วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
เรื่องเล่าจากเหยื่อไต้หวัน! หนีนรกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ วิธีนอกแบบพึ่งได้มากกว่ารัฐ

เรื่องเล่าจากเหยื่อไต้หวัน! หนีนรกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ วิธีนอกแบบพึ่งได้มากกว่ารัฐ

วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 12.59 น.
Tag : แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ค้ามนุษย์ ตัดไฟแก๊งคอล ไต้หวัน เมียนมา เมียวดี แม่สอด
  •  

13 ก.พ. 2568 สำนักข่าว ABC ของออสเตรเลีย เสนอรายงานพิเศษ Taiwan's government accused of failing victims trapped in scam compounds ว่าด้วยรัฐบาลไต้หวันถูกประชาชนของตนเองวิพากษ์วิจารณ์จากความไร้ประสิทธิภาพในการช่วยเหลือชาวไต้หวันที่ถูกล่อลวงไปยังประเทศไทย ก่อนถูกพาข้ามแดนไปยังฝั่งประเทศเมียนมาแล้วถูกบังคับให้ร่วมขบวนการหลอกลวงทางโทรคมนาคม หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์

สื่อแดนจิงโจ้ เริ่มเรื่องด้วยชะตากรรมของ เซี่ย เยว่-เผิง (Hsieh Yueh-peng) ชายชาวไต้หวัน ที่บอกว่าตนเองเคย “ผ่านนรก” มาแล้วหลายครั้ง พร้อมกับโชว์มือให้ดูแล้วบอกว่านิ้วของตน 3 นิ้วยังคงชาอยู่ ซึ่งแพทย์ที่ทำการรักษาอธิบายว่า เป็นอาการของเส้นประสาทได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจเกิดจากการที่เซี่ยถูกพันธนาการด้วยกุญแจมือที่แน่นจนกดทับข้อมือ เซี่ยนั้นเคยเป็นนักแสดงผาดโผน “ควงกระบองไฟ” อาชีพที่ต้องอาศัยความแข็งแรงของมืออย่างมาก ดังนั้นด้วยอาการบาดเจ็บ ทำให้เขาไม่มั่นใจว่าจะได้กลับไปแสดงอีกหรือไม่


หนุ่มไต้หวัน เล่าว่า เมื่อ 1 เดือนก่อนหน้า ตนคือผู้ที่ “หนีนรก” ซึ่งหมายถึงพื้นที่ในเมียนมาที่ถูกปกครองด้วยองค์กรอาชญากรรมชาวจีน แก๊งเหล่านี้ได้โฆษณาชวนเชื่อเรื่อง “งานรายได้สูง” เพื่อล่อลวงคนจากทั่วโลกให้เดินทางไปที่นั่น ก่อนจะถูกบังคับให้เป็นแรงงานทาสในอุตสาหกรรมการหลอกลวงทางโทรคมนาคม ณ ที่นั่น การทารุณกรรมผู้ที่พยายามหลบหนีหรือไม่สามารถหลอกลวงเงินจากเหยื่อได้ตามเป้า เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป

อุตสาหกรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์เฟื่องฟูในเมียนมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์สงครามกลางเมืองกลับมารุนแรง แต่ก็ยังมีฐานปฏิบัติการของกลุ่มอาชญากรประเภทนี้ในพื้นที่อื่นๆ อีกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กระทั่งประชาคมโลกให้ความสนใจอย่างจริงจัง เมื่อเกิดกรณีนักแสดงหนุ่มชาวจีน หวังซิง (Wang Wing) ถูกล่อลวงไปยังประเทศไทยโดยอ้างว่ามีการถ่ายทำละครซีรีส์ แต่เมื่อไปถึงกลับถูกพาตัวจากกรุงเทพฯ ไปทางตะวันตก ข้ามชายแดน จ.ตาก ไปยังเมืองเมียวดีของเมียนมา ซึ่งเป็นที่รับรู้กันว่าเป็นรังใหญ่ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์

หลังเรื่องนี้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะโดยแฟนสาวของหวัง แรงกดดันจากสังคมได้ทำให้ทางการของทั้งจีนและไทยหาทางช่วยเหลือจนหวังได้รับอิสรภาพและเดินทางกลับจีนอย่างปลอดภัย ซึ่งเซี่ยระบุว่า กรณีของหวังนั้นคล้ายกับตน โดยเมื่อเดือน ธ.ค. 2567 ตนได้เดินทางจากไต้หวันไปประเทศไทย เพราะเห็นโฆษณาหาคนร่วมงานแสดง ตนยอมรับว่าไม่ได้เอะใจอะไร เพราะโฆษณานั้นก็เหมือนกับโฆษณาหางานครั้งก่อนๆ ที่ตนเคยรับงาน

เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ เซี่ยเล่าว่า มีรถมารอรับที่สนามบินตามที่นัดหมายกันไว้ กระทั่งเริ่มรู้สึกไม่ชอบมาพากล เมื่อถูกพาขึ้นเรือลำเล็กๆ ข้ามแม่น้ำเมยไปฝั่งเมียนมา แต่ก็สายเกินไปที่จะหลบหนี คนที่ดูแลสถานที่แห่งนั้นบอกว่า ตนต้องทำการหลอกลวงผู้คน หรือไม่ก็ต้องหาเงิน 3 หมื่นเหรียญสหรัฐ (ราว 1,050,000 บาท) มาไถ่ตัว และถูกจับเข้ากระบวนการฝึกอบรม มีตำราที่เรียกว่า “คู่มือเชือดหมู” ที่สอนเรื่องการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์และกลยุทธ์การโน้มน้าวให้เหยื่อเชื่อใจจนยอมโอนเงินให้โดยอ้างถึงแผนการลงทุนปลอมๆ ที่อุปโลกน์ขึ้น  

ในฐานปฏิบัติการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เซี่ยทำงานอยู่นั้น มีเป้าหมายหลักที่เหยื่อชาวออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปกลุ่มแก๊งเหล่านี้มักเน้นเหยื่อที่เป็นชาวจีนโพ้นทะเลผ่านทางเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ เช่น yeeyi.com แต่หากจะหาเหยื่อที่เป็นคนชาติอื่นๆ ก็จะใช้ช่องทางแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ เช่น อินสตาแกรรม โดยมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยแปลภาษาเพื่อให้สื่อสารกับเหยื่อได้

ในเดือน ม.ค. 2567 เซี่ยพยายามติดต่อเพื่อนของเขาเพื่อขอความช่วยเหลือได้สำเร็จผ่านทางบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ปลอมที่ใช้ในการหลอกลวง แต่สิ่งที่เหลือเชื่อก็เกิดขึ้น เมื่อผู้ดูแลสถานที่นั้นยอมปล่อยให้เซี่ยได้กลับบ้าน โดยให้เหตุผลว่ามีคนมาจ่ายเงินค่าไถ่ตัวให้แล้ว ซึ่งเซี่ยระบุว่า จนถึงวันนี้ตนก็ยังไม่รู้ว่าใครจ่ายเงินไถ่ตัว แต่คาดเดาว่าอาจมีแรงกดดันจากสาธารณชน เมื่อกรณีของตนปรากฏเป็นข่าว

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า โฆษกของ Meta บริษัทที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อย่างอินสตาแกรมและเฟซบุ๊ก กล่าวว่า บริษัทจะยังคงลงทุนกับทีมงานและเทคโนโลยีเพื่อตรวจจับและหยุดยั้งการหลอกลวง โดยเพิ่งประกาศโครงการต่างๆ มากมายเพื่อป้องกันการหลอกลวง รวมถึงการทดสอบเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าเพื่อระบุและหยุดยั้งการหลอกลวงโดยใช้คนดังเป็นเหยื่อ และการขยายความร่วมมือของเรากับ Australian Financial Crimes Exchange (AFCX) เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการหลอกลวง และในปี 2567 ที่ผ่านมา ยังได้ปิดบัญชีมากกว่า 2 ล้านบัญชีที่เชื่อมโยงกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียนมา ลาว กัมพูชา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และฟิลิปปินส์

ตามรายงานของมูลนิธิช่วยเหลือสตรีไทเปและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเหยื่อการหลอกลวงทางออนไลน์ ชาวไต้หวันอย่างน้อย 100 คนยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ในฐานปฏิบัติการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียนมา แต่จำนวนที่แท้จริงอาจสูงกว่านั้น ซึ่งบางคนกล่าวหาว่าทางการไต้หวันไม่ได้ให้ความช่วยเหลือพวกเขาอย่างเพียงพอ ดังกรณีของ 2 พี่น้องอย่าง เฉินเสี่ยวผิง (Chen Xiaoping) และ เฉินเสี่ยวอัน (Chen Xiaoan)

ในเดือน ก.ย. 2567 ทั้งคู่ได้แจ้งความกับตำรวจและกระทรวงการต่างประเทศของไต้หวัน ว่าลูกชายของเฉินเสี่ยวผิง ถูกควบคุมตัวอยู่ในฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียนมา ซึ่ง เฉินเสี่ยวอัน ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีกระบวนการอย่างเป็นทางการที่ชัดเจนในการจัดการกับคดีเหล่านี้ ทั้งนี้ ตำรวจได้จับกุมผู้ที่ชักชวนลูกชายของเฉินเสี่ยวผิงไปทำงาน “ขนทองคำ” ที่เป็นคำซึ่งใช้เรียกการลักลอบขนสิ่งผิดกฎหมายจากไทยมายังไต้หวัน แต่เฉินเสี่ยวอัน กล่าวว่า ตำรวจไม่เคยทั้งตำรวจและกระทรวงการต่างประเทศไม่เคยติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเลย

ในเดือน ธ.ค. 2567 พี่น้องคู่นี้ได้ขอความช่วยเหลือจาก จาง ฉี-ไค (Chang Chi-kai) สมาชิกรัฐสภาไต้หวัน ซึ่งเคยให้ความช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์รายอื่นๆ ซึ่งจางได้ประเมินสถานการณ์และกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ช่องทางอย่างเป็นทางการมีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่ไม่เป็นทางการ และแนะนำให้พี่น้องคู่นี้ติดต่อองค์กรนอกภาครัฐหลายแห่ง หรือก็คือ “ให้มาเฟียช่วยอาจได้ผลกว่าให้รัฐช่วย” ซึ่งตามรายข่าวของสื่อท้องถิ่น องค์กรอาชญากรรมถูกระบุว่าเป็น “คนกลาง” ในการเจรจาระหว่างครอบครัวเหยื่อกับผู้ดูแลฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์

เหวินเส้าเฉิง (Wen Shaocheng) ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในบริเวณเดียวกับหลานชายของเฉินเสี่ยวอัน ได้เดินทางกลับไต้หวัน หลังจากพ่อของเขาจ่ายเงินค่าไถ่ 50,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 1.75 ล้านบาท) เล่าว่า พ่อของตนได้ขอความช่วยเหลือจากกลุ่มมาเฟียจีน ซึ่งมีคำเรียกในภาษาจีนว่า “ซานเหอ (Triad)” และได้มีโอกาสเจรจากับผู้คุมฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์โดยตรง โดยที่รัฐบาลไม่ได้ช่วยเหลืออะไรตนมากนัก อย่างไรก็ตาม ทางการได้ติดต่อมาเพื่อให้ตนช่วยให้ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในไต้หวัน

แซมมี เฉิน (Sammy Chen) นักธุรกิจที่ผันตัวมาเป็นอาสาสมัครกู้ภัยเหยื่อการค้ามนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ช่องทางทางการของไต้หวันโดยพื้นฐานแล้วไม่ได้ผล กระทรวงการต่างประเทศมักอ้างว่าเป็นปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอ้างว่าเป็นปัญหาด้านกิจการระหว่างประเทศ แต่ก็เข้าใจได้ว่า เหตุผลส่วนหนึ่งที่ไต้หวันไม่ดำเนินการใดๆ เป็นเพราะไต้หวันขาดการยอมรับทางการทูต ซึ่งหมายความว่าไต้หวันไม่สามารถเจรจาเรื่องการช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์กับทางการเมียนมาหรือไทยได้โดยตรง

ในปี 2566 หน่วยงาน Control Yuan ที่เป็นหน่วยงานตรวจสอบการทำหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐในไต้หวัน ได้เผยแพร่รายงานที่ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถเข้าใจถึงความร้ายแรงของคดีค้ามนุษย์ชาวไต้หวันในกัมพูชา และกำลังทำให้การช่วยเหลือล่าช้า อย่างไรก็ตาม ตามคำชี้แจงของกระทรวงฯ ที่สำนักข่าว ABC ได้รับ ยืนยันว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจกับการช่วยเหลือเหยื่อ พร้อมกับยกตัวอย่างเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2568 ได้ช่วยส่งตัวผู้เสียหาย 1,533 รายกลับไต้หวันอย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม แซมมี แย้งว่า ทางการไต้หวันทำเพียงให้บริการ "รับ-ส่ง" ที่สนามบินเท่านั้น ซึ่งตามข้อมูลที่ ABC ได้รับจากหน่วยภาครัฐของไต้หวัน สำนักงานสอบสวนคดีอาญา บอกว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ เช่นเดียวกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศ ยอมรับว่าไม่ได้ติดตามตัวเลขเหยื่อค้ามนุษย์ชาวไต้หวันที่ถูกควบคุมตัวในเมียนมา

แต่อีกด้านหนึ่ง แซมมี ระบุว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เดินทางไปยังฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์โดยไม่รู้ตัวว่าจะตกเป็นเหยื่อ กล่าวคือ บางคนก็ตั้งใจไปทำงานนี้ แต่ทนความโหดร้ายจากการลงโทษเมื่อทำยอดไม่ได้ตามเป้าไม่ไหว และมีบางคนที่เคยได้รับการช่วยเหลือออกมาแล้วก็ยังตัดสินใจกลับไปที่นั่นอีก ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องเล่าของเซี่ย ที่กล่าวว่า นักต้มตุ๋นบางคนในนั้นใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย และมีคนหนึ่งเปิดตู้เก็บของของเขาให้ดูว่ามีเงินเป็นปึกๆ เก็บอยู่ในนั้น  

และแม้แต่คนที่วันแรกๆ จำใจทำเพราะถูกบังคับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า เส้นแบ่งระหว่างความเป็นเหยื่อกับอาชญากรก็เลือนรางลงไปเรื่อยๆ เพราะด้านหนึ่งนอกจากการถูกลงโทษอย่างรุนแรงแล้ว อีกด้านหนึ่งแก๊งเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่าใครที่หลอกเหยื่อได้มากก็จะได้เงินส่วนแบ่งมากไปด้วย ซึงตามคำบอกเล่าของเซี่ย บางคนก็ได้เงินเป็นกอบเป็นกำจากการหลอกลวง และนั่นทำให้เหยื่อที่หมดหวังเปลี่ยนท่าทีจากต่อต้านเป็นเข้าร่วม

ทั้งเซี่ยกับเหวิน กังวลว่า หากพวกตนอยู่ในฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์นานกว่านี้ อาจถูกมองเป็นอาชญากรมากกว่าเหยื่อก็ได้ ซึ่ง ชาร์ลีน เฉิน (Sharlene Chen) จากองค์กร Humanity Research Consultancy ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านการค้าทาส อธิบายความกังวลดังกล่าวว่า ทางการในบางประเทศยังคงปฏิบัติต่อเหยื่อถูกบังคับให้เข้าร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมองว่าเป็นอาชญากรมากกว่าจะเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ เหยื่อเหล่านี้ถูกบังคับให้ทำงานและก่ออาชญากรรมโดยขัดต่อความสมัครใจ ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่สำคัญหลายประการของการเป็นทาสยุคใหม่

รายงานข่าวทิ้งท้ายด้วยเรื่องของเฉินเสี่ยวผิง ซึ่งลูกชายของเธอยังติดอยู่ในเมียนมา ที่ยังคงอยู่กับการรอคอยอันแสนทรมานที่ไม่รู้จบ เพราะยอมรับว่าไม่มีทางจ่ายค่าไถ่ได้ และรัฐบาลก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยสนใจสถานการณ์เท่าไหร่

ขอบคุณภาพจากรอยเตอร์

ขอบคุณเรื่องจาก

https://www.abc.net.au/news/2025-02-13/taiwanese-victims-trapped-in-myanmar-scam-compounds/104898980

043...

(ภาพจากรอยเตอร์) 5 ก.พ. 2568 มุมมองทั่วไปจาก อ.แม่สอด จ.ตาก ฝั่งไทย ที่มองไปยังเมืองชเวก๊กโก ซึ่งเป็นกาสิโน สถานบันเทิง และการท่องเที่ยวในเมียนมา โดยทางการไทยประกาศระงับการจ่ายไฟฟ้าไปยังบางพื้นที่ชายแดนที่ติดกับเมียนมา เพื่อพยายามจัดการกับฐานปฏิบัติการกลุ่มอาชญากรรมลอกลวงทางออนไลน์ ท่ามกลางแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อสถานที่ผิดกฎหมายที่ควบคุมตัวผู้คนจำนวนมากจากหลายสัญชาติ

 

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • จ่อขึ้นฝั่ง! \'จีน\'เตรียมรับมือพายุโซนร้อน\'ดานัส\' จ่อขึ้นฝั่ง! 'จีน'เตรียมรับมือพายุโซนร้อน'ดานัส'
  • \'ไต้ฝุ่นดานัส\'ถล่มไต้หวันอ่วม! 4แสนหลังคาเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ โรงเรียน-ธุรกิจปิดหนีพายุ 'ไต้ฝุ่นดานัส'ถล่มไต้หวันอ่วม! 4แสนหลังคาเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ โรงเรียน-ธุรกิจปิดหนีพายุ
  • จับ2รัสเซีย-2กัมพูชา แอบอ้าง‘ฮุน เซน’หลอกลงทุนออนไลน์ จับ2รัสเซีย-2กัมพูชา แอบอ้าง‘ฮุน เซน’หลอกลงทุนออนไลน์
  • \'ฮุน เซน’ซัดไทยต่างหาก‘ต้นทางแก๊งคอลฯ’  แต่กลับโยนบาปให้กัมพูชา 'ฮุน เซน’ซัดไทยต่างหาก‘ต้นทางแก๊งคอลฯ’ แต่กลับโยนบาปให้กัมพูชา
  • ‘แอมเนสตี้’เรียกร้อง‘อินโดนีเซีย’กดดัน‘กัมพูชา’เอาจริงปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์-ค้ามนุษย์ ‘แอมเนสตี้’เรียกร้อง‘อินโดนีเซีย’กดดัน‘กัมพูชา’เอาจริงปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์-ค้ามนุษย์
  • นักวิชาการเขมรโบ้ย‘ไทย’ปั่นเรื่อง‘กัมพูชา’แหล่งซ่องสุ่มแก๊งคอลฯปกปิดปัญหาภายในของตนเอง นักวิชาการเขมรโบ้ย‘ไทย’ปั่นเรื่อง‘กัมพูชา’แหล่งซ่องสุ่มแก๊งคอลฯปกปิดปัญหาภายในของตนเอง
  •  

Breaking News

ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved