มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ถอดบทเรียน การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เพื่อยกระดับการดำเนินโครงการฯ สู่การจัดทำหลักสูตรแกนกลาง ที่โรงเรียนสามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม นำโดย กฤตยรัฐ ปารมีผู้ช่วยเลขาธิการ มูลนิธิฯ พร้อมด้วย ดร.สำรวย ภักดี รองผู้อำนวยการ สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน พ.ต.อ.หญิง ณัชชาเขมะสิงคิ ผกก.ฝอ.7 บก.อก.บช.ตชด. วราราชย์เรืองศรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ซีพีเอฟ คณะวิทยากรจากสถาบันรามจิตติ และคณะครูอาจารย์จาก11 โรงเรียนต้นแบบโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ร่วมถอดบทเรียนและพัฒนาหลักสูตร ณ โรงแรม เอเชีย แอร์พอร์ท กรุงเทพมหานคร
กฤตยรัฐ ปารมี ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิฯ เปิดเผยว่า มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ดำเนิน “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ก้าวเข้าสู่ปีที่ 36 ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ 959 โรงเรียน เพื่อส่งมอบคุณค่าทางโภชนาการอาหาร สร้างแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพแก่เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานทำให้นักเรียนและประชาชน เข้าถึงความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการกว่า 213,000 คน ผลิตไข่ไก่เพื่อบริโภคมากกว่า 26.2 ล้านฟอง ขณะเดียวกัน
มูลนิธิฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าที่เกิดจากการดำเนินโครงการฯ จึงมุ่งยกระดับผลลัพธ์การจัดการองค์ความรู้จากโครงการฯ โดยผนึกกำลังกับโรงเรียนภายใต้สังกัด สพฐ. และ บก.ตชด. เพื่อถอดบทเรียนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโครงการฯในครั้งนี้ เพื่อเป็นหลักสูตรแกนกลางต้นแบบ โดยทุกโรงเรียนสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ตามบริบทและความเหมาะสม
ด้าน วราราชย์ เรืองศรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า ด้วยภารกิจของมูลนิธิฯ ที่มุ่งสืบสานงานพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนเกษตรกรและผู้สูงวัยในชนบทห่างไกล
ตามรอยใต้เบื้องพระยุคลบาทอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ซีพีเอฟ ได้ร่วมกับมูลนิธิฯ ส่งมอบโครงการฯ และส่งบุคลากรเข้าไปติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำด้านการเลี้ยงไก่ไข่และการจัดการผลผลิต แก่ครูและนักเรียนในโครงการฯ บริษัทพร้อมให้การสนับสนุนโครงการฯนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนที่เป็นอนาคตของชาติได้บริโภคไข่ไก่คุณภาพดีจากฝีมือการดูแลของพวกเขาเองต่อไป และหวังว่าโรงเรียนทุกแห่งจะสามารถบริหารจัดการโครงการฯ สู่ ความสำเร็จอย่างยั่งยืน และเป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป
การจัดงานสัมมนาฯ ครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบ 11 แห่งจากทั่วประเทศ ที่มีผลการเลี้ยงดี และมีหลักสูตรเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนใช้ในรายวิชา เพื่อมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ทักษะการเลี้ยง ตลอดจนการบริหารจัดการโครงการฯ ร่วมกันทำให้เกิดกระบวนการถอดบทเรียน โดยมีวิทยากรจากสถาบันรามจิตติร่วมออกแบบและพัฒนาหลักสูตรผ่านกิจกรรมการค้นหา วิเคราะห์แนวคิดการเลี้ยงไก่ไข่ และการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดสมรรถนะจากกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่ไข่ ทั้งด้านบริหารจัดการ ด้านการเงิน ด้านอาชีพสู่การพัฒนาเป็นธุรกิจและพัฒนาให้เป็นหลักสูตรแกนกลางร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี