วันเสาร์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
LIFE&HEALTH : เป็นเบาหวาน  เลือกกินข้าวนอกบ้านอย่างไรดี

LIFE&HEALTH : เป็นเบาหวาน เลือกกินข้าวนอกบ้านอย่างไรดี

วันพุธ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.
LIFE&HEALTH เบาหวาน กินข้าวนอกบ้าน
  • Tweet

โรคเบาหวาน ใครได้เป็นแล้วหรือมีคนใกล้ตัวเป็น จะทราบดีถึงความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมได้ เพราะเป็นงานที่ต้องทำตลอด 24 ชั่วโมง 365 วันเลยทีเดียว แต่ใช่ว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว จะต้องคุมอาหารทุกอย่าง จนอดกินอาหารทุกเมนูอร่อยจนหมดความสุขในชีวิตไปเลย

การกินอาหารนอกบ้านเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ปัจจุบันการกินข้าวนอกบ้านไม่ใช่สิ่งต้องห้ามอีกแล้ว สำหรับผู้เป็นเบาหวาน อย่าเครียดจนไม่กล้าออกจากบ้าน เพราะปัจจุบันมีร้านอาหารสุขภาพมากมายให้เราเลือกใช้บริการ นอกจากรสชาติถูกปากแล้ว ยังจัดร้านให้มีบรรยากาศที่ดี บ้างอยู่ริมน้ำ วิวป่าเขา และทุ่งนาต่างๆ ให้เลือกมากมาย ถ้าจะไปกินข้าวนอกบ้านอย่างไรให้เป็นสุข ข้อมูลจาก อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพ (สหรัฐอเมริกา) กรรมการบริหาร มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ ให้คำแนะนำว่า ผู้เป็นเบาหวานสามารถวางแผนการกินได้เหมือนวางแผนชีวิตหรือวางแผนการทำงาน การกินอาหารนอกบ้านก็ดีต่อสุขภาพได้ ถ้ารู้จักเลือกกินและควบคุมปริมาณ เริ่มต้นจากการเรียนรู้วิธีเลือกอาหารและร้านอาหารที่ดี เพราะปัจจุบันมีร้านอาหารจำนวนมาก ที่ทำอาหารอร่อยและคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย และหากเป็นคนที่ต้องกินอาหารนอกบ้านบ่อยๆ ต้องพยายามคุมปริมาณการกินและเมนูอาหารให้มากที่สุด และเลือกร้านที่มีเมนูหลากหลาย

ผู้เป็นเบาหวานสามารถกินอาหารได้ทุกอย่าง แต่จะต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยมีทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และผักครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสมในมื้อที่จะกิน เน้นการลด หวาน มัน เค็ม ซึ่งปฏิบัติได้ไม่ยาก คนเป็นเบาหวานควรสั่งเมนูดังนี้

l เน้นอาหารประเภทอบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง หรือยำ

l ลดอาหารประเภททอดน้ำมันท่วม หรืออาหารไขมันสูง อย่างแกงกะทิ แต่ถ้าอยากกินก็สามารถกินได้ ในปริมาณน้อยๆ

l หากสั่งสลัดให้แยกน้ำสลัดแล้วใช้ส้อมจิ้มน้ำสลัด ก่อนที่จะจิ้มสลัดจะเป็นการควบคุมน้ำสลัดไม่ให้มากเกินไป

l เลือกสั่งผลไม้ แทนขนมหวาน

l หากคิดจะสั่งขนมหวาน ต้องกินข้าวมื้อนั้นให้น้อยลง เป็นการแลกเปลี่ยน เพราะในขนมมีทั้งแป้งและน้ำตาลอยู่แล้ว ใช้ความรู้ในการนับคาร์โบไฮเดรตแลกเปลี่ยนขนมหวานกับข้าวแป้งก็จะสามารถกินขนมหวานได้ แต่ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

l สั่งน้ำเปล่า น้ำชา น้ำสมุนไพร หรือเครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาล เพื่อประหยัดแคลอรีไว้กินอย่างอื่น

l ลดการกินเค็ม หรือลดปริมาณโซเดียมในอาหาร เรียนรู้การอ่านข้อมูลโภชนาการของอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพร้อมปรุง

l จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะเพิ่มแคลอรีโดยใช่เหตุ และยับยั้งการดูดซึมวิตามินและเกลือแร่ในอาหาร

มักมีคำถามว่า ผู้เป็นเบาหวานกินอาหาร ฟาสต์ฟู้ด จังค์ฟู้ดได้หรือไม่ ต้องบอกว่าผู้เป็นเบาหวานกินง่ายอยู่ง่าย สามารถกินได้ทั้งบุฟเฟ่ต์ และฟาสต์ฟู้ด แต่ไม่ควรกินบ่อย ต้องมีสติในการกิน เพราะต้องเข้าใจว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดจะมันจัดและเค็มจัด จะต้องเลือกกินให้ดีโดยยึดหลักโภชนาการที่ดีในปริมาณน้อย เพราะฟาสต์ฟู้ด 1 มื้อ อาจให้พลังงานสูงกว่า 1,000 แคลอรีขึ้นไป ทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ส่วนการกินบุฟเฟ่ต์ มีข้อดีคือ มีอาหารให้เลือกหลากหลายและแปลกใหม่ แต่ต้องจำกัดปริมาณ โดยควรเลือกกินผักสลัดต่างๆให้มากขึ้น และเลือกน้ำสลัดที่ทำจากไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก เพราะการกินสลัดจะลดการกินเกินขนาดได้ดี ส่วนเมนูหลักควรเลือกเป็นอาหารทะเล เช่น เนื้อกุ้ง ปู ปลาแซลมอน หรือปลาชนิดอื่น และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หากอยากกินขนมหวาน หรือไอศกรีมรสชาติแปลกใหม่ ควรลองกินดูสัก 2-3 คำ แค่พอหายอยาก

นอกจากนี้ การเรียนรู้การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (Self-monitoring of blood glucose, SMBG) ก็เป็นส่วนสำคัญในการช่วยเลือกชนิดและปริมาณคาร์บ (หรือคาร์โบไฮเดรต ซึ่งประกอบไปด้วยหมวดข้าว แป้ง ธัญพืช หมวดผลไม้ ผักที่มีแป้งมาก และหมวดนม) ที่เหมาะสมในมื้ออาหารได้ การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองเป็นประจำทุกวันในระยะแรกจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้การดูแลตัวเองในหลายเรื่อง สำหรับเรื่องอาหาร ควรตรวจหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงนับจากตอนเริ่มกิน จะบอกให้รู้ว่าเรากินคาร์บมากไปหรือน้อยไป สิ่งที่ผู้เป็นเบาหวานจะได้เรียนรู้คือ อาหารอะไรที่กินแล้วน้ำตาลจะขึ้นหรือขึ้นไม่สูงมาก หลักคือถ้าน้ำตาลหลังอาหารไม่เกิน 180 มก./ดล. แสดงว่าอาหารที่กินมื้อนั้นคาร์บไม่มากเกินไปสามารถกินได้ แต่ถ้าน้ำตาลสูงเกิน 180 มก./ดล. ก็ต้องพิจารณาลดคาร์บที่มีแต่แป้ง น้ำตาล เราอาจใช้วิธีนี้ทดสอบดูว่าอาหารคาร์บชนิดใด ที่ทำให้น้ำตาลขึ้นสูง และขึ้นเร็ว ส่วนอาหารอะไรที่กินแล้วค่าน้ำตาลสูงก็ควรหลีกเลี่ยง เพื่อปรับพฤติกรรมการกินอาหาร จะช่วยให้ควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น และลดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไตเสื่อมรวมทั้งมะเร็งด้วย

ผู้เป็นเบาหวานจะกินข้าวนอกบ้านตอนไหนควรวางแผนเรื่องเวลาไปร้านอาหารให้ใกล้เคียงกับเวลาอาหารปกติ เนื่องจากผู้เป็นเบาหวานจะต้องกินยาหรือฉีดอินซูลินตรงเวลา อย่านัดช่วงที่ร้านคนมาก หากจะต้องกินอาหารล่าช้าแนะนำให้กินผลไม้ หรือถั่วหรือนมรองท้องไปก่อนประมาณ 1 คาร์บ เมื่อได้อาหารมาแล้วควรกินอย่างมีสติ กินช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้เราควบคุมเบาหวาน ป้องกันโรคแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวได้ ข้อแนะนำสำหรับอาหารเบาหวานในปัจจุบันก็คืออาหารสุขภาพ ผู้ที่เป็นเบาหวานกินเพื่อที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาล และป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ

จะเห็นว่าผู้เป็นเบาหวานถ้าเลือกกินอาหารให้เป็นและสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ได้ ก็จะไปกินอาหารนอกบ้านได้อย่างมีความสุขเหมือนคนทั่วไป แล้วยังควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวได้

ผศ.(พิเศษ)ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

  • Tweet
  Visit : 471  
สนับสนุนข่าวโดย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คนร้ายดักยิง'ผู้ช่วยผญบ.'ดับที่โคกโพธิ์

'หญิงหน่อย'ลั่นหมดเวลารถถัง ขอทวงคืนความสุขกลับมา ปลุก24มี.ค.กา'พท.'ถล่มทลาย

'พัคโบกอม'เผยสเปคสาวในดวงใจ พร้อมสร้างวันดีๆกับแฟนชาวไทยเสาร์นี้

'มาร์ค'โต้'เป็ดเหลิม'ประชาชนชุมนุมเพราะต้องการไล่คนโกง

'นายหัวชวน'ยัน!ปชป.ต้นตำรับเบี้ยผู้สูงอายุ กรีด'รบ.แม้ว'ไม่เคยขยับสักบาท

'ประสาร'ประเมิน‘คนแดนไกล’สร้างวิมานใหม่ลวงโลก อย่าหวังว่า‘เขา’จะสิ้นฤทธิ์

  • Breaking News
23:02 น. เช็คที่นี่!เปิด3ประกาศกกต.โชว์รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์'ทุกพรรค'
22:38 น. คนร้ายดักยิง'ผู้ช่วยผญบ.'ดับที่โคกโพธิ์
22:33 น. 'หญิงหน่อย'ลั่นหมดเวลารถถัง ขอทวงคืนความสุขกลับมา ปลุก24มี.ค.กา'พท.'ถล่มทลาย
22:01 น. ผู้ว่าฯบุรีรัมย์ ถกเร่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองพุ่งสูง 179 ไมโครกรัม ขู่ลอบเผาพืชไร่ เอาผิดเด็ดขาด
21:52 น. ‘กูเกิล’จัดอบรมใช้เครื่องมือรายงานข่าว‘เลือกตั้ง62’รวดเร็ว-ทันสมัย
ดูทั้งหมด
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
เหนือฟ้ายังมีดวงพระสุริยา! 'อดีตผู้พิพากษา'ชำแหละแผน'แม้ว' ก่อน'กระอักเลือด'ดุจจิวยี่
ช่วยตอบที! 'เจิมศักดิ์'ถาม3ข้อ ทำไม'บิ๊กตู่'รับนายกฯพปชร.ทั้งที่รู้แคนดิเดต'ทษช.'
‘เต้น’อยู่ไหน.? ‘จตุพร’ห่วงติดต่อไม่ได้ คสช.ยันไม่เรียกใครปรับทัศนคตินานแล้ว
‘หมอพรทิพย์’ปลุกคนไทยตาสว่าง ซัด‘คนตาขาว’ยืมมือผู้อื่นทำลายแผ่นดิน รับโทษแทน
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ ระหว่างวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ดูทั้งหมด
สถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะเสาหลักของสังคมไทย
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประเพณีอันยิ่งใหญ่ของชาติ
8 กุมภาพันธ์ วันสำคัญที่คนไทยไม่มีวันลืม
ผิดพลาด
หัวเว่ยกับไอโฟน
ดูทั้งหมด
  • Breaking News
23:02 น. เช็คที่นี่!เปิด3ประกาศกกต.โชว์รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์'ทุกพรรค'
22:38 น. คนร้ายดักยิง'ผู้ช่วยผญบ.'ดับที่โคกโพธิ์
22:33 น. 'หญิงหน่อย'ลั่นหมดเวลารถถัง ขอทวงคืนความสุขกลับมา ปลุก24มี.ค.กา'พท.'ถล่มทลาย
22:01 น. ผู้ว่าฯบุรีรัมย์ ถกเร่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองพุ่งสูง 179 ไมโครกรัม ขู่ลอบเผาพืชไร่ เอาผิดเด็ดขาด
21:52 น. ‘กูเกิล’จัดอบรมใช้เครื่องมือรายงานข่าว‘เลือกตั้ง62’รวดเร็ว-ทันสมัย
ดูทั้งหมด
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
เหนือฟ้ายังมีดวงพระสุริยา! 'อดีตผู้พิพากษา'ชำแหละแผน'แม้ว' ก่อน'กระอักเลือด'ดุจจิวยี่
ช่วยตอบที! 'เจิมศักดิ์'ถาม3ข้อ ทำไม'บิ๊กตู่'รับนายกฯพปชร.ทั้งที่รู้แคนดิเดต'ทษช.'
‘เต้น’อยู่ไหน.? ‘จตุพร’ห่วงติดต่อไม่ได้ คสช.ยันไม่เรียกใครปรับทัศนคตินานแล้ว
‘หมอพรทิพย์’ปลุกคนไทยตาสว่าง ซัด‘คนตาขาว’ยืมมือผู้อื่นทำลายแผ่นดิน รับโทษแทน
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ ระหว่างวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ดูทั้งหมด
สถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะเสาหลักของสังคมไทย
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประเพณีอันยิ่งใหญ่ของชาติ
8 กุมภาพันธ์ วันสำคัญที่คนไทยไม่มีวันลืม
ผิดพลาด
หัวเว่ยกับไอโฟน
ดูทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

LIFE&HEALTH : เมื่อลูกน้อยทำผิด...ควรลงโทษอย่างไร

LIFE&HEALTH : เมื่อลูกน้อยทำผิด...ควรลงโทษอย่างไร

29 ม.ค. 2562

ในยุคปัจจุบันการอบรมสั่งสอนลูกเป็นเรื่องท้าทายของพ่อแม่ยุคใหม่ ส่วนใหญ่จะไม่หนักใจเรื่องการชมเชยเมื่อลูกทำความดี แต่จะลำบากใจกับการลงโทษเมื่อลูกทำความผิด ข้อ

LIFE&HEALTH : ปลูกถ่ายไต..การรักษาไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

LIFE&HEALTH : ปลูกถ่ายไต..การรักษาไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

18 ธ.ค. 2561

โรคไตเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ข้อมูลจาก พญ.กรทิพย์ ผลโภคนายแพทย์ชำนาญการ งานโรคไต กลุ่มงาน

LIFE&HEALTH : เบาหวานให้ระวัง..สุขภาพตา

LIFE&HEALTH : เบาหวานให้ระวัง..สุขภาพตา

4 ธ.ค. 2561

จากสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานของประเทศไทยในปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนถึง 5 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คาดว่ามีผู้ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานถึง 1.

LIFE&HEALTH : มารับมือกับอาการผู้ชายวัยทอง

LIFE&HEALTH : มารับมือกับอาการผู้ชายวัยทอง

27 พ.ย. 2561

ถ้าพูดถึงคำว่า “วัยทอง” คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ชายมีช่วงนี้เหมือ

LIFE&HEALTH : ลดปัญหาจากการใช้ยา...ปรึกษาเภสัชกร

LIFE&HEALTH : ลดปัญหาจากการใช้ยา...ปรึกษาเภสัชกร

25 ก.ย. 2561

สำหรับผู้ใช้ยาที่ต้องใช้ยารักษาประจำและต่อเนื่องโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ข้อมูลจาก ภญ.จันทิมา โยธาพิทักษ์ ผู้ช่วยนายกสภาเภสัชกรรม ฝ่ายวิชากา

Life&Health : เคล็ดไม่ลับ สุขภาพดี ดูอ่อนกว่าวัย

Life&Health : เคล็ดไม่ลับ สุขภาพดี ดูอ่อนกว่าวัย

28 ส.ค. 2561

ใครๆ ก็อยากดูดี แม้ว่าจะสูงวัยขึ้นถ้าหน้าตายังดูเด็กและมีสุขภาพดีด้วยแล้วก็ยิ่งเสริมให้คุณดูสดใสสวยหล่อและดูอ่อนวัยกว่าอายุจริง วันนี้มีเคล็ดลับจาก ผศ.นพ.พัน

Life&Health : รู้จักโรคด่างขาวและการรักษา

Life&Health : รู้จักโรคด่างขาวและการรักษา

21 ส.ค. 2561

การมีผิวที่เนียนสวย สดใสเป็นเรื่องที่หนุ่มสาวทั้งหลายต่างให้ความสำคัญ แต่ด้วยแสงแดดและมลพิษต่างๆ ที่ต้องเจออยู่ทุกวัน ทำให้ใบหน้าหมอง คล้ำ ดำ อีกทั้งกระและฝ้

LIFE&HEALTH : โรคไต...ตรวจพบเร็วรักษาได้

LIFE&HEALTH : โรคไต...ตรวจพบเร็วรักษาได้

7 ส.ค. 2561

ไตของเราโดยปกติจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อกรองของเสียและรักษาสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนบางชนิด เพื่อช่วยไขกระดูกในการสร้างเ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved