วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘พึ่งตนได้-ชุมชนร่วมหนุน’  ปรับรับ‘สังคมสูงวัยสุดยอด’

สกู๊ปแนวหน้า : ‘พึ่งตนได้-ชุมชนร่วมหนุน’ ปรับรับ‘สังคมสูงวัยสุดยอด’

วันเสาร์ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 07.30 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“ในปี 2568 ทั้งโลกจะมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 หรือประมาณ 1.2 พันล้านคน ซึ่งมากถึงร้อยละ 70 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่าปี 2593 จะมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 20หรือประมาณ 2 พันล้านคน ซึ่งมากถึงร้อยละ 80 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ในส่วนสถานการณ์ในไทยจากข้อมูลปี 2563 พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 17.57 ของประชากรไทย แต่ในปี 2574 จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 เมื่อสำรวจในครัวเรือนพบว่า ทุกครัวเรือนมีผู้สูงอายุอาศัยทุกหลัง”

พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ คณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในเวทีเสวนา (ออนไลน์) หัวข้อ“การสูงวัยในที่เดิม (Ageing in Place) : ข้อเสนอนโยบายเพื่อการรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” เมื่อช่วงต้นเดือนต.ค. 2564 ที่ผ่านมา โดยสภาวะสังคมสูงวัยในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นสภาวะที่เป็นความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากได้พัฒนาระบบสาธารณสุขและการแพทย์ให้มีความก้าวหน้า จนสามารถอยู่รอดปลอดภัยและมีชีวิตยืนยาวในสังคม ขณะเดียวกันยังสามารถควบคุมการเกิดได้จนนำไปสู่จำนวนสัดส่วนประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป


แต่อีกด้านหนึ่ง สภาวะที่เกิดขึ้นยังนำมาซึ่งความท้าทาย “เมื่อมีการพัฒนาไปแล้ว จะมีภาวะของมนุษย์ที่มีอายุยืนยาวขึ้นแต่มีความพิการด้วย” ซึ่งวิธีการที่จะสามารถรับมือกับสถานการณ์นี้ได้คือ “จะต้องทำให้ประชากรคล่องแคล่ว” มีสุขภาพดี สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ ซึ่งกระบวนการ Active Ageing (พฤฒพลัง) จะต้องมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะมีสุขภาพดี มีส่วนร่วมในสังคม และมีความมั่นคง ถึงจะไปถึงเส้นคุณภาพชีวิตได้

“การพัฒนาสังคมสูงวัยเพื่อให้ผู้สูงอายุ จะต้องมีเสรีภาพที่จะเลือกและตัดสินใจ ซึ่งการพัฒนานโยบายจะต้องอยู่บนพื้นฐานสิทธิของความเป็นมนุษย์ ซึ่งสูงวัยในที่เดิมหรือ Ageing in Place ไม่ได้หมายถึงเรื่องของที่พักอาศัยเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของสภาพแวดล้อม ความปลอดภัย และบริการด้านสังคม” พญ.วัชรา กล่าว

เมื่อมองดูตัวอย่างจากต่างประเทศ ณปภัทร สัจนวกุล นักวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงบทเรียนจากโลกตะวันตกที่เข้าสู่สภาวะสังคมสูงวัยไปก่อนแล้ว ว่า ในอดีตผู้สูงอายุมีจำนวนไม่มากรัฐสามารถดูแลได้ทั่วถึง แต่เมื่อผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นแม้ภาครัฐจะพยายามสร้างที่พักอาศัยมากยิ่งขึ้นแต่ก็ไม่เพียงพอ ภาระหน้าที่จึงตกไปอยู่กับชุมชนในการดูแล

ทำให้ในเวลาต่อมา บรรดาประเทศในกลุ่ม OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) จึงเริ่มปรับเปลี่ยนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวไปสู่การดูแลที่บ้านมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้สูงอายุมีทางเลือกที่จะมีอิสระได้ โดยวิธีการที่จะทำให้สามารถรองรับสังคมสูงวัยได้ คือ ผู้สูงอายุที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จะต้องแข็งแรง ซึ่งวิธีการดูแลที่บ้านจะช่วยลดงบประมาณและสร้างความยั่งยืน

อนึ่ง ภาพที่ชวนสลดหดหู่ในหลายประเทศทางตะวันตก ในช่วงสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 คือ สถานดูแลผู้สูงอายุกลายเป็นจุดที่มีการเสียชีวิตของ
ผู้สูงอายุจำนวนมาก จึงเป็นแรงกระตุ้นให้มีการปรับเปลี่ยนเช่น ประเทศอังกฤษ มีเสียงเรียกร้องให้แทนที่สถานดูแลผู้สูงอายุด้วยระบบสนับสนุนที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดการณ์ว่า ในปี 2574 จะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี ร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ หรือเรียกว่า สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society)

“ประเทศไทยมีเรื่องของด้านสุขภาพที่ดี มีความมั่นคงด้านรายได้ที่ดีพอสมควร แต่เรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาอยู่คือ จะดูแลผู้สูงอายุให้อยู่อาศัยอย่างไรโดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงจำเป็นต้องสนับสนุนให้ผู้สูงอายุอาศัยในบ้านเดิม หรือชุมชนของตนเองให้นานที่สุด ซึ่งองค์ประกอบที่ทำให้เกิด Ageing in Place ในไทยได้มีอยู่ 3 เรื่อง ได้แก่ สถานที่สุขภาพ และสังคม ซึ่งมีผู้สูงอายุเป็นตัวกลางของการทำงานทั้งหมด” ณปภัทร กล่าว

กรณีศึกษาของไทยในระดับพื้นที่ นพ.ธนัช พจน์พิศุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการกองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและญาติหลายคนปฏิเสธที่จะไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล แต่มีความประสงค์จะรักษาที่บ้านเพราะมีความคุ้นชิน ซึ่งการกำหนดให้ Ageing in Place เป็นเป้าหมายหลักนั้น กทม. ได้จัดทำแผนพัฒนาชีวิตผู้สูงอายุ โดยกำหนดว่าผู้สูงอายุต้องมีที่อยู่อาศัย และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

นอกจากนี้การดูแล Ageing in Place ยังต้องดูแลในทุกมิติ ทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี บริการทางสังคม บริการทางสุขภาพ ซึ่งผู้สูงอายุที่ไม่มีใครดูแลเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน จะทำอย่างไรให้คนรอบข้างสามารถตอบสนองกับภาวะเจ็บป่วยได้ทันเวลา โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนผู้สูงอายุประมาณ 1.1 ล้านคน หรือราวร้อยละ 20.6ของประชากรทั้งหมด ซึ่งหลายเขตมีผู้สูงอายุจำนวนมาก สัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 30 ของประชากรทั้งเขต เช่นเขตสัมพันธวงศ์ มีผู้สูงอายุร้อยละ 32 เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายร้อยละ 30 และเขตพระนคร ร้อยละ 29 เป็นต้น

“ในส่วนการทำงานพยายามตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นโดยใช้โครงการดูแลผู้สูงอายุจิตสังคม ซึ่งจะทำอย่างไรให้ชะลอหรือเป็น Active Ageing ให้นานที่สุด โดยได้เริ่มดำเนินการแล้วประมาณ 2,200 คน ซึ่งสามารถทำให้ผู้สูงอายุสามารถเดินได้ ไม่นอนติดเตียงและให้ชีวิตอยู่ได้ปกติ โดยคาดว่าในปี 2565 จะขยายต่อโครงการให้เป็น300 กว่าชุมชน และมีผู้สูงอายุเข้าร่วมประมาณ 1 หมื่นคน” นพ.ธนัช ระบุ

ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับนโยบายในภาพรวม ศิริลักษณ์มีมาก ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านผู้สูงอายุกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมรับมือผู้สูงอายุในไทยได้ทำมานานแล้ว โดยการให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านที่คุ้นเคย ไม่ได้สนับสนุนให้สร้างสถานสงเคราะห์เพิ่มในส่วนของภาครัฐ แต่ให้สร้างความร่วมมือของภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเรื่องของแผนผู้สูงอายุก็มีอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติแผนที่ 2 กำหนดชัดเจนในเรื่องของผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้าน จะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

“สิ่งที่จะช่วยให้ดำเนินงานได้เร็ว คือ การสร้างกระแส หรือการรณรงค์ในภาคเอกชน นอกจากนี้ยังทำองค์ความรู้ให้ชุมชน เนื่องจากการที่จะปรับปรุงบ้านหรือที่อยู่อาศัยให้ผู้สูงอายุในชุมชน สมาชิกชุมชนจำเป็นต้องมีความเข้าใจ การทำงานของภาครัฐจำเป็นต้องร่วมคิดร่วมทำ ไม่เช่นนั้นจะไม่สอดรับกับความต้องการของผู้สูงอายุ และท้องถิ่น เนื่องวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ และรูปแบบที่อยู่อาศัยไม่เหมือนกัน” ศิริลักษณ์ กล่าว

ด้าน ศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยประเด็นที่สำคัญที่สุดในการทำให้เกิด Ageing in Place คือ ต้องพิจารณากำหนดระบบสวัสดิการสังคมให้ชัดเจน “กฎหมายยังเอื้อต่อระบบสุขภาพแต่ไม่ได้เอื้อต่อระบบสังคม โดยระบบสังคมยังช่วยเหลือแค่ผู้สูงอายุที่รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จึงทำให้ไม่ทั่วถึงทุกคน” นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดการบริการสังคมเท่ากับระบบทางกายภาพ และต้องสร้างความเข้มแข็งของระบบความสัมพันธ์ของบุคคลและสภาวะแวดล้อม

เพื่อให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและไม่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้สูงอายุด้วย!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved