วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินเหล้าพร้อมกับกินยา อันตรายมาก

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินเหล้าพร้อมกับกินยา อันตรายมาก

วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ
  •  

หลายคนงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา นับว่าเป็นเรื่องดี และจะดีมากที่สุดหากงดเหล้า งดเบียร์ ได้ตลอดไป เพราะดีต่อสุขภาพ และดีต่อสังคมโดยรวม เนื่องจากลดอุบัติเหตุ ลดการทะเลาะวิวาท และลดการเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุได้อย่างมาก แล้วยังลดความเสี่ยงโรคมะเร็งบางประเภทได้อีกด้วย 

แต่แม้จะเข้าพรรษ ก็ยังคงพบว่ามีผู้คนส่วนหนึ่งยังดื่มเหล้าเบียร์ไวน์เป็นประจำ น้อยบ้างมากบ้างแล้วแต่โอกาส แต่วันนี้ขออนุญาตเตือนสำหรับคนมีโรคประจำตัว ที่จำเป็นต้องกินยาบางอย่างเป็นประจำ ต้องตระหนักถึงปัญหาการตีกันของยากับเหล้าเบียร์ไวน์


โดยทั่วไปคนส่วนมากรู้ดีว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ตับต้องทำงานหนัก เพื่อจัดการสารพิษจากการดื่ม จนอาจส่งผลให้ตับอักเสบ ถ้ายิ่งดื่มหนักและนานขึ้น เนื้อเยื่อตับจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจนทำงานไม่ได้หรือรู้จักในนามตับแข็ง แต่สำหรับคนที่ต้องใช้ยาที่มีผลต่อตับ เนื่องจากยาบางชนิด ตัวยาเองมีผลต่อตับอยู่แล้ว แต่ระหว่างใช้ยาก็ยังคงดื่มเหล้าเบียร์ไวน์อยู่ ก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงเกิดพิษต่อตับเพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างที่ยามีผลหรือเป็นพิษต่อตับ เช่น ยาต้านวัณโรคชื่อ ไอโซไนอาซิด ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชื่อ อะมิโอดาโรน ยาลดไขมันกลุ่มสแตติน อีกชนิดหนึ่งที่คุ้นเคยและลืมไม่ได้คือยาลดไข้บรรเทาปวดพาราเซตามอล 

ใครก็ตามที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะกระตุ้นทำให้เอ็นไซม์ในตับบางชนิดมีความสามารถในการทำงานมากขึ้นและทำให้เราได้รับพิษจากพาราเซตามอลมากกว่าปกติ ฉะนั้น ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ต้องใช้ยาพาราเซตามอลในขนาดที่ต่ำ และต้องใช้ในระยะเวลาไม่นาน หรืออาจเลี่ยงไปใช้ยาชนิดอื่นแทน

 นอกจากนี้ ยาหลายชนิดที่เราอาจจะคุ้นเคย ก็มีส่วนผสมของพาราเซตามอลเช่นกัน เช่น ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ยาเม็ดบรรเทาหวัดลดไข้ 

ผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มักมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องใช้ยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เช่น ยาลดการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยาเอ็นเซด (NSAIDs) อาทิ ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค ไพรอกซิแคม ควรงดการดื่มในระหว่างใช้ยา ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์มักถูกสั่งใช้เมื่อมีการอักเสบของกล้ามเนื้อ ข้อ กระดูก เป็นต้น

อีกประเด็นหนึ่งคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท ยับยั้งการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางทำให้ง่วงซึม ตัดสินใจช้าลง ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับยาชนิดใดก็ตามที่มีผลในระบบประสาทส่วนกลาง หรือยาที่มีผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงอยู่แล้ว อาจไปเสริมฤทธิ์ในการกดระบบประสาทส่วนกลางและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ในบางราย ตัวอย่างยาที่พบบ่อย เช่น คลอเฟนิรามีน ซึ่งเป็นยาแก้แพ้กลุ่มเก่าที่มีอาการข้างเคียงทำให้ง่วงมากๆ รวมไปถึงยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาบรรเทาปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น เภสัชกรจึงเตือนผู้ป่วยที่ได้รับยาใดก็ตามที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางว่า ไม่ใช้ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เมื่อเราดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายจะมีกระบวนการกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย โดยเปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นอะซีทัลดีไฮด์ โดยอาศัยเอ็นไซม์ จากนั้นอะซีทัลดีไฮด์ถูกกำจัดออกให้เป็นอะซีติกแอซิดด้วยเอ็นไซม์อีกตัวหนึ่ง ยาบางชนิด เมื่อเรารับประทานจะไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ตัวที่สอง ทำให้ร่างกายเกิดการสะสมของอะซีทัลดีไฮด์ทำให้เกิดอาการเป็นพิษ ความดันต่ำ หน้าแดง อ่อนแรง ปวดศีรษะ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว และอาจเกิดภาวะช็อก ตัวอย่างยาที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายดังกล่าว เช่น ยาเมโทรนิดาโซล ทีนิดาโซล ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด กระทั่งยาทาผิวหนังบางชนิด อาทิ ทาโคลิมุส พิมีโคลิมุส เป็นต้น

ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้การควบคุมน้ำตาลไม่ปกติ หรือในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับประทานยาบางชนิด อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อยาหลายชนิดที่เรากิน 

นอกจากนี้ผลดังกล่าวจะส่งผลรุนแรงแตกต่างกันขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุที่มากขึ้น จะได้รับอันตรายจากยาและแอลกอฮอล์มากขึ้น เนื่องจากร่างกายกำจัดแอลกอฮอล์ได้ช้ากว่าคนหนุ่มสาว แอลกอฮอล์จึงอยู่ในร่างกายนานขึ้น หรือโดยทั่วไปผู้หญิงส่วนใหญ่จะได้รับผลจากแอลกอฮอล์มากกว่าผู้ชาย รวมถึงความรุนแรงของโรคของแต่ละบุคคลด้วย ผลอันตรายจากยาและแอลกอฮอล์บางประเภทที่กล่าวมาเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าไม่ได้กินยากับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาเดียวกันก็ตาม 

ทางที่ดี หากเราต้องกินยา แต่จำเป็นต้องดื่มแอลกอฮอล์เราต้องปรึกษาเภสัชกรก่อน เพื่อช่วยเลี่ยงและลดอันตรายที่จะเกิดขึ้น

รศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม

และ ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : การใช้ยาของคนวัยเกษียณ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : การใช้ยาของคนวัยเกษียณ
  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved