วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ปิดแสงสีหนีภัย‘โควิด-19’  ธุรกิจจุก-คนทำงานกระอัก

สกู๊ปแนวหน้า : ปิดแสงสีหนีภัย‘โควิด-19’ ธุรกิจจุก-คนทำงานกระอัก

วันอาทิตย์ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563, 06.28 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ยังคงต้องติดตามสถานการณ์กันต่อไปกับการระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โควิด-19 (COVID-19)” ที่ผลกระทบไม่หยุดอยู่แต่เพียงด้านสาธารณสุขซึ่งหลายประเทศยังพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” หลังรัฐบาลหลายชาติตัดสินใจใช้ “ยาแรง” อย่างการ“ปิดเมือง” ห้ามประชาชนออกจากบ้านเว้นแต่จะไปทำงานหรือซื้อสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวันเท่านั้น เพื่อหวังตัดวงจรการระบาด

“เมื่อกิจกรรมของมนุษย์หยุดนิ่ง..เม็ดเงินที่เคยหมุนเวียนก็หยุดชะงัก” กิจการประสบปัญหารายรับลดลง บางแห่งเริ่มขาดสภาพคล่องทางการเงิน เริ่มให้พนักงานหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง และที่หนักที่สุดคือถึงขั้นเลิกจ้าง “โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและบริการ” ซึ่งสำหรับประเทศไทยเริ่มส่งผลกระทบมาตั้งแต่ประเทศจีนอันเป็นต้นตอการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกาศห้ามพลเมืองเดินทางไปต่างประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่มาไทยก็หายไปเป็นจำนวนมาก และล่าสุดกับการสั่งปิดสถานบันเทิงต่างๆ ตั้งแต่ 18-31 มี.ค. 2563 ก็ยิ่งทำให้ความกังวลเพิ่มขึ้น


คืนวันที่ 18 มี.ค. 2563 “ราตรีแรกของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยในวันที่แสงสีถูกปิดลง” ทีมงาน “สกู๊ปแนวหน้า” ตระเวนสำรวจหลายย่านที่เคยคึกคักในช่วงหัวค่ำไปจนถึงเกือบรุ่งสาง แต่เมื่อมีคำสั่งปิดสถานบันเทิงก็พบว่าผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมีจำนวนบางตา เริ่มตั้งแต่ย่าน “สุขุมวิท-นานา” ในเวลาสี่ทุ่มเศษภาพที่เห็นคือบรรดาผู้ค้าแผงลอยนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือบ้าง เดินไป-มาบ้างท่ามกลางบรรยากาศสุดเงียบเหงา

“ลักษณ์” หญิงวัย 38 ปีจาก จ.ยโสธร ตั้งแผงขายอยู่ในย่านดังกล่าวมาหลายปี ในเวลานั้นมีรายได้เฉลี่ยราววันละ 1,000 บาท ต่อมาช่วงที่กรุงเทพมหานคร (กทม.)มีมาตรการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ทำให้ต้องเลิกขายไปพักหนึ่งและเพิ่งกลับมาขายได้ในช่วง 2 ปี ล่าสุด ถึงกระนั้นรายได้ก็ไม่เท่าเดิมอีก เฉลี่ยอยู่ที่ราววันละ500-600 บาทเท่านั้น แต่ก็ยังพออยู่ได้ กระทั่งเมื่อเกิดโรคระบาดและรัฐบาลสั่งปิดสถานบันเทิง ผลกระทบหนักก็มาเยือน

“ไม่เคยเห็นเงียบขนาดนี้ ไม่เคยเลย เงียบสุดในรอบกี่ปีก็ไม่รู้ เราอยู่ตรงนี้มานานแต่อยู่อีกโซนหนึ่ง อยู่มาก่อนถูกไล่ (จัดระเบียบ) อีก แต่ยุคไหนๆ ก็ไม่เงียบเท่าโรคระบาดพอสถานบันเทิงปิดรายได้เราก็ลด อยากให้เร่งทำความสะอาดใน กทม. ให้ทั่วทุกพื้นที่ ทำอย่างไรก็ได้ให้ลดการระบาดของโรคให้น้อยลง เพื่อที่จะกลับมาขายได้ ถ้าสมมุติเขาปิดต่อไปอีก (หลัง 31 มี.ค. 2563) ก็เป็นห่วง ถ้าไปนานกว่านี้ แต่ก็คงยังต้องมาแบบนี้ ต้องมาหาค่าข้าว มันไม่มีทางอื่น” ลักษณ์ กล่าว

เช่นเดียวกับ “ปุ๊ก” หญิงวัย 51 ปี ชาวกรุงเทพฯ ผู้ใช้ชีวิตในย่านสุขุมวิท มา 3 ทศวรรษ จากลูกจ้างจนมีร้านอาหารเป็นของตนเอง เล่าว่า เพิ่งเปิดร้านได้เพียงปีเศษๆ มีลูกน้องประมาณ 20 คน เปิดตลอด 24 ชั่วโมงแต่เดิมมีรายได้เฉลี่ยวันละ 5,000-10,000 บาท ลูกค้าเริ่มแน่นตั้งแต่เวลา 1 ทุ่ม กระทั่งเมื่อช่วงครึ่งเดือนที่ผ่านมาก็พบว่าลูกค้าเริ่มลดลง และลดลงมากขึ้นในช่วงสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งเดิมทีเศรษฐกิจในประเทศไทยก็ซบเซาอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุไวรัสโควิด-19 ระบาดก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีกแม้ร้านจะไม่เข้าข่ายต้องปิดก็ตาม

“เราก็ตามข่าวเหมือนกัน เราก็มีผลกระทบเยอะอยู่เพราะร้านเราก็มีพนักงานเยอะ เราก็ต้องเลี้ยงพนักงานเขา จะไล่เขาไปไหนก็ไม่ได้ เราทำมาแล้วก็ต้องสู้ เราไม่มีนโยบายนั้นด้วย ร้านอื่นข้างเคียงก็บ่นเหมือนกันว่ายอดขายเขาตก วันหนึ่งขายได้พอค่าลูกน้อง แต่ลูกน้องเขาก็อาจไม่เยอะอย่างเรา อยู่ตรงนี้มา 30 ปี เคยเป็นลูกจ้าง เริ่มจากศูนย์กว่าจะได้อะไรมา แต่เราก็ต้องทำ ถ้าเราไม่สู้คนรอบข้างก็อยู่ยากเหมือนกัน” เจ้าของร้านอาหารรายนี้ระบุ

จากย่านสุขุมวิท-นานา ผู้สื่อข่าวเดินทางต่อไปยัง“ถนนข้าวสาร” จุดหมายสำคัญแรกๆ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ระหว่างทางได้ผ่าน “เยาวราช” ย่านการค้าเก่าแก่ของชาวจีน หากเป็นช่วงปกติพื้นที่แห่งนี้ไม่เคยมีค่ำคืนใดที่ผู้คนจะไม่คับคั่งโดยเฉพาะบรรดานักท่องเที่ยวเชื้อสายจีนจากหลายประเทศ กระทั่งโรคระบาดทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวหายไป “เยาวราชเวลานี้แทบร้างผู้คน” มองสองฝั่งดูจะมีจำนวนผู้ขายมากกว่าผู้คนที่มาจับจ่ายสินค้า

“ถนนข้าวสารเงียบเหงาอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน”นั่นคือภาพแรกที่พบเห็นในเวลาประมาณห้าทุ่ม สถานบันเทิงปิด เหลือแต่เพียงร้านอาหารแบบเปิดโล่ง ผู้ค้าแผงลอยนั่งรอลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวซึ่งก็ดูจะบางตา และผู้คุ้นชินกับพื้นที่บางคนถึงกับกล่าวว่า “แม้ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองไม่ว่าเสื้อเหลือง เสื้อแดงหรือกปปส. อยู่ไม่ห่างกันนัก แต่ถนนข้าวสารก็ราวกับอยู่ในอีกโลกหนึ่งที่ความคึกคักสนุกสนานของผู้คนยังดำเนินต่อไป” กระทั่งเมื่อเกิดเหตุไวรัสโควิด-19 ระบาดและมีคำสั่งปิดสถานบันเทิงดังกล่าว

ประธานชมรมผู้ค้าแผงลอยเสรีถนนข้าวสาร ญาดา พรเพชรรัมภา เล่าว่า เดิมทีเศรษฐกิจก็ไม่ดีอยู่แล้ว ยิ่งเจอไวรัสโควิด-19 ก็ยิ่งได้รับผลกระทบ จากตอนแรกที่ระบาดในประเทศจีน นักท่องเที่ยวชาวจีนก็หายไป ต่อมาเมื่อขยายการควบคุมถึงชาวต่างชาติอื่นๆ นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกก็หายไปด้วย “ร้านนวด-ร้านค้ารถเข็น” เป็นกลุ่มที่กระทบหนักที่สุดเพราะไม่มีรายได้ประจำ หลายรายรับภาระไม่ไหวก็ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ขณะที่กิจการอื่นๆ ทราบมาบ้างว่าหากปิดเพียง 14 วัน ยังพอเลี้ยงพนักงานได้ แต่ก็ไม่มั่นใจหากปิดยาวต่อไปอีก

“พอมันระยะยาวแบบนี้คุณ (รัฐบาล) ก็ต้องชดเชยให้เขา คุณมีมาตรการอย่างไร อาจจะลดภาษี ลดค่าเช่าอันนี้เราไม่รู้ในเรื่องของมาตรการ แต่คุณก็ต้องหามาตรการมาชดเชยให้ ต้องดึงงบมาให้ สมมุติร้านค้า ร้าน SME(ผู้ประกอบการขนาดกลาง-ขนาดย่อม) รายย่อยอะไรอย่างนี้ ก็เหมือนกับเขาแตกไปแล้ว ถ้าจะให้เขาประคองอยู่ได้ก็ต้องหาแหล่งเงินกู้มา Support (พยุง) ให้เขาดำเนินการต่อไปได้” ญาดา กล่าว

ปิดท้ายด้วยประธานเครือข่ายแผงลอยไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เรวัตร ชอบธรรม กล่าวเสริมว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือแรงงานและผู้ประกอบการต้องแบ่ง
ออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1.กลุ่มผู้ค้าแผงลอยเดิมที่ถูกจัดระเบียบแล้วยังไม่ได้รับอนุญาตให้กลับมาขาย กลุ่มนี้หากพื้นที่ไหนเข้าเกณฑ์ที่ กทม. กำหนดต้องรีบให้ผู้ค้ากลับมาค้าขายได้โดยเร็วที่สุดเพื่อให้มีรายได้ กับ 2.กลุ่มผู้ค้าแผงลอยที่ได้รับอนุญาตให้ค้าขาย ตลอดจนผู้ประกอบกิจการอื่นๆ รวมถึงลูกจ้าง กลุ่มนี้ควรมีสิทธิ์เข้าถึงสินเชื่อในระบบและได้พักหรือเลื่อนการชำระหนี้ต่างๆ ออกไปก่อน

“ระบบของไฟแนนซ์รถยนต์ บ้าน ที่อยู่อาศัย ขอให้รัฐบาลช่วยประกาศเยียวยาตรงนี้ ไปประสานกับหน่วยงานต่างๆ จะไฟแนนซ์หรืออะไรก็ตาม ให้ขยายออกไปหรือให้ผ่อนครึ่งหนึ่งเป็นระยะเวลาเท่าไร เพื่อแก้ปัญหาปัจจุบันซึ่งมันไม่สามารถเดินต่อได้ มันไม่มีรายได้ ส่วนนี้รัฐบาลต้องเป็นฝ่ายไปเจรจา เพราะถ้ารัฐบาลไม่ออกมาช่วยในจุดนี้มันก็จะกลายเป็นหนี้เสีย เป็นดินพอกหางหมู แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร” เรวัตร กล่าวในท้ายที่สุด

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved