วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : จากอาหารไก่ถึงโคขุน  งานวิจัยช่วยยกระดับมูลค่า

สกู๊ปแนวหน้า : จากอาหารไก่ถึงโคขุน งานวิจัยช่วยยกระดับมูลค่า

วันอาทิตย์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“สกู๊ปแนวหน้า” ยังคงอยู่ที่ “พะเยา” หลังจากสัปดาห์ก่อนเล่าถึงการยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ในจังหวัดแห่งนี้ไปแล้ว (“ข้าวหอมมะลิ”เพิ่มมูลค่า “พะเยา” วิชาการผสานชุมชน : สกู๊ปหน้า 5 นสพ.แนวหน้า วันอาทิตย์ที่ 2 ก.พ. 2563) ในตอนนี้จะว่ากันด้วยการนำงานวิจัยไปช่วย “ฟาร์มไก่” ลดต้นทุนการเลี้ยงแต่ยังมีประสิทธิภาพ โดย สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ร่วมกับ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา คิดค้นการนำ “ฟักทอง” มาแปรรูปเป็นอาหารไก่

ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา เล่าว่า ทีมวิจัยได้พัฒนา “สูตรอาหารไก่ลดต้นทุน” เป็นผลสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรลดค่าอาหารสำเร็จรูปลงได้ร้อยละ 20-30 แล้ว ยังลดการใช้ปฏิชีวนะในไก่ได้อีกด้วย จึงช่วยให้เกษตรกรยกระดับผลผลิตไก่และไข่ในฟาร์มเลี้ยงเป็นเนื้อไก่และไข่ไก่ชีวภาพได้


โครงการดังกล่าวได้รับทุนจาก ฝ่ายบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ตั้งแต่ปี 2559 (ขณะนั้นยังเป็นชื่อเดิมคือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย-สกว.) ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เชียงราย สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ด้วยโจทย์ใหญ่คือการพัฒนาอาหารลดต้นทุนจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและเกษตรกรต้องสามารถทำเองได้

สำหรับสูตรอาหารหมักลดต้นทุนมีส่วนประกอบหลักคือฟักทอง ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกมักมีผลผลิตเหลือถึงร้อยละ 60 เนื่องจากผลผลิตส่วนนี้ตกเกรดขายไม่ค่อยออก จึงเหมาะสมกับการนำมาทดลองทำอาหารไก่แทนการทิ้งไปเปล่าๆ โดยใช้ร่วมกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลัง หมักกับเชื้อจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดเชื้อเฉพาะตัวดี กระบวนการเหล่านี้เกษตรกรสามารถทำได้เอง “ข้อดีของอาหารหมักสูตรลดต้นทุน” คือสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานกว่า 6 เดือนโดยที่คุณค่าทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง จึงไม่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบขาดตลาด

และเมื่อนำมาประกอบเป็นสูตรอาหารอาหารเลี้ยงไก่ตามสัดส่วนของชนิดและอายุไก่ ทำให้เนื้อไก่และไข่ไก่ มีกรดไขมันชนิดโอเลอิคสูงขึ้นซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ส่วนเนื้อไก่ที่ได้รับอาหารหมักสูตรลดต้นทุนจะมีเนื้อนุ่มเหลืองและเรียกได้ว่าเป็นไก่ชีวภาพ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด อาหารสูตรดังกล่าวมีการทดลองใช้กับไก่แล้ว 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ประดู่หางดำ ไก่โรดไอส์แลนด์เรด ไก่ป่าแม่ฮ่องสอน และไก่ดำปาปาซุง

“ทุกสายพันธุ์สามารถลดต้นทุนอาหารลงได้ 20-30% นอกจากพัฒนาสูตรอาหารไก่ลดต้นทุนแล้ว ยังมีการพัฒนาสูตรอาหารที่เพิ่มสมุนไพรเข้าไปเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ขณะเดียวกัน เกษตรกรสามารถยกระดับตลาดผลผลิตของตนเองขึ้นไปสู่ตลาดเนื้อไก่พรีเมียมและไข่ไก่เพื่อสุขภาพได้ โดยเกษตรกรสามารถขายไก่เนื้อได้ราคาดีขึ้นจาก 100 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เป็น 150-200 บาทต่อ 1 กิโลกรัม” ขรรค์ชัย ระบุ

เสียงสะท้อนจากเกษตรกร มาลัย แข่งขัน เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยเลี้ยงไก่อยู่ใต้ถุนบ้านแต่เป็นเพียงอาชีพเสริมจากการรับจ้าง ราว 20 ตัว พบว่าสิ้นเปลืองอาหารและกำไรน้อยจึงเลิกเลี้ยงไป กระทั่งคณะผู้นักวิจัยจาก ม.พะเยา เข้ามาเชิญชวนให้เข้าร่วมทำโครงการเลี้ยงไก่สูตรอาหารลดต้นทุน ช่วงแรกยังลังเลเพราะเกรงว่าจะเสียเวลา แต่ต่อมาก็คิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่อาจจะเป็นความหวังของครอบครัวจึงร่วมทำโครงการ โดยในอดีตใช้อาหารสำเร็จรูปตกราคากิโลกรัมละ15 บาท เปลืองมาก แต่เมื่อหมักอาหารเองทำให้ต้นทุนลดลงเหลือแค่กิโลกรัมละ 8 บาท

อีกทั้งผู้บริโภคยังให้การยอมรับ เพราะผลิตภัณฑ์ไก่ใช้อาหารสัตว์ที่ผลิตเองในพื้นที่และปราศจากสารปฏิชีวนะ ไก่มีอัตราการให้ไข่ประมาณร้อยละ 70 ปัจจุบันขายไข่แผงละ 90-100 บาท (คละเบอร์) เมื่อเห็นว่ามีรายได้ดีจึงตัดสินใจหันมาเลี้ยงไก่เป็นอาชีพหลักเต็มตัว ไม่ต้องออกไปตากแดดรับจ้างอย่างที่ผ่านมา โดยทุกๆ วันจันทร์จะมีพ่อค้ามารับไก่ถึงบ้าน เวลาที่เหลือก็เป็นวิทยากรให้ความรู้กับผู้ที่สนใจนำผลวิจัยจากโครงการไปใช้ เพื่อพัฒนาอาชีพให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

นอกจากไก่แล้ว “โคขุน” เป็นสัตว์อีกชนิดที่ชาว จ.พะเยา นิยมเลี้ยง ซึ่งทีมงานของ ม.พะเยา นำโดย ผศ.ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา หัวหน้าชุดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อโดยนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพของผลผลิตได้เข้าไปช่วยปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อคุณภาพด้วยวิธีการผสมเทียมการบำรุงสุขภาพแม่โคหลังคลอดเพื่อให้ผสมติดประมาณ50-90 วันหลังคลอดทำให้ได้ลูกโคเนื้อปีละตัว

รวมถึงการใช้วัตถุดิบจากการทำเกษตรพืชไร่ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นเช่น ฝุ่นข้าวโพด มันเส้น และฝักทองที่ไม่ได้ขนาด มาใช้ในสูตรอาหารเลี้ยงโคขุน และยังมีการนำฟางข้าว เปลือกข้าวโพดเหลือทิ้งแล้วนำมาปรับปรุงคุณภาพเพื่อเป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งนอกจากช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรแล้วยังสามารถลดปัญหามลพิษจากการเผาเปลือกข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยวได้อีกด้วย

สุริยะ ทองสา สมาชิกสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัดกล่าวว่า การเลี้ยงโคขุนให้ได้คุณภาพต้องบำรุงให้โคมีไขมันแทรกอยู่ภายในเนื้อ รสชาติถึงจะถูกปากผู้บริโภค ก่อนหน้านี้เคยพยายามหาวิธีลดต้นทุน เช่นนำมันสำปะหลังซึ่งมีแป้งมาก ไขมันน่าจะเยอะ มาหมักทำเป็นอาหารเลี้ยงโคขุน แต่ปรากฏว่าได้อาหารที่มีโปรตีนแค่ร้อยละ 10 ไขมันร้อยละ 2-3คุณภาพสู้อาหารข้นไม่ได้ แต่ด้วยจ.พะเยา ปลูกฟักทองมาก และมีฟักทองตกเกรดส่งขายไม่ได้ ถูกทิ้งให้เน่าเสียเดือนละกว่า 10 ตัน และฟักทองก็มีแป้งคาร์โบไฮเดรต สามารถเปลี่ยนเป็นไขมันเข้าไปแทรกในเนื้อวัวได้

“กระบวนการหมักทำให้ฟักทองดิบที่มีโปรตีนแค่ 9-10% เพิ่มเป็น 16-17% และทำให้ไขมันที่มีเพียง 4-5% เพิ่มเป็น 7% ดีกว่าอาหารข้นที่กฎหมายกำหนดว่าโปรตีนต้องไม่ต่ำกว่า 12% ไขมันไม่น้อยกว่า 2% เมื่อนำไปใช้จริงปรากฏว่าช่วยให้โคขุนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 700 กรัมและการตรวจคุณภาพเนื้อชำแหละมีไขมันปนแทรกอยู่ในเนื้อระดับเกรด 2-3 ซึ่งจัดอยู่ในระดับเป็นเนื้อโคขุนเกรดพรีเมียม”สุริยะ กล่าว

ด้าน ชยุต ดงค์ปาลีธรรม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยา อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวเสริมว่า ปัญหาที่พบคือเกษตรกรมีความรู้ในด้านปศุสัตว์น้อยมาก
แม้จะเลี้ยงกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่การสอบถามข้อมูลกันเองอาจได้ข้อมูลถูกบ้างผิดบ้าง “งานวิจัยทำให้ชาวบ้านเปลี่ยนแนวคิด” ทั้งเรื่องการจัดการฟาร์ม พันธุ์สัตว์ อาหารและโภชนาการ รวมถึงการตลาด ทำให้เกษตรกรได้เรียนรู้ว่า ถ้ายังคงเลี้ยงแบบนี้จะไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มโคมากขึ้น

ฉะนั้นเกษตรกรจึงต้องปรับตัวให้พร้อมรับมือกับการเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเข้ามาช่วยยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved