วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาปฏิชีวนะผิด (วิธี) ชีวิตเสี่ยง

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาปฏิชีวนะผิด (วิธี) ชีวิตเสี่ยง

วันจันทร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag :
  •  

อาทิตย์ก่อน เราคุยกันเรื่องความเข้าใจผิดจากการใช้ยาผิดประเภท โดยเฉพาะกลุ่มยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ รวมถึงปัญหาดื้อยาเพราะใช้ยาผิดประเภท อีกทั้งใช้ยาพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น วันนี้เราจะคุยถึงปัญหาอื่นๆ ที่มาจากการใช้ยาผิดวิธี จนเป็นสาเหตุให้เกิดการดื้อยา กลายเป็นปัญหาใหญ่ทำให้เราต้องใช้ยาแรงขึ้นจนบางครั้งเป็นเหตุให้เสียชีวิต เนื่องจากไม่มียารักษา ต้องขอย้ำว่าหลายครั้งผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคเรื้อรัง มะเร็ง หรืออุบัติเหตุ แต่สุดท้ายอาจไม่ได้เสียชีวิตเพราะโรคเหล่านั้น แต่กลับเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งไร้ยารักษา เนื่องจากเชื้อดื้อยา 

การรับประทานยาปฏิชีวนะต้องเคร่งครัดตามแพทย์และเภสัชกรแนะนำ โดยปกติจะรับประทานยาเป็นคอร์ส เช่น 
3, 5 หรือ 7 วัน หรือเป็นเดือน ขึ้นกับอาการของโรค ประเภทของเชื้อ อวัยวะที่เกิดโรค และยาที่ใช้ เช่น ยาที่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5 วัน ได้ถูกออกแบบและศึกษาแล้วว่าเมื่อใช้ครบ 5 วัน เป็นเวลาที่เหมาะสมกับการกำจัดเชื้อได้ราบคาบ แต่ยาบางชนิด อาทิ การกำจัดเชื้อวัณโรค ต้องใช้ยาหลายตัวช่วยกำจัดเชื้อ และต้องใช้ยาเป็นเวลานาน อาจต้องใช้ยาเป็นปี เนื่องจากความยากของการฆ่าเชื้อโรคกลุ่มนี้ 


ในกรณีเราเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อแบคทีเรียบางครั้งจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  แต่เมื่อเราได้รับยามาบางทีรับประทานไป 3 วัน รู้สึกดีขึ้น ทั้งๆ ที่แพทย์ให้ยามาสำหรับ 7 วัน บางคนจึงหยุดยาเอง กรณีนี้มีโอกาสทำให้เชื้อโรคที่หลงเหลืออยู่ในปริมาณไม่มาก ซึ่งแม้ไม่ทำให้เรามีอาการเจ็บป่วย แต่มันมีโอกาสพัฒนาเป็นเชื้อดื้อยา ภาวะการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นเนื่องจากเชื้อพัฒนาตนเอง หรือกลายพันธุ์เพื่อป้องกันและต่อสู้กับยาที่เข้าไปทำร้ายตัวมัน นี่คืออีกหนึ่งสาเหตุของเชื้อดื้อยา 

โดยข้อเท็จจริง เมื่อยาปฏิชีวนะถูกคิดค้นขึ้น และถูกใช้ไประยะหนึ่ง อาจ 1, 2 หรือหรือสิบๆ ปี เราอาจเห็นปรากฏการณ์การดื้อยา โดยยาตัวหนึ่งอาจทำลายเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งได้ในอดีต แต่ปัจจุบันยาตัวนั้นอาจไม่สามารถทำลายเชื้อตัวเดิมได้อีก เพราะเชื้อโรคเรียนรู้ว่าจะสู้หรือทำลายยาตัวนี้อย่างไร เพราะฉะนั้น เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เราต้องเคร่งครัดกับการใช้ยาให้ถูกต้อง ต้องใช้ยาติดต่อกันทุกวันจนหมด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเชื้อโรคหลงเหลือที่จะกลับมาสร้างปัญหาให้เราอนาคต ถ้าวันนี้ในบ้านของคุณมียาปฏิชีวนะเหลืออยู่จากการเจ็บป่วยครั้งก่อน ก็บอกได้เลยว่าคุณใช้ยาไม่ถูกต้อง เพราะยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อต้องไม่เหลือ เพราะต้องรับประทานยาติดต่อกันทุกวันจนหมด 

ความยากอีกอย่างหนึ่งของคนใช้ยา คือการรับประทานยาให้ตรงเวลา สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญมากกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาบางชนิดรับประทานวันละครั้ง บางชนิดรับประทานวันละ 3 ครั้ง หรือบางชนิดระบุให้รับประทานห่างกันทุก 8 ชั่วโมง หรือทุก 12 ชั่วโมง ในกรณีที่ระบุเวลาชัดเจน เพราะต้องรักษาระดับความเข้มข้นของยาในร่างกายให้สูงพอที่จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ตลอด และไม่ทำให้แบคทีเรียกลับมาเจริญเติบโต หรือแบ่งตัวได้ ยาที่กำหนดให้รับประทานวันละ 1 ครั้ง แสดงว่าเมื่อรับประทานเข้าไปจะสามารถรักษาระดับยาให้สูงได้ตลอด 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะรับประทานยาครั้งต่อไป แต่ยาบางชนิดถูกกำหนดว่าต้องรับประทานวันละ 3 ครั้ง หรือทุก 8 ชั่วโมง ถ้าหากเรารับประทานยาตามมื้ออาหาร เช่น มื้อเช้าเวลา 7 นาฬิกา อาหารเที่ยง 12 นาฬิกา มื้อเย็นตอนหนึ่งทุ่ม จะเห็นว่าการรักษาระดับยาไม่เป็นไปตามแผนการรักษา เพราะจากมื้อเย็นจนถึงมื้อเช้าวันรุ่งขึ้นห่างกัน 12 ชั่วโมง ซึ่งห่างเกินไปและทำให้ปริมาณยาในร่างกายต่ำ เปิดโอกาสให้เชื้อเจริญเติบโตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นการรับประทานยาทุก 8 ชั่วโมง วันละ 3 ครั้ง แตกต่างจากการรับประทานยา เช้า-กลางวัน-เย็น วันละ 3 ครั้ง  

นอกจากนั้น ยาปฏิชีวนะบางชนิดมีปัญหาเรื่องความคงตัว ยาไม่ทนต่อกรด หรืออาหารไปขัดขวางการดูดซึม ยาบางชนิดจึงต้องรับประทานก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยากับสารอาหารได้ เช่น แคลเซียมและแร่ธาตุบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งเข้าไปล็อคตัวยา ทำให้ร่างกายดูดซึมยาไม่ได้ เราจึงไม่หายจากโรค ดังนั้น นมและผลิตภัณฑ์จากนม วิตามิน เกลือแร่บางชนิด อาจขัดขวางการดูดซึมของยาบางชนิด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกระบุไว้ที่ฉลากยาโดยละเอียด 

มีงานวิจัยจากอังกฤษเมื่อปี 2560 ระบุว่าแพทย์จำนวนไม่น้อยถูกกดดันจากคนไข้ให้จ่ายยาปฏิชีวนะเนื่องจากคนไข้รู้สึกว่า
ถ้าได้รับยาปฏิชีวนะจะทำให้หายเร็ว ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยนั้นไม่ได้มีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียและหลายคนคงชอบซื้อยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะมาเก็บไว้ซึ่งความจริงแล้วเมื่อเจ็บป่วย เราประเมินไม่ได้ว่าเราติดเชื้อประเภทไหนไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือเชื้อสายพันธุ์ไหน อาจทำให้เกิดการใช้ยาผิดพลาดหรือเกินความจำเป็น นี่คืออีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เชื้อดื้อยา 

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการแพ้ยา หลายคนแพ้ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น กลุ่มเพนนิซิลิน ยากลุ่มซัลฟา บางอาการของการแพ้ยาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นผู้ใช้ยาต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ผู้ที่แพ้ยาต้องจำชื่อยาให้แม่น และต้องบอกแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรเสมอว่าตนเองแพ้ยาอะไร 

ทั้งนี้ในช่วง 18-24 พฤศจิกายน 2564 คือช่วงสัปดาห์ความตระหนักรู้เรื่องยาต้านจุลชีพโลก ปี 2564 (World Antimicrobial Awareness Week) กำหนดเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ขอย้ำว่าการใช้ยาถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ เภสัชกร ช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยา และลดปัญหาการเสียชีวิตเพราะใช้ยาไม่ถูกวิธี

 

ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ 

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ยิปซีพยากรณ์\'ดวงรายวัน\'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568
  • \'ศุภมาส\' นำเสนอวิสัยทัศน์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่สังคมที่ยั่งยืน 'ศุภมาส' นำเสนอวิสัยทัศน์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่สังคมที่ยั่งยืน
  • \'วัน แบงค็อก\'เอาใจสายกิน!เปิดตัวแคมเปญให้เหล่านักชิมได้มิกซ์แอนด์แมทช์ความอร่อยได้อย่างไร้ขีดจำกัด 'วัน แบงค็อก'เอาใจสายกิน!เปิดตัวแคมเปญให้เหล่านักชิมได้มิกซ์แอนด์แมทช์ความอร่อยได้อย่างไร้ขีดจำกัด
  • ครั้งแรกกับกีฬายูยิตสูภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เชิญร่วมชิงชัยประชันศิลปะการต่อสู้ ครั้งแรกกับกีฬายูยิตสูภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เชิญร่วมชิงชัยประชันศิลปะการต่อสู้
  • รพ.จุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมให้ความรู้นวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ภายใต้แนวคิด \'SAVE YOUR HEART SAVE YOUR LIFE : เพราะหัวใจมีความหมายเท่ากับชีวิต\' รพ.จุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมให้ความรู้นวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ภายใต้แนวคิด 'SAVE YOUR HEART SAVE YOUR LIFE : เพราะหัวใจมีความหมายเท่ากับชีวิต'
  • มก.เปิดหลักสูตร ‘พลเมืองเข้มแข็งสำหรับผู้นำอาวุโส’ รุ่นที่ 1 เสริมสร้างผู้นำอาวุโสเข้มแข็งมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม มก.เปิดหลักสูตร ‘พลเมืองเข้มแข็งสำหรับผู้นำอาวุโส’ รุ่นที่ 1 เสริมสร้างผู้นำอาวุโสเข้มแข็งมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม
  •  

Breaking News

จ่ายครบ280ล้าน! 'มาดามแป้ง'เคลียร์เงินสโมสรจบทุกลีก

'สรวงศ์'ขออย่าโยงการเมือง กับการลงโทษ 3 หมอปม 'ทักษิณ' ย้ำไม่เกี่ยว'รัฐบาลอิ๊งค์'

เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร

ศรีสะเกษดัน 'ส้มโอบ้านตาด' เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จัดงานใหญ่ 14-16 พ.ค.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved