วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เปิดตำนาน 'ต้นพระศรีมหาโพธิ์' ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับ 'พระพุทธศาสนา' มากว่า 2 พันปี

เปิดตำนาน 'ต้นพระศรีมหาโพธิ์' ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับ 'พระพุทธศาสนา' มากว่า 2 พันปี

วันจันทร์ ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561, 16.59 น.
Tag : ต้นโพธิ์ ตำนาน พระศรีมหาโพธิ์ พระพุทธศาสนา
  •  

ช่วงนี้ข่าวการตัดต้น "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" อายุ 60 ปีที่บริเวณจุดชมวิวด้านทิศตะวันออกบนเขาช่องกระจก ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในเขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ กำลังได้รับความสนใจและถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ต้นนี้เป็นต้นโพธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นเขาช่องกระจก วันที่ 12 มิถุนายน 2501 

"ต้นโพธิ์" เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้อันเป็นสถานที่ประทับและตรัสรู้บรรลุพระสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ด้วยสาเหตุนี้ต้นโพธิ์จึงเป็นพรรณไม้ที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล 


ในพุทธประวัติปรากฏต้นโพธิ์ที่เด่นชัดอยู่สองครา คือ เป็นสถานที่ตรัสรู้ ณ พุทธคยา ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ซึ่งมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่าต้นศรีมหาโพธิ์ ส่วนอีกครั้งหนึ่งคือต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งต้นโพธิ์ดังกล่าวยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน 

คำว่า "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" นั้นมีความหมายแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นต้นโพธิ์ที่ตั้งอยู่ที่พุทธคยา ต้นโพธิ์ที่เติบโตมาจากหน่อของโพธิ์ ณ พุทธคยา หรือต้นโพธิ์ที่ตั้งอยู่ภายในวัดต่างๆ ก็ได้ 

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันมีอยู่สามต้นด้วยกัน ได้แก่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, ต้นอานันทโพธิ์ ณ เมืองอนุราธปุระ และต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร อย่างไรก็ตาม ต้นโพธิ์พระเจ้าอโศกแห่งเมืองอนุราธปุระนำหน่อมาปลูกจากพุทธคยา ได้รับการเคารพสักการะและบูชามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 2,000 ปีแล้ว แตกต่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพุทธคยา ที่ถูกโค่นลงและล้มลงตามธรรมชาติหลายครั้ง และต้นอานันทโพธิ์ที่วัดเชตวันที่ขาดการดูแลจากพุทธศาสนิกชนหลังจากที่พระพุทธศาสนาเสื่อมลงในประเทศอินเดีย

 

 

ต้นโพธิ์ที่ชาวลังกาเรียกว่า “Bohd Tree” หรือชาวอินเดียเรียกว่า “Pipal” มีความสำคัญประการแรกเมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรเพื่อค้นหาสัจธรรม พระองค์ทรงเลือกนั่งประทับใต้ต้นโพธิ์ จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสรู้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คืออริยสัจ 4 อันประกอบไปด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เมื่อวันเพ็ญเดือนหก อริยสัจ 4 นี้หมายถึงความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งเป็นแนวทางการดับทุกข์ แก้ไขปัญหา อย่างมีระบบ มีเหตุผล และรอบด้าน แม้พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็ยังทรงต้องฝึกฝนสมาธิสติเพื่อกำจัดกิเลสมารฝ่ายต่ำ โดยพระองค์ก็ทรงเลือกประทับใต้ต้นโพธิ์เช่นกัน 

กล่าวกันว่าต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับเพื่อรวบรวมจิตของพระองค์เพื่อให้บรรลุเข้าถึงสัจธรรมนั้นแม้จะได้ถูกทำลายไปแล้ว แต่ด้วยบุญญาธิการของพระองค์ เมื่อมีผู้ใดนำน้ำนมโคไปรดที่รากจะเกิดแขนงแตกแยกออกมาและมีชีวิตอยู่ต่อไป เมื่อตายแล้ว ก็จะแตกหน่อออกเพิ่ม จนในปัจจุบันถือได้ว่าต้นที่เหลืออยู่นั้นเป็นช่วงที่สามแล้ว 

นอกจากนี้ต้นโพธิ์ที่วัดเชตวันมหาวิหาร หรืออานันทมหาโพธิ์นั้น มีความเป็นมาว่า เมื่อวัดเชตวันได้กลายเป็นสถานที่ที่นำมา ซึ่งความสะดวกสบายและความสงบมาสู่มนุษย์ได้ดียิ่งกว่าสถานที่อื่นใดอันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ก็มิได้ประทับตลอดทั้งปี 

ในแต่ละปีพระพุทธองค์จะทรงประทับเพียง 8 เดือน ส่วน 4 เดือนที่เหลือของปีนอกฤดูฝน พระองค์จะเสด็จไปจารึกแสดงธรรมในชนบทและหัวเมืองอื่น ชาวนครสารัตถีจะทูลเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นนิจ ไม่ปรารถนาให้พระองค์เสด็จไปประทับที่อื่น จึงปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้พระองค์ประทับอยู่ได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ต้องเสด็จไปยังสถานที่อื่น จะหาสิ่งใดแทนพระองค์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ เครื่องระลึกแทนได้ เมื่อความทราบไปถึงพระอานนท์เถระ จึงนำความกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทราบ พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งให้มีการปลูกโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยาหน้าวัดเชตวันเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ จนเป็นที่เคารพบูชาของคนทั้งปวง 

พระโมคัลลานะ อัครสาวกฝ่ายซ้ายทราบความประสงค์ของพระองค์จึงเหาะไปยังตำบลพุทธคยาเพื่อนำผลสุขแห่งโพธิ์กลับมายังวิหารพระเชตวัน แล้วจึงปรึกษากันว่าผู้ใดควรเป็นผู้ปลูก เบื้องต้นชาวเมืองและพระสงฆ์พร้อมใจถวายแด่พระเจ้าปเสนโกศลเป็นผู้ทรงปลูก แต่พระองค์ได้ปฏิเสธ จนกระทั่งท้ายที่สุด อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้เป็นผู้ปลูก จากนั้นชาวเมืองก็ได้นิยมไปสักการบูชาต้นโพธิ์แทนพระพุทธเจ้า จึงเรียกชื่อกันว่าพระอานันทโพธิ์ เนื่องจากพระอานนท์เป็นผู้จัดการดูแลเรื่องการปลูกทั้งสิ้น ต้นโพธิ์ต้นนี้ยังมีอายุยืนอยู่ภายในวัดเชตวันวิหาร นครสาวัตถี ประเทศอินเดีย 

 

 

จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ต้นโพธิ์นั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับพระพุทธศาสนา และเนื่องในปีพุทธศักราช 2555 เป็นปีพุทธชยันตี หรือการเฉลิมฉลองการครบรอบ 2600 ปีการตรัสรู้ของพระองค์ พุทธศาสนิกชนทุกคนจึงควรร่วมกันส่งเสริมการศึกษาทำความเข้าใจพุทธประวัติไปพร้อมกับการศึกษาพรรณไม้อย่างต้นโพธิ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

แม้ในประเทศไทยจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่ากับชาวพุทธในศรีลังกา แต่ปรากฏตามความเชื่อในประเทศไทยว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิดสำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็ง สำหรับชาวล้านนายังมีความเชื่ออีกว่า ต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ และเครื่องประกอบพิธีกรรม ใต้ต้นโพธิ์ โดยผูกคติกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดิมของการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ตามคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตาม ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่สืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่วัดต้นศรีมหาโพธิ์ ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวาราวดี, วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ปลูกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

แม้การทำลายต้นโพธิ์ตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจะระบุว่า "เป็นการทำบาปและหลบหลู่พระรัตนตรัย" แต่ในมหาสมณวินิจฉัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวว่า "เฉพาะต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เป็นอุทเทสิกเจดีย์เท่านั้น ต้นโพธิ์ที่งอกทั่วไปและไม่ได้เป็นอุเทสิกาเจดีย์ คือไม่มีผู้เคารพบูชาในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับพระพุทธรูป"

ภาพ/ข้อมุลจาก http://baanjompra.com
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'วัดพระธรรมกาย\'อัดโครงการสันติภาพเพื่อพระสงฆ์​ชายแดนใต้​ ย้ำพระพุทธศาสนาไม่ได้สู้อย่างโดดเดี่ยว 'วัดพระธรรมกาย'อัดโครงการสันติภาพเพื่อพระสงฆ์​ชายแดนใต้​ ย้ำพระพุทธศาสนาไม่ได้สู้อย่างโดดเดี่ยว
  • พบถ้ำในวัดโบราณยุคเดียวกับพระธาตุพนมเป็นโพรงใต้ต้นโพธิ์ใหญ่เชื่อเป็นถ้ำพญานาค พบถ้ำในวัดโบราณยุคเดียวกับพระธาตุพนมเป็นโพรงใต้ต้นโพธิ์ใหญ่เชื่อเป็นถ้ำพญานาค
  • \'ต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง\'ต้นไม้มงคล\'วัดป่าสักเรไร\'อุตรดิตถ์อายุกว่า 100 ปีเริ่มผลิใบ 'ต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง'ต้นไม้มงคล'วัดป่าสักเรไร'อุตรดิตถ์อายุกว่า 100 ปีเริ่มผลิใบ
  • กรรมอันเป็นเหตุนำให้เกิด \'เทวดามาเกิดเป็นมนุษย์ มนุษยเกิดเป็นสัตว์ สัตว์ไปเกิดเป็นเทวดา\' กรรมอันเป็นเหตุนำให้เกิด 'เทวดามาเกิดเป็นมนุษย์ มนุษยเกิดเป็นสัตว์ สัตว์ไปเกิดเป็นเทวดา'
  • ใกล้วันหวยออกสายมูแห่ขอเลขต้นโพธิ์ยักษ์อายุกว่า 200 ปีที่วัดม่อนใหญ่ ใกล้วันหวยออกสายมูแห่ขอเลขต้นโพธิ์ยักษ์อายุกว่า 200 ปีที่วัดม่อนใหญ่
  • คอหวยแตกตื่นทั้งหมู่บ้าน\'ต้นโพธิ์\'ออกกลางตอสักโรยแป้งขอเลขสามตัวโผล่เห็นจะๆ คอหวยแตกตื่นทั้งหมู่บ้าน'ต้นโพธิ์'ออกกลางตอสักโรยแป้งขอเลขสามตัวโผล่เห็นจะๆ
  •  

Breaking News

‘ประเสริฐ’ฉะคนปล่อยข่าว‘ภท.’คว่ำงบ69 มุ่งเสี้ยมรัฐบาลระแวงกันเอง

‘อนุสรณ์’ชี้ไม่มีเหตุที่พรรคไหน จะคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ทำประเทศเสียโอกาส

‘อนุสรณ์’ขอบคุณชาวเทศบาลนครเชียงใหม่ หนุน‘อัศนี’เพื่อไทยเป็นนายกฯอีกสมัย

‘อดีตบิ๊กข่าวกรอง’ติงหลังรู้ผลเลือกตั้งเทศบาล อย่าแดกดันคนในพื้นที่เป็นเมือง‘ทานหญ้าบุรี’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved