วันพุธ ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ‘นิรมล เสรีสกุล’  ทำไมคนไทยไม่ทิ้งรถส่วนตัว?

บทความพิเศษ : ‘นิรมล เสรีสกุล’ ทำไมคนไทยไม่ทิ้งรถส่วนตัว?

วันจันทร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag :
  •  

หมายเหตุ : ถอดความจากการบรรยายของ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนายการศูนย์การออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานเสวนา “กรุงเทพของฉัน วิ่งสนุกเดินสะดวก” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แยกปทุมวัน กรุงเทพฯ วันที่ 12 ก.ย. 2563 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “กรุงเทพในฝันกับงบประมาณ’64” ร่วมจัดโดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร หลายคณะ อาทิ กมธ.งบประมาณฯ กมธ.การคมนาคม กมธ.การสื่อสาร โทรคมนาคมฯ และ กมธ.ศิลปะ วัฒนธรรมฯ

ผศ.ดร.นิรมล : (ช่วงแรก) ผังเมืองที่แสดงให้เห็นในนิทรรศการ มันแสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ใหญ่มาก ถ้ากรุงเทพฯ มีระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดี กรุงเทพฯ อาจจะคล้ายๆ กับปารีส (เมืองหลวงฝรั่งเศส) หรือโตเกียว (เมืองหลวงญี่ปุ่น) ที่ใน 1 เมืองใหญ่ๆแบ่งออกเป็นเมืองย่อยๆ แล้วแต่ละเมืองย่อยๆ เขามีผู้นำมาจากการเลือกตั้ง แล้วอาจจะมีความใกล้ชิดกับคนในพื้นที่มากกว่าอย่างที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน


กรุงเทพฯ จริงๆ มีอยู่ 50 เมือง นั่นคือ 50 เขต แต่เราไม่ค่อยเห็นตรงนั้น Conception (การออกแบบ) ตรงนี้มันอาจจะไม่ได้อยู่ในวิธีคิดของเราด้วยซ้ำ หรือไม่ได้อยู่ในสารบบของการวางผังเท่าไรนัก มันจะมีบ้านเราแล้วก็เมืองอันใหญ่โต “เมืองของเราถือเป็นเมืองที่ใหญ่ติดอันดับโลก แล้วเป็นเมืองที่พิเศษ คือเนื้อเมืองมันใหญ่กว่าจังหวัด เพราะตอนนี้ความเป็นกรุงเทพฯ มันเลยขอบเขตของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ไปแล้ว” ไปเชื่อมกับปริมณฑล ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ อะไรต่างๆ

ประเด็นคือ “พื้นที่ในเมืองมันยังคงเป็นแหล่งงาน แล้วที่ดินในเมืองก็แพงมาก คนที่เพิ่ง (เรียน) จบก็อาจจะไม่สามารถซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัยในเมืองได้” หรือท่านมีครอบครัว ท่านอยากจะมีบริเวณ ท่านก็ต้องขับรถไปจนกว่าท่านจะซื้อได้ (Drive until you Qualify) ฉะนั้น “กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่บ้านกับงานไกลกัน แล้วก็ต้องใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะหลัก” จากการ Survey (สำรวจ) ของศูนย์การออกแบบและพัฒนาเมืองฯ ใช่!..คนไม่ใช้ขนส่งมวลชนเพราะอาจกลัวอุบัติเหตุ อะไรต่างๆ นานา โดนกระเป๋า (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) ไล่ตี อะไรอย่างนี้

แต่ต้องบอกว่าไม่ใช่ Case (กรณี) ที่เจอทุกวัน โดนกระเป๋าเอา (กระบอกเก็บค่าโดยสาร) ไล่ฟาดคน มันไม่ใช่ปัญหาที่คนส่วนใหญ่ไม่ใช้ “คนส่วนใหญ่ไม่ใช้ (ขนส่งมวลชน) เพราะ First Mile หรือ Last Mile คือระยะจากบ้านไปถึงขนส่งมวลชน จากขนส่งมวลชนไปถึงที่เรียนหรือที่ทำงาน จุดหมายปลายทาง
ของเรามันยังไม่สะดวก” มันยังเดินไม่ได้ ถ้าจะให้ครบถ้วนควรจะมีประเด็นนี้ด้วย นั่นคือเรื่องของการเดิน

“สิงคโปร์..ฝนตกเรายังสามารถไปเรียนได้โดยที่ตัวไม่เปียก จากบ้านไปสถานีที่ใกล้ที่สุด จากสถานีที่ใกล้ที่สุดไปถึง
โรงเรียนมีหลังคาคลุมแล้วเดินสะดวก” ก็คงไม่ต้องบอกอะไรตรงนี้ นิสิตหรืออาจารย์ก็ใช้เป็นข้ออ้าง ฝนตกก็ Late (มาสาย) เป็นชั่วโมงๆ อาจจะไม่ต้องไปพูดถึงความรักหรืออะไร เอาแค่ชีวิตประจำวันให้อยู่รอดก่อน สามารถเดินทางไปทำงานได้แล้วกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ ก็ต้องบอกว่าก็มีความดิ้นรน

“รถยนต์ส่วนตัวก็เต็มไปด้วยค่าใช้จ่ายแต่ใช่ว่าใช้ Public Transport (ขนส่งสาธารณะ) แล้วค่าใช้จ่ายจะไม่สูง” เรื่องของระบบขนส่ง อย่างเช่น ระบบรางมันก็มีปัญหาในตัวมันเอง เชื่อมต่อหลายระบบทำให้ค่าเดินทางสูงมาก บางคนไม่สามารถที่จะเข้าถึงอันนี้คือปัญหาสำคัญ เรื่องของ First Mile-Last Mile เชื่อมโยงไปยังพื้นที่โดยรอบที่เรียกว่าพื้นที่รอบสถานี 500 เมตร-1 กิโลเมตร มันควรเป็นพื้นที่ที่สามารถเดินได้สะดวก

แต่พอมันเดินไม่สะดวกคุณก็ต้องใช้ Grab (แอพพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ สำหรับเรียกรถรับจ้างรับ-ส่งผู้โดยสาร) รวมๆ แล้วค่าเดินทางของคนที่อยู่ในเมืองนี้ต้องบอกว่าสูงที่สุดในภูมิภาค “รายจ่ายของเรา 100% ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 5 ใช้ไปกับค่าเดินทาง” แต่เมืองอื่นใช้ไปกับค่าบ้าน สร้างความมั่นคงการเรียนรู้อะไรต่างๆ การท่องเที่ยว แต่ของเราใช้ไปกับการเดินทางในชีวิตประจำวัน

(ช่วงสอง) “คุณพ่อเคยเปรียบเทียบว่ารถเมล์ไทยเวลาขึ้นเหมือนเดินขึ้นเมรุ” คือมันสูงมาก ไม่ต้องรอแก่ “อายุ 40 เห็นสะพานลอยซึ่งสูง 9 เมตร เท่ากับตึก 3 ชั้นก็ไม่ขึ้นแล้วเหมือนกัน บางทีก็เดินข้าม (ถนน) ผิดกฎหมายก็ข้าม เพราะขึ้นไม่ไหว ไขข้อไม่ดีแล้ว” คือเหนื่อยมาก ของหนัก เราก็เดินข้ามในระดับดิน “เมืองนี้นอกจากมันใหญ่แล้วมันยังแบ่งออกเป็น Bubble (ฟองสบู่) ของกลุ่มคนที่เศรษฐสถานะ (ฐานะทางเศรษฐกิจ) ต่างๆ” ห้างก็แบ่งตามกำลังซื้อ คอนโดฯ ก็แบ่งตามกำลังซื้อ รถยนต์ก็แบ่งตามกำลังซื้อ มีรถยนต์หรือไม่มีรถยนต์

คือมันเป็นเมืองที่เต็มไปด้วย Bubble แล้วมันก็ทำให้เราชิน “บางทีเราไม่เห็นคนอื่นเพราะเราอยู่แต่ใน Private Space (พื้นที่ส่วนตัว) ของเรา ที่ส่วนตัวที่มันมีแต่คนเหมือนๆ เรา เราก็คิดว่าคนอื่นคงไม่มีหรอก เช่น บางคนก็บ่นว่าใครบอกว่าเศรษฐกิจไม่ดีร้านอาหาร Michelin Star (รางวัลดาวมิชลิน) ยังเต็มอยู่เลย นึกออกไหม เช่นเดียวกัน เขาไม่เห็นคนพิการก็ไม่ใช่ว่าไม่มี” ต้องบอกว่าไม่ว่าจะเป็นคนพิการ คนสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เราควรจะมองว่าคนเหล่านี้เป็นทรัพยากรของเมืองมากกว่าเป็นภาระ

เคยไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศฝรั่งเศสมีเจ้าหน้าที่ในศูนย์วิจัยมีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่คือต้องใช้รถล้อ (Wheel Chair) แต่เขาสามารถ Service (บริการ) ทุกคนได้อย่างรวดเร็ว ใช้ล้อกลับบ้านแล้วก็มา แล้วที่เมืองฝรั่งเศส ก็เต็มไปด้วยคนแบบนี้อยู่เยอะ คือเขาสามารถออกมาใช้ชีวิตและพึ่งพาตัวเองได้ระดับหนึ่ง ลองคิดว่า 2 ล้านคน (จำนวนผู้พิการในประเทศไทย) แทนที่จะอยู่กับบ้านแล้วต้องรอความช่วยเหลือของรัฐ คือมันมาจากภาษีประชาชน

ซึ่งก็เห็นกันเยอะแยะ เวลาไปสัมภาษณ์ “เราทำเรื่องเมืองเดินได้ เราจะ Engage (แสวงหาการมีส่วนร่วม) กับสมาคมผู้พิการตลอด ก็บอกไม่อยากนั่งรอ อยากทำตัวให้มีคุณค่า ใครๆ ก็อยากทำตัวให้มีประโยชน์ ใครๆ ก็อยากมีรายได้ มีอิสระในการใช้ชีวิต” เคยถามคนพิการมนุษย์ล้อ ออกจากบ้านมาไม่ใช่แท็กซี่ทุกคันรับ มีเงินก็ไม่ใช่ว่ารับ เราเชิญเขามาพูด ทั้งหมดไป-กลับเขาเสียเงินประมาณ 400 บาท เขาเสียค่าเดินทางเพราะต้องใช้รถแท็กซี่พิเศษ รถแท็กซี่ขนาดใหญ่นี่คือมนุษย์ล้อที่ Fight (สู้ชีวิต) สุดๆ แล้ว

แล้วมันมีมนุษย์ล้อที่อาจไม่มีโอกาสเข้าถึงอะไรแบบนี้อยู่เยอะแยะมากมาย เพราะฉะนั้น “เมืองแบบไหนกันที่ทำให้คนที่ไม่ใช่คนที่มีกำลังวังชา สักพักเดี๋ยวคุณก็จะแก่ เดี๋ยวคุณต้องแก่แน่นอน คุณจะเริ่มขับรถไม่ค่อยไหว ตาไม่ดี เดินเหินไม่สะดวก ถามว่าเมืองตอนนี้รองรับไหม” อย่างที่บอก First Mile-Last Mile การเข้าถึงขนส่งสาธารณะยังมีข้อจำกัดแม้เราเป็นคนหนุ่ม-สาว

“พอคุณอายุมาก คุณไม่อยากขับรถบ้านคุณอยู่ในซอยลาดพร้าว ลูกหลานไม่มารับคุณ ทำอย่างไร คุณเริ่มติดบ้าน พอติดบ้านแล้วก็ติดเตียงหรือเปล่า นั่นคือภาระของลูกหลาน และไม่ใช่ลูกหลานของคุณเอง ลูกหลานของคนในประเทศนี้ คือภาษี” ทีนี้ในทางกลับกัน มันมีเพจอันหนึ่งชื่อ Advanced Style เขาเจาะเฉพาะคนอายุ
60 ปีขึ้นไป เมืองแบบนี้เป็นเมืองแบบไหนกันที่ทำให้คนอายุมากมา Celebrate (ให้รางวัล) ตัวเองตามพื้นที่สาธารณะ อย่างแรกต้องให้ป้า ให้ลุง ให้ย่าพวกนั้นออกมาเดินได้ แล้วก็มีความสุขที่จะแต่งตัวเป็นตัวเอง ทาปากแดงเหมือนตอนสาวๆ ออกมา

มันจะต้องคิดกลับกัน “จะทำอย่างไรให้คนสูงอายุสามารถออกมาพบปะชีวิตได้อย่างสะดวก โอกาสที่เขาจะมีความเสื่อมด้านสุขภาพมันก็ลดน้อยลง” เขาก็จะมีอิสระในการใช้ชีวิต อยากจะบอกว่ามันมี Study (ผลการศึกษา) อันหนึ่ง ไม่รู้ว่าข่าวดีหรือข่าวร้าย ถ้าคุณอายุ 40 ปี ในตอนนี้ มันมีโอกาสมากที่คุณจะมีอายุถึง 100 ปี ถ้าคุณอายุ 30 คุณอยู่เป็นร้อยปีเพราะมันมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ คือคนไม่ตาย แต่ก่อนคนเป็นฝีก็ตายแล้ว แต่ตอนนี้ตายยากมาก แต่ตอนนี้มันจะมีคนที่อยู่เป็นศตวรรษ

ทีนี้ “การอยู่เป็นศตวรรษมันเป็นพรหรือคำสาป มันขึ้นอยู่กับสุขภาพของเรา มันขึ้นอยู่กับเงินของเรา” พอเราแก่คือทำงานถึงอายุ 60 แล้วเรามีชีวิตต่อไปอีก 40 ปี เอาเงินที่ไหน สุขภาพดีหรือเปล่า เมือง Support (สนับสนุน) เราไหม “เมืองที่ดีมันตัดกรรมได้ ปกติคนเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่เมืองที่ดีคุณอาจจะเกิด แก่ เจ็บแป๊บเดียวแล้วก็ตายเลย เพราะคุณสุขภาพดี”มีสถิติในภูมิภาคนี้ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้-อาเซียน) ใครเจ็บป่วยแล้วเสียชีวิตเลยไม่ต้องมานอนติดบ้าน ติดเตียง ติดโรงพยาบาล

“สิงคโปร์ เกิด แก่ เจ็บแป๊บเดียวแล้วตายเลย เพราะสุขภาพดีมาก มันถึงเวลาจริงๆ ส่วนเวียดนามกับไทย เจ็บนาน เงินหมดไปช่วงนี้ รักษาตัว นึกออกไหม” ถ้าจะอธิบายเข้าข้างวิชาชีพตัวเอง “สิงคโปร์มีพื้นที่สีเขียว 58 ตารางเมตรต่อคน พื้นที่เดินได้ทั้งหมด สุขภาพดี เดินมากกว่าหมื่นก้าว” เมืองมันสร้างวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่ดี ทำให้คนสั่งสมทุนทางสุขภาพ เงินที่ไม่ต้องเสียไปกับการเดินทาง เกิด แก่ เจ็บแป๊บเดียวตายเลย

“ของเรา (ประเทศไทย) นี่ก็ทุกข์ทรมานอยู่ที่โรงพยาบาลหรืออยู่ที่บ้านนาน อาจจะไม่ต้องรอแก่ ตอนนี้คนรอบตัวก็กินยาลดเบาหวาน ความดันอะไรเยอะแยะ โรคภัยไข้เจ็บของคนเมือง” ฉะนั้นเมืองมันมีผลมากกว่าที่คุณคิดมาก ถ้าคุณตื่นเช้ามา ออกจากบ้านใช้ Grab หรือคุณขับรถ ไปซื้ออาหารตามร้านสะดวกซื้อ แล้วคุณก็นั่งทำงาน ตอนเที่ยงอาจให้มี Delivery (บริการส่งสินค้า) มาส่งแล้วคุณก็นั่งกิน คุณไม่ต้องรอถึงอายุ 60 เดี๋ยวคุณก็รู้เรื่อง

เปรียบอีกเมืองหนึ่ง ตื่นเช้ามาเดินไปทำงาน หรือเดินไปซื้อของร้านขายของชำแถวบ้านเอามาทำอาหาร แล้วก็เดินไปทำงาน ขึ้นขนส่งหรือขี่จักรยานไปทำงาน ตอนเที่ยงก็สามารถเอาไปกินตามพื้นที่สาธารณะ ผ่อนคลายความเครียด มีสีเขียว แล้วตอนเย็นก็เดินกลับบ้าน ถอดความเครียดผ่านทางเท้าที่สวยงาม ต้นไม้สวยๆ หอมๆ ไฟสวยๆ สถาปัตยกรรมงามๆ ถึงบ้านก็หายเครียดพอดี นึกออกไหม เมืองมันมีผลต่อการสั่งสมต้นทุนการใช้ชีวิต มีผลต่อการสร้างวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่ดี

(รอบสาม) ประเด็นที่เราคุยกันขณะนี้เป็น Privilege (พิเศษ) มากเพราะอีก 76 จังหวัด ไม่มีขนส่งสาธารณะที่เป็น Mass Transit (ขนส่งมวลชน) ไม่ใช่ขนส่งสาธารณะทั่วไป ฉะนั้นการกระจายความเท่าเทียมออกไปในเรื่องของการเข้าถึงอันนี้จำเป็น อันที่สอง “เราไม่ควรที่จะพูดถึงแต่ระบบราง เพราะถึงจะสร้างระบบรางทั้งหมด แต่พอออกจากสถานีแล้วมันไปต่อไม่ได้ นั่นคือ First Mile-Last Mile มันยังไม่ดี มันไม่มีคนใช้หรอก” คนมันยังไม่สามารถสร้างความสะดวกสบายที่จะดึงดูด

“เราลงทุนพันล้านหมื่นล้านกับระบบรางในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่เราไม่ได้คิดต่อว่าออกจากสถานีแล้วจะไปที่บ้าน ที่ทำงานที่จับจ่ายใช้สอย ที่สวนสาธารณะ อย่างสะดวกสบายและน่าเดิน มันไม่มีหรอกที่จะ Encourage (ส่งเสริม) ให้คนมาใช้ คนรวยไม่ใช้แน่นอน” ปีที่แล้ว (2562) มีโอกาสไปพูดที่สภาพัฒน์ (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ท่านนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ก็อยู่ที่นั่น

ก็ต้องบอกว่า นโยบายของภาครัฐที่ให้ Priority (ความสำคัญ) ของการลงทุนระบบขนส่งอย่างไรก็เป็นสิ่งต้องทำถ้าคุณอยู่ในโลกสมัยใหม่ที่คนเข้ามาอยู่ในเมืองมากขนาดนี้ทุกคนใช้รถก็น่าจะเป็นนรก อันนี้จึงเป็นทิศทางทั่วไปที่ภาครัฐในโลกจะลงทุนกับ Mass Transportation (ขนส่งมวลชน) แต่แค่นี้มันไม่พอที่จะสร้างความคุ้มค่าของเม็ดเงินมหาศาลเป็นหมื่นๆ ล้าน ให้มันเกิดประโยชน์กับคนกลุ่มต่างๆ จะเข้ามาใช้งานได้ เกิดประโยชน์แบบที่ใช้คำว่า Inclusive Development (การพัฒนาที่ครอบคลุม) มันไม่เกิดเพราะความสะดวกสบายไม่มี คนก็ยังเลือกรถยนต์อยู่ดี

คนก็ไม่ทิ้งรถไว้ที่บ้าน คนก็ยังขับรถมา “กรุงโตเกียวนี่จำนวนรถต่อประชากรมากกว่ากรุงเทพฯ” กรุงเทพฯ นี่ 1.1 คัน Car Ownership (ความเป็นเจ้าของรถ) ประชากร Register (มีทะเบียนบ้าน) 8 ล้านคน
มีคนละคัน แต่พื้นที่ถนนต่ำกว่ามาตรฐาน เมืองที่ดีต้องมีพื้นที่ถนน 30% กรุงเทพฯ มี 7% แล้วใน 7% มีแค่ 5% ที่มีทางเท้า กรุงเทพฯ มี Car Ownership
 เยอะ แต่โตเกียวเยอะกว่า

“แต่ทำไมโตเกียวรถไม่ติด เพราะคนโตเกียวหรือคนญี่ปุ่นทิ้งรถไว้ที่บ้าน ใช้แต่ยามจำเป็น ป่วย ไปต่างจังหวัด ส่วนใหญ่ใช้ขนส่งมวลชนเพราะว่ามันสะดวกสบายเสียเหลือเกิน” สถานีรถไฟหลบให้พ้นยังยากกว่าหาให้เจอ มันมีทุกๆ 10 เมตร แล้วทางเดินก็เรียบกริบ วันนั้นพูดที่สภาพัฒน์ว่า ถ้าเมืองยังเดินไม่ได้-เดินไม่ดี ที่บอกว่าเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วๆ ไปอย่างไรก็ทำ เรื่องพื้นฐานนี่ทำยากที่สุด จะไปจินตนาการโครงการแฟนตาซีไม่ยาก

แต่เรื่องพื้นฐาน “ทางเท้าของ กทม. ข้างใต้เป็นประปา ข้างบนเป็นตู้โทรศัพท์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว มีสายโทรศัพท์-อินเตอร์เนต มีเทศกิจ มีตำรวจจราจร นี่คือเรื่องพื้นฐานที่ยากที่สุดแต่ก็ต้องทำ” จากนี้ไปต้องบอกว่า “ถ้าเดินไม่ได้-เดินไม่ดี ไม่มีอนาคต” สุขภาพก็ไม่ดี การสั่งสมทุนสุขภาพไม่เกิดขึ้นในเมืองที่คนใช้รถเป็นหลัก การกระจายความมั่งคั่งไม่มี เพราะถ้าจอดรถไม่ได้ร้านรวงเป็นอย่างไรก็เห็นอยู่ ความมั่งคั่งจะกระจุกอยู่ในพื้นที่ที่จอดรถได้เท่านั้น นั่นก็คือศูนย์การค้าขนาดใหญ่

ทุนทางสังคม “คุณอย่าไปสอนเลยให้คนรักบ้านรักย่านรักเมือง เพราะคุณหรือลูกหลานคุณออกจากบ้านเสร็จพุ่งไปที่สถานีรถหรือไปที่ทำงานเลย คุณยังไม่รู้จักเลยว่าย่านคุณหน้าตาเป็นอย่างไร เพื่อนบ้านคุณมีใครอยู่บ้าง” ความรัก หรือ Citizenship (ความเป็นพลเมือง) มันไม่สามารถสร้างได้จากการท่องอะไรต่างๆ มันไม่สามารถสร้างได้ โดยอาศัยการ Abstraction (นามธรรม) “มันต้องให้เขาเดินผ่านทางเท้าสวยๆ ย่านสวยๆ ต้นไม้ใหญ่ๆ ที่ปลูกมาไม่รู้กี่ Generation (รุ่น) แล้ววันหนึ่งมีใครจะมาทำอะไรไม่ดี เขาจะหวงแหน” เพราะเขารักพื้นที่นี้

ความรักมันต้องเกิดแบบนั้น มันไม่ได้รักแบบในกระดาษบอกให้รัก สุดท้าย “สำนึกประชาธิปไตย” หลายคนอยากจะสร้างให้เกิด “ถ้าคุณไม่มีความ Belong to หรือ Sense of belonging (ความรู้สึกผูกพันหรือเป็นเจ้าของ) ในพื้นที่ ไม่รู้จักเพื่อนบ้าน ไม่รู้จักการร่วมมือเพื่อนบ้านในการจะทำย่านให้ดีแล้วคุณก็อยู่แต่ใน Private Bubble (ฟองสบู่ส่วนตัว) คุณไม่รู้หรอกว่ามันมีใครอยู่ในเมืองนี้กับคุณบ้าง ฉะนั้นความอดทนอดกลั้นกับความเห็นที่แตกต่างมันไม่มี” ฉะนั้นเห็นไหมว่าเมืองเดินได้-เดินดีนั้นสำคัญ

ผังเมืองไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองใหญ่ ถ้ายังเดินไม่ได้-เดินไม่ดี..มันไม่มีอนาคต!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สารหนูและตะกั่ว ... หายนะเงียบในลำน้ำกก สารหนูและตะกั่ว ... หายนะเงียบในลำน้ำกก
  • โศกนาฏกรรมซ้อน! \'อากาศยานตำรวจตก\' คร่าชีวิตผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เดือนเดียว 9 นาย โศกนาฏกรรมซ้อน! 'อากาศยานตำรวจตก' คร่าชีวิตผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เดือนเดียว 9 นาย
  • สกู๊ปพิเศษ : ชู‘เทศบาลเมืองมหาสารคาม’ ต้นแบบควบคุมยาสูบยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : ชู‘เทศบาลเมืองมหาสารคาม’ ต้นแบบควบคุมยาสูบยั่งยืน
  • รายงานพิเศษ : สสส.สานพลังเครือข่าย อปท. ปกป้องพื้นที่ภาคใต้ไร้บุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า รายงานพิเศษ : สสส.สานพลังเครือข่าย อปท. ปกป้องพื้นที่ภาคใต้ไร้บุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า
  • โคราชเตรียมขึ้นแท่น \'เมืองเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง\' โคราชเตรียมขึ้นแท่น 'เมืองเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง'
  • ดูแล‘สิ่งแวดล้อม-การท่องเที่ยว’ อีกบทบาทสำคัญของ‘กองทัพเรือ’ ดูแล‘สิ่งแวดล้อม-การท่องเที่ยว’ อีกบทบาทสำคัญของ‘กองทัพเรือ’
  •  

Breaking News

ทรัมป์งัดไม้แข็ง! ขู่ตัดงบ 3 พันล้านดอลล์จาก'ฮาร์วาร์ด'

'ประชาคมแพทย์'ซัดบทบาทผู้นำแพทยสภาไม่ใช่แค่'บริหาร'แต่ต้อง'ปกป้อง'เกียรติยศวิชาชีพแพทย์

เย้ย‘โมฆะบุรุษ’! อดีตบิ๊กข่าวกรองจับไต๋แค่ใช้เวทีป.ป.ส.โชว์ตัว รอดู 13 มิ.ย.อยู่หรือไป

‘ปอศ.’ตะครุบ‘ตัวแม่’เบื้องหลังบงการ 8 บริษัท หลีกเลี่ยงภาษี รัฐเสียหาย 800 ล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved