วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน
รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

จักรพงษ์ เมษพันธุ์
วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
เป้าหมายการเงินที่หลายคนมองข้าม

ดูทั้งหมด

  •  

ในแทบทุกครั้งที่บรรยายเรื่องการเงินส่วนบุคคล หัวข้อหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักรู้สึกเฉยๆ ไม่ค่อยสนใจฟังกันสักเท่าไหร่ ก็คือ เรื่องการจัดการความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของการเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน (ส่วนใหญ่อยากฟังเรื่องการลงทุนมากกว่า)

เอาเข้าจริง เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน หรือ Emergency Fund เป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำคัญถึงขั้นเป็นเป้าหมายแรกของการออมเลยทีเดียว เรียกได้ว่า ก่อนที่จะคิดไปถึงการวางแผนการเงินเพื่อความมั่งคั่ง คนเราควรเผื่อเหลือเผื่อขาด เก็บเงินไว้ในตะกร้านี้ให้เต็มก่อนเป็นอันดับแรก


โดยเป้าหมายของการเก็บเงินก้อนนี้ ก็คือ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือน เช่น ถ้าเดือนหนึ่งใช้ 20,000 บาท เงินสำรองก็จะเท่ากับ 20,000 x 6  =  120,000 บาท เก็บสะสมไว้ในที่ที่รักษาเงินต้น (ไม่สูญหายหรือลดลง) และมีสภาพคล่องในการเบิกถอนสูง เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้

● เงินฝากสถาบันการเงิน

● เงินฝากสหกรณ์

● กองทุนรวมตลาดเงิน

● กองทุนรวมตราสารหนี้

● สลากออมทรัพย์ (ออมสิน / ธ.ก.ส. / ธอส.) จะเลือกช่องทางไหนก็ได้ทั้งหมด (ยกเว้น สลากกินแบ่งฯ 555)

ค่อยๆ ทยอยเก็บทีละน้อย ควบคู่ไปกับตะกร้าเงินอื่นๆ(เช่น เงินเกษียณ) เต็มครบ 6 เท่าของรายจ่ายก็หยุดเก็บสะสมแล้วเอาเงินออมไปสะสมในตะกร้าอื่นๆ แทน

เหตุผลที่เราต้องเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้บ้าง ก็เพราะชีวิตมีความไม่แน่นอนสูง ยิ่งกรณีของการขาดหายไปของรายได้(Income Shock) ไม่ว่าจะเกิดจากการตกงาน ถูกลดค่าแรง เลื่อนการรับชำระเงิน คนในครอบครัวเจ็บป่วยกะทันหัน ฯลฯ คนที่ไม่มีเงินสำรอง ก็อาจมีความจำเป็นต้องหยิบยืม และพาชีวิตเข้าสู่วงจรหนี้ได้

ที่จริงตอนตกงาน เรามีเงินที่พอจะนำมาหมุนเวียนได้ อาทิ 

1) เงินชดเชยการเลิกจ้าง จากนายจ้าง (ถ้าพี่เค้าไม่เบี้ยว) 

2) เงินชดเชยประกันสังคม 50% 6 เดือน (สูงสุด7,500  บาท) 

หรือ 3) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากบริษัทที่ปลดเรา (อันนี้ไม่แนะนำให้ใช้ ถ้าไม่สุดจริงๆ ควรเอาไปลงทุนต่อมากกว่า)

ดังนั้นมีสำรองของตัวเองไว้ส่วนหนึ่ง น่าจะเฉียบกว่ามีทางเลือกในชีวิตมากกว่า

ด้วยเหตุที่เป็น “เงินเตรียมตัว” เรื่องโชคร้ายอาจไม่เกิดกับเรา และด้วยแหล่งสะสมเงินที่ผมแนะนำไป มักมีอัตราผลตอบแทนที่ต่ำ (เงินสำรองไม่ควรลงทุนในหุ้น อนุพันธ์ ทรัพย์สินดิจิทัล ประกันชีวิต) จึงทำให้ใครหลายคนหงุดหงิดที่เห็นเงินตัวเอง เติบโตในเครื่องมือที่ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไม่ค่อยสูง

หลายคนจึงละเลย ไม่เก็บเงินสำรอง ข้ามไปลุยกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงด้วยเงินทั้งหมดที่มี คิดง่ายๆ ว่าถ้าลงทุนแล้วกำไร เหตุฉุกเฉินมาก็คงไม่ต้องกังวล เพราะมีกำไรจากการลงทุน (โดยไม่มองความเสี่ยง) หรือบางคนหนักกว่านั้น คือ แค่เริ่มเก็บให้มี ยังไม่เริ่มเก็บเลย ด้วยคิดเอาเองว่า 

“เราคงไม่โชคร้ายขนาดนั้น”

แต่ก็มีหลายครั้งเรื่องโชคร้ายที่ไม่น่าจะเกิดกับเรา ดันมาเกิดกับเรา หรือคนในอุปการะของเรา แล้วกลายมาเป็นปัญหาการเงินก้อนใหญ่ ที่ทำให้ชีวิตการเงินเราเสียหาย

ขณะนั่งเขียนบทความนี้ น้องคนหนึ่งเขียนข้อความส่งมาทางเฟซบุ๊กเล่าให้ฟังว่า ปีก่อนบริษัทจ่ายโบนัส 3 เดือน เขาได้เงินมาราว 200,000 บาท (โบนัสเยอะดีจัง)

ตอนแรกตั้งใจจะซื้อของที่อยากได้หลายอย่าง แต่นึกไปนึกมา (ไม่รู้อะไรดลใจ) สุดท้ายตัดสินใจไม่ซื้อของที่เล็งไว้เลยสักอย่าง

เขาหักเงิน 180,000 บาท ไปฝากธนาคารและซื้อกองทุนตราสารหนี้อย่างละครึ่ง เพื่อสะสมไว้เป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน(น้องเค้ารายจ่ายต่อเดือน 30,000 บาท)

เดือนก่อน น้องท่านนี้เพิ่งถูกให้ออกจากงาน แจ๊คพอตมาลงที่เขาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว

แม้จะต้องออกจากงาน แต่เขารู้สึกขอบคุณตัวเองที่วันนั้นตัดใจไม่ซื้อของที่อยากได้ แล้วนำมาสะสมเป็นทุนสำรองชีวิตของตัวเอง (ที่จริงจะเก็บสักครึ่ง แล้วค่อยทยอยเก็บเพิ่มก็ได้) อย่างน้อยก็ยังมีเงินใช้อีก 6 เดือน มีเวลาคิด เวลาหางานใหม่ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องปากท้องได้สักระยะ

เรื่องราวของเงินสำรองมักเป็นอย่างนี้ครับ  อาจขัดใจคนเก็บสะสมอยู่บ้าง ในวันที่อะไรยังดีๆ แต่ในวันที่อะไรๆ ไม่เป็นใจวันนั้นแหละ คุณถึงจะเข้าใจความสำคัญของเงินก้อนนี้

แล้วคุณหละ! วางแผนจะรับมือกับความเสี่ยงของการขาดหายไปของรายได้อย่างไร อยู่เฉยๆ เจอแล้วค่อยคิดค่อยว่ากัน หรือลงมือเริ่มเก็บสะสมตั้งแต่วันนี้ และเริ่มหาแหล่งรายได้ที่ 2 และ 3 เป็นทางเลือกเพิ่มเติม

ทางเลือกทั้งหมดเป็นสิทธิที่อยู่ในความรับผิดชอบของคุณครับ โลกยุคใหม่ ความมั่งคั่งไม่ได้อยู่ที่งานหรืออยู่ในมือใครทั้งหมดมันอยู่ในมือคุณเอง

เริ่มเก็บเริ่มออม อย่ามองข้ามเป้าหมายแรกที่สำคัญนี้นะครับ

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:00 น. (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
17:57 น. KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
17:53 น. คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
17:50 น. ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.
17:32 น. 'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
บุคคลแนวหน้า : 10 พฤษภาคม 2568
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

ไม่ปล่อยให้ผ่านมือ!'รอง ผกก.สืบฯฮีโร่'ขับรถกลางดึกเจอโจรผัวเมียงัดตู้เติมเงินจับทันที

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

  • Breaking News
  • (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด \'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า\' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่ (คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่
  • KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง
  • คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’ คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’
  • ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท. ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.
  • \'DSI\'ลงนามด่วนถึง\'ผบ.ตร.-ปลัด มท.\' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว. 'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เท่าที่มี ... ก็มากพอ (ที่จะเริ่ม)

เท่าที่มี ... ก็มากพอ (ที่จะเริ่ม)

4 พ.ค. 2568

วางแผนใช้จ่ายล่วงหน้า การเงินจะได้ไม่สะดุด

วางแผนใช้จ่ายล่วงหน้า การเงินจะได้ไม่สะดุด

27 เม.ย. 2568

1 ล้านแรก ... ยากที่สุด

1 ล้านแรก ... ยากที่สุด

20 เม.ย. 2568

PASSIVE INCOME เครื่องทุ่นแรงสู่อิสรภาพการเงิน

PASSIVE INCOME เครื่องทุ่นแรงสู่อิสรภาพการเงิน

13 เม.ย. 2568

ไม่ดูถูกทักษะตัวเอง ก็สร้างรายได้เสริมได้

ไม่ดูถูกทักษะตัวเอง ก็สร้างรายได้เสริมได้

6 เม.ย. 2568

มีเป้าหมายเก็บเงินหลักแสนหลักล้าน  ทำไมถึงทำไม่ได้สักที

มีเป้าหมายเก็บเงินหลักแสนหลักล้าน ทำไมถึงทำไม่ได้สักที

30 มี.ค. 2568

เส้นชัยมโน ...

เส้นชัยมโน ...

23 มี.ค. 2568

เริ่มมีเงินออม จัดการยังไงดี?

เริ่มมีเงินออม จัดการยังไงดี?

16 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved