การยกย่องบุคคลเป็นศิลปินแห่งชาตินั้นเริ่มในสมัย นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๙) โดยมีนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบ ด้วยดูแลสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งมี ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง เป็นเลขาธิการ ทำให้มีคณะร่วมกันทำงานศึกษาและสรุปเป็นวัตถุประสงค์โครงการศิลปินแห่งชาติไว้ว่า ๑.จัดทำทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ ๒.สรรหาศิลปินเพื่อประกาศยกย่องเกียรติคุณขึ้นเป็นศิลปินแห่งชาติ ๓.จัดตั้้งกองทุน(มูลนิธิ) สวัสดิการเพื่อศิลปิน ๔.สนับสนุนศิลปินได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน ๕.อนุรักษ์และส่งเสริมให้มีการสืบทอดความรู้ความสามารถของศิลปิน ในที่สุดโครงการศิลปินแห่งชาตินี้ได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๘ ซึ่งมีมติว่าให้ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นวันศิลปินแห่งชาติทุกปีระยะแรกมีการจัดสรรเงินเดือนให้ ๘,๐๐๐ บาทสำหรับศิลปิน ภายหลังทบวงมหาวิทยาลัยมีโครงการครูแผ่นดินศิลปินของชาติซึ่งแปรญัตติได้เงินมาสนับสนุนโครงการกว่า ๒๐ ล้านบาทเพื่อสร้างชุดตำราแผ่นดินศิลปินของชาติใช้ในการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ก็มีอุบัติเหตุทางการเมืองทำให้เงินจำนวนนี้ต้องโอนมาเติมกองทุนทำให้ศิลปินมีเงินเพิ่มขึ้นจากเดิม..ซึ่งเป็นภาระการหาเงินเป็นกองทุนมาตามลำดับ จนได้มีคณะกรรมการกองทุนนี้โดยตรง..ตามคำจำกัดความที่เขียนไว้ว่า “ศิลปิน หมายถึง นายช่างผู้มีผลงานศิลปะ เป็นที่ยกย่องระดับชาติ เป็นผู้สืบสานศิลปะจากบรรพบุรุษในอดีตถ่ายทอดมาสู่ปัจจุบัน และให้รุ่งโรจน์ต่อ สืบต่อไปในภายหน้า..” กำหนดไว้อย่างนี้ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการคัดเลือกให้มีการชี้วัดมาตรฐานศรัทธาในอนาคตว่าศิลปินแห่งชาติควรจะเป็นอย่างไรนั้น ได้มีการสัมมนาบทบาทและการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมาวันนี้ ดังนั้น ในการประกาศศิลปินแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๖ หลังการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ โดยมี นายวิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นประธานนั้น นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงแถลงผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ว่าได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ จำนวน ๑๒ ราย นั้นคือ สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ ศ.เกียรติคุณพิษณุศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์), นายเจตกำจร พรหมโยธี(สถาปัตยกรรมผังเมือง), นายดิเรก สิทธิการ(งานสลักดุนเครื่องเงินและโลหะ), นายฤกษ์ฤทธิ์แก้ววิเชียร (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์)
สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ ศ.เกริก ยุ้นพันธ์,นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ สาขาศิลปะการแสดงได้แก่ นางนพรัตน์ ศุภาการ หวังในธรรม (ละครรำ), นายสมชาย ทับพร (ดนตรีไทย-ขับร้อง), นางราตรี ศรีวิไล บงสิทธิพร(หมอลำประยุกต์), นายธงไชย แมคอินไตย์ (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง), นายสมเถา สุจริตกุล(ดนตรีสากล-ประพันธ์เพลงร่วมสมัย), นายประดิษฐประสาททอง (ละครร่วมสมัย) ผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับสวัสดิการประกอบด้วยค่าตอบแทนรายเดือน เดือนละ๒๕,๐๐๐ บาท ตลอดที่มีชีวิตอยู่ ค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยอนุโลม เว้นแต่มีสิทธิเบิกจากหน่วยงานอื่นให้เบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน ถ้าเบิกจากหน่วยงานนั้นได้ต่ำกว่าสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้มีสิทธิเบิกในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้อีกภายในวงเงินไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อปีงบประมาณ เงินช่วยเหลือประสบสาธารณภัยเท่าที่เสียหายจริง รายละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาทต่อครั้ง ค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ต่อครั้ง กรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือบำเพ็ญกุศลศพรายละ ๒๐,๐๐๐ บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท เป็นต้น ตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ได้มีศิลปินแห่งชาติได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๖๔ แล้วจำนวน ๓๔๒ คน และในปี พ.ศ.๒๕๖๕ จำนวน ๑๒ คน รวมทั้งสิ้น๓๕๔ คน แบ่งเป็นสาขาทัศนศิลป์ ๑๐๕ คน วรรณศิลป์ ๖๑ คน และศิลปะการแสดง ๑๘๘ คนซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ๑๗๕ คน และยังมีชีวิตอยู่๑๗๙ คน ซึ่งมีรายละเอียดประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติที่ www.culture.go.th หรือ www.facebook.com/DCP.culture
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี