วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์  เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วยงานวิจัย

สกู๊ปพิเศษ : ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วยงานวิจัย

วันอาทิตย์ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้จะเริ่มบรรเทาเบาบางลง แต่ก็ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด จะประมาทไม่ได้ ส่วนหัวใจหลักที่จะฟื้นเศรษฐกิจไทยได้ในยามนี้คือการท่องเที่ยวในประเทศ

“อัตลักษณ์ท้องถิ่น” จึงถูกนำมาชูเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เกิดการ ชม ชิม ช้อป จากการพัฒนาด้วยงานวิจัย เพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยราชภัฏ จัดกิจกรรม “การนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นปีที่ 2” ขึ้น ณ โรงแรม เซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ภายใต้แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นปีที่ 2 ทั้ง7 ภูมิภาค เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวในการรักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่เข้าสู่ชุมชนและการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าร่วมงาน

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า กิจกรรมนี้ ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) สนับสนุนงบประมาณให้กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ทั่วประเทศ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม โดยใช้องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนเชิงสร้างสรรค์ โดยพัฒนาบนฐานอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจบริการมูลค่าสูง และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนซึ่งเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่สำคัญ ในการสร้างความมั่นคง และมั่งคั่งอย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ ได้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องจากแนวคิด BCG Model สู่การยกระดับเศรษฐกิจของประเทศเป็นแนวทางที่รัฐบาลมุ่งเน้นให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนประเทศ ตามแนวทางของรัฐบาล โดยใช้องค์ความรู้ด้านการวิจัยที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งยังทำงานในลักษณะเครือข่ายพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีบทบาทในการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ วว. ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

กิจกรรมในครั้งนี้ยังเป็นการสื่อสารเพื่อเชิญชวนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว ฯลฯ เพื่อมาร่วมกันเสวนาถึงการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้อย่างแท้จริงตามบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ก่อให้เกิดผลงานวิจัยต่างๆ รวมทั้งการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างรายได้ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนด้วยการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผ่านการรักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน

ดร.ดนุช กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ มีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น เพราะทำประโยชน์ต่อพื้นที่มาเป็นเวลานาน ในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเราระดมความสามารถของทุกมหาวิทยาลัย ปีที่แล้วเราทำ 3,000 ตำบล ในการที่มีการจ้างงาน สร้างผลิตภัณฑ์ในแต่ละตำบล ปีนี้เราทำทั้ง 7,435 ตำบลของประเทศไทย สิ่งที่เกิดขึ้นคือเราต้องลงทุกพื้นที่ เข้าใจในทุกตำบล รู้จักความต้องการของเขา พัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวสร้างอัตลักษณ์จากตรงนั้น เขามีอะไรดีเอามาอวดให้เป็น อว.ชวนชม,อว.ชวนชิม รวมทั้ง อว.พาช้อป และมหาวิทยาลัยราชภัฏก็จะเอาเนื้อหาสาระที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปปรับปรุงพัฒนาต่อยอดในโครงการต่างๆ ของ อว.ต่อไป

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมให้เข้มแข็งด้วยการสนับสนุนทุนวิจัย พัฒนาบุคลากร และพัฒนาระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรมตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ได้สนับสนุนแผนงานวิจัย เรื่อง “การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2” ซึ่งการดำเนินงานอาศัยกลไกความร่วมมือของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ และหน่วยงาน ภาคี ในการยกระดับขีดความสามารถของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เชิงสร้างสรรค์ ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับการดำเนินงานได้ต่อยอดจากผลการดำเนินงานในปีแรก โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในประเภทต่างๆ โดยมีความร่วมมือกับ วว. ในการทดสอบ พัฒนา และรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์

นอกจากนี้ ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ สู่สาธารณชน ควบคู่ไปกับการส่งเสริม การท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับนโยบาย อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้าง และการใช้องค์ความรู้ ความคิด สร้างสรรค์เชื่อมโยงกับ ทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2565 วช. ได้สนับสนุนโครงการ “การยกระดับ ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าอัตลักษณ์พื้นถิ่นด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรมบนฐานเศรษฐกิจ BCG” การบูรณาการต่อยอดให้เกิด ความยั่งยืนด้วยทุนทางทรัพยากรชุมชนสู่นโยบายการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศด้วยแนวคิด BCG Model เพื่อเป็นกลไกทางเศรษฐกิจสำคัญที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน การสร้างอาชีพที่หลากหลาย การหมุนเวียนของรายได้ การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น รวมถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในชุมชน ท้องถิ่น และภูมิภาคได้อย่างสมดุลอย่างยั่งยืนต่อไป

ดร.ศิวาพร พยัคฆนันท์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์หัวหน้านักวิจัยเครือข่ายราชภัฏอีสานตอนล่าง กล่าวว่า ในปีแรกได้ทำเรื่องของการพัฒนากิจกรรมกับโปรแกรมการท่องเที่ยว อย่างอีสานตอนล่างจะเน้นเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่เน้นอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดที่มีความชัดเจนเรื่องของวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี พอในปีต่อมาเน้นเรื่องของการยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกในชุมชนให้ได้มาตรฐาน อีสานตอนล่างก็จะมีมาตรฐานที่ได้รับรองก็อย่างเช่นถ้าเป็นชุมชนท่องเที่ยวก็จะเป็นมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community– Based Tourism) หรือ CBT นอกนั้นก็จะเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แล้วผลักดันเข้าสู่โอท็อปคัดสรร โอท็อปคัดสรรดาวด้วย

ตรงนี้เป็นเรื่องของงานวิชาการที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนและชุมชนต้องขับเคลื่อนด้วยตัวเองทั้งหมด ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เด่นของราชภัฏชัยภูมิ คือ เซรั่ม จากบัวแดง โลชั่นที่เป็นของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตหรือการทอผ้าไหม ก็เอามาจดทะเบียนแล้วก็ได้รับการรับรองเพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปในชุมชนมากขึ้น ของสุรินทร์เด่นเรื่องผ้า เราเข้ามายกระดับสอนชาวบ้านให้รู้จักแปรรูปการตัดเย็บแล้วก็กำลังเข้าสู่ระบบการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) ส่วนที่บุรีรัมย์ก็จะทำในเรื่องของงานออกแบบและงานดีไซน์เข้าไป ก็จะเป็นการออกแบบโดยใช้วัสดุหรือพืชในท้องถิ่น ไปจุดประกายให้ชาวบ้านเขารู้จักเอาสิ่งรอบตัวมาใช้ในการออกแบบร่วมกับผลิตภัณฑ์เดิมของชุมชน ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็คือเรื่องของผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่มีมากในกลุ่มราชภัฏอีสานตอนล่าง นครชัยบุรินทร์ศรีอุบล 6 จังหวัด

ภายในงานมีการแสดงนิทรรศการและผลิตภัณฑ์จากโครงการวิจัยภายใต้แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นปีที่ 2 ทั้ง 7 ภูมิภาค อาทิ ภาคกลาง “ผลิตภัณฑ์กัญชาน้ำผึ้งมะนาวจากเครือข่ายกลุ่มศรีอยุธยา” โดยวิสาหกิจชุมชนตำบลคลองจิกภาคเหนือ “ผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากเศษผ้า” ภาคอีสาน “ผลิตภัณฑ์โทนเนอร์บัวแดง” และ ภาคใต้ “ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก” เป็นต้น และการนำเสนอภาพรวมการดำเนินแผนงานโดย ดร.สัญชัยเกียรติทรงชัย ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย

มีการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “การทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย” ในการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวฯ และการเสวนาแนวทางการนำเสนอผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ นำเสน่ห์ภูมิปัญญาวิถีชีวิตวัฒนธรรมบนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นชุมชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  • สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ
  • สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก
  • ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล
  •  

Breaking News

ครม.อิ๊งค์1/2 เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่

'หมอวรงค์'แฉมีคนพยายามแทรกแซงศาล หวังตีตกไต่สวนคดีชั้น 14

โบนัส500ล้าน!จอมพลิกล็อกรับทรัพย์เข้า8ทีมสโมสรโลก

เรือเฟอร์รีมุ่งหน้า'เกาะบาหลี'ล่ม ดับแล้ว 4 ราย สูญหายอีกเพียบ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved