วันจันทร์ ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
‘หนี้ท่วม-จีนเทา-กระทบสิ่งแวดล้อม’ สื่อ‘สหรัฐฯ’ชี้3ปัญหามาพร้อม‘1แถบ1เส้นทาง’ใน‘อาเซียน’

‘หนี้ท่วม-จีนเทา-กระทบสิ่งแวดล้อม’ สื่อ‘สหรัฐฯ’ชี้3ปัญหามาพร้อม‘1แถบ1เส้นทาง’ใน‘อาเซียน’

วันจันทร์ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566, 12.45 น.
Tag : หนี้ท่วม จีนเทา สิ่งแวดล้อม สื่อสหรัฐฯ อาเซียน
  •  

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 สำนักข่าว Voice of America สหรัฐอเมริกา เสนอรายงานพิเศษ China’s Trade Grows in SE Asia Under BRI, as Do Concerns ว่าด้วยการไหลเข้าของทุนจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ตามยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) แต่อีกด้านหนึ่ง ก็มีความกังวลเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งการแผ่ขยายของกลุ่ม “จีนเทา” มิจฉาชีพประเภทต่างๆ รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 10 ปีที่ก่อน ส่งให้การค้ากับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า รัฐบาลจีนทุ่มเงินหลายพันล้านเพื่อช่วยสร้างทางรถไฟ สนามบิน ท่าเรือ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ การเชื่อมต่อนี้มาพร้อมกับผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจ เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอาชญากรรม


ข้อมูลจาก สถาบันการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานคลังสมองในอังกฤษ พบว่า ระหว่างปี 2556-2564 อาเซียนเป็นที่ตั้งของโครงการ Belt and Road 131 โครงการ ซึ่งมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ขณะที่ ศ.เฉิน ฉางเหมา (Prof.Chen Shangmao) อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกิจการสาธารณะ (Public Affairs) มหาวิทยาลัยฝอกวงของไต้หวัน กล่าวว่า BRI มีขอบเขตที่กว้างมาก จึงมีประโยชน์เชิงบวกบางประการ ตัวอย่างเช่น ในส่วนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจทั้งหมด การค้าและการลงทุน ซึ่งเห็นได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปริมาณการค้าระหว่างจีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานข้อมูลสภาแห่งรัฐของจีนรายงานว่าในปี 2565 ปริมาณการค้าระหว่างจีนและสมาชิก 10 รายของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนมีมูลค่าถึง 9.753 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 4.436 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2556 หนึ่งในโครงการที่โดดเด่นคือ รถไฟความเร็วปานกลางเชื่อมระหว่างจีนกับ สปป.ลาว ระยะทาง 1,000 กิโลเมตร มูลค่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ สร้างเสร็จในเดือน ธ.ค. 2564 โครงการดังกล่าวได้ช่วยลดเวลาการเดินทางระหว่างกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาวและชายแดนทางใต้ของจีน และในอนาคตคาดว่าจะเชื่อมผ่านกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทย ลงใต้ไปจนถึงประเทศสิงคโปร์

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนสิ่งที่ลาวได้รับจากโครงการนี้จะมีน้อย ดังความเห็นของ พลศักดิ์ เรืองปัญญาโรจน์ (Pollasak Ruongpanyaroj) กรรมการบริหารสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ที่กล่าวว่า รถไฟจีน-ลาวได้มอบผลประโยชน์ที่เป็นไปได้อย่างจำกัดให้กับหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รถไฟความเร็วสูงระหว่างลาวและจีนสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับลาวได้น้อยมาก เห็นอะไรในลาวที่สามารถขายให้กับจีนได้หรือไม่ การชำระคืนเงินกู้นั้นสูงมาก

สอดคล้องกับ ศ.เฉิน จาก ม.ฝอกวง ไต้หวัน ที่กล่าวว่า ทางรถไฟสายนี้เป็นสิ่งที่จีนต้องการ ไม่ใช่ลาว เนื่องจากก่อนที่จะมีเครือข่ายการขนส่งอื่นๆ ปัจจุบันทางรถไฟไม่ได้ช่วยลาวได้มากนัก แต่หนี้ก้อนใหญ่ที่จีนสันนิษฐานไว้ ทำให้โลกภายนอกวิตกกังวลอย่างยิ่ง ลาวเป็นหนี้จีนคิดเป็นประมาณร้อยละ 60ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) นั่นเป็นสิ่งที่น่ากลัว มันยังทำให้เกิดคำถามอื่นๆ เช่น จะจ่ายคืนอย่างไร? แล้วจะเป็นอย่างไรเมื่อไม่สามารถคืนเงินได้? ซึ่งหมายถึงการอาจต้องปล่อยให้พวกเขา (เจ้าหนี้) เรียกร้องทางการเมืองตามที่ต้องการ

นักวิเคราะห์กล่าวว่าด้วยการลงทุนจำนวนมหาศาล จำนวนชาวจีนในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น และความเชื่อมโยงที่มาพร้อมกับ BRI กลุ่มอาชญากรได้ติดตามและขยายขอบเขตการดำเนินงานของพวกเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ เมืองท่าสีหนุวิลล์ในกัมพูชา ซึ่งกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภายใต้โครงการ BRI ของจีน เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงกับปัญหาต่างๆ ตั้งแต่ยาเสพติดและการค้ามนุษย์ ไปจนถึงการฉ้อโกงทางโทรคมนาคม (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) การขายบริการทางเพศ และการพนัน

พลศักดิ์ จาก PIM ประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชาวจีนมีส่วนร่วมในการฉ้อโกงทางโทรคมนาคมและการพนันออนไลน์ ซึ่งถูกปราบปรามโดยเมียนมา กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ดังนั้นพวกเกี่ยวข้องกับ “ธุรกิจสีเทา” จึงเดินทางเข้ามาในไทยเพื่อเปิดบ่อนการพนันและสถานบันเทิง และพวกเขาก็ค้ายาเสพติดด้วย ซึ่งเรื่องนี้ รายงานของ สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ที่เผยแพร่เมื่อเดือน ก.ย. 2566 ก็กล่าวในทำนองเดียวกัน

“การค้ามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการบังคับอาชญากรให้กระทำการหลอกลวงทางออนไลน์และการฉ้อโกงทางการเงิน โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) และพื้นที่อื่นๆ ของกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (PDR) และเมียนมา รวมถึงประเทศปลายทางอื่นๆ (รวมถึงมาเลเซียและฟิลิปปินส์) กลายเป็นเทรนด์ใหม่และกำลังเติบโต” รายงานของ UNODC ระบุ

ทางการจีนได้เพิ่มความพยายามในการปราบปรามปัญหาทั้งในจีนและกับหน่วยงานในภูมิภาค ในปี 2565 รายงานของ Global Times สื่อที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ระบุว่า ทางการได้ดำเนินการไปแล้ว 464,000 คดีที่เกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์และการฉ้อโกงทางโทรคมนาคม เพราะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การพนันออนไลน์และการฉ้อโกงทางโทรคมนาคมได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในจีนเช่นกัน ไม่ต่างกับประเทศในอาเซียน เช่น เมียนมา ไทย และ รวมถึงในเอเชียใต้อย่างศรีลังกา โดยมีชาวจีนบางส่วนตกเป็นเหยื่อฆาตกรรม การลักพาตัว และการค้ามนุษย์

ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้อยู่อาศัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั่วทั้งภูมิภาค รวมถึงเหมืองแร่ ในเดือน ก.ค. 2566 รัฐบาลอินโดนีเซียระงับใบอนุญาตการขุดของ PT Dairi Prima Mineral (DPM) เพื่อตรวจสอบความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นที่บริษัทอาจก่อให้เกิด โดยห้ามไม่ให้ทำการขุดแร่สังกะสีใน Dairi Regency ในสุมาตราเหนือ ซึ่งทุนจีนคือ Foreign Engineering & Construction Co. Ltd. ของ China Nonferrous Metal Industry ถือหุ้นร้อยละ 51 ใน DPM

ตนกัม ปังกาบีน (Tongam Panggabean) กรรมการบริหารของ Bakumsu กลุ่มผู้สนับสนุนกฎหมายในสุมาตราเหนือ ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนท้องถิ่นในอินโดนีเซีย กล่าวว่า บริษัทยังไม่ได้ออกแถลงการณ์ต่อสาธารณะเกี่ยวกับข้อกังวลนี้ ซึ่งในฐานะบริษัทที่พูดอยู่เสมอว่าพวกเขามีระบบที่ยั่งยืนและเคารพสิทธิชุมชน ควรมีการตอบสนองเชิงบวกต่อคำตัดสิน คิดว่าการไม่ตอบสนองอย่างเปิดเผยต่อคดีนี้หรือความต้องการของชุมชน นั้นบ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนไม่สนใจผลกระทบของบริษัทของพวกเขาในประเทศอื่นอย่างแท้จริง

นักวิเคราะห์กล่าวว่า BRI ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการเมืองในภูมิภาค รวมถึงการท้าทายค่านิยมตะวันตกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังบทความที่ เฟลิกซ์ เค. ฉาง (Felix K. Chang) นักวิจัยอาวุโสของสถาบันวิจัยนโยบายต่างประเทศ สถาบันคลังสมองในสหรัฐฯ เผยแพร่เมื่อเดือน ก.ย. 2566 ระบุว่า ไม่ว่าเส้นทางที่จีนเลือกสำหรับ BRI จะเป็นเช่นไร ยิ่งตรรกะทางเศรษฐกิจของจีนมีความคดเคี้ยวมากขึ้น มิติทางการเมืองของจีนก็จะยิ่งเด่นชัดมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าเป้าหมายทางเศรษฐกิจของ BRI อาจเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แต่เป้าหมายทางการเมืองยังคงมุ่งเน้นอยู่

ผู้สังเกตการณ์พบว่าความพยายามด้าน “ซอฟท์เพาเวอร์” ของจีนในภูมิภาคดังกล่าว กำลังให้ผลลัพธ์ที่หลากหลาย จากการสำรวจสถานะของอาเซียนที่เผยแพร่ในปี 2565 และ 2566 โดยศูนย์ศึกษาอาเซียนในสิงคโปร์ ที่สถาบัน ISEAS Yusof Ishak จีนถือเป็นประเทศที่มีอิทธิพลทางการเมืองและยุทธศาสตร์มากที่สุดในภูมิภาคในรอบทั้งสองปี ในปี 2566 ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร้อยละ 68.5 กล่าวว่า พวกเขากังวลเกี่ยวกับอิทธิพลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นของจีน ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 76.4 ในปี 2565

ถึงกระนั้น ศิเวก ธรรมา เนการา (Siwage Dharma Negara) นักวิจัยอาวุโสของสถาบัน ISEAS Yusof Ishak ไม่เชื่อว่าจีนกำลังใช้ BRI เพื่อบังคับการส่งเสริมลัทธิคอมมิวนิสต์หรือการปกครองแบบเผด็จการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ผู้คนในภูมิภาคจะตระหนักถึงอิทธิพลทางการเมืองที่มาพร้อมกับ BRI แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขามองว่ามันเป็นสิ่งเลวร้าย

“ตราบเท่าที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับประเทศหรือหุ้นส่วนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของตนเองได้ต่อไป ผมคิดว่าจะมีพื้นที่สำหรับการทำงานร่วมกัน และเมื่อพิจารณาถึงการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงระหว่างสหรัฐฯ และจีน ในอนาคต จีนก็อาจเปลี่ยนแนวทาง BRI ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เนการา กล่าว

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'จีน–อาเซียน\'บรรลุข้อตกลง FTA เวอร์ชันใหม่ 3.0 'จีน–อาเซียน'บรรลุข้อตกลง FTA เวอร์ชันใหม่ 3.0
  • ‘ทุนจีน’ไหลเข้า‘อาเซียน’ ยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นได้เพียงใด? ‘ทุนจีน’ไหลเข้า‘อาเซียน’ ยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นได้เพียงใด?
  • ‘ญี่ปุ่น’พร้อมร่วมมือ‘อาเซียน’ รับมือ‘ทรัมป์’ตั้งกำแพงภาษี ‘ญี่ปุ่น’พร้อมร่วมมือ‘อาเซียน’ รับมือ‘ทรัมป์’ตั้งกำแพงภาษี
  • รวมกันเราอยู่! เลขาธิการ‘อาเซียน’เรียกร้อง10ชาติสมาชิกจับมือรับศึกกำแพงภาษี รวมกันเราอยู่! เลขาธิการ‘อาเซียน’เรียกร้อง10ชาติสมาชิกจับมือรับศึกกำแพงภาษี
  • เช็คเรตติ้ง‘มหาอำนาจ’ ชาติไหนได้ใจ‘อาเซียน’ เช็คเรตติ้ง‘มหาอำนาจ’ ชาติไหนได้ใจ‘อาเซียน’
  • บทเรียนจากเมียวดี! สื่ออินโดฯจี้‘อาเซียน’ต้องเอาจริงปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ บทเรียนจากเมียวดี! สื่ออินโดฯจี้‘อาเซียน’ต้องเอาจริงปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์
  •  

Breaking News

'ชวน–นิพนธ์'นำคณะเยี่ยมชมตลาดทุเรียนไทยในเฉิงตู ย้ำการรักษาคุณภาพสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคจีน

เปิดตลาดราคาทองวันนี้ ปรับลง200 ทองรูปพรรณ 52,200 บาท

ชายอิตาลีถูกลักพาตัวทรมาน บีบเอารหัสบิตคอยน์ในนิวยอร์ก

ทุบเปรี้ยง! ‘อดีตสว.ดิเรกฤทธิ์’ชี้หลักฐานมัดชั้น14 ถ้าไม่มีวงจรปิด เป็นที่คุมขังไม่ได้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved