วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ‘สุขภาพจิต’ภัยเงียบไทย  ‘ชุมชน’อุดช่องบุคลากรขาด

สกู๊ปพิเศษ : ‘สุขภาพจิต’ภัยเงียบไทย ‘ชุมชน’อุดช่องบุคลากรขาด

วันเสาร์ ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สุขภาพจิต
  •  

“การจะสร้างบุคลากรให้ได้มาก ไม่ใช่จะสร้างได้ 5 ปี 10 ปี เราต้องใช้เวลา 10-20 ปี ในการสร้างบุคลากร ตรงนี้อธิบายเร็วๆยกตัวอย่างโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งจะสร้างจิตแพทย์ มีคนชอบถามผมว่า ถ้าอย่างนั้นวันนี้เป็นต้นไปเคาะสร้างจิตแพทย์เพิ่มมาอีก 1,000 คนได้ไหม? อีก 4-5 ปีใช้ได้ ผมบอกเป็นไปไม่ได้! การจะสร้างเราจำเป็นต้องมีที่เขาเรียกว่า Mentor(พี่เลี้ยง) มีอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ควบคุมหลักสูตรปริมาณมากอยู่ ถึงคิดเป็นอัตราส่วนแล้วมีคนที่มาเรียนกับเขาการที่จะไปเติมตรงนั้นอาจต้องใช้เวลาถึง 10 ปีในการทำ”

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าวในงานเสวนา (ออนไลน์) หัวข้อ “พลังชุมชนท้องถิ่นร่วมส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตคนไทย” ถึงข้อจำกัดในการสร้างบุคลากรทางการแพทย์ด้านการดูแลสุขภาพจิต ท่ามกลางสถานการณ์ที่คนไทยมีแนวโน้มฆ่าตัวตายมากขึ้นซึ่งในปี 2564 ที่ผ่านมา พบอัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทยอยู่ที่ 7.38 คนต่อประชากร 1 แสนคน ใกล้เคียงกับปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 7.35 คนต่อประชากร 1 แสนคน


โดยช่วงปี 2563-2564 เป็นช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างรุนแรง ในขณะที่ในปีก่อนหน้าเกิดสถานการณ์โรคระบาด อัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทยจะอยู่ที่เฉลี่ยปีละ 6 คนเศษๆ ต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งดูจะคล้ายกับช่วงที่ประเทศไทยเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง โดยก่อนหน้าปี 2540 อัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทยก็อยู่ที่เฉลี่ยปีละ 6 คนเศษๆ ต่อประชากร 1 แสนคนเช่นกัน แต่ในปี 2540 ช่วงปลายปีพบอัตราการฆ่าตัวตายพุ่งไปแตะที่เฉลี่ย 8 คนต่อประชากร 1 แสนคน และต่อเนื่องไปอีก 4-5 ปีจึงลดลง

งานเสวนาดังกล่าวซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ซึ่ง นพ.วรตม์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การฆ่าตัวตายทั่วโลกมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตมีปริมาณมากขึ้น และคาดการณ์ว่า 10 ปีข้างหน้า สุขภาพจิตจะกลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอันดับ 1 ของโรคไม่ติดต่อทั้งหมด ขณะที่ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 500-1,000 คนต่อปี ในปี 2564 มีคนฆ่าตัวตายถึง 5,000 ราย

นอกจากนี้ ยังพบว่า อันดับ 1 หรือร้อยละ 50 ที่ทำให้คนฆ่าตัวตายคือปัญหาด้านความสัมพันธ์ ปัญหาในเรื่องสุขภาพกายมาเป็นอันดับ 2 หรือร้อยละ 20-30 อันดับ 3 คือปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันดับ 4 คือปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอันดับ 3 และ 4 จะสลับกันขึ้นลง ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้คนฆ่าตัวตายไม่ได้เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง แต่ร้อยละ 90มี 2 สาเหตุร่วม โดยมีปัญหาด้านความสัมพันธ์เป็นปัจจัยหลักเสมอ อย่างไรก็ตาม “ทัศนคติของสังคม” ก็มีความสำคัญต่อการที่คนคนหนึ่งจะตัดสินใจไปพบจิตแพทย์หรือไม่

“ธรรมชาติของคนเราตามทฤษฎีจิตวิทยาสังคม เราต้องการอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสังคอย่างกลมกลืน การจะอยู่ได้อย่างกลมกลืนนั่นแปลว่าคุณต้องถือบรรทัดฐานของสังคม เราจะอยู่ในบรรทัดฐานทางสังคมได้เราต้องมีทั้งความเชื่อและพฤติกรรมที่อยู่ในบรรทัดฐานะทางสังคม เพราะฉะนั้นคนเราบางครั้ง เรารู้สึกว่าบรรทัดฐานคือถ้าบางจังหวัดไม่ยอมรับโรคทางจิตเวช เขาก็จะไม่กล้าพูดว่าเขาป่วยทางด้านสุขภาพจิตหรือเขาไปรักษาอยู่

ตรงนี้เองมันเป็นกำแพงสำคัญที่ทำให้บางทีคนไม่ไปรักษาโรคทางจิต หรือไม่ไปรักษาโรคอะไรบางอย่าง เพราะรู้สึกว่าสังคมจะมองเขาแตกต่าง เขาไม่อยากเป็นคนแตกต่างตรงนี้เองก็เป็นจุดที่ทำให้การเข้าถึงบริการจากตัวคนที่มีปัญหาเองน้อย” โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าว

จากข้อจำกัดดังกล่าว นำมาสู่การที่ กรมสุขภาพจิตหันมาร่วมมือกับองค์กรภายนอก เช่น ทำงานสุขภาพจิตร่วมกับ อสม.ที่มีอยู่ 1 ล้านคนทั่วประเทศ ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ การทำงานร่วมกับ สสส. มสช. และภาคีเครือข่าย ในการฝึกให้ทุกคนในชุมชนเป็นบุคลากรด้านสุขภาพจิต และเริ่มทำงานตั้งแต่ระดับครอบครัวให้สามารถสังเกตอาการโรคพื้นฐาน เช่น โรคซึมเศร้า สัญญาณการฆ่าตัวตาย มีทักษะการรับฟัง การให้กำลังเชิงบวก

เมื่อเจาะลึกตามประเภทของกลุ่มประชากร อรพิน วิมลภูษิต เลขาธิการสมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ “ประชากรวัยทำงาน” อย่างมาก เช่น หลายคนต้องตกงานหรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ส่งผลทำให้เกิดความเครียด ความกังวล และบางคนก็ถึงขั้นฆ่าตัวตาย ขณะที่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันยังเกิดสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ขึ้นมาอีก ส่งผลให้ราคาสินค้าต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม “แรงงานนอกระบบ” จะเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

“ปัญหาหลักหนึ่งคือเรื่องของปัญหาการเงินและรายได้เป็นอันดับ 1 เลย ไม่เพียงพอ และนี่ก็เป็นเรื่องของความเครียดแล้วบางทีก็ไปฆ่าตัวตายหรือไม่ก็ซึมเศร้า คือหาทางไม่ออก แล้วก็ทำให้ครอบครัวแตกแยก อันที่สองคือเรื่องความวิตกกังวล โดยเฉพาะในช่วงโควิด ส่วนใหญ่จะกังวลเรื่องจะทำงานต่อไปอย่างไร จะถูกเลิกจ้างหรือจะมีงานต่ออย่างไร อันนี้เป็นความกังวลจนกระทั่งบางทีก็กลายเป็นไม่สามารถทำอะไรได้เพราะกังวลไปหมด ไม่รู้จะได้ทำงาน ไม่รู้จะกลับไปทำงานที่บ้านจะมีงานทำหรือเปล่า ไปทำงานเกษตรจะขายได้หรือเปล่า” อรพิน ระบุ

อีกด้านหนึ่ง “ผู้สูงอายุ” ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิต โดย จันทรา หาญสุทธิชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ เล่าว่า การสำรวจในชุมชนพบผู้สูงอายุมีความรู้สึกผิดหวังในตนเอง เบื่อหน่าย ท้อแท้ แม้กระทั่งเรื่องการโทรศัพท์ไปหาลูกหลานแล้วไม่รับสายก็ทำให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจได้ ซึ่ง อบต.ผักไหม เป็นชุมชนหนึ่งที่เริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตควบคู่ไปกับสุขภาพกาย หลังพบเหตุผู้สูงอายุในชุมชนฆ่าตัวตาย ผ่านการฝึกอบรมอาสานักสุขภาพจิตชุมชน หมู่บ้านละ 2 คน จากทั้งหมด 17 หมู่บ้าน

“เรื่องของสุขภาพจิตเวลาเราลงพื้นที่ไป เราไม่ได้มุ่งเฉพาะผู้สูงอายุอย่างเดียว เราไปเน้นเรื่องคนในครอบครัวเรื่องสถาบันครอบครัว เราเชื่อมต่อโครงการในเรื่องศูนย์พัฒนาครอบครัว เพราะในชนบทเป็นครอบครัวใหญ่ จะมีพ่อแม่ลุงป้าน้าอา แล้วมีปู่ย่าตายาย เพราะฉะนั้นตัวนี้เป็นหลักสำคัญว่าเวลาอบรมเราชวนเขาอบรมเป็นครอบครัวด้วย แล้วคุณตาคุณยายด้วย” นายก อบต.ผักไหม กล่าว

พงศ์ธร จันทรัศมี ผู้จัดการโครงการฯ มสช. ในฐานะ ผู้จัดการโครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของชุมชนท้องถิ่นในสถานการณ์วิกฤตและตลอดช่วงชีวิต กล่าวว่า ทางโครงการฯเน้นพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อลดและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยแรงงานในชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ รวมถึงผู้สูงวัย ผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มเปราะบางอื่นๆ

“มุ่งเป้าสร้างแกนนำการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนท้องถิ่น เสริมองค์ความรู้ไปปรับประยุกต์เพื่อผลิตเป็นเครื่องมือเสริมการทำงานให้แข็งแกร่ง เข้าถึงได้ง่าย เกิดพื้นที่ต้นแบบนำไปสู่การขับเคลื่อนงานเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินงาน แล้วในหลายพื้นที่ ได้แก่ อบต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย อบต.วังกรด อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร รพ.สต.บ้านคลองเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม” พงศ์ธร กล่าว

ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส. ได้เร่งเสริมความพร้อมและขับเคลื่อนการทำงานด้านการพัฒนาสุขภาพจิตในระดับพื้นที่กับหลายหน่วยงาน เช่น กับ มสช.ภายใต้ โครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของชุมชนท้องถิ่นในสถานการณ์วิกฤตและตลอดช่วงชีวิต

โดยนำร่องใน 10 พื้นที่ทั่วประเทศ และผ่านนวัตกรรมแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Dmind ระบบปัญญาประดิษฐ์คัดกรองภาวะซึมเศร้า ที่คนในชุมชนสามารถคลิกเข้าไปประเมินตัวเองได้ง่ายๆ ได้ผลแม่นยำ เพื่อทดแทนความต้องการการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยรวมถึงกลุ่มเปราะบาง เมื่อจำนวนบุคลากรด้านสุขภาพจิตที่มีอยู่ไม่สมดุลกัน

“การใช้เซฟการ์ดฝั่งชุมชนในการช่วยมอนิเตอร์ผู้ป่วยจิตเวชเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะทุกชุมชนที่ได้เข้าไปสนับสนุนเขามีต้นทุนในการจัดการปัญหาด้านสุขภาพจิตในพื้นที่ของตนเอง” ชาติวุฒิ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ละเลย’สูญเสียมหาศาล ‘ใจคนทำงาน’สำคัญต้องดูแล ‘ละเลย’สูญเสียมหาศาล ‘ใจคนทำงาน’สำคัญต้องดูแล
  • ‘คนไทย’มีปัญหา‘สุขภาพจิต’อื้อ  ‘เยาวชน-วัยเรียน’กลุ่มเสี่ยงน่าห่วง ‘คนไทย’มีปัญหา‘สุขภาพจิต’อื้อ ‘เยาวชน-วัยเรียน’กลุ่มเสี่ยงน่าห่วง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘สุขภาพจิต’เรื่องใหญ่  ‘ชุมชน’ตัวแปรร่วมดูแลได้ สกู๊ปแนวหน้า : ‘สุขภาพจิต’เรื่องใหญ่ ‘ชุมชน’ตัวแปรร่วมดูแลได้
  •  

Breaking News

'บี-วีณา-อามชุ'จูงมือชาว LGBTQIA+ เติมสีสันความเท่าเทียมใน 'พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรด์ เฟสติวัล 2025'

ชาวบ้านผวา! ชายคลุ้มคลั่งอาละวาดทำร้ายผู้หญิงบาดเจ็บ

'ภูมิธรรม'นั่งมท.1 ปัดหวังล้างแค้น'ภท.'คดีเขากระโดง ลั่นหากไม่ผิด ก็ไม่มีใครทำอะไรได้

​ฟันดาบสอง! ‘หมอตุลย์’ยื่น‘ปธ.วุฒิฯ’ ล่าชื่อยื่นถอดถอน‘อิ๊งค์’พ้นรมว.วัฒนธรรม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved