความเดือดร้อนนี้ก็แตกต่างกันไป บางคนจัดการที่ตัวเอง โดยการหมุนเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ขอสินเชื่อสหกรณ์เพิ่ม เปิดวงแชร์กับคนใกล้ชิด ในขณะที่บางคนต้องอาศัยคนอื่น เช่น การเข้าไปคุยกับฝ่ายบุคคลหรือทางบริษัท เพื่อขอให้ช่วยเปิดโอทีบ้าง จะได้มีเงินกินใช้เอาตัวรอดได้

ที่หยิบเรื่องนี้มาเล่า ไม่ได้เพื่อต้องการซ้ำเติม แต่อยากชวนคนที่มีโครงสร้างรายได้แบบผสมลองฉุกคิดถึงเรื่องการเงินของตัวเองอย่างจริงจังกันได้แล้ว เพราะถ้าขืนปล่อยให้ชีวิตเป็นแบบนี้ วันที่เศรษฐกิจดีก็ใช้ชีวิตอู้ฟู่แต่พอเศรษฐกิจมีปัญหา ก็ต้องมาเดือดร้อนด้วยทุกครั้ง แบบนี้ชีวิตการเงินจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร

แล้วที่ถูกต้องควรต้องทำอย่างไร?

ไม่มีอะไรยาก ก็แค่ควบคุมรายจ่ายโดยรวมไม่ให้เกินรายได้หลัก หรือรายได้ประจำที่ได้แน่นอน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ควรใช้ชีวิตอยู่ได้ โดยไม่ต้องพึ่งรายได้ส่วนเสริม

เช่น กรณีตัวอย่าง ถ้าเงินเดือน 30,000 บาท ก็ควรควบคุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ให้เกิน 30,000 บาท แบบนี้รายได้ในส่วนเพิ่ม 15,000 บาท ก็จะเหลือเอาไว้สะสมและลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งได้

คนอีกกลุ่มที่ควรต้องระวัง เพราะมีโอกาสติดกับดักปัญหาในลักษณะเดียวกัน ก็คือ คนที่ทำงานประจำควบคู่ไปกับการสร้างรายได้จากอาชีพเสริมหลายคนจำเป็นต้องหาอาชีพเสริมเพราะมีหนี้เยอะ ใช้จ่ายไม่ค่อยพอ จึงต้องหาแหล่งรายได้ใหม่มาช่วย ซึ่งอันที่จริงก็ถือเป็นเรื่องดี แต่เมื่อมีรายได้ 2 ทางก็ต้องวางแผนให้ดี พยายามลดภาระหนี้ต่างๆ ลง ทยอยใช้คืนหนี้ให้หมด ไม่สร้างหนี้ใหม่

ช่วงแรกรายได้เสริมอาจมาช่วยเรื่องการกินอยู่ให้พอใช้ พอภาระหนี้เบาลง ผ่อนไหวไม่ติดลบ ก็ควรนำรายได้ส่วนเสริมไปเก็บออมหรือลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่ง ทำแบบนี้จะดีมาก ปลอดภัยทั้งเรื่องเงินและสร้างความมั่งคั่งควบคู่กันไปด้วย

“พูดง่าย … แต่ทำไม่ง่ายนะโค้ช”

จริงครับ ถ้าง่าย ก็คงไม่มีใครติดกับดักปัญหาวนไปวนมาไม่รู้จบแบบที่เล่ามาหรอก

แต่ก็นั่นแหละ! ถ้าเราไม่พยายามที่จะหลุดพ้นวงจรให้มากพอ เราก็ต้องเหนื่อยกับสภาวะเงินขาดมือและกู้กินไปเรื่อยทุกเดือน

สำหรับใครที่มีโครงสร้างรายได้แบบผสม และการเงินกำลังติดกับดัก “เงินเดือนเอาไว้ใช้หนี้ โอทีเอาไว้แดก” ผมแนะนำให้จริงจังและละเอียดกับเรื่องการเงินมากขึ้นครับ โดยเริ่มจากการนั่งทำงบรายรับรายจ่ายไปล่วงหน้า พิจารณารายจ่ายแต่ละอย่างอย่างละเอียด ว่ารายจ่ายไหนลดได้ รายจ่ายไหนเลิกใช้จ่ายได้ เริ่มจากตรงนี้ก่อนเป็นอันดับแรก

จากนั้นลองมาดูภาระผ่อนหนี้แต่ละรายการ แล้วอาจลองปรึกษาพูดคุยกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้แต่ละรายดูว่า พอจะมีทางออกที่ช่วยให้ผ่อนหนี้เบาลงได้มั้ย ถ้าธนาคารมีสินเชื่อสำหรับรีไฟแนนซ์รวมหนี้เป็นก้อนเดียว ทำให้หนี้หลายรายการผ่อนต่อเดือนต่ำลง ก็ให้ลองคุยดู หรือถ้ายืดหนี้สั้นไปเป็นหนี้ยาวได้ อันนี้ก็พอช่วยให้ผ่อนต่อเดือนน้อยลงได้ หรือปรับลดงวดผ่อนเป็นขั้นบันได แบบนี้ก็ช่วยให้ผ่อนหนี้เบาลงด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ หากเงินเดือนบวกรวมกับโอทีหรือคอมมิชชันแล้วใช้เหลืออยากให้เริ่มสะสมเงินไว้สักหน่อย สำรองไว้ใช้จ่ายเผื่อโชคร้าย รายได้ส่วนเสริมลดลง ก็จะทำให้ยังอยู่ไหว และที่สำคัญอย่าสร้างหนี้เพิ่ม เพราะสถานะของเราถือว่าอาการหนักแล้ว ไม่ควรเพิ่มภาระให้ตัวเอง

ถ้าทำได้ทั้งหมดที่ว่ามา ลดรายจ่าย ลดภาระผ่อน ไม่สร้างหนี้เพิ่ม ทยอยเก็บทยอยออมเท่าที่ทำได้ แค่นี้ก็มีโอกาสหลุดจากวงจรการเงินที่พาชีวิตไปสู่ความเสี่ยงอย่าง เงินเดือนเอาไว้ใช้หนี้ โอทีเอาไว้แดก ได้แล้ว

ถัดจากนี้จะได้คิดใหม่ทำใหม่ ควบคุมรายจ่ายไม่ให้เกินรายได้หลักมีเงินกินเงินใช้ 30 วัน ไม่ต้องหยิบยืมใคร ส่วนรายได้เสริมจากโอที คอมมิชชั่น และงานนอกเวลา จะได้เก็บออมเต็มๆ เอาไว้ใช้เพื่อเติมเต็มความสุขให้ชีิวต หรือไม่ก็ลงทุนเพื่อเร่งความมั่งคั่งให้ตัวเอง

เพื่อจะได้เปลี่ยนสโลแกนการเงินให้ตัวเองเสียใหม่ กลายเป็น“เงินเดือนเอาไว้แดก โอที (อย่าใช้) สะสมไว้ลงทุน”

แค่สโลแกนก็ฟังดูมีอนาคตการเงินมากกว่ากันเยอะแล้วครับ จริงมั้ย?

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:41 น. แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ
15:40 น. 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
15:35 น. สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ
15:20 น. ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
15:14 น. 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน

แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ

เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว

วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี

  • Breaking News
  • แอดมิทด่วน! \'เอ๊ะ จิรากร\'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ
  • \'อนุสรณ์\'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
  • สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ
  • ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย  3 อำเภอในยะลา ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
  • \'ทวี\'เผย\'กกต.\'ประสาน\'ดีเอสไอ\'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เท่าที่มี ... ก็มากพอ (ที่จะเริ่ม)

เท่าที่มี ... ก็มากพอ (ที่จะเริ่ม)

4 พ.ค. 2568

วางแผนใช้จ่ายล่วงหน้า การเงินจะได้ไม่สะดุด

วางแผนใช้จ่ายล่วงหน้า การเงินจะได้ไม่สะดุด

27 เม.ย. 2568

1 ล้านแรก ... ยากที่สุด

1 ล้านแรก ... ยากที่สุด

20 เม.ย. 2568

PASSIVE INCOME เครื่องทุ่นแรงสู่อิสรภาพการเงิน

PASSIVE INCOME เครื่องทุ่นแรงสู่อิสรภาพการเงิน

13 เม.ย. 2568

ไม่ดูถูกทักษะตัวเอง ก็สร้างรายได้เสริมได้

ไม่ดูถูกทักษะตัวเอง ก็สร้างรายได้เสริมได้

6 เม.ย. 2568

มีเป้าหมายเก็บเงินหลักแสนหลักล้าน  ทำไมถึงทำไม่ได้สักที

มีเป้าหมายเก็บเงินหลักแสนหลักล้าน ทำไมถึงทำไม่ได้สักที

30 มี.ค. 2568

เส้นชัยมโน ...

เส้นชัยมโน ...

23 มี.ค. 2568

เริ่มมีเงินออม จัดการยังไงดี?

เริ่มมีเงินออม จัดการยังไงดี?

16 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved