วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
สื่อญี่ปุ่นตีข่าวกฎหมายคนเข้าเมืองของไทยล้าหลัง ไม่เอื้อคนอยู่ยาว-นักท่องเที่ยว

สื่อญี่ปุ่นตีข่าวกฎหมายคนเข้าเมืองของไทยล้าหลัง ไม่เอื้อคนอยู่ยาว-นักท่องเที่ยว

วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 14.28 น.
Tag : ต่างด้าว นักท่องเที่ยว พ.ร.บ.คนเข้าเมือง สื่อญี่ปุ่น ม.38
  •  

สื่อญี่ปุ่นตีข่าวกฎหมายคนเข้าเมืองของไทยล้าหลัง ไม่เอื้อคนอยู่ยาว-นักท่องเที่ยว

21 สิงหาคม 2562 เว็บไซต์ นสพ. Nikkei Asian Review ของญี่ปุ่น เสนอรายงานพิเศษ “Thailand's Cold War immigration tactics unnerve long-term foreigners” ระบุว่า กฎหมายของไทยว่าด้วยการเดินทางเข้าประเทศของคนต่างด้าว คือ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 (1979 Immigration Act) ไม่เอื้อต่อการพักอาศัยในประเทศไทยแบบระยะยาวของชาวต่างชาติทั้งกลุ่มที่ทำธุรกิจ คนทำงาน นักศึกษาหรือแม้แต่การใช้ชีวิตหลังเกษียณ


โดยในมาตรา 38 ของกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้เจ้าบ้าน เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นตั้งอยู่ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ซึ่งก็มีผู้มองว่าเป็นกฎหมายเก่าสมัยสงครามเย็นบ้าง หรือเปรียบเทียบว่าราวกับกฎหมายของเมียนมา (พม่า) ในยุคเผด็จการทหารบ้าง

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า ในมุมมองของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของไทย พวกเขามุ่งเน้นประเด็นความมั่นคงเป็นสำคัญและย้ำว่าต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด อาทิ พล.ต.ต.ปฏิพัทธ์ สุบรรณ ณ อยุธยา (Patipat Suban Na Ayudhya) ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 (ผบก.ตม.1) กล่าวในเวทีอภิปราย ณ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) แสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาก่อการร้าย โดยกล่าวว่าเมื่อไม่กี่ปีก่อนเกิดเรื่องมากมายขึ้น มีผู้ก่อการร้ายหลายรายเดินทางมาประเทศไทยและทำเรื่องไม่ดี

เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ ตม. อีกผู้หนึ่งคือ พ.ต.อ.ธัชพงศ์ สารวนางกูร (Thatchapong Sarwannangkul) ที่กล่าวในงานเดียวกันว่า มีหลายสิ่งที่เปลี่ยนไปทั้งในไทยและทั่วโลก อาชญากรแข็งแกร่งขึ้นทุกวันๆ นั่นคือสาเหตุที่ต้องสร้างสมดุลระหว่างงานรักษาความมั่นคงกับงานบริการประชาชนให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และย้ำว่าการกรอกแบบ ตม.30 (TM30) ที่ให้ผู้ใดที่ให้ที่พักพิงกับชาวต่างชาติต้องส่งข้อมูลให้กับ ตม. นั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ยอมรับว่าตนต้องทำงานถึงเวลา 22.00 น. เป็นประจำเพื่อประมวลผลเอกสารดังกล่าวที่ถูกส่งเข้ามา

อย่างไรก็ตาม ชาวตะวันตกที่เป็นนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคง แย้งว่าภัยก่อการร้ายในไทยไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และดูจะเป็นปัญหาสำหรับการใช้กฎหมายเก่าอายุ 40 ปีแบบเร่งรีบเพื่อแก้ไขปัญหาใหม่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งแม้กระทั่งนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาพักผ่อนช่วงสุดสัปดาห์ก็ยังต้องรายงานสถานที่พักอาศัยใน 24 ชั่วโมงเช่นกัน รวมถึงการไปพักที่อื่นแล้วอีกวันกลับมาพักที่เดิมด้วย ทั้งนี้นักท่องเที่ยวหลายประเทศสามารถทำวีซ่าสำหรับพักอาศัยในประเทศไทยได้นาน 30 วัน โดยผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับตั้งแต่ 800-2,000 บาท

โดยในยุคที่ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ประกาศใช้ใหม่ๆ นั้นประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่ถึง 2 ล้านคนต่อปี แต่ขณะเดียวกันไทยต้องเผชิญกับวิกฤติผู้ลี้ภัยจากกัมพูชา ลาวและเวียดนาม หลังฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เข้าปกครองประเทศดังกล่าวในปี 2518 และการรุกรานของเวียดนามต่อกัมพูชาในปี 2521 ส่วนสถานการณ์ในเวลานี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว ในปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่ 39 ล้านคน ในจำนวนนี้ 11 ล้านคนมาจากจีน และอีก 2 ล้านคนจากอินเดีย

ทั้งนี้แม้กฎหมายจะกำหนดให้เจ้าของที่พักเป็นคนส่งรายงาน ตม.30 แต่ชาวต่างชาติที่ต้องการต่อวีซ่าจะต้องทำเอกสารที่เกี่ยวข้องหรือไม่ก็จะต้องเสียค่าปรับ โดย เพ็ญฤกษ์ เพชรมณี (Penrurk Phetmani) ทนายความด้านคนเข้าเมืองของ Tilleke and Gibbins International บริษัทให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย (law firm) เก่าแก่แห่งหนึ่งในไทย กล่าวว่า กฎหมายนี้ส่งผลกระทบกับชาวต่างชาติที่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน เพราะพวกเขาต้องเป็นผู้จ่ายค่าปรับ

ที่ผ่านมาชาวต่างชาติซึ่งเดินทางมายังประเทศไทยได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงกันระหว่างสำนักงานกฎหมาย กับสำนักงาน ตม.ของไทย โดย คริสโคเฟอร์ บรูตัน (Christopher Bruton) ผู้อำนวยการบริหารของ Dataconsult ระบุว่า ชาวต่างชาติไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ย่อมไม่อาจคาดหวังให้พวกเขาปฏิเสธตามสิ่งที่ ตม. ไทยต้องการได้ บรูตัน ยังกล่าวด้วยว่าระเบียบเกี่ยวกับการรายงานที่พักทุกๆ 24 ชั่วโมงนั้นเข้มงวดมาก

รายงานของสื่อญี่ปุ่น ยังกล่าวอีกว่า การเปลี่ยนที่อยู่ไปรษณีย์ลงทะเบียนในไทยใช้เวลาถึง 3 สัปดาห์ ส่วนบริการออนไลน์นั้นยังห่างไกลจากคำว่า “ไทยแลนด์ 4.0” ที่รัฐบาลไทยคาดหวังจะส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ อาทิ ผู้สมัครบางรายรอรหัสผ่านนานถึง 6 สัปดาห์ ทั้งที่ข้อมูลจากสำนักงาน ตม. ระบุว่าไม่ควรเกิน 7 วัน ความล่าช้านั้นมาจากการที่ ตม. ไทย เลือกใช้วิธีคัดกรองก่อนจะอนุญาต แทนที่จะปล่อยไปก่อนแล้วไล่ตรวจสอบย้อนหลัง และเว็บไซต์ก็ออกแบบมาดูไม่ดีแถมล่มบ่อยอีกต่างหาก

ขณะที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองในสนามบินของไทยนั้นได้รับการร้องเรียนมานานแล้วเรื่องความล่าช้าเนื่องจากขาดแคลนเจ้าหน้าที่เมื่อเทียบกับสนามบินของประเทศเพื่อนบ้าน แต่เจ้าหน้าที่ ตม. ที่อายุงานระดับอาวุโสก็ไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าใดนักในการให้รับเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ๆ เข้ามาทำงานจำนวนมาก พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ (Krissana Pattanacharoen) โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวว่า หน้าที่ของเราคือต้องทำให้เจ้าหน้าที่ทุกนายปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และหากพวกเขาไม่สามารถทำได้ก็ไม่มีทางอื่นนอกจากลงโทษ

ปัญหาว่าด้วยระเบียบการกรอกเอกสาร ตม.30 เริ่มกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในต่างประเทศ อาทิ เซบาสเตียน บรูซโซ (Sebastian Brousseau) ชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย Isaan Lawyers ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เปิดหัวข้อรณรงค์แก้ไขระเบียบดังกล่าว และได้รับความสนใจโดยมีผู้ร่วมลงชื่อถึง 5,000 คน ในเวลาเพียง 10 วัน

บรูซโซ กล่าวว่า คุณสมบัติของกฎหมายที่ดีคือต้องมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ พร้อมกับย้ำว่าแม้ชาวต่างชาติจะไม่ใช่พลเมืองของไทย แต่ก็ขอเรียกร้องกับ ตม.ไทย ให้แก้ไขปัญหานี้ด้วย ขณะนี้ลูกค้าหลายคนตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทยไปแล้วด้วยความไม่พอใจ ไม่ต่างจาก ริชาร์ด แบร์โรว์ (Richard Barrow) นักเดินทางชาวอังกฤษ เขียนบรรยายในเว็บบล็อกส่วนตัว ระบุว่า การเข้าเมืองในไทยเหมือนกับการใช้ค้อนไล่ทุบยุง เพื่อบางเหตุผลนั้นราวกับว่าทางการไทยจะไม่ได้สนใจความเสียหายที่เกิดขึ้นเลย

ผู้สังเกตการณ์บางรายมองว่า สถานการณ์คนเข้าเมืองในไทยเลวร้ายลงนับตั้งแต่ปี 2559 เมื่อ พล.ต.ท.ณัฐธร เพราะสุนทร (Nathathorn Prousoontorn) ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ในขณะนั้น) ชูคำขวัญ “คนดีเข้ามา-คนเลวออกไป (Good guys in, bad guys out)” มาจนถึงผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองคนปัจจุบันคือ พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง (Sompong Chingduang) ผู้มีชื่อเสียงด้านการปราบปรามอาชญากรรมอย่างจริงจัง

คริส ลาร์กิน (Chris Larkin) ผู้อำนวยการหอการค้าออสเตรเลีย กล่าวว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามายังประเทศไทยรู้ดีว่าต้องเผชิญความท้าทายด้านกฎระเบียบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มันน่ารำคาญก็จริงแต่ยังไม่ถึงขั้นถอนตัวหรือเลิกล้มการลงทุน แน่นอนว่าการเดินทางมาประเทศไทยเป็นเรื่องง่าย แต่การจะอยู่ให้นานๆ นั้นยาก อนึ่ง เขาสนับสนุนการออกบัตรประจำตัวสีชมพูให้กับชาวต่างชาติที่พำนักในไทยระยะยาว อย่างที่ทางการไทยได้ทำแล้วกับแรงงานต่างด้าว 2 ล้านคนจากกัมพูชา ลาวและเวียดนาม

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Politics/Thailand-s-Cold-War-immigration-tactics-unnerve-long-term-foreigners 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'กัมพูชา\'เฮ! นักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหล ช่วงม.ค.-พ.ค.เพิ่มขึ้น 50% 'กัมพูชา'เฮ! นักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหล ช่วงม.ค.-พ.ค.เพิ่มขึ้น 50%
  • \'ออสเตรเลีย\'ออกคำเตือนพลเมืองมา\'ไทย\'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้ 'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
  • ปลอดภัยแต่ก็มีข้อควรระวัง! เปิดคู่มือ‘สหรัฐฯ’แนะนำพลเมืองเดินทางไปเที่ยวเมืองไทย ปลอดภัยแต่ก็มีข้อควรระวัง! เปิดคู่มือ‘สหรัฐฯ’แนะนำพลเมืองเดินทางไปเที่ยวเมืองไทย
  • ระวังแค่ชายแดนใต้! ‘สหรัฐฯ’ชี้ภาพรวม‘ไทย’ปลอดภัยสูงสุดสำหรับนักท่องเที่ยว ระวังแค่ชายแดนใต้! ‘สหรัฐฯ’ชี้ภาพรวม‘ไทย’ปลอดภัยสูงสุดสำหรับนักท่องเที่ยว
  • ‘อาร์เจนตินา’งัดยาแรงจัดระเบียบต่างชาติ เคยทำผิดห้ามเข้า-ต้องแสดงประกันสุขภาพ ‘อาร์เจนตินา’งัดยาแรงจัดระเบียบต่างชาติ เคยทำผิดห้ามเข้า-ต้องแสดงประกันสุขภาพ
  • สื่อนอกตีข่าว! วอนช่วยนทท.อังกฤษกลับประเทศ หลังพลัดตกน้ำตกที่ไทยค่ารักษาพุ่ง4ล้าน สื่อนอกตีข่าว! วอนช่วยนทท.อังกฤษกลับประเทศ หลังพลัดตกน้ำตกที่ไทยค่ารักษาพุ่ง4ล้าน
  •  

Breaking News

เปิดฉากประชุมผู้นำ'BRICS' 'จิราพร'นำคณะไทยร่วมเป็นครั้งแรก

'อินโดนีเซีย'ผวา! ภูเขาไฟปะทุรุนแรง พ่นเถ้าถ่านสูง 18 กม.

(คลิป) เปิดภาพ! รั้วกั้นปราสาทตาเมือนธม ถูกรื้อทิ้งสมัย 'ยิ่งลักษณ์' เป็นนายกฯ

ฟังเหตุผลชัดๆ 'เจิมศักดิ์' เสนอศาลฎีกาเรียกแพทองธารเป็นพยานปมชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved