วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ภาพเขียนวัดภูมินทร์’  ภูมิศิลปน่าน ช่างฮูปแต้มไทลื้อ

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ภาพเขียนวัดภูมินทร์’ ภูมิศิลปน่าน ช่างฮูปแต้มไทลื้อ

วันอาทิตย์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564, 07.10 น.
Tag : ประวัติศาสตร์ไทย ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสถาปัตย์ ศิลปกรรมไทย
  •  

วัดภูมินทร์

อาทิตย์นี้ผมยังเดินทางตามรอยสยามเรียนรู้ถึงมรดกของชาติกับ คุณประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากรและคณะไปจังหวัดน่าน ซึ่งมีวัดสำคัญที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะวัดภูมินทร์ ที่สร้างโบสถ์และวิหารเป็นอาคารหลังเดียวกัน วัดนี้สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.๒๑๓๙ ตรงกับสมัยอยุธยา โดย เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ชื่อเดิมของวัดนั้นคือ วัดพรหมมินทร์ ตามพระนามของผู้สร้างวัดแล้วคงเรียกขานนานมาจนเพี้ยนสำเนียงเป็นชื่อวัดภูมินทร์ ในปัจจุบัน พระอุโบสถวัดภูมินทร์เป็นอาคารประกอบด้วยมุขสี่ด้าน ซึ่งเป็นพระอุโบสถวิหารจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย ภายในพระอุโบสถนั้นประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ๔ องค์หลังชนกันและหันพระพักตร์ออกไปทางด้านประตูทั้งสี่ทิศหันเบื้องพระปฤษฎางค์ หรือหัวไหล่ชนกันประทับนั่งบนฐานชุกชี ปางมารวิชัย สันนิษฐานความหมายกันว่าเพื่อแสดงถึงพระพุทธเจ้า ๔ องค์ คือ พระกกุสันธ พุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้าและพระโคตมพุทธเจ้า องค์ปัจจุบันหรือ สร้างขึ้นเป็นพระพรหมสี่พักตร์ ตามพระนาม “พรหมมินทร์”ผู้สร้างวัด หรือตีความเป็นธรรมว่าคือ พรหมวิหาร ๔ก็ว่ากันไปตามความเชื่อถือก็ไม่ผิดเพราะไม่รู้ว่าผู้สร้างมีเจตนาจริงอย่างไรหรือเลียนแบบจากไหน วัดภูมินทร์นี้ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัย เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อพ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๑๗ ปลายรัชกาลที่ ๔-ต้นรัชกาลที่ ๕ ซึ่งใช้ระยะเวลานานเกือบ ๗ ปี เข้าใจว่าการบูรณะครั้งนี้ได้มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังหรือฮูบแต้ม เรียกตามคำเมือง-หมายถึงรูปเขียน ขึ้นภายในพระอุโบสถจตุรมุข เป็นชาดกในพุทธศาสนาเรื่องคันธณะกุมารและเนมิราชชาดก เป็นภาพพระเนมิราชท่องนรกและสวรรค์


ปู่ม่าน-ย่าม่านกระซิบรัก

ส่วนเรื่องคัทธณะกุมารชาดกนั้นเป็นชาดกที่เล่าถึงพระโพธิสัตว์นามว่า “คัทธณะ” ที่มาเกิดเป็นลูกชายของหญิงม่ายพ่อของคัทธณะนั้น คือ พระอินทร์ บนสวรรค์ เมื่อคัทธณะเติบโตขึ้นจึงออกตามหาพ่อ ซึ่งระหว่างการตามหาพ่อนั้นได้สร้างความดี มีการช่วยเหลือผู้คน และปราบยักษ์ร้ายหลายตนด้วย ชาดกนี้ พบที่วัดภูมินทร์แห่งเดียวช่างผู้เขียนหลักคือ “หนานบัวผัน”ที่ต่อเรื่องเป็นภาพเขียนทั้งสี่ด้าน นอกนั้นยังได้สอดแทรกวิถีชีวิตคนเมืองไว้มากมาย เช่นประเพณีการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อพ่อแม่ยินยอมให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ โดยหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้า ตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน เรียกว่า “เอาคำไป ป่องกั๋น” คือเป็นทองแผ่นเดียวกัน  ภาพวิถีชีวิตที่การค้าขาย แลกเปลี่ยนในชุมชน มีชาวพื้นเมือง หรือชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าไว้บนศีรษะเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันในตลาด ภาพหญิงสาวทอผ้าด้วยกี่พื้นเมืองภาพเรือนเล็กนอกชานตั้งหม้อน้ำดินเผาหรือ “ร้านน้ำ” ภาพชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจว หรือทรงมหาดไทย แสดงถึงความนิยมตะวันตกที่เข้ามาปะปนกับในวิถีคนเมืองน่านภาพชาวต่างประเทศที่เข้ามาเมืองน่าน แสดงทรงผมและเครื่องแต่งกายของผู้หญิงที่นิยมในยุโรปขณะนั้นเป็นภาพจินตนาการของช่างฮูปแต้มหลายคน ภาพที่รู้จักกันดีนั้นคือภาพ ปู่ม่านย่าม่าน ของ หนานบัวผัน ช่างฮูปแต้มชาวไทลื้อที่มีชื่อเสียง  ซึ่งมีข้อความเขียนกำกับว่าปู่ม่าน ย่าม่าน หมายว่าเป็นการเรียกผู้ชายพม่า ผู้หญิงพม่าคู่นี้ เป็นนัย เป็นสามีภรรยา แล้วการเกาะไหล่กันเป็นธรรมชาติของผู้ชายผู้หญิงที่เป็นสามีภรรยา ถ้าเป็นหนุ่ม-สาวถูกเนื้อต้องตัวไม่ได้ และรูปลักษณะการแต่งกายชี้ชัดไปอีกสอดคล้องกับคำว่า ปู่ม่าน ย่าม่านม่านคือพม่า ปู่นี่คือผู้ชาย พ้นวัยเด็กผู้ชายเรียกปู่พ้นวัยเด็กผู้หญิงเรียกย่า ซึ่งที่จริงออกเสียง “ง่า” ไม่ใช่ปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็นคำเรียก ผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณ ยืนกระซิบสนทนากัน บุรุษในภาพสักลาย-สักหมึกตามตัว ขมวดผมไว้กลางกระหม่อมพร้อมผ้าพันผมแบบพม่า นุ่งผ้าลุนตะยา ผู้หญิงแต่งกายไทลื้อ ตามวัฒนธรรมคนเมืองซึ่งเป็นภาพวาดหนุ่มสาวคู่ที่มีความประณีตจนได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งดงามที่สุด จนมีแต่งเป็นคำเมืองให้เป็นภาพกระซิบรักบันลือโลกให้นักท่องเที่ยวชื่นชมว่า “คำฮักน้องกูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว ก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาคะลุม จักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่ เอาไปก็เลยเอาไว้ในอกในใจตัวชายปี้นี้จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้  ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา” ต้องไปชมและแปลความกันเอง

การแต่งกายไทลื้อ
การแต่งกายไทลื้อ
อุโบสถวิหารหลังเดียวกัน
อุโบสถวิหารหลังเดียวกัน
อธิบดีกรมศิลปากรแนะนำการอนุรักษ์
อธิบดีกรมศิลปากรแนะนำการอนุรักษ์
สาวทอผ้า
สาวทอผ้า
วิหารวัดภูมินทร์
วิหารวัดภูมินทร์
ภาพเขียนในวิหาร
ภาพเขียนในวิหาร
ภาพกระซิบรักที่มีชื่อ
ภาพกระซิบรักที่มีชื่อ
พระพุทธรูปสี่องค์
พระพุทธรูปสี่องค์
พระพุทธเจ้าและพุทธสาวก
พระพุทธเจ้าและพุทธสาวก
ประเพณีลงข่วง
ประเพณีลงข่วง
จิตรกรรมฝีมือหนานบัวผัน
จิตรกรรมฝีมือหนานบัวผัน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : \'กรุงเทพ\' ภูมิแผ่นดินถิ่นชาวบางกอก ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'กรุงเทพ' ภูมิแผ่นดินถิ่นชาวบางกอก
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘มรดกไทย’ภูมิปัญญาชุมชนสู่เทศกาลโลก ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘มรดกไทย’ภูมิปัญญาชุมชนสู่เทศกาลโลก
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระปรางค์วัดอรุณ’ภูมิจักรวาลรัตนโกสินทร์ ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระปรางค์วัดอรุณ’ภูมิจักรวาลรัตนโกสินทร์
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ป.อินทรปาลิต’ภูมิหัสนิยายของประชาชน ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ป.อินทรปาลิต’ภูมิหัสนิยายของประชาชน
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระเขี้ยวแก้ว’ภูมิศรัทธาสักการะของชาวไทย ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระเขี้ยวแก้ว’ภูมิศรัทธาสักการะของชาวไทย
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ปังปอนด์’ภูมิมนุษย์ยุคน้ำแข็งเขาสามร้อยยอด ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ปังปอนด์’ภูมิมนุษย์ยุคน้ำแข็งเขาสามร้อยยอด
  •  

Breaking News

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved