วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘นฤมล นิราทร’  โควิดกับแรงงานนอกระบบ

สกู๊ปแนวหน้า : ‘นฤมล นิราทร’ โควิดกับแรงงานนอกระบบ

วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

(ถอดความจากการบรรยายของ รศ.ดร.นฤมล นิราทร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “งาน ชีวิต และโรคระบาด: แรงงานนอกระบบกับสถานการณ์โรคโควิด-19” จัดโดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อช่วงปลายเดือน เม.ย. 2563)

รศ.ดร.นฤมล : ณ ขณะนี้แรงงานในระบบ-แรงงานนอกระบบเผชิญปัญหาไม่ต่างกัน ในลักษณะของการไม่มีงานและไม่มีเงินคิดว่าในประเด็นของแรงงานนอกระบบจะซับซ้อนกว่าในแง่ของทุน ทุนทางเศรษฐกิจหรือว่าที่เกิดจากหลักประกันทางสังคมไม่เท่าแรงงานในระบบ อันนี้คือประเด็นที่ 1 อันที่ 2 นี่มันเกิดจากความซับซ้อนในเรื่องของการทำความเข้าใจกับอาชีพ การมองไม่เห็นแรงงานนอกระบบไม่ได้เป็นเฉพาะเราไม่เข้าใจตัวตนของเขา แต่มันเป็นเรื่องของระบบฐานข้อมูลบางอย่าง ซึ่งระบบฐานข้อมูลทำให้เราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วอยู่ที่ไหน


แต่ในทางปฏิบัติแล้วเราก็จะพบว่ากลุ่มที่เราคิดว่ามีตัวเลขชัดเจนคือกลุ่มของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เท่าที่ดูฐานข้อมูลชัดเจนที่สุดเพราะเขาต้องจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกและต้องมีวินชัดเจน จะไม่พูดถึงวินที่ไม่ถูกกฎหมาย วินที่ถูกกฎหมายเขามีตัวเลขชัดเจนว่าคนเหล่านี้อยู่ที่ไหนบ้าง ฉะนั้นในเรื่องการให้ความช่วยเหลือหรือการคุยระหว่างปัญหาของเขาเมื่อเทียบกับแรงงานกลุ่มอื่น เช่น รับงานไปทำที่บ้าน หรือกลุ่มทำงานบ้าน (คนรับใช้ในบ้าน) คิดว่ากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างจะชัดเจนกว่า

“แต่ในสถานการณ์ความเสี่ยงของอาชีพนี้ก็จะไม่เหมือนกันอีก อันนี้ก็แปลว่าเรายังไม่เข้าใจ ยังไม่มีความเข้าใจหรือว่ายังไม่มีตัวเลขข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับงาน อาชีพและความเป็นอยู่ของแรงงานกลุ่มนี้ ฉะนั้นประเด็นที่เกิดจากโควิด-19 อันหนึ่งที่เราจำเป็นต้องยอมรับกัน จริงๆ แล้วเรื่องโควิด-19 มันเป็นประเด็นทางการพัฒนา ไม่ใช่ประเด็นด้านสาธารณสุขอย่างเดียว ทำให้เรากลับมานั่งคิดเลยว่าเป็นปัญหาที่เราคิดว่ามันถูกซุกไว้ใต้พรม ปัญหาหรือความไม่รู้ต่างๆ ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมันโผล่ขึ้นมาตอนนี้พร้อมกัน

แล้วมันทำให้เรารู้สึกเลยว่าจริงๆ แล้วคนเหล่านี้หรือปัญหาต่างๆ ประเด็นต่างๆ ที่เราไม่รู้มันถาโถมเข้ามาในช่วงเวลาเดียวกัน แล้วมันทำให้เราเกิดความตระหนักรู้เลยว่าจริงๆ มันถึงเวลาที่จะต้องมาทำความเข้าใจกับแรงงานกลุ่มนี้จริงๆ อันนี้พูดถึงจากกลุ่มแรงงาน จะไม่ได้พูดถึงเศรษฐกิจในภาพรวม เพราะจริงๆ แล้วการทำงานของแรงงานในกลุ่มนี้ไม่ได้อยู่ด้วยตัวของเขาเอง เช่น ห้างปิด ร้านปิด คนซื้อก็น้อยลงมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็เหมือนกัน ไม่มีคนเดินทาง ฉะนั้นผู้โดยสารก็น้อยลง”

ประเด็นพวกนี้ถ้ายกเรื่องเศรษฐกิจออกไปก่อน ดูกลุ่มแรงงานก่อน เพราะนโยบายเศรษฐกิจมันเป็นเรื่องของด้านที่ค่อนข้างใหญ่ พูดจากมุมมองของแรงงานก่อน มันมาพร้อมๆ กันเลย มันทำให้เราเกิดความรู้สึกได้ว่ามันมีอะไรตั้งมากมายที่ต้องทำที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบ มาตรการตอนนี้เป็นมาตรการจัดการปัญหาเฉพาะหน้า เราไม่เห็นมาตรการระยะกลางและระยะยาว ที่จะเข้ามาจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น หลังจากที่ความรุนแรงของโควิด-19 ผ่านไปแล้ว

เราต้องใช้เวลาอย่างมากที่จะปรับตัว เรานี่ไม่ใช่หมายถึงเฉพาะแรงงานนอกระบบ แต่หมายถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวเราเอง ต้องใช้เวลาสักพักในการฟื้นตัวจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะในขณะนี้ทุกๆ คนแยกกันหมด ขอเดาเอาว่าหลังจากที่ยุคเปิดเมืองแล้วไม่ว่าจะเปิดเต็มหรือเปิดๆ ปิดๆ ก็ตามจะมีคนเข้าสู่การเป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น คือจะมีคนจำนวนหนึ่งไหลออกมาเข้าสู่การทำงานนอกระบบ ตรงนี้เราเตรียมรับกันอย่างไร

แล้วก็เชื่อได้เลยว่ากลุ่มคนที่ไหลออกจากในระบบมาสู่นอกระบบ จำนวนหนึ่งจะเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถ และหากจะต้องรองรับแรงงานอีกระลอกที่จะเข้ามา ตลาดงานหรือกลุ่มงานนอกระบบจะจัดการกับตรงนี้อย่างไร ฉะนั้นนโยบายการจ้างงาน กระทรวงแรงงานคิดอย่างไรกับการเผชิญภาวะของกลุ่มคนมหาศาลที่จะเข้าสู่การทำงานนอกระบบ อันนี้ก็ยังคิดไม่ออก

“อีกประเด็นที่อยากจะพูดคือจริงๆ แล้วประเด็นที่เผชิญอยู่ในขณะนี้เรามักจะตั้งคำถามว่าจะปิดหรือเปิดเมืองดี ถ้าดูจากความเห็นของผู้คนในสื่อออนไลน์ (Social
Media) จะพบว่าในขณะที่รัฐบาลแถลงความสำเร็จในเรื่องของการจัดการกับจำนวนคนติดเชื้อ ในขณะที่ฝ่ายสาธารณสุขรู้สึกว่าเราอย่าการ์ดตก อย่าทำให้ตรงนี้เพิ่มขึ้น เราเข้าใจฝั่งสาธารณสุข แต่ฝั่งสังคม ฝั่งเศรษฐกิจสามารถหรือไม่ที่จะมีอะไรบางอย่างที่จะขึ้นมาแล้วบอกว่าภายใต้ภาวะการ์ดไม่ตกเราจะสามารถจัดการในเรื่องของการทำให้ชาวบ้านพอที่จะลืมตาอ้าปากได้ไหม ในภาวะที่จัดการปัญหาเฉพาะหน้า

ฉะนั้น ณ ขณะนี้เป็นไปได้หรือไม่ว่าจะเห็นภาพของการพูดถึงอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เรื่องของชาวบ้านที่เผชิญกับภาวะตรงนี้ ที่ไม่ใช่เรื่องของการแจกเงินหรือการเยียวยาเฉพาะหน้ารัฐบาลมองไปข้างหน้าว่าภาวะของการค่อยๆ คลี่คลายนี้เอง ถึงเวลาที่มันคลี่คลายมันจะไม่คลี่คลายแบบโครมเดียวมันจะค่อยๆ ออก แต่ตรงนี้ต้องการการซักซ้อมและเตรียมการพอสมควร”

ในขณะเดียวกันเราก็พบว่ามาตรการของรัฐบาลในการเยียวยากลุ่มแรงงาน ถ้าเป็นกลุ่มแรงงานในระบบ กลุ่ม SME (กิจการขนาดกลาง-ขนาดย่อม) จะเห็นภาพว่ามันไปออกที่ภาคธุรกิจ เช่น เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ทำอย่างไรจะทำให้การช่วยเหลือคน2 กลุ่มนี้มันไม่เกิดภาวะของความขัดแย้งมากจนเกินไป เช่น ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์รับ-ส่งอาหารจากแอพพลิเคชั่นกับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือธุรกิจเล็กๆ ขายอาหารกับร้านขายอาหาร มันมีอะไรบางอย่างที่ต้องจัดให้ชัดเจนหรือเปล่า ว่าที่ทางแต่ละกลุ่มมันเป็นอย่างไรเพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์ที่ไม่แตกต่างกันมากนักจากรัฐ

และคิดว่าในวิกฤติมีโอกาส เป็นเวลาที่ต้องเริ่มคิดถึงเหมือนกัน ภาวะอย่างนี้มันเป็นภาวะการมองการเปลี่ยนผ่าน (Transform) ย้อนกลับไปที่ประเด็นแรกเรื่องความเหลื่อมล้ำพูดง่ายๆ เรื่องแผงลอย ปัญหาที่มันเกิดขึ้นเหตุคือคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหามีทั้งกลุ่มแผงลอย กลุ่มนโยบายภาครัฐ และกลุ่มผู้ซื้อ เอาเข้าจริงๆ ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่จัดการไม่ได้ เพียงแต่ขอให้จัดการจริงๆ เท่านั้นเอง มันเป็นปัญหาของการจัดการมากกว่าเรื่องอื่นๆ แต่ไฉนจึงไม่พยายามที่จะมอง ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่เราจะสามารถทำอะไรเพื่อผู้ค้า

จัดพื้นที่เป็นโซนปลอดภัย แล้วดึงเอาในแต่ละพื้นที่แต่ละเขต มาดูสิว่าคนเหล่านี้จะสามารถเข้ามาร่วมทำงานกันได้ไหม เพื่อให้เกิดภาวะของการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข อันนี้ก็ย้อนกลับไปเรื่องการรวมกลุ่ม เรื่องของการพึ่งตนเอง อันนี้สิ่งที่ต้องการคือการจัดการ เหมือนกับเรื่องของการกู้เงินจากธนาคารประชาชน มันต้องการการจัดการเหมือนกัน เพราะต้องยอมรับว่าธนาคารออมสินที่เป็นธนาคารของภาครัฐมันเป็นเรื่องของความเสี่ยงเหมือนกัน แต่มันก็ต้องการการจัดการความเสี่ยงอันหนึ่งซึ่งมันต้องร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนด้วย!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน

'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved