วันอังคาร ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาแก้อักเสบอย่างถูกวิธี

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาแก้อักเสบอย่างถูกวิธี

วันจันทร์ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 13.24 น.
Tag : ยาแก้อักเสบ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ
  •  

ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการใช้ยาแก้อักเสบ เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องหนึ่งที่เกิดการเข้าใจผิดได้ เช่น ป่วยมาด้วยอาการหลัก คือ มีไข้ เจ็บคอ มีน้ำมูก มีเสมหะสีเขียว แล้วถามหายาแก้อักเสบ แต่สิ่งที่คาดหวัง คือได้ยาเพื่อฆ่าเชื้อก่อโรค ซึ่งเป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะ (antibiotics) หรือยาฆ่าเชื้อ (antimicrobials) บางคนมีตัวอย่างยามาเพื่อแสดงประกอบการขอซื้อยา (ไม่ทราบว่านำตัวอย่างมาจากไหน) แล้วบอกเภสัชกรว่าต้องการยาตัวนี้
อีกกรณีหนึ่งที่อาจพบคือ คนไข้มาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายหนัก มาขอซื้อยาแก้กล้ามเนื้ออักเสบ กรณีนี้อาจไม่มีชื่อยาหรือตัวอย่างยามาด้วย แต่ความเข้าใจของผู้ป่วยคือ ต้องการยาแก้อักเสบ เพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ซึ่งหากซักประวัติแล้วไม่มีข้อห้ามใช้ ยาที่ผู้ป่วยรายนี้จะได้คือยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs หรือเอ็นเสด) ตัวอย่างของยาในกลุ่มนี้อาจเป็นที่รู้จักกันดี คือ ไอบูโพรเฟน เซเลค็อกสิบ เป็นต้น

ผู้อ่านอาจสงสัยว่า คำว่ายาแก้อักเสบ คือยาแก้อะไรกันแน่ ขอย้ำว่าอาการอักเสบ (Inflammation) คือ การตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อการบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือการระคายเคือง เป็นกลไกสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยปกป้องร่างกาย และเริ่มต้นกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง เมื่อร่างกายเกิดการอักเสบ ร่างกายจะส่งเซลล์ภูมิคุ้มกันและสารเคมีต่าง ๆ ไปยังบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม (เช่น เชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส) สารระคายเคือง หรือเนื้อเยื่อที่เสียหาย จากนั้นก็จะเริ่มกระบวนการฟื้นฟูและซ่อมแซม อาการที่ปรากฏขึ้นในบริเวณที่เกิดการอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่ อาการปวด บวม แดง ร้อน นั่นหมายความว่า การอักเสบ อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ หรือ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อต่าง ๆ ก็ได้
คนทั่วไปเรียกยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะ ว่ายาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน และอาจนำไปสู่การใช้ยาผิด แล้วอาจนำยาปฏิชีวนะไปใช้ ในกรณีเกิดการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ นอกจากกินยาแล้วโรคไม่หาย แล้วยังเสี่ยงต่อการแพ้ยา หรือดื้อยาด้วย
ในทางกลับกัน เช่น ผู้ป่วยเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ แต่ไปใช้ยา NSAIDs ซึ่งไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ก็อาจจะไม่หาย และทำให้การติดเชื้อรุนแรงมากขึ้นไปอีก นอกจากนี้ ยาทั้งสองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มยาที่มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มากที่สุด ทั้งเรื่องของการเกิดอาการแพ้ยาและการเกิดผลข้างเคียง ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับแนวทางการใช้ยาทั้งสองกลุ่มให้ปลอดภัยกันดีกว่า
การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างปลอดภัย

  • ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ โดยปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนใช้
  • กินยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง โดยต้องกินยาให้หมดตามขนาด และระยะเวลาที่กำหนด แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม การหยุดยาก่อนกำหนดอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ยังหลงเหลืออยู่ไม่ตายหมด ทำให้เชื้อเหล่านั้นพัฒนาการดื้อยาขึ้นมาได้ และทำให้การรักษาในอนาคตยากขึ้น
  • กินยาให้ตรงเวลา เพื่อรักษาระดับยาในร่างกายให้คงที่และมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ
  • แจ้งข้อมูลสุขภาพให้แพทย์ และเภสัชกรทราบ โดยแจ้งประวัติการแพ้ยาปฏิชีวนะทุกชนิด (เช่น แพ้ยาเพนิซิลลิน, ซัลฟา) เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรง และแจ้งโรคประจำตัว หรือยาอื่นๆ ที่กำลังรับประทานอยู่ เพื่อป้องกันปฏิกิริยาระหว่างยา
  • เก็บรักษายาในที่แห้ง ไม่ชื้น และพ้นจากแสงแดด ทำตามคำแนะนำบนฉลาก และยาบางชนิดต้องเก็บในตู้เย็น (เช่น ยาปฏิชีวนะชนิดน้ำสำหรับเด็กบางตัว)

วิธีใช้ยากลุ่ม NSAIDs อย่างปลอดภัย

  • ใช้ในขนาดที่เหมาะสมและไม่เกินปริมาณที่แนะนำ โดยอ่านฉลากยาให้ละเอียด และรับประทานตามขนาดและระยะเวลาที่แนะนำ ห้ามเพิ่มขนาดยาเอง เพราะไม่ได้ช่วยให้ออกฤทธิ์ดีขึ้น แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ถ้าไม่มีคำแนะนำจากแพทย์
  • รับประทานยาให้ถูกเวลา ยาบางชนิดให้รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที เนื่องจากยาบางชนิดมักทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ การรับประทานยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที จะช่วยลดผลข้างเคียงนี้ลงได้มาก
  • ใช้ยาเท่าที่จำป็น ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร เนื่องจากยาในกลุ่มนี้ มีผลข้างเคียงสูงต่อกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งอาจมีเลือดออก หรือถึงขั้นกระเพาะทะลุได้ อาการที่บ่งชี้ เช่น ปวดท้อง เสียดท้อง แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำ

นอกจากนี้ ยา NSAIDs ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และอาจส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้การกรองของเสียของไตลดลง และอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้ที่ภาวะขาดน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs หรือใช้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ภายใต้การดูแลของแพทย์

  • แจ้งข้อมูลสุขภาพให้แพทย์และเภสัชกรทราบ โดยแจ้งประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว (โดยเฉพาะโรคกระเพาะอาหาร ไต หัวใจ ความดันโลหิตสูง) และยาอื่น ๆ ที่กำลังใช้อยู่ ส่วนหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ

ขอย้ำว่า ยาแก้อักเสบอาจก่อปัญหาใหญ่ได้ เราจึงต้องปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ ก่อนใช้ยา เพื่อให้ใช้ยาให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาลดไข้ให้ได้ผลดี รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาลดไข้ให้ได้ผลดี
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาธาตุให้มีประโยชน์สูงสุด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ใช้ยาธาตุให้มีประโยชน์สูงสุด
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง
  •  

Breaking News

'fight for นายช'ซิวแชมป์ Cyber Warrior Hackathon 2025 ตร.ไซเบอร์ผนึก'มจธ.'ปั้นยอดนักรบไซเบอร์

กระบะเลี้ยวเข้าซอย มอไซค์พุ่งชนกลางลำ หนุ่มกัมพูชาบาดเจ็บ

เปิดตัว'มะละกะ' ผลไม้ลับตะกั่วป่า! ไม่ใช่'ลองกอง-ลางสาด' ความอร่อยที่ต้องตามล่า

วงจรปิดจับภาพชัด! โจรใจบาปปั่นจักรยานเข้าวัดยามวิกาล ย่องเบาลักตู้บริจาค

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved