วันพุธ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้นเศรษฐกิจฐานราก  แค่คลายล็อกยังไม่พอ

สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้นเศรษฐกิจฐานราก แค่คลายล็อกยังไม่พอ

วันอาทิตย์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 06.50 น.
สกู๊ปแนวหน้า
  • Tweet

“105” เป็นจำนวนวันที่แสงไฟยามราตรีในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ถูกดับลง โดยนับจากวันที่ 18 มี.ค. 2563 วันแรกที่ทาง กทม. สั่งปิดสถานบันเทิงหลังพบเป็นหนึ่งในจุดระบาดขนาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ก่อนที่มาตรการดังกล่าวจะขยายไปทั่วประเทศหลังรัฐบาลกลางประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในวันที่ 26 มี.ค. 2563 ซึ่งต้องยอมรับว่า สถานบันเทิงยามค่ำคืนไม่ได้สร้างเม็ดเงินเฉพาะตัวสถานประกอบการเองเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับกิจการอื่นๆ ด้วย เช่น แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านอาหาร เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ “สกู๊ปแนวหน้า” เคยนำเสนอผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ปิดสถานที่ต่างๆ เพื่อสกัดโรคระบาดแต่เดือดร้อนปากท้องคนหาเช้ากินค่ำมาแล้ว 3 ครั้ง (ปิดแสงสีหนีภัย“โควิด-19” ธุรกิจจุก-คนทำงานกระอัก : วันอาทิตย์ที่ 22 มี.ค. 2563 , “พิษเศรษฐกิจผสมโรคระบาด” เหตุผลคนกลับบ้าน..วอนเข้าใจ : วันพฤหัสบดีที่ 26 มี.ค. 2563, “ใจหม่น-รายได้หดหาย” ปีใหม่ไทย’63 ในยุค“โควิด” : วันอาทิตย์ที่ 19 เม.ย. 2563) ล่าสุด ช่วงค่ำวันที่ 1 ก.ค. 2563 อันเป็นวันแรกที่สถานบันเทิงกลับมาเปิดทำการผู้สื่อข่าวได้ตระเวนสำรวจพื้นที่หลายจุดใน กทม. อีกครั้ง

จุดแรกของการสำรวจคือย่าน “นานา-สุขุมวิท” เวลาประมาณสามทุ่มเศษ หากเป็นช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าวันไหนอากาศแบบใดที่นี่ไม่เคยเงียบเหงา แต่ ณ ปัจจุบัน เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปเป็นจำนวนมาก แม้สถานบันเทิงจะกลับมาเปิดได้แต่ก็มีผู้คนมาสังสรรค์กันบางตา ไม่ต่างจากร้านนวดแผนไทยที่พนักงานนั่งเหงาๆ อยู่หน้าร้านเพราะไม่มีลูกค้า ส่วนโรงแรมหลายแห่งยังคงปิดทำการต่อไปอย่างไม่มีกำหนด

“ปู” หญิงวัย 27 ปี จาก จ.ลำปาง ซึ่งมาช่วยกิจการร้านอาหารของพี่สาวในย่านนี้ เล่าว่าตลอด 3 เดือนครึ่งในช่วงล็อกดาวน์ มีทั้งส่วนที่เป็น “วิกฤติ” คือก่อนหน้านั้นร้านเคยเนืองแน่นไปด้วยลูกค้าต่างชาติ โดยชาวจีนจะเป็นลูกค้าช่วงหัวค่ำ ส่วนชาวตะวันตกมักจะมากันหลังเที่ยงคืน เมื่อมีการปิดสถานบันเทิงและสถานที่อื่นๆ อีกหลายประเภท นักท่องเที่ยวต่างชาติก็หายไป พนักงานจากที่เคยมีกันอยู่กว่า 20 ชีวิต ก็ต้องลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง

แต่ขณะเดียวกันยังพอมี “โอกาส” อยู่บ้าง เพราะด้วยความที่ยังเปิดอยู่แม้จะเป็นการขายแบบซื้อกลับบ้านเท่านั้นก็ตามในขณะที่ร้านอื่นๆ ในละแวกเดียวกันปิดไปหมดแล้ว ทำให้ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่คือชาวไทยด้วยกัน เช่น ในช่วงที่ยังมีมาตรการห้ามออกจากเคหสถานในตอนกลางคืน (เคอร์ฟิว) จะพบลูกค้าได้ 2 ช่วง คือเวลาประมาณ 18.00 น. และอีกครั้งในเวลา 21.00 น. ซึ่งทั้ง 2 ช่วง เป็นกลุ่มคนที่เพิ่งเลิกงาน กระทั่งต่อมาเมื่อมีการคลายล็อกให้กลับมานั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้ บรรยากาศในร้านก็จะเห็นลูกค้าคละกันไปทั้งชาวไทยและต่างชาติ

เมื่อถามถึง “ปัญหาจากมาตรการของรัฐ” พบว่ามี 3 เรื่อง 1.ลูกจ้างเข้าไม่ถึงมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน” หรือการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท โดยติดขัดที่ระบบการลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ 2.ความสับสนจากการออกมาตรการระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น ในช่วงคลายล็อกระยะ 3 วันที่ 1 มิ.ย. 2563 ในขณะที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ให้เปิดกิจการได้ แต่ กทม. กลับออกประกาศให้ปิดต่อไป และ 3.การออกมาตรการที่สร้างเงื่อนไขมากเกินไป จนเป็นภาระของผู้ประกอบการและพนักงาน

“ปัญหาที่มันเกิดจากโควิดคือสุขภาพ คนมองอย่างนี้แต่บางคนที่มองอย่างนี้สถานภาพทางการเงินเขาโอเคแล้ว เขาไม่ได้มองถึงเงินเป็นหลัก อย่าลืมว่าทุกวันนี้คนไทยส่วนใหญ่ที่มีปัญหาคือปากท้องสำคัญกว่า โอเคสุขภาพก็สำคัญ แต่ถ้ามันทำให้ควบคู่ไปด้วยกันได้ นั่นหมายความว่าสุขภาพดี ดีแล้วอย่างไร ก็ออกไปหาเงิน ทำมาหากินได้ เราเข้าใจ แต่ ณ ตอนนี้ ปัญหาปากท้องมันสำคัญกว่าแล้ว” คุณปู กล่าว

ผู้สื่อข่าวเดินทางต่อไปยัง “เยาวราช” ย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ของชาวจีนในกรุงเทพฯ แต่ที่นี่ดูจะยังคึกคักแม้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีเชื้อสายจีนจะหายไป บรรยากาศช่วงสี่ทุ่มกว่าๆ มีชาวไทยมาซื้ออาหารและนั่งรับประทานอาหารตามแผงอาหารริมทาง ซึ่ง “พี่อ้อย” หญิงวัย 53 ปี ชาวกรุงเทพฯ อาชีพขายข้าวหน้าเป็ด เล่าว่า ในช่วงที่มีการเคอร์ฟิวนั้น “คนขายต้องรีบขายรีบเก็บ..คนซื้อก็ต้องรีบซื้อรีบกลับ” โดยขายได้ในเวลา 18.00-21.00 น. เท่านั้นแล้วก็ต้องรีบเก็บร้าน แต่ก็ยังมีลูกค้าอยู่ตลอด ส่วนการเยียวยาเราไม่ทิ้งกันนั้นเข้าไม่ถึงด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยี

“เราเล่นโทรศัพท์ไม่เป็น ไม่ใช่ว่าไม่สนใจนะ เราไม่เข้าใจ ก็ตอบไม่ถูก ก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าเป็นคำร้องที่เป็นตัวหนังสือเรารับได้อยู่ บางทีเรากดเราก็ไม่เข้าใจ เป็นอาชีพอิสระ อิสระอะไร รายได้เท่าไร อะไรอย่างนี้ หน้าที่อะไร เราก็ไม่รู้จะตอบอย่างไรหน้าที่เรา” พี่อ้อย ระบุ

ปิดท้ายด้วย “ถนนข้าวสาร” พื้นที่ที่รู้จักกันทั่วโลก ในช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่นี่ไม่เคยมีช่วงเวลาที่ผู้คนไม่พลุกพล่านไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน แต่เมื่อสถานบันเทิงถูกปิดตามด้วยการประกาศเคอร์ฟิว ร้านค้าต่างๆ ก็พากันปิดไปด้วย และแม้ต่อมาจะเลิกเคอร์ฟิวรวมถึงล่าสุดสถานบันเทิงกลับมาเปิดได้แล้ว แต่บรรยากาศกลับเงียบเหงา บางร้านไม่มีลูกค้า ส่วนร้านที่มีก็ไม่มากนักและเป็นชาวไทย ขณะที่สตรีทฟู้ดหายไป

ญาดา พรเพชรรัมภา ประธานชมรมผู้ค้าแผงลอยถนนข้าวสาร เปิดเผยว่า ทั้งกลุ่มแผงลอยและร้านค้าเคยกลับมาทำการค้าช่วงต้นเดือน มิ.ย. 2563 แต่อยู่ได้ไม่กี่วันก็ต้องหยุดเพราะ “ขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ” อันเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก “ขณะนี้กำลังรอความหวังจากโครงการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยว(Travel Bubble)” ที่ไทยจะทำข้อตกลงกับประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำในการนำไวรัสโควิด-19 มาระบาด เพื่อจะได้มีชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวเมืองไทยบ้าง

ด้าน เรวัตร ชอบธรรม ประธานเครือข่ายแผงลอยไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เสนอแนะมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากไว้ แบ่งเป็น “ระยะสั้น” ประกอบด้วย 1.ต่ออายุการจ่ายเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท ในโครงการเราไม่ทิ้งกันออกไปอีก 3 เดือน” ซึ่งตามแผนเดิมที่ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยเปิดเผยเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563 ว่าจะจ่ายระหว่างเดือน เม.ย.-ก.ย. 2563 รวม 6 เดือน แต่ต่อมาในวันที่ 27 พ.ค. 2563 รมว.คลัง ได้เปลี่ยนแปลงโดยระบุจะจ่ายเพียงเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2563 รวม 3 เดือน

แรงงานนอกระบบที่ได้สิทธิ์ดังกล่าวทั้งหาบเร่แผงลอย ขับรถแท็กซี่-ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง พนักงานนวด พนักงานสถานบันเทิง นักดนตรี มัคคุเทศก์ ฯลฯ ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบทางตรงคือถูกระงับการประกอบอาชีพจากการสั่งปิดสถานที่ทำงาน หรือทางอ้อมคือยังประกอบอาชีพแต่ลูกค้าหรือผู้โดยสารลดลง และแม้วันนี้จะกลับมาประกอบอาชีพได้แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว 2.ต่ออายุมาตรการพักชำระหนี้ทุกประเภทออกไปอีก 3 เดือน ด้วยเหตุผลเดียวกันกับข้อแรก และ 3.ลดข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ เพื่อลดปัญหาหนี้นอกระบบ

ส่วน “ระยะกลาง” คือการผ่อนคลายข้อจำกัดในการค้าขายหาบเร่แผงลอย เฉกเช่นเมื่อครั้งวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ที่อาชีพนี้ได้ช่วยให้คนที่ธุรกิจเจ๊งหรือตกงานได้พอมีรายได้หาเลี้ยงชีพจุนเจือครอบครัว!!!


SCOOP@NAEWNA.COM
 

  • Tweet

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'แต้ว ณฐพร'กักตัวแล้วหลัง'ดีเจมะตูม'ติดโควิด เผยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง

หายดีแล้ว! 'รพ.สนาม กองทัพเรือ'ส่งผู้ป่วยโควิดชุดสุดท้าย กลับภูมิลำเนา

เปิดหลักฐานเด็ดแจ้งฟัน‘ทอน’ผิดม.112 ฮึ่ม!ไม่ปล่อยผ่าน-จับตา‘ก้าวหน้า’พล่ามเข้าข่าย

วุ่น! หาม 17 นักโทษหญิง เข้ารักษาตัวรพ.หลังอาหารเป็นพิษ

ทวงบัลลังก์แซ่บ! 'ใบเตย'สลัดผ้านุ่งบิกินีโชว์หุ่นเซี๊ยะ

จับ‘ไอ้หมึก’มือปืน-‘แม่ยาย’จ้างวาน ยิงดับแค้นลูกเขยพ่อค้าถั่วต้ม

  • Breaking News
21:32 น. สาวๆผวาหนัก โรคจิตตระเวนสอยชุดชั้นใน เจอหลักฐานเพียบ!
21:24 น. 'แต้ว ณฐพร'กักตัวแล้วหลัง'ดีเจมะตูม'ติดโควิด เผยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง
21:21 น. หายดีแล้ว! 'รพ.สนาม กองทัพเรือ'ส่งผู้ป่วยโควิดชุดสุดท้าย กลับภูมิลำเนา
21:10 น. วุ่น! หาม 17 นักโทษหญิง เข้ารักษาตัวรพ.หลังอาหารเป็นพิษ
20:55 น. 'อนุชา'หารือ'มส.'ดำเนินงานทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาพื้นที่ 3 จชต.
ดูทั้งหมด
  • Breaking News
21:32 น. สาวๆผวาหนัก โรคจิตตระเวนสอยชุดชั้นใน เจอหลักฐานเพียบ!
21:24 น. 'แต้ว ณฐพร'กักตัวแล้วหลัง'ดีเจมะตูม'ติดโควิด เผยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง
21:21 น. หายดีแล้ว! 'รพ.สนาม กองทัพเรือ'ส่งผู้ป่วยโควิดชุดสุดท้าย กลับภูมิลำเนา
21:10 น. วุ่น! หาม 17 นักโทษหญิง เข้ารักษาตัวรพ.หลังอาหารเป็นพิษ
20:55 น. 'อนุชา'หารือ'มส.'ดำเนินงานทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาพื้นที่ 3 จชต.
ดูทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สกู๊ปแนวหน้า : ‘แรงงานข้ามชาติ’ในไทย  กลัวโควิดแต่เศรษฐกิจขาดไม่ได้

สกู๊ปแนวหน้า : ‘แรงงานข้ามชาติ’ในไทย กลัวโควิดแต่เศรษฐกิจขาดไม่ได้

16 ม.ค. 2564

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “อนาคตประเทศไทยที่จะไม่ไร้สิ้นแรงงานข้ามชาติและโควิด” โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงขอ

สกู๊ปแนวหน้า : เฉลยแล้วแต่ยังแชร์วนซ้ำ  ‘ข่าวปลอม’ระบาดออนไลน์

สกู๊ปแนวหน้า : เฉลยแล้วแต่ยังแชร์วนซ้ำ ‘ข่าวปลอม’ระบาดออนไลน์

15 ม.ค. 2564

“หลานของเพื่อนจบปริญญาโททำงานในโรงพยาบาลเซินเจิ้น ถูกส่งตัวไปที่อู่ฮั่นวิจัยไวรัสสายพันธุ์ใหม่เขาโทรมาหาฉันบอกว่าส่งต่อให้ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเวลาเป็นห

สกู๊ปแนวหน้า : ‘โควิด’ยังไม่จบไว  มี‘วัคซีน’อะไรต้องทำต่อ

สกู๊ปแนวหน้า : ‘โควิด’ยังไม่จบไว มี‘วัคซีน’อะไรต้องทำต่อ

9 ม.ค. 2564

ผ่านมาแล้วปีเศษกับสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 และขณะนี้หลายประเทศเริ่มทยอยฉีดวัคซีนกันแล้ว โดยเมื่อบ่ายวันที่ 8 ม.ค. 2564 มีการประชุมวิชาการ (ออนไลน์

สกู๊ปแนวหน้า : โอกาสหลังสิ้นยุคโควิด  ‘จีนมองไทย’ยังเป็นมุมดี

สกู๊ปแนวหน้า : โอกาสหลังสิ้นยุคโควิด ‘จีนมองไทย’ยังเป็นมุมดี

2 ม.ค. 2564

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดงานประชุมเสวนาวิชาการภายใต้แผนงานคนไทย 4.0 โดยหนึ่งในนั้นเป็นการบรรยายพิเศษหัวข้อ “คนไทยในโซเชียลมีเดียจีน” โดยผ

สกู๊ปแนวหน้า : ธุรกิจ-โควิด-นโยบาย (2)  ‘เครื่องนุ่งห่ม’ลด-เลิก-ย้าย

สกู๊ปแนวหน้า : ธุรกิจ-โควิด-นโยบาย (2) ‘เครื่องนุ่งห่ม’ลด-เลิก-ย้าย

26 ธ.ค. 2563

(ต่อจากฉบับวันพฤหัสบดีที่ 24 ธ.ค. 2563)

สกู๊ปแนวหน้า : ธุรกิจ-โควิด-นโยบาย (1)  ‘อาหาร’เจ็บไม่หนักแต่ฟื้นช้า

สกู๊ปแนวหน้า : ธุรกิจ-โควิด-นโยบาย (1) ‘อาหาร’เจ็บไม่หนักแต่ฟื้นช้า

23 ธ.ค. 2563

คงต้องบอกว่า “หนักหนาสาหัส” จริงๆ สำหรับสถานการณ์การระบาดของ “ไวรัสโควิด-19” ที่แม้วันนี้จะเริ่มเห็นแสงสว่างปลายอ

สกู๊ปแนวหน้า : ‘แม่วัยรุ่น’ชายแดนใต้  เรื่องเล็ก..แต่ไม่ละเลยแก้ไข

สกู๊ปแนวหน้า : ‘แม่วัยรุ่น’ชายแดนใต้ เรื่องเล็ก..แต่ไม่ละเลยแก้ไข

19 ธ.ค. 2563

“แม่วัยรุ่น” หรือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมไทย ถึงขั้นที่เคยถูกจัดอันดับว่าประเทศไทยมีระดับความรุนแรงของปัญห

สกู๊ปแนวหน้า : ‘อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ’  เขี้ยวเล็บกองทัพ-ต่อยอดธุรกิจ

สกู๊ปแนวหน้า : ‘อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ’ เขี้ยวเล็บกองทัพ-ต่อยอดธุรกิจ

12 ธ.ค. 2563

“อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ” มีความสำคัญต่อภารกิจรักษาความมั่นคงด้านอธิปไตยของชาติ ดังจะเห็นได้จากชาติมหาอำนาจที่มีกำลังทหารเข้มแข็งมักสามารถผล

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved