วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปเที่ยวช่วงหยุดยาว อย่าลืมนำยาไปด้วย

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปเที่ยวช่วงหยุดยาว อย่าลืมนำยาไปด้วย

วันจันทร์ ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ
  •  

เดือนเมษายนมีวันหยุดยาวหลายวัน หลายคนคงวางแผนไปเที่ยว (ทั้งในและต่างประเทศ) ในขณะที่หลายคนก็กลับภูมิลำเนาเดิมเพื่อเยี่ยมเยียนพ่อแม่และญาติมิตร แต่ไม่ว่าจะวางแผนไปไหนก็ตาม ขอให้ทุกคนเดินทางโดยสวัสดิภาพทั้งไปและกลับ แล้วที่สำคัญคือขอเตือนสำหรับผู้ที่ต้องใช้ยาเป็นประจำ ต้องนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง

ก่อนจะเดินทางขอให้ถามตัวเองว่า รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 กี่เข็มแล้ว และได้รับเข็มกระตุ้นเรียบร้อยหรือยัง ขอแนะนำว่าหากครบกำหนดฉีดเข็มกระตุ้น ควรฉีดก่อนเดินทางสักสามสี่วัน เพราะวัคซีนนี้จะช่วยลดอาการป่วยรุนแรงได้ และควรตรวจหาเชื้อด้วย ATK เพื่อให้มั่นใจพอควรว่าเราไม่มีเชื้อในตัว จะได้เพิ่มความมั่นใจว่าเราไม่นำเชื้อไปแพร่ระบาด


ส่วนสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยวนั้น ขอให้เน้นพื้นที่เปิดโล่ง (out door, open air) อากาศถ่ายเทสะดวก และไม่มีผู้คนแออัด แล้วต้องสวมหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานตลอดเวลาที่อยู่กับบุคคลอื่น (นำหน้ากากอนามัยไปเผื่อด้วย หากต้องอยู่หลายวัน) แล้วที่ขาดไม่ได้คือเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ ส่วนผู้มีโรคประจำตัวย้ำว่าต้องไม่ลืมนำยาไปให้เพียงพอ แต่ถ้าจะให้ดีต้องเตรียมเผื่อเพิ่มไปด้วย เผื่อว่าทำยาร่วงหล่น หรืออาจเปลี่ยนใจอยู่ต่อนานกว่าเดิม หรืออาจต้องกักตัวจะได้มียาพอใช้

หลายท่านอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการไม่กินยาโรคประจำตัว 2-3 วัน คงไม่เป็น เพราะการไปเที่ยวคือการพักผ่อนกายและใจ อยากจะทำเป็นลืมความเจ็บไข้ได้ป่วยไปบ้าง บางคนคิดว่า ถ้าตื่นเช้าแล้วต้องกินยาเหมือนช่วงอยู่บ้านมันก็ไปมีความสุข

แต่ขอย้ำว่า โรคภัยไข้เจ็บไม่มีวันพักร้อน เช่นคนที่เป็นความดันโลหิตสูงต้องกินยาควบคุมความดันโลหิตทุกวัน การขาดยาในช่วงที่ไปเที่ยวหรือมีกิจกรรมที่ต่างไปจากวันปกติ บางรายอาจต้องนอนดึกและตื่นแต่เช้า ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดความดันโลหิตสูงจนเกิดอันตราย เพราะฉะนั้นต้องกินยาให้ตรงเวลาเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้ดี เพื่อความปลอดภัยของตนเอง

นอกจากยาลดความดันโลหิตแล้ว ยาเบาหวานก็สำคัญมาก ผู้ป่วยเบาหวานมักมียาที่ใช้ลดน้ำตาลในเลือดทุกวัน เวลาไปเที่ยวคนส่วนใหญ่มักหักห้ามใจควบคุมอาหารไม่ค่อยได้ เพราะของอร่อยวางอยู่ตรงหน้าเต็มไปหมด แถมบรรยากาศการกินพร้อมๆ กับเพื่อนฝูง ญาติสนิทก็มักทำให้กินได้มากกว่าปกติ การใช้ยาลดน้ำตาลหรือยาฉีดอินสุลินให้ตรงตามแพทย์สั่งจึงยิ่งมีความสำคัญมาก การที่ผู้ป่วยเบาหวานขาดยาลดน้ำตาลในเลือดหรือไม่ฉีดยาอินสุลินอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากจนนำไปสู่ภาวะช็อกหมดสติ

ยาโรคประจำตัวทุกชนิดล้วนสำคัญทั้งหมด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านซึมเศร้า ยาคลายเครียด เป็นต้น นอกจากการเตรียมยาประจำตัวให้เพียงพอกับการใช้ในระหว่างเที่ยวแล้ว ผู้ป่วยต้องจดบันทึกรายการยาที่ใช้ประจำวันติดตัวไว้ด้วย เพราะบางครั้งระหว่างการไปเที่ยวผู้ป่วยเกิดทำยาหาย จะได้สามารถแวะซื้อยาทดแทนจากร้านยาได้ ซึ่งการซื้อยาใช้ทดแทนระหว่างทาง ก็ขอให้ปรึกษาเภสัชกรที่ร้านยาก่อน เพราะบางครั้งเราไม่สามารถหายายี่ห้อเดียวกันได้ ฉะนั้น การที่เรามีชื่อยาและความแรง รวมทั้งวิธีใช้ เภสัชกรจะสามารถแนะนำยาชนิดเดียวกันให้ได้ถูกต้อง เช่น เป็นยาชนิดเดียวกันแต่ที่ร้านยามีคนละยี่ห้อ หรือเป็นยาชนิดและยี่ห้อเดียวกัน แต่ที่ร้านมีจำหน่ายคนละความแรงกับที่ผู้ป่วยใช้อยู่ เภสัชกรจะให้คำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องกับผู้ป่วยได้ หรือบางกรณี ยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่และทำหายหรือนำมาไม่ครบ อาจเว้นการใช้ยาบางตัวได้เพราะไม่ส่งผลทันทีต่อสุขภาพ เช่น แคลเซียม วิตามิน ยาลดไขมัน เภสัชกรก็อาจจะให้คำแนะนำว่ายาเหล่านี้สามารถงดไปก่อนได้ 2-3 วันโดยไม่ต้องกังวล เป็นต้น

นอกจากนี้ เมื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มียาซึ่งต้องกินเป็นประจำเกิดอาการหรือมีโรคเฉียบพลันแทรกขึ้นมาระหว่างเที่ยว เช่น เดินมากจนปวดขา กล้ามเนื้ออักเสบ นั่งรถนานกลั้นปัสสาวะจนเกิดติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ท้องเสียจากการกินอาหารปนเปื้อนเชื้อโรค ในกรณีเช่นนี้ การมีรายชื่อยาที่ใช้ประจำพกติดตัวไว้ก็ยิ่งเป็นประโยชน์เวลาไปพบแพทย์หรือเภสัชกรในสถานพยาบาลที่คุณไม่เคยไป เพราะแพทย์หรือเภสัชกรจะสามารถเลือกยาที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละรายได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหายาตีกัน

แม้การมีโรคประจำตัวและมียาที่ต้องกินเป็นประจำจะไม่ใช่เรื่องสนุก แต่ผู้ป่วยยังคงใช้ชีวิตให้สนุกไปกับการเที่ยวได้ แค่เพิ่มความใส่ใจและให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนให้มาก โดยเตรียมยาไปให้พร้อม และจดชื่อยาประจำตัวพร้อมวิธีใช้พกติดไปด้วย เพียงเท่านี้ก็สามารถเที่ยวได้อย่างสนุกและปลอดภัย จนแทบไม่ต่างจากคนมีสุขภาพดีเลย

ผศ.ภก.ดร.ณัฎฐดา อารีเปี่ยม

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : การใช้ยาของคนวัยเกษียณ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : การใช้ยาของคนวัยเกษียณ
  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved