วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : โควิดทำคนเริ่มเข้าใจ  ‘ไร้บ้าน’ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

สกู๊ปแนวหน้า : โควิดทำคนเริ่มเข้าใจ ‘ไร้บ้าน’ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

วันพฤหัสบดี ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า โควิด ไร้บ้าน
  •  

“คนอาจจะคุ้นชินกับคำว่าคนไร้บ้าน แต่คนที่อยู่ในถนนมันมีมากกว่าคนไร้บ้าน การแก้ปัญหาแตกต่างกัน ทำไมอิสรชนถึงแยกประเภท? ผู้ป่วยทางจิตมีทั้งแสดงอาการ-ไม่แสดงอาการ เพราะกฎหมายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคนละกลุ่มกับคนไร้บ้าน อย่างผู้ป่วยทางจิตต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็คือ พ.ร.บ.สุขภาพจิต เรื่องกระทรวงสาธารณสุขในการรักษา กรมสุขภาพจิตเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าเป็นคนไร้บ้าน ก็จะเป็น พ.ร.บ. อาจจะไม่กี่ตัว ก็ต้องดูว่าเขาอยู่ในภาวะไร้บ้านลักษณะไหน

หลักๆ ก็จะเป็น พ.ร.บ.คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่เราแยกประเภทก็เพื่อให้ช่องทางหรือสายพานที่เราจะส่งต่อไปช่วยเหลือเขาได้ แต่ถ้าหลักๆ เลยก็จะมีผู้ป่วยทางจิตที่อยู่ในถนน คนเร่ร่อนไร้บ้านคนเร่ร่อน ก็จะแตกต่างกันอีก คนไร้บ้าน ผู้พ้นโทษที่ถูกอภัยโทษมาแต่กลับเข้าสู่ชุมชนไม่ได้ แล้วก็มีพนักงานบริการอิสระ ชาวต่างชาติเร่ร่อน ก็แตกต่างกับเพื่อนบ้านที่ออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อนเหมือนกัน การช่วยเหลือแตกต่างกัน การส่งต่อ MOU (บันทึกความตกลงร่วม) หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือแตกต่างกัน”


อัจฉรา สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน กล่าวในการบรรยาย (ออนไลน์) เรื่อง “คนไร้บ้าน ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ” ทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ “สมัชชาคนจน Assembly of the Poor” ของ สมัชชาคน เมื่อช่วงต้นเดือน ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา โดยมูลนิธิอิสรชน เป็นองค์กรที่ทำงานกับคนไร้บ้านมาตั้งแต่ปี 2539 ซึ่ง ณ เวลานั้นยังไม่ค่อยมีหน่วยงานหรือองค์กรใดทำงานประเด็นนี้โดยเฉพาะ ก่อนจะจดทะเบียนเป็นมูลนิธิอย่างเป็นทางการในปี 2554

คนไร้บ้านไม่ใช่ปัญหาที่มีเฉพาะในประเทศไทย เช่น ที่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก็มีมากถึง 2 แสนคน “คนไร้บ้านเป็นสิ่งที่พบเห็นในทุกประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพราะในการพัฒนามักมีคนตกหล่น” ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่คนไร้บ้านต้องเผชิญคือ “การเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล” (โดยเฉพาะคนที่ไม่มีบัตรประชาชน) ในประเทศไทย มูลนิธิอิสรชน จึงก่อตั้งโครงการ “หมออาสา”ชวนแพทย์ลงพื้นที่ ซึ่งนอกจากตรวจรักษาโรคแล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้าใจกับบุคลากรทางการแพทย์ด้วย ว่าคนไร้บ้านมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างไรบ้าง

การทำงานของมูลนิธิอิสรชนอยู่บนหลักคิด “มองคนไร้บ้านเหมือนเพื่อน” เพราะก่อนจะได้ข้อมูลจนนำไปสู่การหาทางช่วยเหลืออย่างเหมาะสม คนทำงานก็ต้องทำให้คนไร้บ้านไว้วางใจเพื่อให้ทราบข้อมูลที่เป็นจริง “เอาใจเขาใส่ใจเรา..ลองคนอื่นที่ไม่รู้จักกันมาสอบถามเราก็คงไม่ให้ข้อมูลจริงโดยง่าย” กระทั่งมีความสนิทสนมกันระดับหนึ่งแล้วจึงค่อยยอมเล่า

ขณะเดียวกัน “ด้วยความที่มองว่าเป็นเพื่อน การช่วยเหลือจึงไม่ใช่การทำให้ทุกอย่าง แต่เป็นการชี้แนะแนวทาง” เหมือนกับคนทั่วๆ ไปที่มีเพื่อนฝูง คนเป็นเพื่อนกันก็มักจะไม่ได้ช่วยทั้งหมด แต่แนะนำว่าควรทำอะไรอย่างไร โดยเชื่อมั่นว่า “ความเป็นเพื่อนจะทำให้คนไร้บ้านลุกขึ้นมาพัฒนาตนเอง” เช่น หากคนไร้บ้านอยากทำบัตรประชาชน มูลนิธิฯ ก็จะแนะนำให้ไปคัดสำเนาบัตรในท้องที่ที่เกี่ยวข้องมา ซึ่งคนไร้บ้านก็ต้องมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือตนเอง ส่วนมูลนิธิฯ จะทำหน้าที่ประสานส่งต่อ เพื่อเปิดช่องทางให้ได้รับสิทธิ์หรือกลับสู่สังคมได้มากขึ้น

“เวลาช่วงล็อกดาวน์ห้ามออกจากบ้าน เราก็ต้องทำงานกับระบบมากกว่า ระบบราชการ แบบเออ!..ไม่กวาดจับได้ไหม? เพราะเขาไม่มีบ้าน เขาอยู่ตรงนี้นะ แล้วเราต้องออกทำงานในเวลาที่เคอร์ฟิว เราก็ต้องขอหนังสือ มันเป็นเรื่องระบบระเบียบในการทำงาน เราก็ต้องไปนั่งสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ ที่เขาอาจจะมี Mindset (วิธีคิด) บางอย่างที่ในเชิงไม่เข้าใจ ก็ต้องไปทำในด้านนั้น แต่กับตัว Case (หมายถึงคนไร้บ้าน) ไม่ได้ยาก เพราะเราไปสื่อสารกับเขา หนึ่งเขาอยู่ในที่สาธารณะแล้ว

แล้วการตรวจโควิดมา เหล่านี้มาเพื่อให้เข้าถึง ก็ค่อนข้างเป็นคำตอบว่าเขาติดเปอร์เซ็นต์น้อย อาจเป็นเพราะเขาอยู่เดี่ยว อยู่ในที่สาธารณะ อยู่ในที่โล่งโปร่ง แต่การเข้าถึงวัคซีนหรือการเยียวยาก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องต่อสู้ ก็เหมือนกับการรักษาพยาบาล ถ้าของคนระดับข้างบนเองยังเข้าไม่ถึงสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นเยียวยาหรือวัคซีนเลย ในช่วงหนึ่งที่ต้องแย่งวัคซีนกัน ต่อคิวกันอะไรต่างๆ เพราะฉะนั้นไม่ต้องถามถึงคนเร่ร่อนว่าจะได้เข้าไหม?” อัจฉรา เล่าเรื่องการทำงานกับคนไร้บ้าน ในช่วงที่รัฐใช้มาตรการควบคุม
โควิด-19 อย่างเข้มงวด

และแม้ในเวลาต่อมา ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะเข้ามาสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิอิสรชน ช่วยจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับกลุ่มเปราะบางซึ่งรวมถึงคนไร้บ้าน แต่เวลานั้นก็ยังมี “ดราม่า” เกิดขึ้นอีก เมื่อเกิดคำถาม “ทำไมคนเร่ร่อนได้วัคซีนก่อนคนอื่นๆ” แต่สำหรับมูลนิธิฯมองว่า ทุกคนควรมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนอย่างเท่าเทียมกัน เพียงแต่คนเร่ร่อนอาจไม่สามารถส่งเสียงได้เหมือนกลุ่มอื่นๆ มูลนิธิจึงเข้ามาช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ ซึ่งการฉีดวัคซีนให้คนเร่ร่อน ไม่ใช่เพียงความปลอดภัยของคนเร่ร่อน แต่รวมถึงคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกับคนเร่ร่อนด้วย

อนึ่ง “สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในมุมหนึ่งทำให้ผู้คนในสังคมเริ่มมองว่าคนไร้บ้านไม่ใช่เรื่องไกลตัว” เพราะได้เห็นภาพว่าเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นแล้วมีคนต้องตกงาน สิ่งที่ตามมาคือคนคนนั้นอาจต้องออกจากที่ที่เคยพักอาศัย (เช่น ห้องเช่า) แล้วกลายเป็นคนไร้บ้าน จากเดิมในการทำงานก่อนหน้านี้ของมูลนิธิอิสรชน จะพบว่าสังคมมองคนไร้บ้านแบบตีตราบ้าง หรือหลายคนก็เชื่อว่าตนเองมีงานประจำทำแล้วจะไม่มีวันกลายเป็นคนไร้บ้านบ้าง

ดังนั้น “การทำงานในประเด็นคนไร้บ้านจึงไม่ใช่เพียงการทำเพื่อคนไร้บ้าน แต่ทำเพื่อสังคมโดยรวม” เป็นการทำให้สังคมได้ฉุกคิดว่า “ระบบสวัสดิการ”ในประเทศนี้เป็นอย่างไร ไล่ตั้งแต่ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ “การศึกษาฟรี” ที่ยังมีข้อถกเถียงว่าฟรีจริงหรือไม่? มีมาตรฐานเท่ากันหรือเปล่า? โดยยังมีเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและสุ่มเสี่ยงต้องมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการเด็กแรกเกิดและอื่นๆ

ซึ่งการไม่มีสวัสดิการที่เพียงพอ ก็ทำให้คนบางส่วนหลุดออกมาเป็นคนเร่ร่อนได้!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ลมกระโชกแรง! บ้านริมน้ำกระบี่ทรุดตัวพังถล่ม บาดเจ็บ 2 ราย

'กมธ.ป.ป.ช.'ตีธงสอบ 2 ประเด็นร้อน เชิญ'กรมบัญชีกลาง'ขึงพืดปม'ตึก สตง.'ถล่ม

ล้มได้ก็ลุกเป็น ‘นิน เพชรพัณณิน’กีฬา การเมือง ชีวิต ความรัก

‘ในหลวง-พระราชินี’เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันวิสาขบูชา 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved