วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ถนน‘หลุม-เนิน-ไม่เรียบ’  ทุกข์ชาวกรุง‘รถพัง-คนเสี่ยง’

สกู๊ปแนวหน้า : ถนน‘หลุม-เนิน-ไม่เรียบ’ ทุกข์ชาวกรุง‘รถพัง-คนเสี่ยง’

วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

เป็นที่ทราบกันดีว่า “ถนนเมืองไทยขึ้นชื่อเรื่องความอันตราย” จากสถิติอุบัติเหตุที่อยู่อันดับต้นๆ ของโลกเสมอมา ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน มักพุ่งเป้าไปที่พฤติกรรมการขับขี่ของคน ในขณะที่อีก 2 ปัจจัยอย่างยานพาหนะ รวมถึง “สภาพถนน” ซึ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนัก แม้กระทั่งเมืองหลวงอย่าง กรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็พบปัญหาไม่น้อย

ธนดล ภัควพล อายุ 26 ปี พนักงานเอกชน เป็นคนหนึ่งที่ขี่มอเตอร์ไซค์ไป-กลับที่ทำงานทุกวัน กล่าวว่า ความปลอดภัยในการขับขี่รถบนถนนในกรุงเทพฯ นั้นน้อยมากทั้งเรื่องถนนที่ไม่สะดวก หยาบ และอันตราย บวกกับการขับขี่รถของคนในกรุงเทพฯ ก็ไม่ค่อยจะระวังกันเท่าไหร่ ทั้งฝ่าไฟแดงหรือการเปลี่ยนเลนกะทันหัน ซึ่งเป็นกันทั้งรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ จึงรู้สึกว่ามีอันตรายพอสมควร


“สำหรับถนนในต่างจังหวัดไม่ค่อยจะต่างกับถนนกรุงเทพฯมากสักเท่าไหร่ แต่ในต่างจังหวัดถ้าเป็นในเมืองถนนจะดีกว่ากรุงเทพฯ ไม่ค่อยมีหลุม-บ่อ หรือคลื่นให้เห็น หรือพบเจอเท่าในกรุงเทพฯทั้งที่เป็นเมืองหลวง เมืองที่ควรเจริญในทุกด้านแต่กลับแก้ปัญหาเรื่องถนนไม่จบสิ้น ดังนั้น เมื่อใกล้จะเลือกตั้งแล้วจึงอยากฝากถึงผู้ว่าฯ คนใหม่ที่จะเข้ามาบริหาร อยากให้ปรับแก้เรื่องที่ถนนมันเป็นหลุมเป็นบ่อที่ไม่มีความสม่ำเสมอกัน เพราะมันอันตรายมากถ้าขับมาด้วยความเร็ว และยังมีเศษตะปูหรืออะไรต่างๆ ที่ตกอยู่ที่พื้นพอขับรถผ่านไปยางจะแตกบ่อยๆ”ธนดล กล่าว

ธนดล ยังกล่าวอีกว่า อยากให้ถนนไม่มีน้ำขังเวลาฝนตก อยากให้ปรับแบบไม่ต้องมีคลื่น ซึ่งถนนกรุงเทพฯ ชอบมีลูกคลื่น เป็นอันตรายต่อรถคนขับและคนซ้อน และที่สำคัญปัญหาการคมนาคมที่อยากให้แก้ ด้วยค่าเดินทางแสนแพงสวนทางกับรายได้ที่ได้รับ เมื่อคำนวณค่าเดินทางรถโดยสารกับรถส่วนตัวที่ไม่ต่างกันมาก ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกใช้รถส่วนตัวมากกว่าก่อให้เกิดปัญหารถติดตามมา หากปรับแก้ค่าโดยสารและทำคมนาคมดีขึ้น คาดว่าคนจะหันใช้บริการรถโดยสารมากกว่ารถส่วนตัวแน่นอน

เช่นเดียวกับ ภิรมย์ จันทร์สุระคนธ์ ซึ่งขับรถไปทำงานและทำธุระต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอยู่บ่อยครั้งตั้งข้อสังเกตว่า สภาพถนนต่างจังหวัดค่อนข้างสะอาด มีเส้นแบ่งการจราจรที่ชัดเจน มีป้ายจราจรคอยเตือนตามแยกต่างๆ รวมถึงบริเวณทางโค้งหรือจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และโดยส่วนใหญ่ถนนมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่ปลูกประดับทั้งสองข้างทาง และเกาะกลางถนนโดยมีเจ้าหน้าที่แต่ละเขตรับผิดชอบ ดูแลตัดแต่งกิ่งให้สวยงามไม่กีดขวางการจราจรทำให้ปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน สร้างความสวยงามให้ถนนเส้นนั้นๆ

ซึ่งจะแตกต่างจากถนนในกรุงเทพฯ ที่มีการจราจรแออัด ทั้งคนและรถยนต์ สาเหตุนี้เข้าใจได้เพราะมีประชากรอยู่มาก แต่ยิ่งเป็นเขตชุมชนที่มีประชากรอยู่หนาแน่น ก็ยิ่งต้องดูแลเรื่องถนนหนทาง รวมถึง ป้ายและสัญญาณเตือนไฟจราจรต่างๆ ตามแหล่งชุมชน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดรวมถึงต้องคอยกวดขันเรื่องวินัยจราจร แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้ขับรถยนต์เอง และ ประชาชนที่เดินทางเท้า

“ตัวอย่างเช่น ทางม้าลาย ควรจะปรับปรุงทาสีให้มีเส้นทางม้าลายให้ชัดเจนทั้งย่านชุมชนและตามตรอกซอกซอย รวมถึงทางโค้ง ทางอันตรายต่างๆ ทั้งทางยกระดับและทางราบ ควรมีการแจ้งเตือนผู้ขับรถยนต์ นอกจากนี้ ถนนควรมีความสะดวก สะอาด ปลอดภัยเพราะท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เป็นพ่อเมืองเป็นความหวังเดียวที่จะช่วยเหลือประชาชนให้กินดี อยู่ดี มีสุขได้ปลอดภัย นั่นเอง จึงอยากขอฝากถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพฯคนใหม่ ที่กำลังจะเข้ามารับตำแหน่งในเร็ววันนี้ ให้ช่วยดูแลเรื่องการจราจร รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายจราจร รวมถึงผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวดมากกว่านี้ สังเกตได้จากการเกิดเหตุบนท้องถนนอย่างที่ผ่านๆ มา” ภิรมย์ กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.ศิรดล ศิริธร อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายการก่อสร้างและซ่อมแซมถนน ว่า ถนนมีด้วยกัน 2 แบบ คือ 1.ถนนคอนกรีต ข้อดีคือมีความทนทานสูง ไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยๆ เหมาะสมกับถนนที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น แต่ข้อเสียคือราคาแพง และแม้จะไม่ต้องซ่อมแซมบ่อย แต่เมื่อจะซ่อมแซมก็มีขั้นตอนยุ่งยาก เนื่องจากต้องตัดแผ่นคอนกรีตแล้วยกออก มีการเทปูนประสาน ไม่ต่างจากการก่อสร้างอาคาร กับ 2.ถนนยางมะตอยหรือแอสฟัลต์ (Asphalt) ข้อดีคือมีราคาไม่แพง ส่วนข้อเสียคือความทนทานน้อยกว่าถนนคอนกรีต

จึงนิยมใช้เป็นถนนสายรอง รวมถึงแพน้ำ ซึ่งกรุงเทพฯ หรือแม้แต่ประเทศไทยในภาพรวม ถนนมีโอกาสเจอน้ำท่วมได้ง่าย ถนนยางมะตอยเมื่อน้ำซึมลงไปจะไปเซาะชั้นดินที่อยู่ด้านล่างออก ถนนจึงเกิดรอยแตกและทรุดตัวลง จนกลายเป็นหลุมบ่อในที่สุด ส่วนการซ่อมแซมหากทำแบบละเอียดก็ต้องตรวจสอบว่าน้ำเข้าไปทางไหนแล้วก็ปิดทางนั้น แต่ไม่ว่าจะเป็นถนนคอนกรีตหรือถนนยางมะตอย ข้อจำกัดคือ “ผู้ใช้รถใช้ถนนรอนานไม่ไหว” ทำให้ผู้ทำหน้าที่ซ่อมแซมถนนไม่อาจทำงานแบบประณีตได้ แม้การเร่งเปิดการจราจรจะมีคำถามเรื่องความปลอดภัยก็ตาม

“..ปิดถนนซ่อม ปิดนานขนาดไหน ปิดไม่ไหว เราก็เลยใช้วิธีเอายางมะตอยหรือแอสฟัลต์มาช่วยในการซ่อม แทนที่จะซ่อมดีๆ ทีเดียว เราก็จะซ่อมแบบชั่วคราว มันก็จะมีเทคนิคต่างๆ ในการซ่อม เอายางมะตอยมาอุดตามรอยที่มันแตก หรือไม่ก็ผสมยางมะตอยร้อนมาโปะเอาไว้ อะไรทำนองนั้น มันก็จะมีหน้าตาแบบนี้ หรือไม่บางทีก็เอายางมะตอยมาราดทับตัวคอนกรีตเข้าไปอีกทีหนึ่ง ทีนี้ยางมะตอยแป๊บเดียวมันก็แห้ง มันก็เปิดใช้ได้เลยแต่การทำแบบนั้นมันก็เหมือนเป็นการทำชั่วคราว แต่เราทำกันจนเหมือนเป็นวิธีการทำโดยถูกต้องกันไปแล้ว..

..ถ้าทำดีๆ มันต้องมานั่งดูว่าน้ำมันเข้าไปอย่างไร มันจะต้องไปบล็อกน้ำ ต้องไปอะไรพวกนี้ ซึ่งก็อีกนั่นแหละ เราก็จะหงุดหงิดหน่อยเวลาที่มันใช้เวลานานๆ เลย เขาก็จะใช้อย่างนี้ เอาแอสฟัลต์กลบ ทีนี้มันก็จะมีเทคนิคหลายๆ เทคนิค ถ้ามันเป็นหนักก็จะต้องทำซีล (Seal-ปิดผนึก) แบบหนึ่ง ถ้ามันเป็นน้อยๆ ก็ทำซีลอีกแบบหนึ่ง ซีลก็คือเหมือนเอาแอสฟัลต์ไปอุดรอยตามที่ต่างๆ เป็นเหตุผลที่ทำไมเราจะเห็นแปะๆ ไป จริงๆ หลักๆ มันคือวิธีการทำให้เร็ว เพื่อสามารถเปิดถนนให้ใช้ได้เร็วที่สุด..” ผศ.ดร.ศิรดล อธิบายการซ่อมถนนทั้ง 2 ประเภท

อนึ่ง ผศ.ดร.ศิรดล ยังกล่าวถึง “สภาพถนนที่ไม่เอื้อให้ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ปฏิบัติตามกฎจราจรได้” เช่น ถนนสายหลักที่ต้องใช้สะพานกลับรถ ขณะเดียวกัน ถนนซอยย่อยๆ
ก็ไม่เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ เป็นที่มาของพฤติกรรมการขับขี่ย้อนศรทั้งบนถนนและขึ้นบนทางเท้า เพราะระยะทางไปถึงสะพานกลับรถอยู่ไกลเมื่อเทียบกับการย้อนศร จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าคิดว่าจะแก้ไขอย่างไร

ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงอำนาจหน้าที่ก่อสร้าง ซ่อมแซม และบริหารจัดการถนน ซึ่งคาบเกี่ยวหลายหน่วยงาน ไม่ใช่เฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เช่น กรุงเทพมหานคร) เพียงหน่วยงานเดียว ก็เป็นอีกข้อจำกัดสำคัญ ในการทำให้โครงข่ายถนนในไทยสะดวกและปลอดภัย!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

เมกะดีล!! 'ทรัมป์-อินโดฯ' ลดภาษีครั้งใหญ่ แลกการค้า 19.5 พันล้านดอลลาร์

‘เพื่อไทย’โร่เคลียร์ 4 ข้อกังขา‘รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย’ รับเป็นนโยบาย‘ประชานิยม’

นั่งวิลแชร์แจ้งความ! หนุ่มอังกฤษใช้บริการสาวคลายเหงา ถูกลักทรัพย์เกลี้ยง

กว่าจะเคลียร์กันได้! ต่างชาติจ้างแท็กซี่ส่งพัทยา จ่ายค่ารถไม่ครบ เสนอกัญชาแทนเงินสด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved