วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘๑๕๐ ปีพิพิธภัณฑ์ไทย’ ภูมิการเรียนรู้โลกสยามซิวิไลซ์

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘๑๕๐ ปีพิพิธภัณฑ์ไทย’ ภูมิการเรียนรู้โลกสยามซิวิไลซ์

วันอาทิตย์ ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : ชุมชนเก่าแก่ ประวัติศาสตร์ไทย ภูมิชุมชนวิถีไทย ภูมิบ้าน ภูมิเมือง ภูมิสถาปัตย์ ศิลปกรรมไทย
  •  

หอคองคอเดีย พิพิธภัณฑ์แห่งแรก

วันที่ ๑๙ กันยายนทุกปีนั้น เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทยในวาระครบ ๑๕๐ ปี งาน “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทยสยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom” สำนักพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ กรมศิลปากร จึงร่วมกับเครือข่ายฯจัดงานให้เห็นการเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์มาสู่แหล่งเรียนรู้ในอนาคต คำว่า “พิพิธภัณฑสถาน” จึงหมายว่าเป็น “สถานที่สำหรับรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เป็นต้น เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ โลกตะวันตก ได้มีการตื่นตัวในการเก็บรวบรวมมรดกของชาติ และสะสมทรัพย์สมบัติ ต่างๆ ทั้งที่เป็นวัตถุ สิ่งของมีค่า สิ่งเก่าแก่ ที่หายาก และแปลกๆ เพื่อเป็นหลักฐานทางมรดกวัฒนธรรมของชาติ เพื่อแสดงถึงความเป็นใหญ่และความมั่งคงทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เด่นชัด ซึ่งจะปรากฏได้ต่อเมื่อชาตินั้นๆ ได้มีการรวบรวมหลักฐานที่เป็นศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ สิ่งประดิษฐ์จากการคิดค้นหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นสมบัติของชาติ มาเป็นหลักฐานให้ชนในชาตินั้นเกิดความภาคภูมิใจ

รัชกาลที่๔


ราชอาณาจักรสยาม หรือประเทศไทยนั้นได้มีการจัดพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์เป็นผู้ริเริ่มรวบรวมวัตถุที่เป็นมรดกของชาติและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งราชฤดีเป็นครั้งแรก ต่อมาทรงโปรดฯ ให้ย้ายสิ่งของมาจัดแสดงมาในพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯ ให้ย้ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และของแปลกประหลาดจากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงในหอคองคอเดีย ซึ่งเป็นอาคารใหม่ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพิธีเปิดหอมิวเซียมหรือพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย ในวันที่๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๑๗ ถือเป็นวันกำเนิดของพิพิธภัณฑสถานของชาติแห่งแรกในราชอาณาจักรสยาม ครั้งนั้นการจัดพิพิธภัณฑ์ในหอคองคอเดียจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ทั่วไป โดยมีพระยาภาสกรวงศ์(พร บุนนาค) นายทหารกรมทหารมหาดเล็ก เป็นหัวหน้าฝ่ายไทย และมี นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ เป็นผู้อำนวยการจัดแสดงสิ่งของ ในพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย ให้เป็นแบบสากลการ โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ ๑.ศิลปะโบราณวัตถุของไทย ๒.ศิลปะโบราณวัตถุส่วนพระมหากษัตริย์ และ ๓.ศิลปะโบราณวัตถุจากต่างประเทศ ซึ่งนายเฮนรี่นั้น เป็นผู้ริเริ่มจัดทำแคตตาล็อกบัญชีสิ่งของดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาไทย    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่๕

หลังสุด พ.ศ.๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯ ให้ย้าย“มิวเซียม” จากหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวังไปจัดตั้งใหม่ที่พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) โดยใช้พระที่นั่งส่วนหน้าสามองค์เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อวันที่๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๙ และต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานอาคารหมู่พระวิมานทั้งหมด เป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ทำให้มีการจัดแสดงนิทรรศการถาวร เรื่องประวัติศาสตร์ไทย ในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน เรื่องโบราณคดี ประวัติศาสตร์และศิลปกรรมในอาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์เรื่องประณีตศิลป์และชาติพันธุ์วิทยา ในอาคารหมู่พระวิมาน

การพัฒนาการของพิพิธภัณฑ์จนถึงปัจจุบัน ๑๕๐ ปีนั้น ทำให้มีอาคารใหม่เพิ่มขึ้นและการจัดแสดง ตามรูปแบบสากลของศิลปวิทยาการที่เกิดขึ้นในโลก ทั้งทางศิลปะ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา สังคมวิทยา และสาขาวิชาอื่นๆ โดยเข้าเป็นสมาชิกสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM ซึ่งให้คำจำกัดความว่า “พิพิธภัณฑ์” นั้นมิใช่เป็นแหล่งเก็บรวบรวม สงวนรักษาศึกษาวิจัย และจัดแสดงเฉพาะวัตถุเท่านั้น แต่ป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไดัรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นหลักฐานสำคัญต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมวัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ จากหลักฐานในอดีต สิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สอดคล้องกับพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๒ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ เช่นพิพิธภัณฑ์ อุทยานทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนและท้องถิ่น ห้องสมุด และอื่นๆเพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ การท่องเที่ยว สินค้าชุมชนและเศรษฐกิจรายได้ในท้องถิ่น และความมั่นคงของมนุษย์ด้วย

พระยาภาสกรวงศ์
พระยาภาสกรวงศ์
เฮนรี่ อาลาบาสเตอร์
เฮนรี่ อาลาบาสเตอร์
ร.๗ กับคณะเปิดพิพิธภัณฑ์
ร.๗ กับคณะเปิดพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
พระที่นั่่งศิวโมกขพิมาน
พระที่นั่่งศิวโมกขพิมาน
อธิบดีกรมศิลปากรบรรยายทางวิชาการ
อธิบดีกรมศิลปากรบรรยายทางวิชาการ
เสวนาทางวิชาการ
เสวนาทางวิชาการ
เครือข่ายพิพิธภัณฑ์
เครือข่ายพิพิธภัณฑ์
สิ่งของจากเครือข่าย
สิ่งของจากเครือข่าย
สัญลักษณ์งาน ๒๕๖๗
สัญลักษณ์งาน ๒๕๖๗

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : \'กรุงเทพ\' ภูมิแผ่นดินถิ่นชาวบางกอก ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'กรุงเทพ' ภูมิแผ่นดินถิ่นชาวบางกอก
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘มรดกไทย’ภูมิปัญญาชุมชนสู่เทศกาลโลก ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘มรดกไทย’ภูมิปัญญาชุมชนสู่เทศกาลโลก
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระปรางค์วัดอรุณ’ภูมิจักรวาลรัตนโกสินทร์ ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระปรางค์วัดอรุณ’ภูมิจักรวาลรัตนโกสินทร์
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ป.อินทรปาลิต’ภูมิหัสนิยายของประชาชน ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ป.อินทรปาลิต’ภูมิหัสนิยายของประชาชน
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระเขี้ยวแก้ว’ภูมิศรัทธาสักการะของชาวไทย ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘พระเขี้ยวแก้ว’ภูมิศรัทธาสักการะของชาวไทย
  • ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ปังปอนด์’ภูมิมนุษย์ยุคน้ำแข็งเขาสามร้อยยอด ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ปังปอนด์’ภูมิมนุษย์ยุคน้ำแข็งเขาสามร้อยยอด
  •  

Breaking News

(คลิป) 'อุ๊งอิ๊งค์'อ้าง! เตรียมเอกสารไม่ทัน ชำแหละเบื้องหลัง ขอขยายเวลา 15 วัน

'​สว.สำรอง'ยื่น'กกต.' เร่งรับสำนวนคดี'ฮั้ว' หวังวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว

‘ภูมิธรรม’พบเทงบลงพื้นที่‘ภท.’บางแห่งสูง700ล้าน แฉ‘อนุทิน’เซ็นเอกสารไม่ตรงกับที่ลงในระบบ

‘ณัฐพงษ์’ฟุ้ง‘ปชน.’พร้อมทำหน้าที่แม้‘ฉบับส้ม’ถูกตีตก หวังเปิดประตูนิรโทษให้กว้างที่สุด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved