วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : คู่มือเรียนรู้‘สิทธิมนุษยชน’ สร้างความตระหนักแต่วัยเยาว์

สกู๊ปแนวหน้า : คู่มือเรียนรู้‘สิทธิมนุษยชน’ สร้างความตระหนักแต่วัยเยาว์

วันอาทิตย์ ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า สิทธิมนุษยชน
  •  

“การขับเคลื่อนเรื่องการส่งเสริมสิทธิเป็นเรื่องสำคัญ เพราะกรรมการสิทธิฯ ตั้งแต่ตั้งสำนักงานสถาบันสิทธิไทยมา 19 ปี เรารับเรื่องร้องเรียนมาหลายพันเรื่อง ตั้งแต่รุ่นที่ 1 รวมแล้วเป็นหมื่นเรื่องและนับวันก็จะทวีเรื่องร้องเรียนมากขึ้น เราจึงเห็นว่าหากเรามุ่งแต่จะคุ้มครองสิทธิอย่างเดียว ไม่นำเรื่องส่งเสริมมาขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไปในอนาคตเราคงจะรับมือลำบาก”

ความเห็นของหนึ่งในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รุ่นที่ 3 ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กล่าวถึงสารพัดเรื่องร้องเรียนเข้ามายัง กสม. ซึ่งผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธินั้นก็ไม่ได้มีแต่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแต่ยังรวมไปถึงบริษัทเอกชนหรือแม้แต่สถาบันการศึกษาด้วย อีกทั้งในหลายกรณีก็เป็นการกระทำไปโดยไม่รู้ว่าเป็นการละเมิด ทำให้ กสม. รุ่นที่ 3 หรือชุดปัจจุบันนั้นเห็นว่าต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น


จึงเป็นที่มาของการระดมสมองทั้งจากทีมงาน กสม. และผู้เชี่ยวชาญภายนอก จัดทำ “คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” โดยแบ่งเป็น 5 ช่วงชั้นคือ ปฐมวัย (อนุบาล) ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมต้นและมัธยมปลาย สำหรับเป็นแนวทางให้ครูนำไปใช้ออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนประเด็นสิทธิมนุษยชน ปลูกฝังสร้างความเข้าใจตั้งแต่อายุน้อยๆ

ประกายรัตน์ เล่าต่อไปว่า ในปี 2560 กสม. จึงตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นภายใต้แผนส่งเสริมสิทธิ ที่ตอนหนึ่งระบุถึงการทำหลักสูตรให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย กับการทำคู่มือจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน 5 ช่วงชั้น โดยนำหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับด้านสังคม วัฒนธรรมและหน้าที่พลเมืองมาเป็นจุดตั้งต้น อนึ่ง ในความเป็นจริงแม้ กสม. ตั้งแต่รุ่นที่ 1 จะทำงานร่วมกับ ศธ. แต่ที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเพราะครูในโรงเรียนเห็นว่าสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องนามธรรม ไม่รู้จะสอนนักเรียนให้เห็นภาพได้อย่างไร

“คู่มือ 5 เล่มนี้เป็นคู่มือออกแบบกิจกรรมสำหรับสอนด้านสิทธิมนุษยชนให้กับครู ดังนั้นคนที่ช่วยเราทำก็คือครูรวมถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ท่านมีความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนครูจาก 30 โรงเรียนที่ ศธ. ส่งมาช่วยเราก็ไม่มีความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ดังนั้นเราต้องใช้บูรณาการระหว่างองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแล้วครูก็คิดกระบวนการ คิดกิจกรรม กว่าจะเป็น 5 เล่มนี้ต้องใช้เวลาถึง 2 ปีเต็ม” ประกายรัตน์ ระบุ

กสม.ผู้นี้ เปิดเผยว่า “สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ง่ายที่จะทำคู่มือออกแบบการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชน แม้แต่ประกาศจ้างก็ไม่มีใครอยากรับเพราะเป็นงานยาก”
ดังนั้นเมื่อคู่มือถูกจัดทำสำเร็จเป็นรูปเล่มออกมา จึงเป็นที่ฮือฮาและเรียกความสนใจจากคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของต่างประเทศอย่างมาก อาทิ องค์การสหประชาชาติ (UN) หรือสถานทูตของหลายประเทศ มีการส่งผู้แทนมาดูงาน

ซึ่งต้องบอกว่าเป็นความ “โชคดี” สืบเนื่องจาก “รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มาตรา 54 ระบุว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี
ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” จากเดิมในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ที่หน้าที่ส่วนนี้ของรัฐจะเริ่มที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป ทำให้ ศธ. ต้องไปออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย กสม. จึงได้อาศัยหลักสูตรที่ ศธ. ทำขึ้นมาออกแบบกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพิ่มเติมลงไป

“ถ้าไปดูในรายละเอียดก็จะเห็นกิจกรรมน่ารักมาก เด็กๆ ก็จะเรียนรู้ เช่น จะไปเล่นไม้ลื่น มีเครื่องเล่นชิ้นเดียวจะทำอย่างไรที่จะได้เล่นทุกคน แล้วเมื่อไหร่ที่มีการแซงกันแล้วทะเลาะกันมันจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเราต้องเคารพสิทธิ์กัน อะไรอย่างนี้ วิธีการสอนออกแบบกิจกรรมต่างๆ ก็ต้องขอบคุณท่านครูบาอาจารย์จาก ศธ. ที่ท่านกรุณามาช่วยเรา แล้วก็ผู้ทรงคุณวุฒิของเราส่วนหนึ่งที่ท่านเกษียณจาก ศธ. แล้ว” ประกายรัตน์ กล่าว

หลังต้นแบบคู่มือสำเร็จเป็นรูปเล่มทั้ง 5 ช่วงชั้นคณะทำงานได้ทดลองให้ครูจาก 30 โรงเรียนนำร่องในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล นำไปใช้เพื่อดูว่าสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ ก่อนที่คณะครูซึ่งร่วมเขียนคู่มือมาตั้งแต่ต้นนำไปสรุปบทเรียนอีกครั้งหนึ่ง สุดท้ายในเดือน มิ.ย. 2562 คู่มือจึงพร้อมเผยแพร่ต่อสาธารณะ แต่กว่าจะได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการก็ต้องรอถึงเดือนม.ค. 2563 เพราะเกิดกรณี กสม. บางท่านลาออก จึงไม่สามารถเบิกงบประมาณมาจัดพิมพ์ กระทั่งต่อมาจึงมีการตั้ง กสม. ชั่วคราว เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ตามระเบียบที่กำหนดไว้

โดยเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมามีการเปิดตัวคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานณ รร.เซ็นทราบายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ย่านหลักสี่ กรุงเทพฯ ได้รับเกียรติจาก วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งรองนายกฯ กล่าวว่า การที่ กสม. จัดทำคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หากนำเข้าสู่สถาบันการศึกษาซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะครอบคลุมนักเรียน 3,000,000 คน และบุคลากรทางการศึกษา 400,000 คน

โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการวางรากฐานสำคัญให้เด็กรู้จักสิทธิ เข้าใจสิทธิ และไม่ละเมิดสิทธิ ทั้งนี้หากพิจารณาเป้าหมาย 17 ข้อของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ที่ประเทศต่างๆรวมทั้งไทยได้ให้คำมั่นร่วมกันว่าจะก้าวไปให้ถึงเป้าหมายภายในปี 2573 ล้วนมีฐานของสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องอยู่ในทุกเป้าหมายทั้งสิ้น ซึ่งประเทศไทยยังมีเวลาอีก 10 ปีที่จะมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว และหลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาจะช่วยให้ประเทศได้บรรลุเป้าหมาย SDGs ได้

ซึ่งจะทำให้สังคมได้อยู่ร่วมกันฉันมิตรและมีสันติ เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน

เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2

จับหนุ่มเสพยาซึ่งจยย.ย้อนศรหนีตร.ไปไม่รอด

เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังใจเร่งสร้างเชื่อมั่น

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved