วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ :  ประชาธิปไตยแบบที่ 4  ประชาธิปไตยแบบนักบริหารมืออาชีพ  (Professional Democracy)

บทความพิเศษ : ประชาธิปไตยแบบที่ 4 ประชาธิปไตยแบบนักบริหารมืออาชีพ (Professional Democracy)

วันศุกร์ ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
Tag :
  •  

ระยะสองเดือนที่แล้ว เราก็ได้เทียบเคียงให้เห็นว่า ไทยกับอิสราเอล ใครจะพ่ายศึกก่อนกัน อิสราเอลต้องต่อกรอย่างดุเดือดกับศึกภายนอก ได้แก่ ปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา แล้วก็ยังรบศึกภายในระหว่างพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน  ในที่สุดฝ่ายค้านก็ชนะศึกภายในประเทศไป  ได้เป็นรัฐบาลแทน

ไทยเราก็มีระบบการปกครองเฉกเช่นอิสราเอล เรากำลังรบศึกไวรัสโควิด-19 ตัวเป็นเกลียว รบกับศึกเศรษฐกิจผู้คนไม่มีงานทำ  ไม่มีจะกินกันมากมาย ในขณะเดียวกันศึกภายในก็กำลังร้อนระอุ เพราะทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายที่เคยเป็นกลาง ฝ่ายที่อยู่ต่างประเทศ ก็กำลังหาทางโค่นล้มรัฐบาลกันอย่างสุดฤทธิ์  ขณะนี้ยังไม่ทราบผล


การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentarian Democracy) ที่อิสราเอล และไทยใช้อยู่ ก็แตกอำนาจของปวงชนเป็น 3 อำนาจเหมือนๆ กัน อันได้แก่  อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ และอำนาจบริหาร

แต่อำนาจนิติบัญญัติ (สส. และ สว.) เป็นผู้รวบและใช้อำนาจแต่เพียงฝ่ายเดียวมากมาย อันได้แก่

อำนาจการจัดสรรงบประมาณหรือทรัพยากรของรัฐ

อำนาจการกำหนดหลักเกณฑ์และกฎหมายวิธีการใช้งบประมาณและการบริหารบ้านเมือง

อำนาจในการควบคุมและกำกับดูแลฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลนั่นเอง

แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ (สส.) กลับกระโดดเข้าไปใช้อำนาจบริหาร (Executive Power) เสียเอง ตามที่ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentarian Democracy) เปิดช่องไว้

นับว่าเป็นจุดอ่อนและเป็นปัญหาของประชาธิปไตยแบบนี้ ที่ประเทศไทยหลงใช้ตามฝรั่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 เพราะคนสำคัญในคณะราษฎร เพิ่งเรียนจบกลับมาจากยุโรปแทบทั้งนั้น

หลายประเทศเขาก็ได้แก้ไขปัญหานี้ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ บราซิล ฝรั่งเศส หรือรัสเซีย เขาก็ได้แก้ไข โดยแยกผู้ใช้อำนาจทั้งสาม ออกจากกันโดยเด็ดขาด ให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกันทั้งสามอำนาจ มีการกำหนดมิให้มีการผูกขาดอำนาจ (หรือสืบทอดอำนาจ) อันตรงกับปรัชญาประชาธิปไตยของชาวกรีกที่เริ่มต้นไว้เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว

ของไทยเรานักร่างรัฐธรรมนูญได้แต่พูดกันว่า  เราเลือกประธานาธิบดี (President) ไม่ได้ เพราะประเทศเรามีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่เกือบพันปีแล้ว

เราคงลืมกันไปว่า เรามิได้แบ่งแยกอำนาจทั้งสามให้สมดุลและมีการคานอำนาจระหว่างกัน เรามิได้สร้างความมั่นคง (Stability) ให้แก่ผู้ใช้อำนาจบริหารแทนปวงชน (รัฐบาล)

เราเป็นประเทศที่มีที่มาที่ไป  มีรากเหง้าเทือกเถาเหล่ากอ ไม่ใช่เป็นผู้ถูกเนรเทศหรืออพยพหนีภัยมาจากไหน และไม่ใช่นักจักรวรรดินิยมที่ทำตัวเป็นอันธพาลในอดีต (แม้ในปัจจุบันก็ยังปรากฎอยู่  แสดงตนเป็นตำรวจโลก โดยไม่มีใครแต่งตั้งก็มี นึกอยากจะยกทัพไปยึดประเทศใด ก็ชวนพันธมิตร 2-3 ประเทศ เข้าไปยึดเขา อยู่ไปนานๆสู้ไม่ได้  ก็ถอยออกไปเสียเฉยๆ ดังที่ปรากฏอยู่ในเอเชียใต้ขณะนี้)

ดังนั้น การเลือกตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร (Chief of the Executive Power) หรือนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) ที่มีเทอมที่แน่นอน ที่คัดสรรมาจากนักบริหารมืออาชีพจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อย มีประวัติการบริหารงานเป็นที่สำเร็จยอมรับได้ (Record of Success) ในแขนงงานของตน เพื่อสร้างเสถียรภาพ (Stability) ให้แก่ผู้ใช้อำนาจบริหาร (Executive Power) เช่นเดียวกับประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี (Presidential Democracy) และ แบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi - Presidential Democracy) และเพื่อเป็นการลดอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ
(Legislative Power) ลง ให้มีการสมดุลย์ (Balance of Power) กันระหว่างอำนาจทั้งสาม จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง

คุณสมบัติ (Qualification) ของผู้ที่ควรได้รับการคัดเลือกเข้ามาใช้อำนาจบริหารแทนปวงชน ก็น่าจะเป็นดังนี้

1.จากภาคธุรกิจ

- เคยเป็นประธาน รองประธาน หรือ CEO ของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของไทย อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

- เคยเป็น CEO ของธุรกิจหรือการประกอบการ ที่มียอดขายไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท หรือกิจการที่มีรายได้เสียภาษีปีละ 500 ล้านบาทขึ้นไป อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

2.จากภาครัฐกิจ

- เคยเป็นนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  รัฐมนตรีช่วยว่าการ อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

- เคยเป็นนายกเทศมนตรีของเทศบาลนครหรือของเขตพิเศษ (กทม, เมืองพัทยา) อย่างน้อย 2 ปี ขึ้นไป

- เคยเป็นข้าราชการประจำระดับรองอธิบดี  อธิบดี รองอธิการบดี  อธิการบดี รองปลัดกระทรวง  ปลัดกระทรวง  หรือตำแหน่งบริหารอื่นที่เทียบเท่า อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

- เคยเป็นผู้บัญชาการทหาร  ตำรวจ  ในตำแหน่งผู้บัญชาการ (พลโทขึ้นไป) อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

- เคยเป็นรองหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่เคยมีความเสียหายจากผลงานในอดีต

3.จากภาคประชากิจ

- เคยเป็นประธานหอการค้าหรือรองของจังหวัดต่าง ๆ หรือของสภาหอการค้า อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

- เคยเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมหรือรองของจังหวัดต่าง ๆ หรือของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

- เคยเป็นนายกสมาคมวิชาชีพต่างๆ อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

- เคยเป็นประธานหรือรองประธานมูลนิธิที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

- เคยเป็นประธานองค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไร และทำงานเพื่อสังคม เช่น สภากาชาดไทย สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

เป็นต้น หรือตามแต่จะปรับปรุงเพิ่มเติมโดยกฎหมายลูกของ รธน.

_______________________________________

โดยให้ผู้ที่มีคุณสมบัติทั้งหมดข้างต้น มาลงทะเบียน ณ สำนักงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก่อนจะมีการคัดเลือกหัวหน้าผู้ใช้อำนาจบริหาร (Chief of the Executive Power) 6 เดือน เพื่อจะได้ถูกประกาศรายชื่อเป็น สมาชิกสมัชชานักบริหารแห่งชาติ ให้มีสิทธิลงคะแนนเสียง เลือกนายกรัฐมนตรีได้ และมีสิทธิ์สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีได้

_______________________________________

การแก้ไขปัญหา ความไม่สมดุลแห่งอำนาจทั้งสามในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (The Unbalance of the Three Powers in the Parliamentarian Democracy) เช่นเดียวกับ ที่ประชาธิปไตยอีก 2 แบบ (Presidential Democracy และ Semi – Presidential Democracy) ได้ทำสำเร็จมาแล้ว และสร้างความมีเสถียรภาพ(Stability) และความเจริญที่ยั่งยืนของประเทศ (a sustainable development) ก็อาจจะทำได้ไม่ยาก โดยไม่จำเป็นต้องมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่มีการคัดเลือก สรรหา และเลือกตั้งจากผู้มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเข้ามาบริหารประเทศได้ และมาเป็นหัวหน้าผู้ใช้อำนาจบริหาร (Chief of the Executive Power) หรือนายกรัฐมนตรี ได้ไม่ยากนัก

เพียงแต่เอารัฐธรรมนูญ ฉบับที่ประชาชนยอมรับมากที่สุดคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หมวด 7 ว่าด้วย “คณะรัฐมนตรี” มาแก้ไขเพียง 6 มาตรา ดังต่อไปนี้ ก็จะทำให้ “ธุรกิจการเมือง” (บ่อเกิดแห่งการทุจริตคอร์รัปชั่น), “การเมืองน้ำเน่า” (บ่อเกิดแห่งการไม่สามารถเอาคนดีเข้ามาบริหารบ้านเมืองได้) และ “การสืบทอดอำนาจ” (บ่อเกิดแห่งความไม่พอใจของประชาชนต่อนักปฏิวัติรัฐประหาร) จบชีวิตไปจากประเทศไทย โดยไม่ต้องมีสงครามกลางเมืองระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ระหว่าง เสื้อสีต่างๆ อีกต่อไป

_______________________________________

หมวด 7

คณะรัฐมนตรี

มาตรา 1  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน โดยยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ

ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรีมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าแปดปีมิได้

มาตรา 2  ให้นายกรัฐมนตรีมาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยตรงและลับของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 4 (หรือองค์กรเลือกตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร) โดยรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจากคณะกรรมการตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา 5
โดยมีประสบการณ์ความรู้ความสามารถที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ปราศจากผลประโยชน์ที่ขัดกันในการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี

มาตรา 3 ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีประกอบด้วย ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นกรรมการ ทำหน้าที่ตามมาตรา 2 ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแจ้งผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

ให้กรรมการตามวรรคหนึ่ง เลือกกันเองให้กรรมการผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการ

ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่

มาตรา 4  บุคคลที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) มีความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะใช้ในการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี โดยมีประวัติการทำงานบริหารงานหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนมาก่อน

(2) ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่า กระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม

(3) เคยรับราชการหรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่า ไม่น้อยกว่าสองปี

(4) เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการผู้จัดการในบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯมาไม่น้อยกว่าสองปี

(5) เคยดำรงตำแหน่งนักบริหารภาคประชากิจ เช่น จากสภาหอการค้า สมาคมวิชาชีพ สภาอุตสาหกรรม มูลนิธิที่ทำประโยชน์แก่สังคม องค์การอาสาสมัคร สมาคมทางศาสนา องค์กรที่ทำประโยชน์สาธารณะ ตามหลักเกณฑ์จะกำหนดมาไม่น้อยกว่าสามปี

มาตรา 5  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการแถลงนโยบายและวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างน้อยสองครั้งก่อนวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยให้มีการถ่ายทอดรายการสดผ่านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น และเปิดโอกาสให้มีการซักถามปัญหาจากตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่ได้ลงทะเบียนแจ้งความจำนงไว้ กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยผู้รับสมัครเลือกตั้งทุกคนต้องเข้าร่วมงานดังกล่าว มิเช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ มิให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

_______________________________________

มาตรา 6  เมื่อครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็น วันเดียวกัน ทั่วราชอาณาจักร

ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นแทนภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวัน แต่ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง

ระยะเวลาของบุคคลผู้ที่ได้รับการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามวรรคหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งเป็นไปตามมาตรา 1 วรรคสาม

_______________________________________

ประชาธิปไตยแบบที่ 4 นี้ อาจเรียกได้ว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกับแบบเก่าสามแบบที่มีอยู่แล้ว (The Three Existing Conventional Forms of Democracy) ซึ่งอาจเป็นการวางยาของพวกล่าเมืองขึ้น ที่ไม่อยากให้มีความสงบและความเจริญในประเทศที่กำลังพัฒนาก็เป็นได้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ‘สุรา ยาเมา’ ความท้าทายวันพระใหญ่ 2568 สกู๊ปพิเศษ : ‘สุรา ยาเมา’ ความท้าทายวันพระใหญ่ 2568
  • บทความพิเศษ : นายกฯแพทองธารชิงลาออก  ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย บทความพิเศษ : นายกฯแพทองธารชิงลาออก ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย
  • เมื่อ‘AI’ตอบได้ทุกอย่าง  ‘คิดเอง’ยังจำเป็นอยู่ไหม? เมื่อ‘AI’ตอบได้ทุกอย่าง ‘คิดเอง’ยังจำเป็นอยู่ไหม?
  • ‘สมาพันธ์คนไร้บ้านไทย’ ยื่น5ข้อเสนอถึง‘สมศักดิ์’ ‘สมาพันธ์คนไร้บ้านไทย’ ยื่น5ข้อเสนอถึง‘สมศักดิ์’
  • ฐาน‘แก๊งคอลฯ’ล้อมไทย เรื่องใหญ่โลกต้องช่วยปราบ ฐาน‘แก๊งคอลฯ’ล้อมไทย เรื่องใหญ่โลกต้องช่วยปราบ
  • สองปรากฏการณ์\'หลวงปู่เณรคำ\'มีเมีย 8 คนสู่\'สีกากอล์ฟ\'นารีพิฆาตเขย่าศรัทธาชาวพุทธ สองปรากฏการณ์'หลวงปู่เณรคำ'มีเมีย 8 คนสู่'สีกากอล์ฟ'นารีพิฆาตเขย่าศรัทธาชาวพุทธ
  •  

Breaking News

เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังใจเร่งสร้างเชื่อมั่น

เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’

รองนายกฯสั่งจับตา หนองคายฝนตกชุก น้ำโขงเสี่ยงเพิ่มสูง

โพลชี้คนอุตสาหกรรมเชื่อมั่น 4 ผู้นำพรรคเล็ก–ตั้งใหม่ เปิดโอกาสขับเคลื่อนประเทศ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved