วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
สื่อมะกันจับตา 'ไทย'เปลี่ยนนโยบายโควิดสู่โรคประจำถิ่น

สื่อมะกันจับตา 'ไทย'เปลี่ยนนโยบายโควิดสู่โรคประจำถิ่น

วันพุธ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565, 10.43 น.
Tag : สื่อมะกัน ไวรัสโคโรน่า ไวรัสโควิด โควิด19 โควิด ไวรัส ไทย โรคประจำถิ่น
  •  

สื่อมะกันจับตา 'ไทย'เปลี่ยนนโยบายโควิดสู่โรคประจำถิ่น มุ่งฟื้นศก.แม้ยังกังวลผู้ติดเชื้อ

23 มี.ค. 2565 สำนักข่าว Voice of America สหรัฐอเมริกา เสนอรายงานพิเศษ Thailand Aiming for Endemic Status as More Travel Restrictions Lifted ว่าด้วยความพยายามของทางการไทย ในการเปลี่ยนสถานะของไวรัสโควิด-19 จากโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ลดความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรคลงเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ท่ามกลางความกังวลของผู้คนอีกไม่น้อย


ในช่วงต้นเดือน มี.ค. 2565 กระทรวงสาธารณสุขของไทย ประกาศตั้งเป้าให้โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นภายในเดือน ก.ค. 2565 ขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้อกำหนดให้ชาวต่างชาติที่จะเดินทางไปประเทศไทยต้องมีผลตรวจคัดกรองไม่ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ก็ถูกประกาศยกเลิก อย่างไรก็ตาม อนันต์ จงแก้ววัฒนา (Anan Jongkaewwattana) นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้เตือนว่า ยังคงต้องระมัดระวังต่อไป

“เราต้องพูดกันให้ชัดว่าโรคประจำถิ่นไม่ได้หมายความว่ามันจะรุนแรงน้อยกว่าสิ่งที่พบระหว่างที่เป็นโรคระบาดใหญ่ สำหรับผม โรคประจำถิ่นหมายความว่าประเทศไทยจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่งที่ไม่สร้างความเสียหายให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศ” อนันต์ กล่าว

ประเทศไทยยังคงต่อสู้กับสถานการณ์ที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก จากเชื้อกลายพันธุ์สายโอมิครอน เช่น ในวันที่ 18 มี.ค. 2565 ที่พบผู้ติดเชื้อ 27,071 คน ทำสถิติติดเชื้อรายงานสูงที่สุด แต่อีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยมีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ค่อนข้างสูง นับตั้งแต่เริ่มการฉีดวัคซีนในปี 2564 ประเทศไทยฉีดวัคซีนไปแล้ว 127 ล้านเข็ม ซึ่งนับตั้งแต่เข็มที่ 1 เข็มที่ 2 และเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3 หรือ 4)

แกรี โบเวอร์แมน (Gary Bowerman) นักวิเคราะห์การท่องเที่ยวของทวีปเอเชีย ที่อาศัยอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย กล่าวว่า ประเทศไทยต้องระมัดระวังในการตั้งเป้าหมายในอนาคต เนื่องจากโควิด-19 นั้นคาดเดาไม่ได้ แม้เดือน ก.ค. 2565 คือการกำหนดเป้าหมาย แต่ก็ทราบกันดีตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ว่าการกำหนดเส้นตายที่ยากและรวดเร็วนั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยง

“สถานะโรคประจำถิ่น เป็นเรื่องเล็กน้อยในการสื่อสารกับสาธารณชนเพื่อพยายามเปลี่ยนวิธีคิดภายในประเทศ เป็นการปลุกเร้าอารมณ์ครั้งสำคัญ สถานการณ์ที่ประเทศประสบอยู่คือการปิดตัวอย่างสมบูรณ์ยาวนานถึง 2 ปี และตอนนี้ได้เปิดแล้ว เป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดครั้งใหญ่ แม้มันไม่ได้อยู่ที่แต่ละประเทศจะบอกว่าเป็นโรคประจำถิ่น แต่เป็นองค์การอนามัยโลก (WHO) แต่ผมก็เข้าใจได้ว่าทำไมรัฐบาลถึงทำแบบนั้น” โบเวอร์แมน กล่าว

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยพยายามหาทางเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564 เป็นต้นมา ด้วยโครงการ Test&Go ที่ตัดขั้นตอนการกักตัวออกไป แต่โครงการต้องถูกหยุดไว้ชั่วคราวในเดือน ธ.ค. 2564 จากการเริ่มตรวจพบไวรัสโควิด-19 สายโอมิครอน อันเป็นเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ในเวลานั้น ก่อนที่ต้นปี 2565 จะกลับมาดำเนินโครงการต่ออีกครั้ง และได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวแล้วหลายแสนคน ถึงกระนั้นก็ยังต้องเผชิญความท้าทายอีกเรื่องหนึ่ง คือสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ชาวรัสเซียที่เป็นอีกกลุ่มซึ่งนิยมไปเที่ยวประเทศไทยลดจำนวนลง

นับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2565 เป็นต้นไป ชาวต่างชาติที่จะเข้าประเทศไทยไม่ต้องตรวจโควิดแบบ RT-PCR ก่อนออกเดินทาง ซึ่งเป็นความพยายามเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว โบเวอร์แมน กล่าวว่า ตนมองเห็นเป้าหมายของทางการไทยได้อย่างชัดเจน นั่นคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ดังนั้นหากพวกเขาสามารถลดเงื่อนไขลงได้ย่อมไม่ลังเลที่จะทำ แต่ตัวแปรสำคัญคือไวรัส

ในปี 2562 อันเป็นปีสุดท้ายของโลกในสภาวะปกติก่อนจะเผชิญสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ปีนั้นการท่องเที่ยวครองสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของไทยประมาณร้อยละ 11 และชาวไทยร้อยละ 20 ทำงานอยู่ในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว แต่ในปี 2563 เศรษฐกิจไทยถึงขั้นถดถอยไปร้อยละ 6.1 ก่อนจะค่อยๆ กลับมาฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 จากการกลับมาของนักท่องเที่ยว รวมถึงการส่งออกที่เพิ่มขึ้น

นอกจากประเทศไทย บรรดาเพื่อนบ้านร่วมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ก็เริ่มทยอยกลับมาเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง อาทิ กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ในขณะที่มาเลเซียประกาศเปิดประเทศในเดือน เม.ย. 2565 ทั้งนี้ แม้ไทยจะลดมาตรการลง แต่บางอย่างก็ยังทำให้นักท่องเที่ยวเหนื่อยล้า นั่นคือการตรวจ RT-PCR ครั้งแรกเมื่อเดินทางเข้าไทย จากนั้นตรวจซ้ำด้วยวิธี ATK ในวันที่ 5 ที่อยู่ในไทย หากพบว่าติดเชื้อ ก็จะต้องเข้าสู่สถานที่กักกันและรักษาโรคที่ทางการไทยกำหนด

โบเวอร์แมน มองว่า ยังคงมีความกลัวของนักท่องเที่ยวที่อยู่เหนือการควบคุม เพราะหากพบว่าติดเชื้อ จะไม่มีทางเลือกที่ให้กักตัวอยู่ในโรงแรมเป็นเวลา 6 วัน แล้วปล่อยตัวในวันที่ 7 นั่นคือความอันตรายของไวรัสโควิด-19 และมันได้ถูกฝังลึกในจิตสำนักของผู้คน จึงไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนนโยบายที่เกี่ยวกับโควิด-19 สู่ความเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งไม่เพียงการทำงานของระบบสาธารณสุข แต่รวมทั้งหมดตั้งแต่การรักษา การเดินทางและการใช้ชีวิตที่จะต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และตนเห็นว่า สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วยังห่างจากจุดนั้น

ขอบคุณเรื่องจาก voanews

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘เวียดนาม’จับชาย2คน ลอบขนสารเร่งทุเรียนสุกจากไทยเข้าประเทศ ‘เวียดนาม’จับชาย2คน ลอบขนสารเร่งทุเรียนสุกจากไทยเข้าประเทศ
  • \'โรคหัด\'ระบาดหนัก! เกาหลีใต้-เวียดนาม-ไทยยอดพุ่ง เสี่ยงลามทั่วเอเชีย 'โรคหัด'ระบาดหนัก! เกาหลีใต้-เวียดนาม-ไทยยอดพุ่ง เสี่ยงลามทั่วเอเชีย
  • ‘ไทย’จีบ‘เกาหลีใต้’ลงทุน‘แลนด์บริดจ์’ หยอดคำหวานเชื่อใจทุนโสมขาวมากกว่า‘จีน’ ‘ไทย’จีบ‘เกาหลีใต้’ลงทุน‘แลนด์บริดจ์’ หยอดคำหวานเชื่อใจทุนโสมขาวมากกว่า‘จีน’
  • สยามเมืองยิ้ม! ไทยติดอันดับ6 \'เมืองที่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติมากที่สุดในโลก\' สยามเมืองยิ้ม! ไทยติดอันดับ6 'เมืองที่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติมากที่สุดในโลก'
  • ศุลกากร‘อินเดีย’แฉขบวนการลักลอบขน‘กัญชา’จากไทย ใช้ผู้หญิงลำเลียงมากขึ้น ศุลกากร‘อินเดีย’แฉขบวนการลักลอบขน‘กัญชา’จากไทย ใช้ผู้หญิงลำเลียงมากขึ้น
  • ‘ทรัมป์’ล็อกเป้าตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าหลายชาติในเอเชีย ‘ไทย’เสี่ยงสูง-ส่อกระทบหนัก ‘ทรัมป์’ล็อกเป้าตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าหลายชาติในเอเชีย ‘ไทย’เสี่ยงสูง-ส่อกระทบหนัก
  •  

Breaking News

ไร้ปาฏิหาริย์! 'น้องน้ำตาล'เสียชีวิตที่แม่น้ำเจ้าพระยา ญาติเชื่อถูกลวงฆาตกรรม

เที่ยวบินหลายลำลงจอดฉุกเฉิน'อู่ตะเภา' หลัง'สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง'เจอฝนถล่มหนัก

'ในหลวง-พระราชินี' พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าฯ

กมธ.พัฒนาสังคมฯจัดสัมมนา‘สลาก กอช.’ หนุน‘หวยเกษียณ’สร้างหลักประกันวัยชรา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved