วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แพทย์มธ.เผยวิทยาการใหม่รักษาโรคหัวใจ ลดอัตราการเสียชีวิต

แพทย์มธ.เผยวิทยาการใหม่รักษาโรคหัวใจ ลดอัตราการเสียชีวิต

วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag :
  •  

จากสถิติกระทรวงสาธารณสุข (16 กันยายน 2561) พบว่ามีจำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 432,943 คนมีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คนต่อปีหรือชั่วโมงละ 2 คน และด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่มีจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสถานการณ์ความแออัดของห้องฉุกเฉินซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข จากสถิติปี 2559 พบว่าในประเทศไทยมีสถิติผู้ป่วยที่เข้ารับบริการการรักษาในห้องฉุกเฉินอยู่ที่458 : 100,000 ประชากร และพบว่าเกือบร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน การพบผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉินที่เข้ารับบริการในห้องฉุกเฉินเป็นจำนวนมาก ไม่ส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในห้องฉุกเฉินเพื่อให้การรักษาและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่า ดังนั้น เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันการพิจารณาคัดแยก (Triage) ว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่แท้จริงหรือไม่จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์พิสิษฐ หุตะยานนท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เผยว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มที่เข้ารับการตรวจแบบทั่วไป และกลุ่มที่เข้ารับการตรวจแบบฉุกเฉิน การตรวจวินิจฉัย ดูแล และรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเหล่านี้ แพทย์จะอาศัยการตรวจสอบประวัติ ลักษณะอาการของผู้ป่วย ลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการพิจารณาว่ามีการเสื่อมสลายของกล้ามเนื้อหัวใจหรือไม่ โดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของระดับสารบ่งชี้ภาวะโรคหัวใจ ปัจจุบันจะเป็นการตรวจวัดสารบ่งชี้ภาวะโรคหัวใจแบบ highsensitivity cardiac troponin T ที่ให้ผลการตรวจวัดอย่างละเอียดและมีความแม่นยำ สามารถนำมาใช้กับแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ 0 และ1 ชั่วโมง (0h/1h algorithm) ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันที่ส่งผลให้เกิดลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจตายดังกล่าว จากเดิมที่ต้องรอการแปลผลการเปลี่ยนแปลงของสารบ่งชี้โรคหัวใจ 3-6 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ก็ลดลงเป็นที่1 ชั่วโมง


“แนวทางการรักษาดังกล่าวให้ประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการ ประการแรกหากแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะโรคซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงหรือมีภาวะแทรกซ้อนสูงหรือไม่ภายในระยะเวลาที่สั้นลง จะส่งผลให้แพทย์สามารถตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในขั้นตอนต่อไปได้เร็วขึ้นในขณะเดียวกันหากผลการตรวจเลือดไม่พบการเปลี่ยนแปลงของ high sensitivity cardiac troponin T การตั้งสมมุติฐานที่ว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้น อาจมีความเป็นไปได้น้อย แพทย์ก็จะสามารถมุ่งประเด็นสู่การหาสาเหตุอื่นที่สามารถอธิบายอาการของผู้ป่วยได้เร็วขึ้นเช่นกัน แทนที่จะต้องรออีก 2-3 ชั่วโมง ซึ่งแน่นอนว่าการวินิจฉัยที่รวดเร็วขึ้นดังกล่าวจะสามารถบรรเทาความไม่สบายใจ การลังเลสงสัย และความกังวลของทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติของผู้ป่วย จากการรอฟังผลจากแพทย์ลงไปได้อย่างมาก

ประโยชน์ประการที่ 2 การที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเร็วขึ้น และได้รับการส่งต่อไปยังตำแหน่งที่ควรได้รับการรักษาได้รวดเร็วขึ้น หรือได้รับการพิจารณาให้สามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัยแพทย์และบุคลากรในห้องฉุกเฉินจะมีเวลาในการดูแลผู้ป่วยหนักรายอื่นเพิ่มขึ้น ลดปัญหาความแออัดของห้องฉุกเฉินได้อย่างมาก และส่งผลดีต่อระบบการรักษาดูแลผู้ป่วยโดยรวม”

ด้าน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วินชนะศรีวิไลทนต์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ปัญหาที่พบได้ในห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ก็คือการมีผู้ป่วยมารับการรักษาเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยต้องรอที่ห้องฉุกเฉินเพื่อรับการวินิจฉัย ดูแล และรักษา เป็นเวลานาน สาเหตุมักมาจากจำนวนเตียงภายในหอผู้ป่วยที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย ปัญหานี้เราเรียกว่า Emergency DepartmentOvercrowding ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเค้นบริเวณหน้าอกถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีภาวะการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ การได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่รวดเร็วจึงมีความสำคัญมาก ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจและต้องรอที่ห้องฉุกเฉินเป็นเวลานานนั้น มักพบผลลัพธ์ที่ไม่ดีในการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่อยู่ในห้องฉุกเฉินภายในระยะเวลาที่สั้นกว่า

การตรวจวัดสารบ่งชี้ภาวะโรคหัวใจแบบhigh sensitivity cardiac troponin Tที่มีความไวสูงสามารถช่วยแพทย์ตรวจพบความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจที่จะเกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย การนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ 0 และ 1 ชั่วโมง (0h/1h algorithm) มาปรับใช้สำหรับผู้ป่วยที่สงสัยภาวะโรคหัวใจในห้องฉุกเฉินนั้น ส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ลดอัตราการเสียชีวิตและลดปัญหาสถานการณ์ความแออัดภายในห้องฉุกเฉิน อันนำไปสู่ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของแพทย์และเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินต่อไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • Bravo BKK ร่วมกับภาครัฐและเอกชน เชิดชูวัฒนธรรมไทย สืบสานประเพณีทางพุทธศาสนา ในกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ณ วัดอุทัยธาราม Bravo BKK ร่วมกับภาครัฐและเอกชน เชิดชูวัฒนธรรมไทย สืบสานประเพณีทางพุทธศาสนา ในกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ณ วัดอุทัยธาราม
  • ไอซีเอส ผนึก SIRIRAJ H SOLUTIONS ฉลองครบรอบ 2 ปี ตอกย้ำความสำเร็จ เปิด 2 คลินิกใหม่ ตอบโจทย์คนรักสุขภาพครอบคลุมทุกด้าน ไอซีเอส ผนึก SIRIRAJ H SOLUTIONS ฉลองครบรอบ 2 ปี ตอกย้ำความสำเร็จ เปิด 2 คลินิกใหม่ ตอบโจทย์คนรักสุขภาพครอบคลุมทุกด้าน
  • ชลิต อินดัสทรี ถวายเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทยช่วงเข้าพรรษา ชลิต อินดัสทรี ถวายเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทยช่วงเข้าพรรษา
  • ไทยประกันชีวิต-แอทเลติโก้ มอบทุน 3 เยาวชนกอล์ฟหญิง โครงการ Thai Life Insurance Sports Showcase ครั้งที่ 14 ไทยประกันชีวิต-แอทเลติโก้ มอบทุน 3 เยาวชนกอล์ฟหญิง โครงการ Thai Life Insurance Sports Showcase ครั้งที่ 14
  • สร้างความรู้คู่ความสุข ส่งมอบ ‘ห้องหนังเพื่อการเรียนรู้’ เปิดโลกแห่งจินตนาการผ่านการชมภาพยนตร์ สร้างความรู้คู่ความสุข ส่งมอบ ‘ห้องหนังเพื่อการเรียนรู้’ เปิดโลกแห่งจินตนาการผ่านการชมภาพยนตร์
  • สกพอ. เปิดเวทีแข่งขัน ‘รังสรรค์เมนูแห่งฉะเชิงเทรา’ สร้างต้นแบบเมนูท้องถิ่นสู่สากล ชู Soft Power ด้านอาหาร เสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ EEC สกพอ. เปิดเวทีแข่งขัน ‘รังสรรค์เมนูแห่งฉะเชิงเทรา’ สร้างต้นแบบเมนูท้องถิ่นสู่สากล ชู Soft Power ด้านอาหาร เสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ EEC
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved