วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : เตรียมก่อนแก่รับสังคมสูงวัย  หลายปัจจัยเสี่ยงไทยต้องปรับ

สกู๊ปแนวหน้า : เตรียมก่อนแก่รับสังคมสูงวัย หลายปัจจัยเสี่ยงไทยต้องปรับ

วันอาทิตย์ ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“อย่างที่ได้ทราบกันทั่วไปว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสมบูรณ์ หรือ complete agedsociety ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา โดยปัจจุบันเรามีผู้สูงอายุทั่วประเทศประมาณเกือบ 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้จะเห็นว่า เราจะเริ่มพบประเด็นความขัดแย้งทางความคิด หรือความคิดเห็นของคนในสังคมเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องของการทำอย่างไรที่เราจะเตรียมตัวให้สังคมไทยมีความพร้อมในการที่จะรองรับสังคมผู้สูงอายุระดับสมบูรณ์แล้วก็ระดับสุดยอดต่อไปในอนาคต”

นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ (มส.ผส.) กล่าวนำในเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ “ความคาดหวัง การเตรียมความพร้อม และการเข้าถึงบริการทางสังคม เพื่อการสูงวัยอย่างมีพลัง” ณ รร.แกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ ฟอร์จูน แยกพระราม 9 ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมรับสังคมสูงวัย ที่ประชากรวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


งานวิชาการครั้งนี้ร่วมจัดโดย มส.ผส.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ภายในงานมีการนำเสนองานวิจัย 2 เรื่อง โดยนักวิชาการจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.จงจิตต์ฤทธิรงค์ นำเสนอในหัวข้อ “ความคาดหวังการวางแผน และการเตรียมตัวของประชากรวัยทำงานต่างรุ่นอายุ และรูปแบบการอยู่อาศัยต่อชีวิตในวัยสูงอายุ” เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-20 ก.ย. 2564 ได้กลุ่มตัวอย่าง 1,734 คน

ทั้งหมดเป็นประชากรวัยแรงงาน อายุ18-59 ปี โดยแบ่งเป็น 3 รุ่น คือ Generation X (เกิดปี 2503-2522 อายุ 42-61 ปี) Generation Y (เกิดปี 2523-2537 อายุ 27-41 ปี) และ Generation Z (เกิดปี 2538-2553 อายุ 11-26 ปี) แบ่งผู้ตอบแบบสอบถามเป็น Generation X (อายุ 42-59 ปี) 418 คน Generation Y (อายุ 27-41 ปี) 748 คน และ Generation Z (อายุ 18-26 ปี) 568 คน นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายกลุ่ม 25 กลุ่ม จำนวน 126 คน

มีข้อค้นพบที่น่าสนใจหลายประการ อาทิ 1.การตระหนักถึงสังคมสูงอายุในประเทศไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28 หรือ 1 ใน 4 ยังไม่ตระหนักถึงสถานการณ์สังคมสูงวัย ร้อยละ 72 ทราบว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว ร้อยละ 35 ทราบว่า คนไทยจะมีชีวิตยืนยาวตั้งแต่อายุ 90-100 ปี และ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 มองว่า อายุเริ่มต้นของผู้สูงอายุควรเป็น 65 ปีขึ้นไป 2.ความคาดหวังในการทำงานเพื่อสร้างรายได้ พบความแตกต่างกัน ในขณะที่คน Generation X ต้องการทำงานต่อหลังอายุ 60 ปี แต่คน Generation Z ต้องการหยุดทำงานก่อนอายุ 60 ปี

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่ม Generation X หากเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับบำนาญหรือเงินออมเพียงพอ จะไม่ได้คิดถึงการทำงานหลังอายุ 60 ปี 3.การดูแลสุขภาพ สุขภาพดีคือความมั่นคง ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งเพิ่มมูลค่า เพราะการมีสุขภาพดีร่างกายแข็งแรง นอกจากจะลดภาระค่าใช้จ่ายรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานสร้างรายได้พึ่งพาตนเองได้ยาวนานขึ้นด้วย

โดยในปี 2559 เคยมีการศึกษาความคุ้มค่าด้านสุขภาพหากบุคคลเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่อายุ 20 ปี ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นตัวเงินพบว่า เพศชายจะอยู่ที่ 1.6 ล้านบาท ส่วนเพศหญิงจะอยู่ที่ 3.7 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม พบว่าร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง ระบุว่า ไม่ได้ออกกำลังกายเลย นอกจากนี้ 1 ใน 5 ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง ไม่ได้เตรียมตัวด้านสุขภาพ จึงมีข้อเสนอแนะให้สร้างความตระหนักกับประชาชนในเรื่องนี้

“ในแบบสอบถามก็มีข้อคำถามให้ผู้ตอบแบบสอบถามระบุสถานะสุขภาพ 0 คือแย่ที่สุด และ 10 คือดีที่สุด ใช้คะแนนระดับ 7 ขึ้นไป ใช้เกณฑ์ที่ระดับ 7 เป็นเกณฑ์ว่าผู้ตอบแบบสอบถามสุขภาพดีหรือไม่ Generation Z อายุ 18-26 ปี ที่คิดว่าตัวเองสุขภาพดี ที่ 57.6% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่า Generation X และ Generation Y ที่อายุมากกว่าเสียอีก พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของทุกรุ่น โดยเฉพาะ Generation Y และ Generation Z พักผ่อนและออกกำลังกายไม่เพียงพอ หลายคนนอนดึกเพราะดูซีรี่ส์และเล่นเกม โดยเฉพาะช่วง Work from Home แล้วก็เรียนออนไลน์ ก็ใช้ชีวิตกันหักโหมมาก”รศ.ดร.จงจิตต์ กล่าว

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังมี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 ที่ให้สิทธิบุคคลสามารถทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ซึ่งพบว่า ร้อยละ 77 ของกลุ่มตัวอย่าง ไม่ต้องการเป็นภาระครอบครัว จึงไม่ต้องการให้ยื้อชีวิตไว้หากอยู่ในภาวะโคม่า และต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเอกสารแสดงเจตนาหรือวางแผนวิธีการรักษาพยาบาลล่วงหน้า หรือยุติการรักษาพยาบาลในกรณีที่ตนเองไม่สามารถตัดสินใจได้

4.การเงิน พบความคาดหวังที่สวนทางกับความจริง กล่าวคือในขณะที่ประชาชนคิดว่าเงินออมที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณอยู่ที่ 1-2 ล้านบาท แต่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คำนวณไว้ที่ 7.48 ล้านบาท นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ออมเงินด้วยการฝากธนาคาร ร้อยละ 73.2 รองลงมา ร้อยละ 35.4 และประกันชีวิตแบบออมหรือบำนาญ ร้อยละ 21.2 โดยสรุปคือเป็นการออมเพื่อเก็บ มากกว่าออมเพื่อลงทุนสร้างรายได้ 5.การอยู่อาศัย ร้อยละ 56.1 ต้องการอยู่อาศัยที่เดิมเมื่อเป็นผู้สูงอายุ

ด้าน รศ.ดร.ศุทธิดา ชวนวัน นำเสนอในหัวข้อ “การเข้าถึงระบบบริการทางสังคมของประชากรในครัวเรือนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุที่มีรูปแบบของการอยู่อาศัยต่างกัน เพื่อนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนการบริการที่เหมาะสม” ซึ่งพบว่า “จำนวนประชากรที่อยู่คนเดียว หรือมีแนวโน้มอยู่คนเดียวเพิ่มสูงขึ้น” อย่างไรก็ตาม สังคมชนบท ผู้สูงอายุมักไม่ได้อยู่คนเดียวจริงๆ เพราะยังมีลูกหลานญาติพี่น้องอยู่ใกล้ๆ ในละแวกบ้าน

ในช่วงท้าย รศ.ดร.ศุทธิดา ได้ตอบข้อซักถามจากสื่อมวลชน กรณีข้อสังเกตเรื่องชุมชนเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่ผู้คนมีลักษณะต่างคนต่างอยู่หรือตัวใครตัวมัน ต่างจากชนบทหรือแม้แต่เมืองในจังหวัดอื่นๆ ที่ชุมชนเข้มแข็งมีความสามัคคีร่วมดูแลกันและกันมากกว่า ว่า รูปแบบที่อยู่อาศัยมีผลต่อความแตกต่างกันของชุมชน อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่า การสร้างระบบดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเมือง จำเป็นต้องดึงคนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

“ปัญหาที่เจอคือ พื้นที่แออัดในกรุงเทพฯ ประเด็นหลักๆ เลยคือได้รับการสะท้อนว่าไม่มีพื้นที่สาธารณะ อันนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่เขามองว่า ในลักษณะของการมีกิจกรรมมาทำร่วมกัน ในการเข้าถึงกลุ่มประชากรที่อยู่ที่บ้าน ไม่มีพื้นที่สำหรับรวมกลุ่มหรือทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยให้รู้จักเพื่อนบ้านหรือรู้จักคนในชุมชน ตรงนี้ก็ได้รับการสะท้อนมาว่าถ้ามีพื้นที่สาธารณะตรงกลาง สามารถมาทำอะไรด้วยกัน ก็น่าจะทำให้เรื่องของการดำเนินงานในการดูแลผู้สูงอายุไม่ว่าจะอยู่คนเดียวหรือมีลูกหลายอาศัยอยู่ด้วย ก็จะดำเนินการได้ครอบคลุมมากขึ้น” รศ.ดร.ศุทธิดา ระบุ

SCOOP@NAEWNA.COM

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ข้ามชาติ’ปรับตัวใต้ข้อจำกัด  เรื่องเล่ายุคโควิดที่‘เชียงใหม่’ สกู๊ปแนวหน้า : ‘ข้ามชาติ’ปรับตัวใต้ข้อจำกัด เรื่องเล่ายุคโควิดที่‘เชียงใหม่’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ย้อนมอง‘เมืองกรุง’ยุคโควิด  ‘เปราะบาง-เหลื่อมล้ำ’ภาพชัด สกู๊ปแนวหน้า : ย้อนมอง‘เมืองกรุง’ยุคโควิด ‘เปราะบาง-เหลื่อมล้ำ’ภาพชัด
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘นักชิม’อาชีพทางเลือก  เอื้อศักยภาพ‘ผู้พิการสายตา’ สกู๊ปแนวหน้า : ‘นักชิม’อาชีพทางเลือก เอื้อศักยภาพ‘ผู้พิการสายตา’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ธัชภูมิ’แหล่งรวมความรู้  ‘ธงนำ’พัฒนาระดับพื้นที่ สกู๊ปแนวหน้า : ‘ธัชภูมิ’แหล่งรวมความรู้ ‘ธงนำ’พัฒนาระดับพื้นที่
  • สกู๊ปแนวหน้า : กฎหมาย‘ทรมาน-อุ้มหาย’  นับถอยหลัง‘บังคับใช้vsเลื่อน’ สกู๊ปแนวหน้า : กฎหมาย‘ทรมาน-อุ้มหาย’ นับถอยหลัง‘บังคับใช้vsเลื่อน’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ไรเดอร์’เสี่ยง!..แลกเลี้ยงชีพ  ‘ควบคุม-คุ้มครอง’รอรัฐยื่นมือ สกู๊ปแนวหน้า : ‘ไรเดอร์’เสี่ยง!..แลกเลี้ยงชีพ ‘ควบคุม-คุ้มครอง’รอรัฐยื่นมือ
  •  

Breaking News

‘ศุภชัย’ เผย ‘ศักดิ์สยาม’ ร้อง ‘ชวน’ ทิ้งคำร้องฟันพ้นเก้าอี้ ‘รมว.คมนาคม’ วอนฝ่ายค้านหยุดใส่ร้าย ปมถือหุ้น

มีอะไรพิเศษ?!พรเพชรเปิดตัวเลข‘ส.ว.’โดดร่ม ‘ชวน’กรีดกลัวแก้รธน.ด่าตัวเอง

'แต้ว ณฐพร'สวมผ้าไทยเข้าวัด เสริมสิริมงคลในวันเกิด

ศาลฎีกาให้ประกัน ‘สมบัติ ทองย้อย’ อดีตการ์ดเสื้อเเดงในคดี112 เเต่ยังติดคดี ดูหมิ่น ‘บิ๊กตู่’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved