วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ปลอดภัยหรือไม่

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ปลอดภัยหรือไม่

วันจันทร์ ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.15 น.
Tag : รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ
  •  

เพราะชีวิตคนเราขาดรสชาติหวานๆ ไม่ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าความหวานที่มากเกินไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น มนุษย์จึงพยายามอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อหาสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล เพราะยังต้องการรสหวาน แต่ไม่ต้องการปริมาณแคลอรีที่มากเกินไป จึงมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเกิดขึ้น

เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยแพร่บทความวิชาการ ที่ทำให้ผู้คนตกอกตกใจออกมาฉบับหนึ่ง โดยพูดถึงผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดจากการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยเฉพาะเมื่อใช้ในเวลานานๆ ต่อเนื่องกัน


ใจความโดยสรุปคือ ไม่ควรใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ

เราพอจะเข้าใจกันดีแล้วว่า ภาวะน้ำหนักเกินไม่ได้เกิดจากการกินของหวานหรือน้ำตาลเพียงอย่างเดียวการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล โดยไม่ได้คุมอาหารหมวดอื่น เช่น ไขมัน หรือไม่คุมพลังงานทั้งหมดที่ได้จากอาหารให้พอดี ย่อมไม่สามารถทำให้มีน้ำหนักตัวที่พอเหมาะได้ 

ภาวะน้ำหนักเกิน หรือหากเกินจนเข้าข่ายอ้วน ย่อมนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคต่างๆ หลายอย่าง ข้อมูลที่องค์การอนามัยโลกนำเสนอเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้หลายคนตกใจ เพราะมีข้อมูลระบุว่า การบริโภคสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลในระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และนำไปสู่การเสียชีวิตเพิ่มขึ้น และยังมีความสัมพันธ์กับการเพิ่ม BMI (ดัชนีมวลกาย) และเพิ่มความอ้วนด้วย ประเด็นนี้ทำให้ผู้รักสุขภาพ หรือคนที่พยายามควบคุมการบริโภคน้ำตาล โดยใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลต่างพากันงง

เอกสารฉบับเต็มที่องค์การอนามัยโลกเผยแพร่มีจำนวนกว่า 200 หน้า บอกถึงผลการวิจัยต่างๆ ที่รวบรวมไว้ประมาณ 300 ชิ้น โดยมีคำถามวิจัยเกี่ยวกับผลต่อสุขภาพในหลายๆ แง่มุมของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลหลายตัว ทั้งที่ใช้มาหลายสิบปีและตัวที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ๆ เกือบสิบตัว เช่น acesulfame K,aspartame, advantame, cyclamates, neotame, saccharin, sucralose, stevia 

จริงๆ แล้วสารแต่ละตัวมีรายละเอียดปลีกย่อยหลากหลาย แล้วยังเป็นที่ถกเถียงในทางวิชาการอีกพอสมควร ซึ่งหากคุณผู้อ่านอยากเจาะรายละเอียดของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลตัวที่คุณใช้อยู่ก็ลองอ่านได้จาก link เหล่านี้ เช่น https://www.who.int/publications/i/item/9789240046429

สำหรับรายละเอียด และประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้เขียนจะนำมาขยายเพิ่มในบทความในสัปดาห์ต่อๆ ไปเพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าเล่าสู่กันฟัง และมีความสำคัญต่อการวางแผนสุขภาพของทุกคน และทำให้ทุกคนต้องคิดว่าเราจะเลือกกินต่อ หรือพอแค่นี้ 

อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งทิ้งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทิ้งไปโดยทันที เพราะในแง่การจำกัดพลังงานจากอาหารที่รับประทานเข้าไป รวมถึงการไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ก็ยังคงต้องพึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลอยู่ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง อย่าคิดว่าเราใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลในปริมาณเท่าไรก็ได้ แต่ต้องใช้อย่างจำกัดและเท่าที่จำเป็น ถ้าหากเราอยากมีสุขภาพดี ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินหวานให้น้อยลงเรื่อยๆ 

ส่วนข้อมูลเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังจะลดความหวาน แต่ไม่รู้ว่าต้องลดขนาดเท่าใด ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยตามธงโภชนาการ แนะนำให้กินน้ำตาลน้อยที่สุด หรือไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา (24 กรัม)

รศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม และ ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : โรคเบาหวานรักษาได้ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : โรคเบาหวานรักษาได้
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : จัดระเบียบยาในตู้ยาประจำบ้าน รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : จัดระเบียบยาในตู้ยาประจำบ้าน
  •  

Breaking News

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’

ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา

เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved