วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ‘ชุมชน-ท้องถิ่น’ฐานรากสำคัญ  ขยายแนวร่วมรู้ทัน‘ข่าวปลอม’

รายงานพิเศษ : ‘ชุมชน-ท้องถิ่น’ฐานรากสำคัญ ขยายแนวร่วมรู้ทัน‘ข่าวปลอม’

วันอาทิตย์ ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 06.50 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

ข่าวปลอม (Fake News) ข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ข้อมูลคลาดเคลื่อน (Misinformation) แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสังคมมนุษย์ แต่กลายเป็นปัญหารุนแรงในยุคดิจิทัลเนื่องด้วยทุกคนสามารถส่งต่อข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว “รู้เท่าทันสื่อ” (Media Literacy) จึงเป็นทักษะจำเป็น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการร่วมตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข่าวสารที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงไม่ได้มีแต่เฉพาะประเด็นใหญ่ๆ ระดับประเทศหรือโลกเท่านั้น แต่ยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหรือชุมชน ที่หลุดไปจากกลไกตรวจสอบซึ่งเน้นอยู่ที่ส่วนกลาง

จึงเป็นที่มาของการเปิดตัว “เครือข่ายตรวจสอบความจริงระดับภาค” ซึ่งเป็นการทำงานระหว่างนักวิชาการ สื่อมวลชนและภาคประชาชนในท้องถิ่น ร่วมกับ ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) ไปเมื่อช่วงต้นเดือน ธ.ค. 2564 โดยมีเรื่องเล่าจากหลากหลายจังหวัด อาทิ สุชัย เจริญมุขยนันท ผู้ก่อตั้ง Ubon Connectสื่อท้องถิ่น จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ชาวบ้านมีบทบาทสำคัญในการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่น่าสงสัยเข้ามา ซึ่งเมื่อได้รับแล้วตรวจสอบก็จะแจ้งกลับไปยังชาวบ้านอีกครั้งว่าข้อเท็จจริงของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร


จากแพลตฟอร์มโอเพนแชท (Open Chat) ให้ผู้คนในพื้นที่ จ.อุบลราชธานีได้เข้ามาสื่อสารพูดคุยกันเรื่องภัยพิบัติ โดยเครือข่ายนี้ได้ก่อตั้งขึ้นหลังเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ของจังหวัดเมื่อปี 2562 จากนั้นจึงขยายสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารที่แชร์กันในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งข้อมูลที่สรุปเป็นข้อเท็จจริงแล้ว จะถูกนำไปเผยแพร่ผ่านเพจเฟซบุ๊ค และช่องทางอื่นๆ ต่อไป

“สอบถามว่าจริงไหม? ตลาดหนองบัวปิด 3 วัน นี่เป็นเรื่องในท้องถิ่นที่ส่วนกลางไม่สนใจ เรื่องตลาดหนองบัว แต่ว่าเราสนใจ เราก็มีการตรวจสอบไปว่าปิด-ไม่ปิดจริง แล้วก็มีการสรุป หลังจากที่ได้ตรวจสอบแล้วก็มาสรุปว่า อ้อ!..เขาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ 3 วันนะ 29-31 (ตุลาคม 2564) ก็เป็นการตรวจสอบข่าวลวง-ข่าวจริงที่เกิดขึ้น” สุชัย ยกตัวอย่าง

สุชัย ยังยกตัวอย่างอื่นๆ ของการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนในพื้นที่ เช่น ประกาศเตือนพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในงานกฐินซึ่งเป็นงานใหญ่มีผู้มาร่วมงานจำนวนมาก ทุกคนก็จะเป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด แต่ต่อมาได้แก้ไขให้ถูกต้อง ว่ากลุ่มเสี่ยงที่อาจสัมผัสผู้ติดเชื้อคือกลุ่มที่ไปร่วมงานบวงสรวงพญานาคซึ่งใช้สถานที่เดียวกับงานกฐินเท่านั้น หรือข่าวโรงเรียนแห่งหนึ่งตรวจโควิด-19ด้วยวิธี ATK และพบผลเป็นบวก 2 คน แต่ข้อเท็จจริงคือ คนในโรงเรียนนั้นทุกคนเป็นผลลบทั้งหมด ส่วนผลบวก2 คนนั้นเป็นบุคคลภายนอกที่มาตรวจ เนื่องจากจุดตรวจตั้งอยู่ในโรงเรียน เป็นต้น

ที่ภาคเหนือ ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล อาจารย์คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เล่าถึงการส่งเสริมบทบาทนักเรียน-นักศึกษาซึ่งเป็น “คนรุ่นใหม่”มีการอบรมสร้างทักษะในการตรวจสอบข้อมูล (Fact Checker) โดยทำงานร่วมกับสื่อท้องถิ่น หลังจากนั้นจะได้ลงพื้นที่ไปทำงานกับชุมชน ทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) และประชาชนฐานราก เพื่อช่วยให้รู้เท่าทันข้อมูลบิดเบือนมากขึ้น มีการวัดผลทั้งก่อนและหลังทำโครงการทั้งนักศึกษาและประชาชน ภายใต้เป้าหมายการทำงานข้ามช่วงวัย ความคิดและศาสตร์วิชา

“สิ่งที่เราได้เริ่มทำแล้ว เยาวชนหรือนักศึกษาได้เริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลบิดเบือนในพื้นที่ และสร้างเป็นสื่อเพื่อเผยแพร่ทางช่องทางของ Cofact Youth Network (เครือข่ายเยาวชนโคแฟค) ซึ่งเป็นเพจเฟซบุ๊ค ก็เป็นข่าวในพื้นที่ เช่น มีโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ พบนักเรียนติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งน้องๆ
ก็ไปตรวจสอบ ซึ่งจริงๆ เป็นแค่ข่าวลวง ที่โรงเรียนทำประกาศอยู่นั้นเป็นแค่ประกาศการเรียนออนไลน์” ผศ.ดร.ณภัทร กล่าว

ภาคตะวันออก จักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์ นายกสมาคมสื่อสารมวลชน จ.ตราด เน้นย้ำถึงความสำคัญของสื่อมวลชนในฐานะผู้ตรวจสอบและรายงานข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริง โดยสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ ประชาชนก็จะเข้าไปสอบถามเมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารที่ยังไม่แน่ใจว่าจริงหรือไม่ เช่นกรณีของ “ตราดทีวี” กลายเป็นแหล่งข้อมูลของผู้ที่จะเดินทางเข้ามาในพื้นที่ จ.ตราด ในสถานการณ์โควิด-19 เช่น จะเข้าจังหวัดได้หรือไม่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

“เรื่องของสุขภาพ มันมีข่าวอันหนึ่งที่เราทำมา 10 กว่าปีแล้ว เรื่องเกี่ยวกับหาดทรายดำที่ จ.ตราด ปรากฏมีความเชื่ออันหนึ่งว่าไปหมกทรายแล้วเขาจะรักษาโรคได้ ซึ่งตรงนี้มันไม่ใช่เป็นความจริงแต่ว่าเป็นความเชื่อ ซึ่งตอนนี้เราก็ไปตรวจสอบมาแล้วว่าเป็น-ไม่เป็นความจริง” จักรกฤชณ์ กล่าว

ภาคใต้ ภญ.ชโลม เกตุจินดา กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภคภาคใต้ จ.สงขลา กล่าวว่า ทำงานด้านเฝ้าระวังการโฆษณาเกินจริงหรือสินค้าหลอกลวง มาตั้งแต่ยุคที่วิทยุและเคเบิลทีวีเฟื่องฟู แต่เมื่อช่องทางการสื่อสารที่ได้รับความนิยมเปลี่ยนไป วิทยุและโทรทัศน์ลดบทบาทลงแต่สื่อออนไลน์มาแรง เครือข่ายเฝ้าระวังจึงต้องได้รับการถ่ายทอดทักษะการใช้สื่อใหม่ด้วย

“สิ่งที่เราทำได้ก็คือกระบวนการสร้างทีมระดับจังหวัด จะมีกระบวนการอบรม มีหลักสูตรซึ่งต้องทำตั้งแต่พื้นฐานการใช้มือถือ แคป (Capture-จับภาพ) หน้าจอ คือกลุ่มที่เราทำงานด้วยอาสาสมัครที่เขาเรียกว่า Digital Immigrant (ผู้อพยพเข้ามาในยุคดิจิทัล) ก็คือไม่คุ้นมือถือ จะแคปหน้าจอ จะเก็บหลักฐานว่ามีการส่งข้อความแบบนี้ จะเก็บเข้าไลน์กลุ่มอย่างไร จะเก็บใส่ถังข้อมูลในไลน์กลุ่มอย่างไร จะกลับไปค้นดูข้อมูลเก่าอย่างไร เราก็ต้องมาฝึกอบรมเรื่องพวกนี้ว่าใช้ไลน์กลุ่มอย่างไร

ขณะเดียวกัน เราจะได้ข้อมูลชุดหนึ่ง อาสาสมัครแกนนำพวกเรา ไม่ว่าจะเป็น อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน) อพม.(อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หมู่บ้าน) แกนนำผู้ใหญ่บ้าน แกนนำในกลุ่มชุมชนต่างๆ ซึ่งเป็นกรรมการระดับผู้ใหญ่ 50-60 ปีขึ้นไป จะขาดศักยภาพเรื่องนี้มาก ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลเพราะเชื่อว่าคนดูให้แล้วถึงได้แชร์มาก็เลยแชร์ต่อ” ภญ.ชโลม ระบุ

การเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีและวิคราะห์ข้อมูลให้แกนนำเครือข่ายเหล่านี้ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีกลุ่มไลน์หลายกลุ่มเพราะต้องทำงานกับหลายภาคส่วน ภญ.ชโลม กล่าวว่า เท่ากับเป็นการแทรกซึมเข้าไปเพื่อให้ช่วยจัดการปัญหาตั้งแต่ต้นทาง ทั้งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในพื้นที่ ไปจนถึงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งช่วงหนึ่งจะมีประเด็นการนำสมุนไพรมาทำเป็นยา เป็นทางเลือกในการรักษาอาการป่วยจากไวรัสโควิด-19 จึงต้องรักษาสมดุลทั้งด้านข้อเท็จจริงและด้านการแสวงหาของประชาชนในการดูแลตนเอง

โดยเชื่อมั่นว่าคนกลุ่มนี้จะรู้เท่าทันทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลและประเด็นสุขภาพ!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา
  • รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ
  • รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  • รายงานพิเศษ : ‘นมจากพืช’ เชื่อมต่อสุขภาพที่ดี ทางเลือกใหม่ของคนแพ้นมวัว รายงานพิเศษ : ‘นมจากพืช’ เชื่อมต่อสุขภาพที่ดี ทางเลือกใหม่ของคนแพ้นมวัว
  • รายงานพิเศษ : ‘มันสำปะหลัง’ รุกตะวันออกกลาง โอกาสส่งออก ก้าวแรกสู่อุตฯใหม่ รายงานพิเศษ : ‘มันสำปะหลัง’ รุกตะวันออกกลาง โอกาสส่งออก ก้าวแรกสู่อุตฯใหม่
  • รายงานพิเศษ : สสส.สานพลังเครือข่าย อปท. ปกป้องพื้นที่ภาคใต้ไร้บุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า รายงานพิเศษ : สสส.สานพลังเครือข่าย อปท. ปกป้องพื้นที่ภาคใต้ไร้บุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า
  •  

Breaking News

ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'

'รังสิมันต์'เผย'นายกฯ-กต.'ให้ความร่วมมือน้อย! หลังไม่แจง กมธ.มั่นคงฯ ปมคลิปเสียง

'ชัยชนะ'มั่นใจคุณสมบัติ ชี้ไม่ใช่สายล่อฟ้าทำ'นายกฯ'หลุดเก้าอี้

'ญี่ปุ่น'แผ่นดินไหวทะลุ1,000ครั้ง! แถลงการณ์ฉุกเฉินสั่งปชช.เตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved