วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน
รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

จักรพงษ์ เมษพันธุ์
วันอาทิตย์ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ปลายทาง คือ ความมั่นคง

ดูทั้งหมด

  •  

“หนี้ 18 ล้าน คือความจนครั้งสุดท้ายในชีวิต” 

ผมพูดประโยคนี้กับตัวเอง ในวันที่เริ่มตั้งหลักสู้กับปัญหาการเงินของที่บ้านช่วงปี 2540 แม้จะเหนื่อยหนักแค่ไหน แต่ไม่เคยหมดหวังที่จะมีชีวิตที่ดี และเมื่อหนี้ทำเราเจ็บหนักขนาดนั้น เลยตั้งปณิธานกับตัวเองไว้ว่า แค่ชีวิตการเงินที่ดีก็ยังไม่พอ มันต้องมีชีวิตการเงินที่ดีตลอดไป ถึงจะเรียกว่าเป็นการ “เอาคืน” ที่สาสม


ย้อนกลับไปช่วงก่อนหน้าวิกฤต ครอบครัวผมถือว่าเป็นครอบครัวฐานะปานกลางค่อนไปทางดี มีรายได้เข้ากระเป๋าไม่ขาดมือ มีกินใช้ไม่เดือดร้อนแต่หลังจากนั้นดูเหมือนชีวิตกลับตาลปัตรไปหมด ลำบากถึงขั้นเงินเหลือติดบ้าน100 บาทยังต้องหากันให้วุ่นวาย

คำถามของผมในตอนนั้นคือ ทำไมชีวิตการเงินของคนเราถึงมีขึ้นมีลง เมื่อการเงินดีแล้ว ก็รวยแล้วไม่ใช่เหรอ ทำไมไม่รวยให้ตลอดไปเลยเล่า ทำไมต้องกลับมาเจ็บจนแบบนี้ ภาพของป๊าที่เคยเป็นเด็กเข็นผักในตลาด สร้างชีวิตจนมีอู่ซ่อมรถ มีีร้านอะไหล่ของครอบครัว แล้วกลับมาเป็นคนหมดเนื้อหมดตัวชวนให้ผมสงสัย

ไม่เพียงแต่ครอบครัวผมเท่านั้น ยังมีอีกหลายคนก็เคยเจอสภาวะการเงินที่พลิกผันแบบนี้

● นักธุรกิจบางคน เจอวิกฤตหนึ่งครั้งพังหมดเนื้อหมดตัว

● นักแสดง นักกีฬา หลังหมดชื่อเสียง บางคนหมดสิ้นทุกอย่างที่มี

● บางคนดูแลตัวเองมาดี คนในครอบครัวเจ็บป่วย หยิบยืมเงินครั้งเดียวแล้วก็เหนื่อยอีกยาว

● คนทำงานรายได้ดีบางคน ถูก Lay-off รายได้หดหาย ต้องกู้กินกู้ใช้กลายเป็นหนี้ก้อนโต

● ฯลฯ

หลังผ่านพ้นปัญหามีอิสระทางการเงินในปี’48 ผมจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะป้องกันชีวิต ไม่ให้กลับไปเป็นเหมือนปี’40 อีก ทำงานหนักหาเงินให้ได้มากที่สุด ตั้งคำถามว่ามากแค่ไหนถึงจะพอ มีแค่ไหนถึงจะมั่นคง เยอะแค่ไหนถึงจะมีชีวิตที่ดีไปได้ตลอด ยังไม่ทันได้คำตอบ ก็ป่วยเกือบตายเพราะภูมิแพ้เสียก่อน เลยได้มีเวลาหยุดคิดและตั้งสติกับตัวเองใหม่ (เริ่มเสียดายเงินที่จ่ายให้หมอแหละ)

งงกับชีวิตอยู่นานถึงเริ่มเข้าใจ สุดท้ายคำตอบวนเวียนอยู่ที่ปาก สิ่งที่ผมต้องการ ไม่ใช่ความร่ำรวย ผมต้องการ “ความมั่นคง” 

ความมั่นคงที่ทำให้ผมสามารถควบคุมชีวิตการเงินได้ด้วยตัวเองไม่ขึ้นอยู่กับใคร และอาจไม่ได้สำคัญว่าผมต้องมีมากเท่าไหร่ แต่ขึ้นกับว่าผมควบคุมโจทย์ทางการเงิน 3 เรื่องนี้ได้ดีแค่ไหน

1) มีรายได้ มีเงินกินมีใช้จ่ายไม่ขาดมือ

2) สะสมเพิ่มความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป

3) หากโชคร้ายเกิดเรื่องไม่คาดฝัน ก็รับมือไหว ไม่ทำให้ชีวิตการเงินพังหรือเสียหาย

ทั้งสามข้อนี้ถ้าทำให้มันเกิดขึ้นกับเราตลอดทั้งชีวิตได้ รับประกันว่าคุณจะมีความมั่นคงทางการเงิน และมีชีวิตที่ปราศจากความกังวลได้ตลอดชีวิตอย่างแน่นอน

ผมเรียกชีวิตแบบนี้ว่าเป็นชีวิตที่มี ความมั่นคงทางการเงิน หรือFinancial Security ซึ่งหมายถึง สภาวะทางการเงินที่ออกแบบและวางแผนมาเป็นอย่างดีของแต่ละบุคคล ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อให้ชีวิตมี (1) สภาพคล่องทางการเงินที่ดี มีกินมีใช้มีเหลือเก็บได้ตลอดเวลาที่รายได้เข้ามือ (2) มีการสะสมและต่อยอดเพื่อความมั่งคั่ง ภายใต้แผนการที่ออกแบบเอาไว้ (3) มีความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงทางการเงินที่จะเข้ามาในชีวิตไม่ปล่อยให้ชีวิตตกอยู่ในสถานการณ์ที่อาจจะทำให้การเงินต้องพังทลาย

ยังไม่รวย ก็สามารถสร้างชีวิตการเงินที่มั่นคงได้ แต่ถ้ารวยแล้ว ไม่จัดการเงินให้มั่นคง ให้เข้าที่เข้าทาง วันหนึ่งก็อาจกลับมาจนเหมือนเดิมหรือจนกว่าเดิมได้ (เหมือนที่ครอบครัวผมเคยเป็น)

ยกตัวอย่างเช่น น้อง First Jobber เรียนจบใหม่ ยังไม่มีภาระ ดูแลแค่ตัวเอง บริหารเงินเดือนให้พอกินใช้ได้สบายๆ มีเงินตัดออมเป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน และลงทุนสม่ำเสมอ ผ่านประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ DCA ด้วยตัวเอง ดูแลสุขภาพให้ดี มีประกันกลุ่มบริษัทดูแลเรื่องเจ็บป่วยอุบัติเหตุ และเสียชีวิต บวกสิทธิประกันสังคม 

แบบนี้ก็ถือว่าพอมีความมั่นคงทางการเงินแล้วระดับหนึ่ง! เพราะสภาพคล่องโอเค สะสมความมั่งคั่งโอเค และความเสี่ยงที่เกี่ยวกับชีวิตตัวเองก็ป้องกันไว้โอเค (ตกงานมีเงินสำรอง เจ็บป่วยเกิดอุบัติเหตุมีตัวช่วย)

แต่ความมั่นคงทางการเงินนั้นเป็นเรื่องที่มีขึ้นลงและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา (Dynamic) ดังนั้น คนเราก็ต้องปรับเปลี่ยนเรื่องของเงิน ตามการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ในชีวิตตามไปด้วย

เช่น หากวันหนึ่งน้องคนเดียวกันนี้ เริ่มคิดจะออกรถสักคัน เพื่อเอาไว้ใช้เดินทางไปทำงานแทน แน่นอนว่าถ้าซื้อ สภาพคล่องก็จะต้องเปลี่ยนไปและอาจต้องปรับเปลี่ยนเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เพราะรายจ่ายต่อเดือนสูงขึ้น(6 เท่าของค่าใช้จ่ายก็ต้องสูงขึ้นตามไปด้วย) ซึ่งถ้าประเมินแล้วว่า เกิดกู้ซื้อรถยนต์จริงแล้วเงินไม่พอใช้ หรือแทบไม่เหลือออม แบบนี้ก็ควรต้องรอไปก่อน(หรือลดขนาดรถลงสักหน่อย) เพื่อไม่ให้กระทบสภาพคล่อง และกระทบกับความมั่นคงในท้ายที่สุด

หรือหากวันดีคืนดี นั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะ มีพี่ในแผนกเดินมาขอให้ช่วยค้ำประกันเงินกู้ของเขาให้หน่อย เราก็ต้องมานั่งคิดแล้วว่า ถ้าค้ำไปจะกระทบอะไรกับชีวิตเราบ้าง ห้ามประเมินแบบง่ายๆ ว่าพี่เขาเป็นคนดีคงไม่โกง ให้หาคำตอบของคำถามที่ว่า ถ้าพี่เขาโกง ความมั่นคงทางการเงินของเราจะหน้าตาเป็นยังไง

และเมื่ออายุมากขึ้น หากน้องคนนี้จะต้องสร้างครอบครัว ทุกการตัดสินใจไม่ว่าจะกู้เงินซื้อบ้าน เก็บเงินร่วมกับแฟนเพื่อจัดงานแต่งงาน ค่าเล่าเรียนของลูก เรียนต่อเพิ่มโอกาสให้ตัวเอง ลงทุนทำธุรกิจส่วนตัว ฯลฯ ทั้งหมดที่มีเรื่องของเงินมาเกี่ยวข้อง และทุกการเลือกมีผลต่อ สภาพคล่อง-ความมั่งคั่ง-ความเสี่ยง หรือเรียกรวมว่า ความมั่นคงทางการเงิน ของเราทั้งสิ้น

ตอนกิจการที่บ้านล้มละลายไปแล้ว ผมได้นั่งคุยกับคุณพ่อว่าถ้าย้อนเวลากลับไปได้ ท่านจะทำอะไร ท่านตอบว่าจะยอมแพ้ให้เป็น ขายทรัพย์สินบางส่วนและปิดกิจการไปเสีย ไม่เลือกรักษาหน้าเอาไว้ แล้วล้มกันทั้งบ้านแบบนี้ พ่อเล่าให้ผมฟังว่า ถ้าตอนนั้นยอมเจ๊ง ขายทรัพย์สินให้เจ้าหนี้ไปไม่กู้เงินสู้จนเละ ก็จะยังมีบ้านปลอดภาระให้เรา และมีเงินอยู่ก้อนหนึ่งส่งให้น้องทุกคนเรียนจบได้ และที่สำคัญไม่ทำให้ผมต้องเป็นหนี้และเกือบเอาตัวเองไม่รอดในช่วงเวลานั้น

จากวันนั้นถึงวันนี้ทุกย่างก้าวที่ต้องตัดสินใจเรื่องเงิน ผมจะคิดถึง “ความมั่นคงทางการเงิน” อยู่เสมอ ตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังตัดสินใจว่า ถ้าทำไปแล้ว (1) จะกระทบกับสภาพคล่องของผมอย่างไร (2) จะกระทบกับแผนสะสมความมั่งคั่งของผมแค่ไหน และ (3) จะมีอันตรายอะไรเกิดขึ้นกับการเงินของผมในอนาคตหรือเปล่า ถ้ากระทบกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผมก็จะกลับมาทบทวนและหาทางออก เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินของตัวเองเอาไว้

รวยเร็วหรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าชีวิตต้องมั่นคงทางการเงินไปจนวันตาย

วันนี้ใครที่ยังไม่รวย อย่าไปกังวลครับ ถ้าทุกปีที่ผ่านไป เราระมัดระวังและดูแลเรื่องความมั่นคงทางการเงินอยู่ตลอด และสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้ ไม่ต้องห่วงเรื่องความร่ำรวยหรอกครับ เดี๋ยวมันมาเอง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:48 น. ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ
22:21 น. 'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
22:18 น. 'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน
22:08 น. (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ
22:05 น. 'สุทิน' จวก 'โฆษกเพื่อไทย' ย้ำรัฐบาล'ชวน หลีกภัย'ไม่เคยปรึกษา'ทักษิณ'
ดูทั้งหมด
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
วินาที'ในหลวง'ส่งสัญญาณพระหัตถ์ถึง'พระราชินี' ทรงรีบเข้าประคองพระองค์อย่างว่องไว
'สีกากอล์ฟ'ฟาดเรียบ ทั้งเจ้าอาวาส ทั้งคนขับรถ สารภาพถูกชวนมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง
‘สม รังสี’แฉเหยื่อกว่า 120,000 คนในกัมพูชา ถูกขังใน 53 ตึก โดนบังคับใช้เป็นทาสมาเฟียจีน
สลดวันพระ! ยิงดับ 2 ศพ คาวัดดัง ย่านเพชรเกษม
ดูทั้งหมด
‘ฮุน เซน’เล่นใหญ่‘ทักษิณขายชาติ’
ซูเปอร์ฮีโร่
สองพ่อลูก
ศึกเขากระโดง ใครจะโดน 157 ? ปรับ ครม. เพื่อชำระแค้นการเมือง
คนไทยส่วนใหญ่เสียอะไร/ได้อะไรจากเจรจาภาษีการค้ากับสหรัฐ
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

(คลิป) 'ฮุนเซน' พร้อมสวนกลับ ขอเวลา 3 ชม. ซัด 'ทักษิณ'

'มหาเธร์'อดีตนายกฯมาเลเซียออกจากรพ.แล้ว โพสต์คลิปเดินปร๋อขึ้นรถยนต์ส่วนตัว

คู่รักสูงวัยถูกหลอกใน‘มาเลเซีย’ เดินทางไกลไปขึ้นกระเช้าที่ไม่มีอยู่จริง-พบแค่คลิปโปรโมทด้วย‘AI’

  • Breaking News
  • ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ
  • \'ปราชญ์ สามสี\' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ\'ศิโรราบ\'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ 'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
  • \'กินเนสส์ฯ\'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น\'ชีสที่แพงที่สุดในโลก\'ด้วยราคา1.35ล้าน 'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน
  • (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก\'ทรัมป์\' อย่าเสีย \'ฐานทัพเรือพังงา\' เป็นพอ (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ
  • \'สุทิน\' จวก \'โฆษกเพื่อไทย\' ย้ำรัฐบาล\'ชวน หลีกภัย\'ไม่เคยปรึกษา\'ทักษิณ\' 'สุทิน' จวก 'โฆษกเพื่อไทย' ย้ำรัฐบาล'ชวน หลีกภัย'ไม่เคยปรึกษา'ทักษิณ'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ’ ตั้งโต๊ะคุยชีวิตกว่าจะมีวันนี้ที่ Money Freedom กับโค้ชหนุ่ม Money Coach และคุณเผ่า Jitta

‘จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ’ ตั้งโต๊ะคุยชีวิตกว่าจะมีวันนี้ที่ Money Freedom กับโค้ชหนุ่ม Money Coach และคุณเผ่า Jitta

6 ก.ค. 2568

ยุคนี้ ‘ขยันเลอะเทอะไม่ได้’ ต้องโฟกัส พัฒนาให้เร็วขึ้นเสมอ เตรียมพร้อมก่อนเริ่มงาน #CTC2025  โดยโค้ชหนุ่ม Money Coach

ยุคนี้ ‘ขยันเลอะเทอะไม่ได้’ ต้องโฟกัส พัฒนาให้เร็วขึ้นเสมอ เตรียมพร้อมก่อนเริ่มงาน #CTC2025 โดยโค้ชหนุ่ม Money Coach

29 มิ.ย. 2568

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง...

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง...

22 มิ.ย. 2568

ชอบ-ถนัด-สามารถ สูตรสร้างอาชีพเสริม

ชอบ-ถนัด-สามารถ สูตรสร้างอาชีพเสริม

15 มิ.ย. 2568

จัดการเงินออมครอบครัวให้ดี ชีวิตมีสุข

จัดการเงินออมครอบครัวให้ดี ชีวิตมีสุข

1 มิ.ย. 2568

อย่าฝากชีวิตไว้กับรายได้ในอนาคต

อย่าฝากชีวิตไว้กับรายได้ในอนาคต

25 พ.ค. 2568

อสังหาริมทรัพย์: เรียนรู้-ลงมือทำ-สำเร็จ

อสังหาริมทรัพย์: เรียนรู้-ลงมือทำ-สำเร็จ

18 พ.ค. 2568

“เปลี่ยน” เพื่อชีวิตการเงินที่ดีกว่า

“เปลี่ยน” เพื่อชีวิตการเงินที่ดีกว่า

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved