วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ‘VIA’หลักสูตรความปลอดภัย  ลดเด็กไทย‘เจ็บ-ตาย’บนถนน

รายงานพิเศษ : ‘VIA’หลักสูตรความปลอดภัย ลดเด็กไทย‘เจ็บ-ตาย’บนถนน

วันอาทิตย์ ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

“2 หมื่นศพต่อปี” เป็นสถิติ “ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย” ที่ประมวลจากข้อมูล 3 ฐานคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด อีกทั้งความอันตรายของถนนเมืองไทยยังเป็นที่เลื่องลือในระดับโลก เนื่องจากรายงานขององค์การอนามัยโลก ปี 2558 จัดอันดับให้ไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกด้านอันตรายบนท้องถนน ก่อนที่ปี 2561 จะปรับลดลงมาอยู่ที่อันดับ 9 แต่ก็ยังจัดว่าอยู่ใน “ท็อปเทน” ที่ไม่น่าปลื้มใจสักเท่าไร

โดยเฉพาะ “เด็ก-เยาวชน” ถือเป็น “กลุ่มเสี่ยงสำคัญ” ไปไม่ถึงการเป็นอนาคตของชาติเพราะจบชีวิตลงเสียก่อน หรือที่ยิ่งไปกว่านั้นคือต้องกลายเป็นผู้พิการ ดังที่ก่อนหน้านี้ “ทีมงาน นสพ.แนวหน้า” เคยนำเสนอไปแล้วครั้งหนึ่ง (ยุคเกิดน้อย‘ผู้เยาว์’ทรัพยากรมีค่า ลงทุนลด‘เจ็บ-ตายบนถนน’จำเป็น : หน้า 17 ฉบับวันที่ 25 ต.ค. 2564) ซึ่งปัญณ์ จันทร์พาณิชย์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนามาตรการป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจร กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค เปิดเผยสถิติเด็กและเยาวชนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ในปี 2562 อันเป็นปีสุดท้ายก่อนที่ทั้งโลกจะล็อกดาวน์ ลดการเดินทางเคลื่อนย้ายจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19


พบว่า “จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ปี 2562 เป็นประชากรอายุ 15-19 ปี อยู่ที่ 2,183 คน คิดเป็นร้อยละ 10.96 ของผู้เสียชีวิตทุกกลุ่มอายุ ขณะที่ประชากรอายุ 10-14 ปี อยู่ที่ 651 คน คิดเป็นร้อยละ 3.2 ของผู้เสียชีวิตทุกกลุ่มอายุ” ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับ “พฤติกรรมการใช้จักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์)” โดยเด็กไทยเริ่มหัดขับขี่ที่อายุเฉลี่ย 10-14 ปี แต่ส่วนใหญ่เป็นการหัดด้วยตนเองบ้าง หรือคนใกล้ตัว เช่น พ่อแม่ พี่ รุ่นพี่เพื่อน ฯลฯ หัดให้บ้าง ซึ่งขาดการเรียนรู้ทักษะด้านความปลอดภัย และนำไปสู่ความสูญเสีย

นั่นจึงนำไปสู่แนวคิดการจัดทำ “หลักสูตรความปลอดภัยทางถนน” เพื่อให้ความรู้กับเด็กและเยาวชน แนวคิดนี้เคยใช้ได้ผลมาแล้วใน เกาหลีใต้ ย้อนไปในปี 2535 เคยมีเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี ตามนิยามขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ-OECD) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 1,114 ราย แต่เมื่อผ่านไป 20 ปี ในปี 2555 พบเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 110 รายลดลงอย่างเห็นได้ชัดถึง 10 เท่า

หนึ่งในเบื้องหลังของความสำเร็จคือการจัดทำหลักสูตรความปลอดภัยและสอนกันอย่างจริงจังตั้งแต่ชั้นอนุบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการแดนกิมจิ กำหนดให้จัดการศึกษาความปลอดภัยทางถนนประจำปีสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา อย่างน้อย 30 และ 23 ชั่วโมง ตามลำดับ มีการฝึกอบรมครูที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยที่โรงเรียน ผลิตและแจกจ่ายสื่อการสอนความปลอดภัยทางถนน ตลอดจนจัดศูนย์อุทยานจราจรสำหรับเด็ก

ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมา มีการเปิดตัว“VIA Road Safety Education Programme” หลักสูตรความปลอดภัยทางถนน นำร่องใน 5 โรงเรียนในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ และอีก 45 โรงเรียนใกรุงเทพมหานคร (กทม.) หลักสูตรนี้เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีการจำลองสถานการณ์ เช่น “การให้ผู้เรียนได้นั่ง ณ ที่นั่งคนขับของรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ แล้วมองหาเพื่อนๆ ที่ยืนถือป้ายตามจุดต่างๆ รอบตัวรถ” เพื่อเรียนรู้เรื่องของ “จุดบอด” หรือจุดที่ผู้ขับขี่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นจุดที่ต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่เพราะสุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุถูกเฉี่ยวชนได้

หรือ “การให้ผู้เรียนปิดตาแล้วเดินจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง” เพื่อให้ตระหนักความสำคัญของ “การมองทาง”โดยเฉพาะยุคปัจจุบันที่ผู้คนมักใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนกันแทบทุกขณะของชีวิต แต่การเดินเท้าหรือขับขี่ยานพาหนะแล้วสายตาจดจ่ออยู่กับมือถือ ก็เป็นพฤติกรรมเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเพราะไม่ได้มองเส้นทางที่อยู่ตรงหน้า รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่รายรอบ เป็นต้น

หลักสูตรนี้ได้รับการสนับสนุนโดย “มิชลิน-โททาล”แบรนด์ยางรถยนต์และน้ำมันเครื่องชื่อดังระดับโลก ซึ่งพรวดี ปิยะคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายความสัมพันธ์ภาครัฐ บริษัทสยามมิชลิน จำกัด เล่าว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและด้านความปลอดภัยบนท้องถนน ได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ปี 2560 และบริหารจัดการโดย Global Road Safety Partnership (GRSP) องค์กรที่ได้รับการสนับสนุนโดย สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of the Red Cross and Red Crescent Societies) เริ่มใช้ใน 2 ประเทศแรกคือ อินเดียกับฝรั่งเศส ก่อนขยายไปในอีก 30 ประเทศทั่วโลก โดยคัดเลือกจากประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนที่สูง

ด้าน ปาสคาล ลารอช (Pascal Laroche) ประธานกลุ่มบริษัทโททาลเอนเนอยี่ส์ ประเทศไทย กล่าวว่า หลักสูตรนี้จะสอนให้เด็กและเยาวชนมีคุณสมบัติติดตัวด้านความตระหนักในความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เริ่มโครงการนำร่องไปเมื่อเดือน มี.ค. 2564 กับ 5 โรงเรียนในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ และล่าสุดคือโครงการระยะที่ 2 ใน 45 โรงเรียนนำร่องในพื้นที่ กทม. ซึ่งจะมีนักเรียนได้รับประโยชน์ประมาณ 5,700 คน โดยมี AIP (มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย) เป็นผู้ดำเนินการด้านการปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประสบความสำเร็จ โครงการ VIA ต้องใช้เวลาดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่เด็กนักเรียนอายุ 10-18 ปี

เกรียงไกร จงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การสูญเสียชีวิตเด็กและเยาวชนซึ่งประเมินค่าไม่ได้จากอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นความท้าทายว่าจะทำให้ลดลงได้อย่างไร แต่ก็ต้องยอมรับว่าเด็กและเยาวชนอาจมีพฤติกรรมคึกคะนอง มีการลอกเลียนแบบจากเพื่อนๆ เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ต้องแว้น ซึ่งต้องช่วยกันสื่อสารว่านั่นเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการบาดเจ็บล้มตาย โครงการหลักสูตร VIA Road Safety Education Programme จึงเป็นการจุดประกายใหม่กับสังคม และคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า น่าจะมีเครือข่ายเข้าร่วมมากขึ้น

อรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงข้อมูลที่ระบุว่า ในจำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนเฉลี่ย 2 หมื่นรายต่อปี เป็นเด็กและเยาวชนประมาณ 3 พันรายต่อปี หากคิดเป็นรายเดือนจะพบว่ามีเด็กและเยาวชนเสียชีวิตบนท้องถนน 250 รายต่อเดือน หรือหากคิดเป็นรายวันจะอยู่ที่ 9 รายต่อวัน ซึ่งสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ความสูญเสียนี้เป็นเรื่องเจ็บปวดอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ลำพังผู้บริหารสถานศึกษาและครูอาจยังไม่เพียงพอ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วย อีกทั้งยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีพันธมิตรอีกหลายภาคส่วนมาร่วม รวมถึงให้มีการปฏิบัติได้จริง เพื่อให้โครงการนี้จะเกิดประโยชน์กับสังคมไทย โดยเฉพาะลูกหลานของเราซึ่งเป็นอนาคตของชาติได้ดีต่อไป!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’ รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’
  • รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา
  • รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ
  • รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  • รายงานพิเศษ : ‘นมจากพืช’ เชื่อมต่อสุขภาพที่ดี ทางเลือกใหม่ของคนแพ้นมวัว รายงานพิเศษ : ‘นมจากพืช’ เชื่อมต่อสุขภาพที่ดี ทางเลือกใหม่ของคนแพ้นมวัว
  • รายงานพิเศษ : ‘มันสำปะหลัง’ รุกตะวันออกกลาง โอกาสส่งออก ก้าวแรกสู่อุตฯใหม่ รายงานพิเศษ : ‘มันสำปะหลัง’ รุกตะวันออกกลาง โอกาสส่งออก ก้าวแรกสู่อุตฯใหม่
  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved