วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ปฏิรูปที่ดินเพื่อคนฐานราก แก้วิกฤติเหลื่อมล้ำ-ขัดแย้ง

สกู๊ปแนวหน้า : ปฏิรูปที่ดินเพื่อคนฐานราก แก้วิกฤติเหลื่อมล้ำ-ขัดแย้ง

วันอาทิตย์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564, 07.40 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

เรียกได้ว่ายิ้มออกกันเสียทีสำหรับชาวบ้าน ชุมชนสันติพัฒนา ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี กรณี ศาลปกครองกลาง มีคำตัดสินเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2564 ให้ กรมที่ดิน ดำเนินการเพิกถอนโฉนดและ น.ส.3 ก รวม 23 แปลงซึ่งออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หลังเกิดข้อพิพาทยืดเยื้อนานกว่าทศวรรษเนื่องจากชาวบ้านร้องเรียนมาอย่างต่อเนื่องว่าบริษัทเอกชนขนาดใหญ่อ้างสิทธิ์อย่างไม่ถูกต้องเข้าครอบครองพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ และระหว่างทางของการต่อสู้ชาวบ้านยังถูกข่มขู่คุกคามถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม หากมองไปให้ไกลกว่าการต่อสู้ของชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ที่ลุกขึ้นมาตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยมิชอบของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดคือ ชุมพร กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปี 2546 เรื่องนี้ยังเผยให้เห็นนโยบายของรัฐหรือผู้มีอำนาจในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับนายทุนหรือกลุ่มทุนขนาดใหญ่ตลอดจนภาคอุตสาหกรรม มากกว่าชาวบ้านคนเล็กคนน้อย หรือที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเสมอมาทุกยุคสมัย ผ่านกระบวนการเอื้อประโยชน์ทั้งด้วยวิธีถูกและผิดกฎหมาย


“เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นำมาซึ่ง พ.ร.บ. ตัวใหม่ ก็คือ พ.ร.บ. ส.ป.ก. ที่เรารู้จักกันดี แต่ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ส.ป.ก. สามารถที่จะเอาที่ดินมาปฏิรูปได้ประมาณ 30 ล้านไร่ เยอะนะครับ แต่ว่าจริงๆ แล้วการปฏิรูปที่ดินมันน่าจะปฏิรูปเฉพาะใน 120 ล้านไร่ที่อออมาเป็นโฉนด แต่กลายเป็นว่าส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดไปเอาที่ดินที่เป็นของรัฐ เป็นของในป่าป่าเสื่อมโทรม มาให้ชาวบ้าน ฉะนั้นก็ไม่แปลกใจถึงเรื่องของการกระจุกตัวของที่ดินเดิมจนถึงปัจจุบัน”

ข้อสังเกตจาก ผศ.วิทยา อาภรณ์ อาจารย์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาชาวิชาการศึกษาทั่วไป สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์ ที่กล่าวในเวทีเสวนา “น.ส.3 ทับเขตป่า จับตาคดีต้นแบบศาลปกครองเตรียมอ่านคำพิพากษา เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้มาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายของเอกชน สู่แนวทางการจัดการที่ดินแบบกรรมสิทธิ์ร่วมโฉนดชุมชน สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้” ณ สำนักงานนักเรียนคริสเตียน ย่านราชเทวี กรุงเทพฯ วันที่ 18 มี.ค. 2564 หรือหนึ่งวันก่อนหน้าศาลปกครองกลางจะมีคำตัดสินในคดีนี้

อาจารย์วิทยา กล่าวถึงข้อค้นพบเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่ดินในประเทศไทยที่เคยมีนักวิชาการหลายท่านทำการศึกษาไว้ โดยสรุปคือ ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 320 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดได้ประมาณ 120 ล้านไร่ ในจำนวน 120 ล้านไร่นี้มีคนเพียงร้อยละ 10 ที่มีที่ดินเกิน 100 ไร่ ส่วนคนอีกร้อยละ 90 มีที่ดินไม่ถึง 1 ไร่ หรือหากใช้วิธีแบ่งคนออกเป็น 5 กลุ่ม จะพบว่าคนเพียงร้อยละ 20 ถือครองเอกสารสิทธิที่ดินไว้ถึงร้อยละ 80 เป็นต้น

นอกจากนี้ เมื่อไปดูการจัดการที่ดินในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่ 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง ที่มีคณะกรรมการซึ่งมีอำนาจในการกำหนดแผนการพัฒนาพื้นที่โดยไม่ต้องใช้ขั้นตอนปกติตามกฎหมาย ตลอดจนมีการเพิกถอนสถานะพื้นที่อนุรักษ์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะเอื้อต่อกลุ่มทุน ทั้งนี้ ยังมีเขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดขึ้นอีกหลายจังหวัดทั่วประเทศ

“ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคจีนี (GINI) สมมุติประเทศไทยมี 120 ล้านไร่ที่ออกโฉนดได้ ถ้าทุกคนได้คนละ 2 ไร่ (คิดจากประชากรประมาณ 60 ล้านคน) ความไม่เสมอภาคไม่มีเลย เท่ากับ 0 แต่ถ้าที่ดินทุกแปลงในประเทศไทยไปอยู่ที่คน 1 คน นั่นคือเหลื่อมล้ำเต็มที่ ฉะนั้นยิ่งดัชนีตัวนี้สูงขึ้นเท่าไร มันแสดงว่าที่ดินกระจุกอยู่ที่ใครบางกลุ่มมาก ทีนี้ของเราจาก 1 GINI ไปถึง 0.9 แล้ว ฉะนั้นมันน่ากลัวมากถ้าเราดูตัวเลขนี้ ดัชนีของ GINI นี้

ทีนี้เมื่อกระจุกแล้วคนอื่นก็ไม่ได้ประโยชน์นะครับ ที่ดินไปกระจุกอยู่ในมือ เอาไปไว้ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกเหมือนกัน เอาไปไว้เฉยๆ ก็มีคนเคยไปศึกษาเหมือนกันว่าที่ดินไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์เยอะแยะเหมือนกัน แล้วพอไปดูอีกฟากหนึ่งของคนที่ไม่มีที่ดินก็จะเห็นว่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ” อาจารย์วิทยา ระบุ

นักวิชาการผู้นี้ ยังเล่าถึงความพยายามปฏิรูปที่ดินในบางยุคสมัย เช่น ในปี 2497 ที่มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม มีนโยบาย “จำกัดการถือครองที่ดิน” แต่แล้วในปี 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ขึ้นมามีอำนาจแทน จอมพล ป. ได้ใช้อำนาจคณะปฏิวัติยกเลิกนโยบายดังกลาว ทำให้ประเทศไทยไม่เคยมีการจำกัดการถือครองที่ดินอีกเลย และนั่นทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่ดินเกิดขึ้นและดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า การที่ภาครัฐให้น้ำหนักกับกลุ่มทุนขนาดใหญ่หรือภาคอุตสาหกรรมมากกว่าคนเล็กคนน้อยหรือภาคเกษตรกรรม อาจเป็นเพราะมองเห็นตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) เป็นที่ตั้งซึ่ง อาจารย์วิทยา ให้ความเห็นว่า การเข้าสู่สังคมทุนนิยมที่ต้องการเพิ่ม GDP ก็ต้องเข้าสู่อุตสาหกรรม แต่หากเข้าไปโดยที่ความเหลื่อมล้ำยังสูง คนที่ได้ประโยชน์คือคนที่สะสมที่ดินจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องมีการปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้แต่ละคนสามารถออกแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามศักยภาพของตนเองได้ ซึ่งจะส่งผลถึงความมั่งคั่งรวมของประเทศด้วย

“หากที่ดินอยู่ในมือคนจำนวนน้อย ดังที่มีตัวเลขออกมาว่า 70%เขาไม่ทำอะไร มันนำไปสู่การที่ GDP ลดลง และในที่สุดคน 90% ที่ไม่มีที่ดิน ลูกหลานเขาก็ไม่มีโอกาสได้เรียนสูงๆ นั่นคือโอกาสทำให้ GDP ลดลงในระยะยาวด้วยซ้ำไป และถึงที่สุดแล้วในระยะยาวประเทศไหนที่ปฏิรูปที่ดินช้า ความรุนแรงในการกระจายที่ดินก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น มันจะไม่ปฏิรูปที่ดิน แต่เป็นปฏิวัติที่ดิน” ผศ.วิทยา กล่าว

ด้าน สมชาย ฝั่งชลจิตร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวเสริมว่า เมื่อทุนมีอำนาจจัดสรรทรัพยากรก็จะใช้อำนาจจัดสรรทรัพยากรเพื่อตอบสนองทุนคำถามคือประชาชนอยู่ตรงไหน? ในขณะที่คิดกันว่าอุตสาหกรรมจะนำมาซึ่งชีวิตที่ดีขึ้น คำถามคือเป็นเช่นนั้นจริงหรือเปล่า?

“ผมไปดูโรงงานที่จ.ชลบุรีมา ในโรงงานหุ่นยนต์ทั้งนั้นที่จริงเขาใช้แรงงานคนเป็นพัน แต่วันนี้ใช้โปรแกรมและใช้คนคุมแค่ 3 คน นี่คือความล้มเหลว ถ้าเราคิดว่าอุตสาหกรรมจะมาสร้างเทคโนโลยี ชีวิตที่ดีขึ้น มันไม่ได้ ฉะนั้นก็ต้องหันกลับมาดูว่าในภาคเกษตรจะทำอย่างไร” รอง ปธ.กมธ.ที่ดินฯ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved