คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในอังกฤษ ทำการทดสอบให้ผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 10 คน อายุระหว่าง 19-69 ปี สูดแก๊สซีนอนระหว่างการสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอ็มอาร์ไอ เพื่อให้เห็นภาพปอดเสียหาย ผู้ป่วย 8 คน ยังคงมีปัญหาเรื่องหายใจลำบากและเหนื่อย หลังจากติดเชื้อไปแล้ว 3 เดือน แม้ว่าไม่ต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติหรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยการให้สูดแก๊สซีนอนระหว่างเอ็มอาร์ไอเห็นสัญญาณความเสียหายของทั้ง 8 คน ได้จากพื้นที่ในภายปอดที่อากาศไม่สามารถไหลเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างสะดวก
คณะนักวิจัยเตรียมทดลองกับผู้ป่วยมากถึง 100 คน เพื่อดูว่าได้ผลแบบเดียวกันกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้เข้าโรงพยาบาลและอาการไม่หนักหรือไม่ เพราะต้องการ
ศึกษาว่าเป็นความเสียหายชั่วคราวหรือถาวร และหากเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ ไม่เฉพาะผู้สูงวัย ก็จะมีผลสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วย เพราะอาจอธิบายได้ว่าเหตุใดผู้ป่วยจึงยังไม่แข็งแรงดังเดิมหลังจากติดเชื้อไปแล้วหลายเดือน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี