วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / โลกการค้า
โลกการค้า

โลกการค้า

วันพฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมตัวรับมือภาษีใหม่ หลังทางการเดินหน้าเข้าสู่สมาชิกOECD

ดูทั้งหมด

  •  

nn จากงานสัมมนา “Maximising Shareholder Value” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาประจำปี “PwC Thailand’s Symposium 2024 : Beyond boundaries : Shaping tomorrow’s innovations” พบว่าในปี 2568 ผู้ประกอบการไทยจะเผชิญความท้าทายด้านกฎหมายและภาษีมากกว่าที่เคย จากการที่ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงในการสมัครเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) โดยได้มีการยื่นหนังสือครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจาก OECD และกลุ่มประเทศสมาชิก ประเทศไทยจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางภาษีโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในปัจจุบัน กรมสรรพากรไทยอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมายภาษีให้สอดคล้องกับกฎระเบียบด้านภาษีโลกที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิก OECD อย่างเต็มรูปแบบจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในหลายมิติ เช่น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศสมาชิกอื่นๆ การได้รับคำปรึกษาและความช่วยเหลือทางเทคนิคจาก OECD นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก แต่ก่อนที่จะได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกนั้น ประเทศไทยจะต้องได้รับการประเมินความพร้อมตามหลักเกณฑ์ที่ OECD กำหนด ซึ่งไทยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขดังกล่าวให้ครบถ้วน ทำให้เวลานี้หน่วยงานภาครัฐต่างๆ กำลังศึกษาและดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ OECD ซึ่งการปรับปรุงกฎหมายและการจัดเก็บภาษีให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลก็เป็นหนึ่งในหลักเกณฑ์ดังกล่าว


นิพันธ์ ศรีสุขุมบวรชัย หัวหน้าสายภาษีและกฎหมาย บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่าหลังจากที่ประเทศไทยได้ลงนามเข้าร่วมอนุสัญญาพหุภาคี (Multilateral Instrument) กรมสรรพากรกำลังดำเนินการกำหนดรายละเอียดแนวปฏิบัติ การติดตามและรายงาน รวมถึงแนวทางการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนในการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไร (Base Erosion and Profit Shifting : BEPS) นโยบายการกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) และแนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำกับกลุ่มบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่(Pillar Two) เป็นต้น

นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรแล้ว กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตยังได้ออกนโยบายที่เพิ่มความชัดเจนในการจัดเก็บและตรวจสอบภาษี เนื่องจากเดิมกรมศุลกากรอาจเน้นการตรวจสอบประเด็นค่าสิทธิ แต่จากนี้ไปเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะดำเนินการตรวจสอบธุรกรรมระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องกันอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ขยายขอบเขตจากการตรวจสอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าไปสู่การตรวจสอบที่มีความละเอียดมากขึ้นในขั้นตอนการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและเอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง

“นี่ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับภาคธุรกิจที่จะต้องติดตามอัปเดตข้อมูลกฎหมายภาษี กฎระเบียบ การตีความ และข้อผิดพลาดทั่วไปที่อาจนำไปสู่การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อนำมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ด้านภาษีของตนให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานกำกับได้อย่างทันท่วงที”

นายนิพันธ์กล่าวต่อว่า ในปัจจุบันธุรกิจไทยกำลังติดตามแนวปฏิบัติตามมาตรการ Pillar Two จากหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ซึ่งเวลานี้อยู่ระหว่างการผลักดันออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำจากกลุ่มบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่เพื่อลดการแข่งขันทางภาษีระหว่างประเทศ ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของ OECD กำหนดว่ากลุ่มบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีรายได้รวมเกิน 750 ล้านยูโรต่อปีจะต้องเสียภาษีอย่างน้อย 15% (global minimum tax) ในแต่ละประเทศที่บริษัทเหล่านี้เข้าไปลงทุน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในประเทศไทยในปี 2568 ซึ่งการนำกฎหมายภาษีฉบับนี้มาใช้น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อโครงสร้างภาษีของนิติบุคคล

“ผู้ประกอบการไทยมีความจำเป็นต้องติดตามแนวปฏิบัติด้านกฎหมายและภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการ Pillar Two จากหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง เพราะประเด็นภาษีดังกล่าวอาจทำให้ต้นทุนภาษีและต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการวางแผนการเสียภาษีที่เพิ่มขึ้นอีกทั้งภาระการปฏิบัติตามกฎหมาย และปรับแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและภูมิทัศน์ทางภาษีในประเทศ ตลอดจนปรับกระบวนการและกลไกการรายงานใหม่ๆ ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องวางแผนกฎหมายและภาษีให้สอดคล้องและเหมาะสมกับมาตรการนี้” นายนิพันธ์ กล่าว

นอกจากความท้าทายด้านกฎหมายและภาษีจากการที่ประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการการเข้าเป็นสมาชิก OECD แล้วนายนิพันธ์ กล่าวว่า หน่วยงานด้านภาษีของไทยอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลภาษี รวมถึงการตรวจสอบภาษีเชิงลึกด้วยเหตุนี้ ธุรกิจต่างๆ จึงควรติดตามอัปเดตกฎหมายภาษีอยู่เสมอควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่น นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence : AI) เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎระเบียบภาษี และปรับปรุงการดำเนินงานด้านภาษีให้ทันสมัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

นอกจากนี้ ธุรกิจควรพัฒนากลยุทธ์ในการรับมือกับการตรวจสอบภาษีที่เข้มข้นมากขึ้นจากการที่กรมสรรพากรได้ปรับโครงสร้างการจัดเก็บ
รวมถึงนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการตรวจสอบภาษี เช่น ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่(big data) และ AI จึงอาจทำให้ผู้เสียภาษีมีความเสี่ยงที่จะถูกเรียกตรวจสอบมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจึงควรวางแผนด้านภาษีครอบคลุมทั้งการเตรียมความพร้อมเชิงกลยุทธ์ การจัดการด้านเอกสาร การจัดการการคืนภาษีและการส่งเสริมแนวทางเชิงรุกในการรับมือกับความท้าทายด้านกฎระเบียบ

กระบองเพชร
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

10 ก.ค. 2568

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

3 ก.ค. 2568

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

26 มิ.ย. 2568

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

19 มิ.ย. 2568

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว  การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

12 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

5 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

29 พ.ค. 2568

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

22 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved