วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘เพลงชาติ’ ภูมิพลังรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘เพลงชาติ’ ภูมิพลังรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

วันอาทิตย์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2563, 08.10 น.
Tag : ภูมิบ้าน ภูมิเมือง เพลงชาติไทย เพลงชาติ
  •  

ด้วยเพลงชาตินั้นมีความสำคัญในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของการรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ซึ่งเป็นเพลงที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศใช้ตามรัฐนิยมฉบับที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๒ ซึ่งพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือ ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ได้ประพันธ์ทำนองโดยแก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมโดย พันเอกหลวง
สารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามของกองทัพบก เป็นทำนองชนะการประกวดของกรมโฆษณาการ เมื่อพ.ศ.๒๔๗๕ ได้รับรางวัลมา ๑,๐๐๐ บาท โดยเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยาม เป็นไทย...ก่อนหน้าได้มี เพลงชาติ ที่ใช้กันมาแล้ว ๖ เพลง เริ่มต้นเพลงแรกเมื่อ ปี ๒๓๙๕-๒๔๑๔ ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพแด่พระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ เป็น เพลงชาติเพลงที่ ๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา ต่อมารัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริว่าควรใช้ทำนองเพลงไทย ทำให้คณะครูดนตรีไทยได้เลือก เพลงทรงพระสุบิน หรือ เพลงบุหลันลอยเลื่อน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ มาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นสากลขึ้นโดย เฮ วุดเซนจึงเป็น เพลงชาติเพลงที่ ๒ ใช้บรรเลงระหว่าง ปี ๒๔๑๔-๒๔๓๑ ส่วน เพลงชาติเพลงที่ ๓ นั้นได้ประพันธ์ทำนองโดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (PyotrSchurovsky) ชาวรัสเซีย ส่วนคำร้องนั้นเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่างปี ๒๔๓๑-๒๔๗๕ ใช้มายาวนานด้วยมีทำนองไพเราะ, เนื้อหาสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็น เพลงสรรเสริญพระบารมี แทน หลังการอภิวัตน์เปลี่ยนการปกครองโดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ แม้จะมีการเตรียมการสร้างเพลงชาติขึ้นใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้พระเจนดุริยางค์เป็นผู้ประพันธ์แต่ยังไม่เสร็จเลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม เพลงมหาชัยไปพลางก่อน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี(สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง เพลงชาติเป็นเพลงที่ ๔ ได้ใช้ในช่วงสั้นเพียง ๗ วัน ไม่ถึงเดือนก็เปลี่ยนแปลงไปเป็น เพลงชาติเพลงที่ ๕ ประพันธ์ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อวันที่ ๔กรกฎาคม ๒๔๗๕ ส่วนเนื้อร้องนั้นขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)แต่งขึ้นบรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๗๕ ใช้อยู่เพียงปี ๒๔๗๕-๒๔๗๗จึงเปลี่ยนแปลงเฉพาะเนื้อร้อง โดยประพันธ์เพิ่มเติมจากของเดิมที่เห็นกันว่าสั้นไปนั้นให้ยาวขึ้น โดย นายฉันท์ ขำวิไลจึงถือเป็น เพลงชาติเพลงที่ ๖ ใช้ระหว่างปี๒๔๗๗-๒๔๘๒ ขณะเดียวกันมีเพลงชาติเพลงหนึ่งใช้ทำนองเพลงไทย ประพันธ์ทำนองโดย จางวางทั่ว พาทยโกศล โดยดัดแปลงเพลงไทยเดิม เพลงตระนิมิต ทำให้มีเพลงชาติแบบสากลและเพลงชาติแบบไทย ในที่สุดคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาลงมติให้ใช้ เพลงชาติแบบสากล นับเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการเพลงแรกจนถึงปัจจุบัน อันโดยเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย เนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกไทยก่อนแก้ไขเป็นฉบับทางการมีดังนี้ “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย-เป็นประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน-อยู่ยืนยงดำรงไว้ได้ทั้งมวล-ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี-ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่-สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย” การประกวดเพลงชาติครั้งนั้นปรากฏว่ามีกวีและผู้มีชื่อเสียงทางการประพันธ์เพลงหลายคน เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี, แก้ว อัจฉริยะกุล, ชิต บุรทัต รวมถึงผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติสองฉบับแรก ขุนวิจิตรมาตรา และ ฉันท์ ขำวิไล ด้วยส่งเนื้อร้องของตนเองเข้าประกวด แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านการตัดสินครั้งนั้น นัยว่าเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใหม่นั้นมีการใช้คำว่า “ไทย” ถึง ๑๒ ครั้ง

สำหรับการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีความเห็นว่าธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นสิ่งที่ชาวไทยควรให้การเคารพและเชิดชู คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศรัฐนิยมฉบับที่ ๔ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ระบุแต่เพียงว่า ให้ทุกคนแสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม ส่วนจะนิยมแบบไหนก็ว่ากันไปตามนิยม เพราะเพลงชาตินี้เป็นเพลงรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย


ขุนวิจิตรมาตรา
ขุนวิจิตรมาตรา
จอมพล ป.พิบูลสงคราม
จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ฉันท์ ขำวิไล
ฉันท์ ขำวิไล
พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
หลวงสารานุประพันธ์
หลวงสารานุประพันธ์
คำร้องเพลงชาติ
คำร้องเพลงชาติ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เพลงชาติที่แก้ไข
เพลงชาติที่แก้ไข
โน้ตเพลงชาติสมัยแรก ขุนวิจิตรมาตรา
โน้ตเพลงชาติสมัยแรก ขุนวิจิตรมาตรา
โน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี รัชกาลที่ ๕
โน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี รัชกาลที่ ๕

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : \'กรุงเทพ\' ภูมิแผ่นดินถิ่นชาวบางกอก ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'กรุงเทพ' ภูมิแผ่นดินถิ่นชาวบางกอก
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘มรดกไทย’ภูมิปัญญาชุมชนสู่เทศกาลโลก ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘มรดกไทย’ภูมิปัญญาชุมชนสู่เทศกาลโลก
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระปรางค์วัดอรุณ’ภูมิจักรวาลรัตนโกสินทร์ ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระปรางค์วัดอรุณ’ภูมิจักรวาลรัตนโกสินทร์
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ป.อินทรปาลิต’ภูมิหัสนิยายของประชาชน ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ป.อินทรปาลิต’ภูมิหัสนิยายของประชาชน
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระเขี้ยวแก้ว’ภูมิศรัทธาสักการะของชาวไทย ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระเขี้ยวแก้ว’ภูมิศรัทธาสักการะของชาวไทย
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ปังปอนด์’ภูมิมนุษย์ยุคน้ำแข็งเขาสามร้อยยอด ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ปังปอนด์’ภูมิมนุษย์ยุคน้ำแข็งเขาสามร้อยยอด
  •  

Breaking News

จ่ายครบ280ล้าน! 'มาดามแป้ง'เคลียร์เงินสโมสรจบทุกลีก

'สรวงศ์'ขออย่าโยงการเมือง กับการลงโทษ 3 หมอปม 'ทักษิณ' ย้ำไม่เกี่ยว'รัฐบาลอิ๊งค์'

เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร

ศรีสะเกษดัน 'ส้มโอบ้านตาด' เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จัดงานใหญ่ 14-16 พ.ค.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved