วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : คิดให้รอบคอบ ก่อนลงมือทำ

บทความพิเศษ : คิดให้รอบคอบ ก่อนลงมือทำ

วันศุกร์ ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
Tag : บทความพิเศษ
  •  

หมู่นี้ข่าวออกมาทางสื่อบ่อยครั้ง ว่ากระทรวงคมนาคมกำลังดำริจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ ซึ่งการตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ ก็คงจะต้องมีการใช้จ่ายในการลงทุนโดยใช้งบประมาณของรัฐ เพื่อซื้อเรือบรรทุกสินค้าวิ่งไป-มาตามท่าเรือระหว่างประเทศ โดยใช้พนักงานของรัฐ หลายหมื่นล้านบาท

ความจริงสายการเดินเรือแห่งชาติเคยมีมาแล้ว และก็ขาดทุนมากมาย จนต้องยุบสลายไปหลายปีมาแล้วผู้บริหารของกระทรวงคมนาคมควรที่จะไปศึกษาดูว่า สายการเดินเรือแห่งชาติในอดีต หรือที่เรียกว่า “บริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด” อันเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทำไมจึงอยู่ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ได้อภิสิทธิ์ในการขนส่งสินค้ามากกว่าสายการเดินเรือเอกชน


แล้วก็ควรจะไปศึกษาต่อด้วยว่า สายการบินแห่งชาติ ซึ่งเคยมีเกียรติประวัติยิ่งใหญ่มาแล้วทั่วโลก เป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทย ทำไมจึงต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย และขณะนี้ก็ได้กลายสภาพเป็นบริษัทเอกชน ที่เสนอแผนฟื้นฟูให้เจ้าหนี้พิจารณาอยู่

เหตุผลที่ทั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ และสายการบินแห่งชาติต้องล่มสลายไป เป็นเพราะการเมืองเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ การซื้อเครื่องบินหรือเรือเดินสมุทรครั้งละหลายหมื่นล้าน โดยการผลักดันและการอนุมัติของนักการเมืองในอดีต ทำให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองต้องมีหนี้สินมากมายจนต้องล้มเลิกกิจการไป จริงหรือไม่

นอกจากรัฐวิสาหกิจทั้งสองแล้ว ยังมีองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ของกระทรวงคมนาคมอีกใช่ไหม ที่ต้องถูกยกเลิกไปด้วย เนื่องจากเหตุผลมากมายหลายประการ ซึ่งข้าราชการประจำของกระทรวงคมนาคม ควรเข้าไปค้นเรื่องดูและสรุปเรื่องราวให้ฝ่ายการเมืองทราบ และพิจารณาเลิกคิดเสีย ว่าไม่มีทางไปรอดดอก ที่รัฐจะออกมาควักทุนเดินเรือเอง เดินอากาศเอง หรือว่าเดินรถเมล์เอง (กรณีของ ขสมก., บขส.) หรือเดินรถไฟเองเพราะ ร.ฟ.ท.เองก็อืดอาด ไม่ทันความก้าวหน้าในการขนส่งสินค้าทางบก สมัยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงสร้างรถไฟใช้เวลาไม่กี่สิบปีสร้างได้ 3,500 กิโลเมตร ออกมาเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้นโยบายของพรรคการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย 80 ปีเศษ จนถึงปี พ.ศ.2557 ขยายรางออกไปได้อีกเพียง 1,000 กิโลเมตร และขาดทุนมหาศาล จนกระทั่งในยุคที่รัฐบาลมีความต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ (Stability) เราจึงได้เห็นการปรับปรุงรางเดี่ยว ให้เป็นรางคู่การขยายเส้นทางไปจนถึงจังหวัดเชียงราย การมีรถไฟความเร็วสูง การมีรถไฟชานเมืองสีต่างๆ

การไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล (Executive Branch) โดยระบอบประชาธิปไตยที่เราใช้อยู่ ทำให้มีนักการเมืองหมุนเวียนกันมาเป็นรัฐบาลฝ่ายบริหารมากหน้าหลายตาและเมื่อระยะเวลาไม่แน่นอน ก็รีบหาทางลัดสะสมสิ่งจำเป็นในการดูแลคนในมุ้งไว้มากๆ ตั้งแต่เนิ่นๆ

แท้ที่จริงแล้ว รัฐควรทำหน้าที่กำกับดูแล และส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ประกอบการ ไม่ว่า จะเป็นการขนส่ง การสื่อสาร ซึ่งต้องฝ่าด่านการแข่งขันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ อย่าไปคิดทำเองเลย จะสร้างหนี้สินให้ประชาชนรุ่นหลังต้องรับภาระอีกมากมายในอนาคต

ขอให้ดูกิจการโทรศัพท์เป็นตัวอย่าง เมื่อให้สัมปทานแก่เอกชนไปหลายราย เช่น AIS TRUE และ DTAC ก็ทำให้ประชาชนคนไทยมีโทรศัพท์ใช้กันอย่างเหลือเฟือ ช่วยในการทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอย่างมาก และช่วยให้มีการซื้อขาย online ในระยะโควิดระบาด อย่างได้ผล ถ้าหากไปรอรัฐวิสาหกิจ เช่น องค์การโทรศัพท์ฯแล้ว บ้านเมืองของเราก็จะต้องล้าหลังกว่าลาวและเขมรอย่างแน่นอน (ถึงแม้ตอนนี้จะล้าหลังกว่ามาเลเซียและเวียดนามไปแล้ว)

ผู้เข้ามาบริหารบ้านเมือง หรือมาใช้อำนาจบริหาร (Executive Power) แทนปวงชนชาวไทย ควรจะปรับทัศนคติเสียใหม่ ว่าท่านเข้ามาเพื่อกำกับดูแล ให้การแข่งขันมีความเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาด (Monopoly) และเข้ามาเพื่อส่งเสริมให้วิสาหกิจเอกชน มีความก้าวหน้าสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

ท่านทราบไหมว่า ขณะนี้ กิจการต่อเรือเดินทะเล และซ่อมเรือเดินทะเล ประสบปัญหาเพียงไหน เคยคิดเข้ามาช่วยพยุงฐานะและเปิดโอกาสให้ขยายกิจการ จนสามารถรับงานสร้างและงานซ่อมเรือจากสายการเดินเรือนานาชาติบ้างไหม ขณะนี้ การต่อเรือในประเทศ ไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับต่างประเทศได้เลย จากมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กรีดร้อนและรีดเย็นต่อเนื่องมากว่า 20 ปี ทำให้เหล็กในประเทศขาดแคลน และราคาเหล็กในประเทศสูงกว่าราคาในตลาดโลก หากต่อเรือในประเทศต้องเสีย VAT 7% อีกทั้งการสนับสนุนส่งเสริมของ BOI ก็ทำให้เจ้าของเรือนิยมซื้อเรือมือสอง หรือนำเข้าเรือใหม่จากต่างประเทศ ทั้งๆที่ อุตสาหกรรมต่อเรือนั้นจะ สร้างการจ้างงานภายในประเทศ และนำเงินตราเข้าประเทศได้อย่างมาก ผู้ประกอบการภาคเอกชนจึงหันไปซื้อเรือจากนอกมาใช้ดีกว่า หนำซ้ำ ภาครัฐเอง ก็ยังเลือกที่จะต่อเรือกับต่างประเทศ ทั้งๆที่ อู่เรือในประเทศมีความรู้ความชำนาญ มีบุคลากรที่สามารถต่อเรือได้ทัดเทียมกับประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ลดการขาดดุลทางการค้า สร้างการจ้างงานในประเทศ และเกิดการ Transfer Technology ให้อุตสาหกรรม ต่อเรือและ ซ่อมเรือไทย พัฒนาต่อเนื่องได้ในอนาคต

ส่วนท่าเรือชายฝั่งที่ทางรัฐ (กระทรวงคมนาคม) ไปสร้างไว้ในอดีต ก็ขาดการดูแลบำรุงรักษา สร้างแล้วทิ้งขว้างๆ จึงมิได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร แล้วก็ยังคิดจะสร้างท่าเรือเดินสมุทรสำหรับนักท่องเที่ยวในอ่าวไทยอีก ซึ่งคงจะต้องใช้เงินอีกหลายหมื่นล้านบาท

รัฐบาลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อย หาเสถียรภาพหรือความยั่งยืน (Sustainability) ไม่ได้ ท่านคงลืมไปแล้วว่า รัฐบาลก่อนหน้าท่าน ไปเวนคืนที่ดินเป็น Land Bridge กว้าง 100 เมตร สร้างถนนสายหลักยาว 200 กม. จากฝรั่งทะเลตะวันตกมาฝั่งทะเลตะวันออก กระบี่-สุราษฎร์ธานีไว้หลายสิบปีแล้ว เข้าใจว่าเป็นสมัยที่มีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพยาวนาน ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ในปัจจุบันแทนที่ไทยจะมีท่อน้ำมันขนาดใหญ่จากฝั่งอันดามัน มาลงอ่าวไทย (ฝั่งแปซิฟิก) ที่ อ.ขนอม จ.สุราษฎร์ธานี แทนที่เรือประมงและเรือน้ำมันขนาดย่อม จะถูกลำเลียงทางรางข้ามฝั่ง แปซิฟิกไปลงฝั่งอันดามัน ก็ยังไม่มี จึงมีแต่ถูกชาวบ้านรุกล้ำเข้าไปใช้พื้นที่ที่ควรจะเป็น Land Bridge เชื่อมสองมหาสมุทร อยู่ในประเทศไทย ก็กลายเป็นที่ปลูกมะพร้าวและผลไม้ที่ชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์ เพราะรัฐเพิกเฉยในการดูแลและพัฒนาไปตามแผนเดิมที่มีอยู่

นอกจากนั้น ท่าเรือที่เอกชนสร้างค้างไว้ทางฝั่งแปซิฟิก (ในอ่าวไทย) ก็มีอยู่แต่ยังมิได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงคมนาคม หากรัฐอนุญาตให้ทำเป็นท่าเรือน้ำลึกได้ ก็จะเป็นการเปิดเส้นทางเชื่อมสองมหาสมุทรได้ทันที โดยรัฐไม่ต้องลงทุนเอง คอยแต่สนับสนุนเอกชน อำนวยความสะดวกแก่เอกชน เท่านั้นประเทศไทยก็ไปโลด

ส่วนการคิดสร้างท่าเรือสำราญ (Cruising Line) ที่เกาะสมุยก็ควรเลิกคิดได้ เพราะจะต้องลงทุนทำท่าเรืออีกมหาศาลและต้องใช้ที่ดินบนฝั่งเกาะสมุยอีกกว้างใหญ่ เพื่อรองรับโกดังสินค้า คลังสต๊อกน้ำมัน การศุลกากรการตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ ตลอดจน Supply Chain ของ Cruising Line

อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือสมุยไม่มีสนามบินสำหรับเครื่องบินขนาดใหญ่พิสัยไกล จะทำอย่างภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (หรือใช้ภาษาไทยตามวัฒนธรรมไทยว่า “กรณีศึกษาที่ภูเก็ต” หรือ “กรณีตัวอย่างของภูเก็ต” ก็น่าจะเหมาะสมอยู่) ผู้โดยสารจากเรือสำราญ (Cruising Line) ย่อมไม่สามารถจะบินเข้า-ออก ได้ดีเท่าที่ภูเก็ต หากใช้สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีสนามบินขนาดใหญ่ของรัฐอยู่แล้ว ใช้ท่าเรือของเอกชน ซึ่งมีอยู่แล้วที่อำเภอขนอม เราก็จะเปิด “สมุยแซนด์บ็อกซ์” หรือ “กรณีตัวอย่างของสมุย” ได้เลยภายในเวลาอันสั้น

ขอให้นักการเมืองที่รับผิดชอบ ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือจากการสืบทอดอำนาจของการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2557 ลองไปคิดกันดู ว่าท่านอยู่ในตำแหน่งที่มีอิทธิพลในการสร้างประเทศ ที่มีโอกาสในการสร้างชาติไทย ท่านควรจะใช้ Political Will (ความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวทางการเมือง)ผลักดันเรื่อง Land Bridge และ ท่าเรือน้ำลึกของสองมหาสมุทร ให้แล้วเสร็จ โดยการส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าไปลงทุน บริหารจัดการ โดยรีบด่วนต่อไป

พูดถึง “กรณีตัวอย่างของภูเก็ต” (Phuket Sandbox)ต้องขอแสดงความยินดี กับรัฐบาลที่ทำแล้วได้ผลจริง ฝรั่งนักท่องเที่ยวบินตรงจากยุโรป มาอยู่ภูเก็ตอย่างสะดวกสบายนับหมื่นคน เพราะมีสนามบินขนาดใหญ่ไว้รองรับ แต่เขาก็ตำหนิว่า ควรจะทำได้ดีกว่านี้ เพราะขณะที่ตรวจสอบและกักตัวนักท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด แต่กลับปล่อยให้แรงงานไทยและเทศ ทะลักเข้ามาทางถนนอย่างมากมายโดยไม่มีการกักตัว ทำเอาภูเก็ตเริ่มจะมีคนติดโควิดเพิ่มกันอีกแล้ว

จับให้มั่น คั้นหมาย ให้วายวอด

ช่วยให้รอด รักให้ชิด พิศมัย

เมื่อจำเป็น ก็ฟันทิ้ง อย่างจริงใจ

เด็ดให้ขาด แล้วชาติไทย จะเจริญ

เขียนจบแล้วให้คิดถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ จัง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : นายกฯแพทองธารชิงลาออก  ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย บทความพิเศษ : นายกฯแพทองธารชิงลาออก ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย
  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  • บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน  นิติกรรมอำพราง หลบภาษี? บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?
  • บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์  สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ
  • บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย  ในยุคที่เด็กเกิดน้อย บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย ในยุคที่เด็กเกิดน้อย
  • บทความพิเศษ : ‘Climate Change’  โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’ บทความพิเศษ : ‘Climate Change’ โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’
  •  

Breaking News

เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังเร่งสร้างเชื่อมั่น

เลขาฯเพื่อไทยแย้มโควตา ‘รองปธ.สภาฯ’คนที่ 2 อาจเป็นของ‘รทสช.’

รองนายกฯสั่งจับตา หนองคายฝนตกชุก น้ำโขงเสี่ยงเพิ่มสูง

โพลชี้คนอุตสาหกรรมเชื่อมั่น 4 ผู้นำพรรคเล็ก–ตั้งใหม่ เปิดโอกาสขับเคลื่อนประเทศ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved