วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘หลายปี-กี่เทศกาล’ไม่ต่าง  ‘เจ็บ-ตายบนถนน’ฉากวนซ้ำ

สกู๊ปแนวหน้า : ‘หลายปี-กี่เทศกาล’ไม่ต่าง ‘เจ็บ-ตายบนถนน’ฉากวนซ้ำ

วันเสาร์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag :
  •  

“เริ่มต้นกันที่ Topic (หัวข้อ) พอกระจายข่าวไป พรรคพวกที่รู้จักกันก็หัวเราะ บอกคุณหมอรู้ไหมว่าที่ได้ไปต่อคือกุญแจรถ อันนี้เป็นคำพูดที่คนเขาพูดแล้วมันตกใจ เพราะมอเตอร์ไซค์ซื้อมาใช้แล้วก็ถูกชนเรียกว่ารถยับเยิน คนก็เสียชีวิตไปเลย เหลือแต่กุญแจรถ อันนี้ได้ไปต่อ ดาวน์รถก็ยังไม่หมดเลย เหลือแต่กุญแจรถส่งคืนไป ผมสะอึกเลยนะ เป็นตลกร้าย ก็น่าสนใจว่าวิธีการคิดที่มันสะท้อนจากเพียงคุยกับคนทั่วๆ ไป เขาก็บอกว่ามอเตอร์ไซค์ไงที่มันไม่ได้ไปต่อกันเยอะเลย”

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร รองประธานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) และอดีตเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวในวงเสวนา (ออนไลน์) หัวข้อ “จบเทศกาลปีใหม่...ใครได้ไปต่อ” จัดโดย แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) เมื่อช่วงต้นเดือนม.ค. 2565 สะท้อนภาพความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะกับผู้ใช้ “มอเตอร์ไซค์” หรือจักรยานยนต์ ซึ่งไม่ว่าจะผ่านไปสักกี่ปี “สถิติผู้บาดเจ็บล้มตายบนถนนเมืองไทย” ในกลุ่มผู้ใช้พาหนะ2 ล้อเครื่องนี้ “ยืนหนี่ง” มาทุกยุคสมัย


สำหรับสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วง “7 วันอันตรายปีใหม่ 2565” ระหว่างวันที่ 29 ธ.ค. 2564-4 ม.ค. 2565 เกิดอุบัติเหตุรวม 2,707 ครั้ง เสียชีวิต 333 รายบาดเจ็บ 2,672 คน แม้ในภาพรวมจะดูลดลง แต่สัดส่วนความสูญเสียกลับเทไปที่ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์อย่างมีนัยสำคัญ จากปีก่อนๆ ที่ผ่านมา ความสูญเสียที่เกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 70 แต่ในครั้งนี้ทะลุเกินร้อยละ 80 โดยตั้งข้อสังเกตว่า “ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ผู้คนหันมาเดินทางด้วยพาหนะส่วนบุคคลกันมากขึ้น และมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะราคาถูกที่สุด” ที่สามารถซื้อหามาใช้ได้

นพ.อนุชา กล่าวต่อไปว่า ด้วยระบบข้อมูลสารสนเทศที่พัฒนามากขึ้นทำให้มองเห็นภาพชัดขึ้น แต่ก็เป็นภาพเก่าๆ ที่ไม่ต่างจากเดิม ดังนั้นหากจะให้ประเทศเดินหน้าต่อก็ต้องล้างภาพเหล่านี้ให้ได้ เห็นได้จาก “ขับเร็ว-เมา-ตัดหน้ากระชั้นชิด” เป็นสาเหตุ3 อันดับแรกของความสูญเสียบนท้องถนนที่ปรากฏในข่าวทุกปี สื่อมวลชนเพียงคอยดูว่าเทศกาลใดปีไหนสาเหตุอะไรจะอยู่อันดับ 1-2-3 เท่านั้น

ในความพยายามแก้ปัญหา หนึ่งในมาตรการสำคัญคือ “บังคับตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย” หากเป่าลมหายใจไม่ได้ก็ใช้วิธีเจาะเลือด เรื่องนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีแนวปฏิบัติว่าหากทางตำรวจส่งมาก็ตรวจให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งทำให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเบาใจได้ว่าไม่ต้องมีภาระในส่วนนี้ ทำให้ข้อมูลการดื่มแล้วขับมีความชัดเจนขึ้น แต่ขั้นต่อไปคือจะทำอย่างไรให้โทษหนักขึ้นด้วย โดยเฉพาะประเภท “ผิดซ้ำซาก” เคยถูกจับดื่มแล้วขับแล้วก็กลับไปทำแบบเดิมอีก

แต่นอกจากการดื่มแล้วขับ “ความเร็ว” ก็เป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มความสูญเสีย โดยเฉพาะเมื่อไปบวกกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนเมาแล้วยังขับขี่ด้วยความเร็วสูง ง่วงนอนแล้วยังขับขี่ด้วยความเร็วสูง หรือแม้จะไม่ได้ดื่มหรือง่วง แต่เมื่อใช้ความเร็วสูงแล้วไปเจอพาหนะคันอื่นตัดหน้า โอกาสเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนก็สูงขึ้น อีกด้านหนึ่ง “การที่สามารถตกลงกันเงียบๆ ระหว่างผู้ก่อเหตุกับผู้เสียหายหลังเกิดเหตุ เป็นอีกปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน” ไม่ว่าสาเหตุมาจากดื่มแล้วขับหรือขับรถเร็ว

“เราจะต้องมีปรากฏการณ์ของการทำให้เห็นเลยว่า การขับรถไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วสูงหรือเรื่องการเมา กฎหมายต้องพยายามพูดดังๆ สื่อต้องพูดดังๆ ว่า 3-4 อย่างมันเป็นต้นเหตุที่เป็นฐานของทุกอย่าง แล้วสัญญาณที่ออกไปให้ชัดเจน ก็เหมือนที่เราสงสัยว่าลูกบิ๊กบางคนที่ขับรถเร็วมาก ไปวุ่นวายกับเรื่องวัดความเร็วอยู่นั่น เหตุผลก็เพราะว่าถ้าสามารถยืนยันได้ว่าเร็วมากในการที่ไม่ควรจะเร็ว ก็จะเป็นตัวสะท้อนกลับไปให้ระบบความยุติธรรม หรืออะไรต่อมีอะไรเล่นงานให้เห็นชัดที่สุด” นพ.อนุชา ระบุ

รองประธานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด ยังกล่าวอีกว่า “คนไทยยังไม่ถูกสอนให้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยเท่าที่ควร” เช่น วันนี้จะไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ จะวางแผนการเดินทางอย่างไรโดยไม่ต้องขับรถเอง หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันยามขับขี่อย่างหมวกกันน็อกหรือเข็มขัดนิรภัย ดังที่เห็นว่าผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่ใช้เครื่องป้องกันดังกล่าว

ขณะที่ รศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐพงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงส่งท้ายปีเก่า 2564-ต้อนรับปีใหม่ 2565 เท่าที่ติดตามสถานการณ์อยู่ที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) พบว่า “ผู้เสียชีวิตจากการใช้มอเตอร์ไซค์ เกือบทุกรายไม่สวมหมวกกันน็อก” ซึ่งก็ไม่ต่างจากรถยนต์ที่ผู้เสียชีวิตมักไม่คาดเข็มขัดนิรภัย บวกกับ “ปัจจัยเดิมๆ” ที่พบตลอดมาอย่าง “เมา” การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่ยานพาหนะ และ “ซิ่ง” ใช้ความเร็วสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

“ปีนี้เคสส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นแล้วเรารู้สึกหดหู่ คือส่วนใหญ่ตายเพราะถูกรถที่เมามาชน มอเตอร์ไซค์ที่ตาย หลายๆ เคสพบว่าถูกรถยนต์ที่เมาแล้วขับมาชน คนที่เมาเราก็แปลกใจว่าทำไมคนที่เมาส่วนใหญ่ไม่ตาย คนที่โดนชนจากคนเมามักจะตาย คือเราขับมาอยู่ดีๆ แล้วโดนคนเมาขับมาชนน่ากลัวมากเรื่องเมาแล้วขับ” ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย กล่าว

รศ.ดร.กัณวีร์ อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นการตัดหน้ากระชั้นชิดว่าน่าจะหมายถึงเหตุเกิดบริเวณทางแยกหรือจุดกลับรถ โดยเฉพาะ “เกาะสี” หรือพื้นถนนที่มีการทาสีตรงกลางแบ่งช่องจราจรขาเข้า-ขาออกไว้ ซึ่งหลายครั้งผู้ขับขี่ฝ่ายหนึ่งจะเลี้ยวขวาเข้าซอยโดยขับขี่ลัดเกาะสี ในขณะที่ผู้ขับขี่อีกฝ่ายก็ขับรถสวนมาด้วยความเร็วในทางตรงฝั่งตรงข้ามทำให้เกิดการชนกันได้

นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรม “ขับช้าแซงขวา” หมายถึงโดยปกติแล้วช่องจราจรขวาสุดมีไว้เพื่อใช้ความเร็วแซงรถคันหน้าแล้วกลับเข้าไปอยู่ในช่องจราจรทางซ้าย แต่ก็มีผู้ขับขี่ในช่องจราจรขวาสุดแล้วก็ไม่ได้ขับเร็ว ส่งผลให้รถคันอื่นที่ตามหลังมาไม่สามารถใช้ช่องขวาสุดเพื่อเร่งแซงได้ ก็ต้องไปแซงทางซ้ายที่รถในช่องนั้นใช้ความเร็วช้ากว่าแล้วก็เกิดอุบัติเหตุ แต่อีกด้านหนึ่ง “ขวาเร็วแล้วก็ยังมีพวกเร็วกว่าขับจี้ท้าย” อีกทั้งเปิดไฟสูงใส่ แบบนี้เรียกพฤติกรรมขับขี่แบบก้าวร้าวก็เป็นความเสี่ยงอีกเช่นกัน

รศ.ดร.กัณวีร์ ยังกล่าวอีกว่า เมื่อดูสถิติการเกิดอุบัติเหตุตามช่วงเวลาเป็นรายชั่วโมง พบว่า “กลางคืน=เสี่ยงสูง” เนื่องจากมีการบังคับใช้กฎหมายน้อยกว่าช่วงกลางวัน ทำให้อุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีสาเหตุจากความเร็วเกิดในช่วงกลางคืนสูงกว่ากลางวัน โดยเฉพาะเมื่อประกอบกับผู้ขับขี่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนเมาก็มักจะขับขี่ด้วยความเร็วสูง โอกาสเกิดอุบัติเหตุก็ยิ่งมากขึ้น

“การบังคับใช้กฎหมายเรื่องการขับรถเร็วมาก-น้อยแค่ไหน ก็ปรากฏว่ามันยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเรายังดูจำนวนผู้ที่ถูกดำเนินคดีเรื่องของการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดก็ค่อนข้างน้อยมาก อย่างดื่มแล้วขับการบังคับใช้กฎหมายค่อนข้างเข้มข้น มีการตรวจเลือดตรวจลมหายใจ แต่เรื่องเร็ว เรื่องของการตรวจจับความเร็วต้องบอกได้เลยว่ายังน้อยอยู่มากๆ ถ้าเทียบกับประเทศที่มีระบบการจัดการความเร็วที่ดี” รศ.ดร.กัณวีร์ ระบุ

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.จับมือเครือข่ายเนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ชวนคนไทย‘วางแก้วเหล้า ตั้งสติ คิดดี สร้างชีวิตที่ดี’ สกู๊ปพิเศษ : สสส.จับมือเครือข่ายเนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ชวนคนไทย‘วางแก้วเหล้า ตั้งสติ คิดดี สร้างชีวิตที่ดี’
  • รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’ รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’
  • \'รางจืด\' พืชมหัศจรรย์! ล้างพิษโลหะหนัก แก้พิษยาบ้า-สุรา-แมงดาทะเล \'อภัยภูเบศร\' ยกผลวิจัยหนุนชัด 'รางจืด' พืชมหัศจรรย์! ล้างพิษโลหะหนัก แก้พิษยาบ้า-สุรา-แมงดาทะเล 'อภัยภูเบศร' ยกผลวิจัยหนุนชัด
  • ‘บัตรทอง’กับเสียงสะท้อนผู้รับบริการ ‘บัตรทอง’กับเสียงสะท้อนผู้รับบริการ
  • มีอยู่จริง..แม้รัฐบอกว่าไม่! ‘ขายบริการ’กฎหมายอย่างไรดี? มีอยู่จริง..แม้รัฐบอกว่าไม่! ‘ขายบริการ’กฎหมายอย่างไรดี?
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘Thailand Brainpower Briefing 2026’ พลังสมอง ประกายแห่งนวัตกรรม ขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น ‘Smart Nation’ สกู๊ปพิเศษ : ‘Thailand Brainpower Briefing 2026’ พลังสมอง ประกายแห่งนวัตกรรม ขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น ‘Smart Nation’
  •  

Breaking News

พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved