วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘คนกับป่า’อยู่ร่วมกันได้  โลกเปลี่ยน..เมื่อไหร่ไทยปรับ?

สกู๊ปแนวหน้า : ‘คนกับป่า’อยู่ร่วมกันได้ โลกเปลี่ยน..เมื่อไหร่ไทยปรับ?

วันเสาร์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2564, 07.30 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

เดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่มีประเด็นร้อนเรื่อง “คนกับป่า” เช่น ในช่วงปลายเดือนที่มีข่าวชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ถูกลงโทษ “ปลดออกจากราชการ” จากที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ตามมติการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)

มติปลดออกดังกล่าวเนื่องมาจาก ชัยวัฒน์ เกี่ยวข้องกับกรณี “นำกำลังเจ้าหน้าที่บุกเผาบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย เมื่อปี 2554” ซึ่งในขณะที่ฝ่ายหนึ่งซึ่งต่อสู้เรื่องการอยู่ร่วมกันได้ของป่ากับชุมชน รวมถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ มองว่าคำสั่งปลดออกนี้เท่ากับความยุติธรรมบังเกิดแล้ว แต่สำหรับฝ่ายที่สนับสนุนการอนุรักษ์ป่าไม้ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่เป็นธรรมและทำลายขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า


และย้อนไปอีกในช่วงต้นเดือนเดียวกัน ในช่วงที่สถานการณ์ “#Saveบางกลอย” กำลังตึงเครียด เมื่อมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมเฮลิคอปเตอร์เข้าไปนำตัวชาวบ้านที่ขอกลับไปอาศัย ณ “บ้านใจแผ่นดิน” หรือบ้านบางกลอยบน ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานออกมา พร้อมตั้งข้อหาบุกรุกป่าก่อนที่ศาลจะให้ประกันตัว ประยงค์ ดอกลำใย ที่ปรึกษา “พีมูฟ” ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเรื่องคนกับป่า ในวันที่พีมูฟมาช่วยจัดกิจกรรมเสวนา“ก่อนฟ้าสางที่...บางกลอย” ที่เวทีชุมนุมข้างทำเนียบรัฐบาล ไว้อย่างน่าสนใจ

“มีป่าไม้น้อยมากที่ไม่เชื่อแนวคิดนั้น (หมายถึงไม่เชื่อในแนวคิดที่ว่าในป่าต้องไม่มีคนอยู่) แต่ท้ายที่สุดก็อยู่ในระบบไม่ได้ มันถูกปลูกฝังมาจากสถาบันการศึกษา มันมีอยู่สถาบันเดียว ความรู้วิชาวนศาสตร์มันไม่เป็นสหวิทยาการ เหมือนกับคณะรัฐศาสตร์ที่สอนได้ทุกมหา’ลัย มันก็จะเกิดการแข่งขัน ในขณะที่วิชาวนศาสตร์ในประเทศไทยมันไม่เกิดการแข่งขัน มันผูกขาดอยู่ในสถาบันเดียว แล้วมันก็มีระบบโซตัส (SOTUS) ระบบพี่ระบบน้อง แล้วคนเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผลิตเข้ามาในระบบ ใน 2-3 กรมในกระทรวงทรัพย์ ฉะนั้นมันก็ต้องสั่งสมวิธีคิดแบบนี้”

นี่คือความเห็นที่ ประยงค์ กล่าวถึง “ความคิดกระแสหลักของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ” ทำให้การทำงานกับเจ้าหน้าที่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย “มันเป็นมายาคติเกี่ยวกับเรื่องป่าที่เข้าใจกันผิดๆ คือถ้าเชื่อว่าคนอยู่กับป่าไม่ได้ อย่างไรมันก็ยอมรับอะไรไม่ได้เลย” เมื่อประกอบกับการที่ “ชาวบางกลอยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์” ซึ่งถูกตั้งคำถามว่า “เป็นคนไทยหรือเปล่า?” ปัญหาก็ยิ่งทวีความซับซ้อนยุ่งยากขึ้นไปอีก

ที่ปรึกษาพีมูฟ เล่าต่อไปว่า “แนวคิดนำคนออกจากป่าเดิมเกิดในโลกตะวันตก..แต่วันนี้ตะวันตกก็ได้เปลี่ยนไปแล้ว” เช่น สหรัฐอเมริกา ในอดีตเคยห้ามชาวอินเดียนแดงเข้าไปในอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน แต่ปัจจุบันแม้จะไม่ถึงขั้นอนุญาตให้เข้าไปอยู่อาศัย แต่ก็อนุโลมให้เข้าไปประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อได้ ในทวีปยุโรปเองก็มีการปรับเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกัน แต่ประเทศไทยยังไม่ปรับ และนั่นทำให้เกิดปัญหากับ 4,100 ชุมชนทั่วประเทศ

“สิ่งที่ยอมรับกันไม่ได้ใน 4,100 ชุมชนคือเขาอยู่มาก่อนประกาศอุทยานทั้งสิ้น หมายถึงประวัติชุมชนในอุทยานคล้ายๆ บางกลอย ปัญหาคือคนที่ไปเปิดใช้ที่ดินหลังประกาศอุทยานควรจะเป็นคนที่โดนข้อหาบุกรุกคนที่อยู่มาก่อน สิ่งที่อยู่มาก่อนเป็นไปไม่ได้ที่จะไปบุกรุกสิ่งที่มาทีหลัง ทีนี้เขาไม่ยอมการพิสูจน์สิทธิ์ตรงนี้ก็เลยเหมาไป อันนี้หลักคิดเรื่องนี้เลย ยอมให้คนอยู่กับป่าไม่ได้ ถึงแม้ตอนนี้ยอมรับความจริงแล้วว่าคุณไปประกาศทับเขาไว้ 4,200,000 ก็ยังไม่ยอม ยังไงก็ยังเป็นอุทยานอยู่ แต่อนุญาตให้คุณอยู่ชั่วคราว เป็นอาณานิคมผมต่อไป” ประยงค์กล่าว

ที่ปรึกษาพีมูฟ ให้ความเห็นอีกว่า “อย่างน้อยก็ควรให้สิทธิ์ชุมชนอยู่ได้ภายใต้เงื่อนไข” เช่น ห้ามขายพื้นที่ออกจากแนวเขตเดิมที่กันไว้ ห้ามนำที่ดินไปขาย โดยให้สิทธิ์แบบชุมชนเพื่อให้ช่วยกันควบคุมดูแล พร้อมกับกล่าวถึงบทเรียนจาก “คชก.” ที่เกิดขึ้นใน 2535 ซึ่งมีการอพยพชาวบ้านออกจากป่าเช่นกัน แต่ชาวบ้านก็ต่อสู้จนท้ายที่สุดเกิดเป็นกรณี “คชก. คืนถิ่น” ที่ชาวบ้านสามารถกลับไปอาศัยยังพื้นที่ทำกินเดิม

คดีเผาไล่ที่ชาวบ้านบางกลอยหรือใจแผ่นดินนั้น ศาลปกครองมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2561 แม้จะไม่อนุญาตให้ชาวบ้านกลุ่มที่ฟ้องคดีกลับไปอยู่ในพื้นที่
ดังกล่าวได้เพราะไม่มีหลักฐานเอกสารสิทธิ แต่ก็เห็นว่าเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุและไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงให้กรมอุทยานฯ ชดใช้ค่าเสียหายให้กับชาวบ้านที่ร่วมกันฟ้องคดีนี้ด้วย รวมถึงยอมรับการมีอยู่จริงของบ้านใจแผ่นดินในฐานะชุมชนเก่าแก่

อนึ่ง ที่ผ่านมามีการพูดถึง มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 ส.ค. 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ค่อยให้ความสำคัญ เพราะเห็นว่าลำดับศักดิ์กฎหมายต่ำกว่าพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นำไปสู่การผลักดัน “(ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์” ซึ่งในงานเสวนา “มานุษยวิทยากฎหมายกับพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์” ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ช่วงเวลาไล่เลี่ยกับการชุมนุมกรณีบางกลอยข้างทำเนียบรัฐบาล มีการสรุปข้อน่าสนใจของร่างกฎหมายนี้

เช่น ให้ก่อตั้งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐ ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์กรภาคประชาสังคม (NGO) การรับรองสมัชชากลุ่มชาติพันธุ์ เป็นพื้นที่กลางให้แต่ละกลุ่มได้มาหารือกันในข้อเสนอถึงภาครัฐเกี่ยวกับการดูแลประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงให้จัดทำข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อใช้ประกอบการออกนโยบายต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์หรือคนพื้นที่ที่อยู่มาแต่ดั้งเดิม

ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ระบุว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์รวม 63 กลุ่ม หรือ 6.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9.68 ของประชากรไทยทั้งประเทศ ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็ต้องปฏิบัติตามทั้งรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มาตรา 70 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิด้านวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยไปลงนามยอมรับไว้ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD) กับ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) ร่างกฎหมายนี้จึงมีความสำคัญ

ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ สถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า หาก (ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ สามารถผ่านออกมาเป็นกฎหมายได้จริงและใช้แล้วได้ผลดี อาทิ เกิดพื้นที่คุ้มครองเชิงวัฒนธรรมแล้วพบว่าคนกับป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ ความอุดมสมบูรณ์ยังคงอยู่ในขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ได้ใช้ประโยชน์ ก็อาจนำไปสู่การขยายผล ซึ่งข้อพิพาทกรณีชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ยังร่วมถึงชุมชนทั่วไปด้วย

“จริงๆ แล้วเราต้องเปลี่ยนระบบคิด เพราะถ้าเราดูพื้นที่ป่าสงวน อุทยาน พื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่า มีอยู่กี่ล้านไร่แล้วเรามีบุคลากรเท่าไหร่ ไม่พอ ฉะนั้นเราต้องดึงพลังเหล่านี้เข้ามาเป็นพลังบวก แทนที่เราจะขัดแย้งกันระหว่างคน 6 ล้านกว่าคนกับรัฐไทย ดึงมาเป็นพลังบวกเลย เป้าหมายยังอยู่ที่ความอุดมสมบูรณ์อยู่ ความอุดมสมบูรณ์ยังเป็นเป้าหมายหลัก แต่ว่าแน่นอน หน่อไม้หน่อน้อยที่มันไม่ได้กระทบความอุดมสมบูรณ์ใหญ่ เพื่อการดำรงชีวิต ถ้าเราปรับตรงนี้ได้ ผมคงว่าตรงนี้จะเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นพลังบวกของสังคม” ศ.ดร.บรรเจิด กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

(คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'

(คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112

เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน

เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved