วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : เด็กน้อยควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : เด็กน้อยควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

วันจันทร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ ฉีดวัคซีน
  •  

โรคโควิด-19 เป็นโรคที่ใครๆ ก็กลัว ไม่อยากติดโรค ยกเว้นคนมีอาการผิดปรกติทางจิตที่ต้องการป่วยเป็นโรคนี้ เพื่อหวังผลบางประการ แต่เราจะไม่กล่าวถึงคนกลุ่มนี้ แต่ต้องอยู่ให้ห่างคนพวกนี้ให้มากที่สุด

หลายคนที่มีบุตรหลานพยายามระวังป้องกันลูกหลานไม่ให้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลเองก็พยายามป้องกันโรคนี้ในกลุ่มเด็กน้อยเช่นกัน ปัจจุบัน รัฐบาลไทยอนุมัติแบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดของโรค อนุญาตให้ฉีดวัคซีนชนิด mRNA ของบริษัทไฟเซอร์ ในเด็กอายุ 5-11 ปี โดยอนุมัติตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม2565 และอนุมัติให้ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตายให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อช่วยให้เด็กช่วงอายุนี้ปลอดภัยจากการป่วยโรคโควิด-19 และป้องกันการป่วยหนัก จนเสียชีวิต


ในความเป็นจริง เราต้องยอมรับว่าเด็กในช่วงอายุนี้ไม่ได้ใช้ชีวิตตามแบบที่ควรจะเป็นมาสองปีกว่าแล้ว เพราะไม่สามารถไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน หรืออาจจะออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในละแวกบ้านได้เท่านั้น ทำให้พัฒนาการของเด็กเสียไป ดังนั้นรัฐบาลจึงเห็นว่าการฉีดวัคซีนให้เด็กจะช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ให้พวกเขาได้ดีขึ้น

วัคซีนชนิด mRNA สำหรับเด็กของบริษัทไฟเซอร์ได้รับการอนุมัติใช้แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น วัคซีนนี้ผลิตขึ้นเพื่อเด็กโดยเฉพาะ โดยผลิตให้มีขนาดการใช้ต่ำกว่าของผู้ใหญ่ จำนวน 10 ไมโครกรัมต่อขนาดการใช้หรือใช้เพียง 1 ใน 3 ของขนาดการใช้ในผู้ใหญ่ หนึ่งคอร์สวัคซีนประกอบด้วย 2 เข็ม ฉีดห่างกันในช่วง 3-12 สัปดาห์ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ฉีดห่างกัน 8 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่หลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สองแล้วเป็นเวลา 7 วัน

วัคซีนสำหรับเด็กมีฝาและฉลากสีส้ม แตกต่างจากวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อสะดวกต่อการบริหารจัดการของศูนย์ให้บริการวัคซีน เนื่องจากวัคซีนในประเทศมีหลากหลายชนิด จึงต้องทำให้ขวดบรรจุวัคซีนสำหรับเด็กมีความแตกต่างชัดเจน

วัคซีนสำหรับเด็กในระยะแรกยังมีจำนวนไม่มากนัก เด็กกลุ่มแรกที่ควรได้รับคือกลุ่มมีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคระบบทางการเดินหายและปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการช้า หรือโรคทางพันธุกรรมต่างๆ เพราะเด็กเหล่านี้ หากได้รับเชื้อโควิด-19 แล้วมีโอกาสป่วยหนัก ถึงขั้นเสียชีวิตได้

วัคซีนสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัสได้ระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรค และการป่วยหนัก รวมถึงลดการเสียชีวิตได้ แม้ว่าโดยทั่วไป เราอาจเข้าใจว่า เด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนมากอาจมีอาการไม่รุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม เด็กที่ติดเชื้ออาจเกิดภาวะlong covid หรืออาการหลังติดเชื้อโควิด-19 ที่จะส่งผลได้ทั้งในระยะสั้นและยาว รวมถึงภาวะ MIS-C (Multi-system Inflammatory Syndromein Children) ซึ่งเป็นอาการอักเสบหลายระบบทั่วร่างกายของเด็ก

ดังนั้น เราสามารถลดอัตราความเสี่ยงของการติดเชื้อและการป่วยหนักในเด็กได้ โดยการให้เขามีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กยังมีความกังวลกับผลข้างเคียงของวัคซีน เพราะมีข้อมูลจากบางแห่งระบุว่าวัคซีนจะส่งผลเสียต่อเด็กในอนาคต ซึ่งก็ต้องบอกว่าข้อมูลเหล่านั้นยังเป็นเพียงความเห็นที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์

แต่สิ่งที่ผู้ปกครองเด็กต้องพิจารณามากกว่าคือความเสี่ยงขั้นร้ายแรงที่จะเกิดกับเด็ก หากได้รับเชื้อโควิด-19 โดยที่ตัวเด็กไม่มีภูมิต่อสู้กับโรค จึงมีคำแนะนำว่าควรจะให้เด็กน้อยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (แต่ก็ขึ้นกับความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็ก) เพราะเมื่อฉีดแล้วจะช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น เมื่อมีภูมิคุ้มกันโรคก็สามารถใช้ชีวิตตามปรกติได้มากขึ้น (แต่ยังต้องระมัดระวังการติดเชื้ออยู่เหมือนเดิม) เด็กสามารถไปโรงเรียนได้ เล่นกับเพื่อนๆ ได้ ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยได้ เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตไปตามวัยของเขา

สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรจะต้องพูดคุยทำความเข้าใจกับลูกหลานในเรื่องการฉีดวัคซีนให้ดี ไม่ใช่บังคับให้เขาต้องฉีดโดยที่เขาไม่เข้าใจความจำเป็น ส่วนการเตรียมตัวสำหรับเด็กที่จะไปรับวัคซีนก็ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ คือ พักผ่อนให้มาก รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำให้มากตามความต้องการของร่างกาย ส่วนหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ก็ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารมีประโยชน์ถูกสุขลักษณะ ซึ่งส่วนมากอาการที่เกิดขึ้นหลังฉีดจะมีอาการไม่ได้รุนแรง และอาจหายเองได้ภายใน 1-2 วัน เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีด บางคนอาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย แนะนำให้งดออกกำลังกายและกิจกรรมการเล่นอย่างหนักเป็นเวลา 7 วัน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะเหล่านี้พบได้น้อยมาก และส่วนใหญ่จะเกิดในผู้ชายวัยรุ่นหลังฉีดเข็มสองมากกว่า ฉะนั้นหากพบว่ามีอาการหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น หอบ เหนื่อย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที 

ขอย้ำว่า การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 จนป่วยหนัก จำเป็นต้องได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพสูง มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และลดการกลายพันธ์ุที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : โรคเบาหวานรักษาได้ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : โรคเบาหวานรักษาได้
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : จัดระเบียบยาในตู้ยาประจำบ้าน รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : จัดระเบียบยาในตู้ยาประจำบ้าน
  •  

Breaking News

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?

สำนักข่าวอิศราเปิดชื่อ 3 หมอโดนแพทยสภาสั่งลงโทษคดี 'ทักษิณ' ชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved