วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘ทำแท้ง’กฎหมายเปิดช่อง  ไฉน‘ภาคปฏิบัติ’ยังติดขัด?

สกู๊ปแนวหน้า : ‘ทำแท้ง’กฎหมายเปิดช่อง ไฉน‘ภาคปฏิบัติ’ยังติดขัด?

วันอาทิตย์ ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ย้อนไปเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยเป็นมติเสียงข้างมาก ระบุว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ 305 ว่าด้วยความผิดฐานทำให้แท้งลูก สมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ จากนั้นในวันที่6 ก.พ. 2564 ก็มีการประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2564 ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งสาระสำคัญคือ อนุญาตให้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ไม่เกิน 12สัปดาห์ สามารถยุติการตั้งครรภ์หรือ “ทำแท้ง” ได้ ส่วนอายุครรภ์เกินกว่า 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ให้อยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์

อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ แต่ในทางปฏิบัติยังพบปัญหา ซึ่งเมื่อวันที่ 20 ก.ย.2565 เครือข่าย RSA Thai ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขตลอดจนสหวิชาชีพอื่นๆ ได้จัดเสวนา (ออนไลน์) หัวข้อ “แก้กฎหมายแล้วทำไมหมอหลายคนยังไม่ทำแท้ง” เนื่องในโอกาสวันยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสากล (Safe Abortion Day) 28 กันยายน ของทุกปี


นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช (เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์) โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรกล่าวว่า มีปัจจัยที่ทำให้สังคมไทยไม่ค่อยอยากพูดถึงการทำแท้ง อาทิ 1.ความเชื่อ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา “สังคมไทยถูกหล่อหลอมด้วยเรื่องบาปบุญคุณโทษมาตลอด” เช่น เชื่อว่าการทำแท้งเป็นบาป อย่างไรก็ตาม นอกจากคนที่มีความเชื่อดังกล่าวแล้ว ในสังคมยังมีคนอีก 2 ประเภท ประเภทแรกคือคนที่มองว่าการทำแท้งก็เป็นสิทธิหรือทางเลือกอย่างหนึ่ง และอีกประเภทคือคนที่กลางๆ ยังไม่ไปทางใดทางหนึ่ง

“กลุ่มตรงกลางนี่แหละ เอ๊ะ!..เราจะไปทางไหนดี? เราใช้เหตุผล เราใช้ความจำเป็น เรามาดูทำไมกฎหมายถึงเปิดกว้างทั้งๆ ที่ดูแล้วมันขัดกับศีลธรรมสิ่งที่เราเชื่อ ผมคิดว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มใหญ่พอสมควรในปัจจุบัน ฉะนั้นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำคือให้ข้อมูลว่าสิ่งที่เราทำคืออะไร กฎหมายออกมาเพื่ออะไร เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในแม่ที่ตั้งครรภ์แล้วไม่พร้อม เพื่อป้องกันการไปทำแท้งเถื่อน” นพ.โอฬาริก กล่าว

นพ.โอฬาริก กล่าวต่อไปว่า สาเหตุประการต่อมาที่ทำให้สังคมไทยไม่ค่อยอยากพูดถึงการทำแท้ง 2.ความไม่รู้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ายังมีคนที่ไม่รู้ว่ากฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้ หรือไม่รู้ว่าจุดบริการอยู่ที่ไหน ดังนั้นต้องสร้างความตระหนักรู้ใน 4 กลุ่มคือ หญิงตั้งครรภ์ บุคลากรสาธารณสุข บุคคลทั่วไปในสังคม และผู้มีอำนาจกำหนดนโยบาย หรือก็คือทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจตรงกัน เพื่อให้การเข้าถึงบริการทำได้ง่ายขึ้น

3.สิทธิเด็ก ซึ่งมีข้อถกเถียงกัน เช่น ที่กำหนดว่าอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (หรือ 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์) เพราะถือว่าช่วงดังกล่าวตัวอ่อนยังไม่นับว่าเป็นมนุษย์เต็มที่ แต่ก็มีบางฝ่ายมองว่าความเป็นมนุษย์เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิแล้ว แต่ประเด็นนี้หากมองในอีกมุมหนึ่งซึ่งไม่ใช่ตามหลักวิชาการ (เพราะยังมีข้อถกเถียง) การให้เด็กเกิดมาแล้วเจอสภาพถูกทอดทิ้งบ้าง ถูกทารุณกรรมบ้าง จากครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์หรือจากพ่อแม่ที่ไม่ต้องการ พบว่าโอกาสที่เด็กซึ่งเกิดมาเจอสภาพนี้จะสามารถหลุดพ้นจากขุมนรกไปอยู่ในพื้นที่สดใสดุจสรวงสวรรค์นั้นยากมาก

“เนื่องจากเราเจอเคสแบบนี้เรื่อยๆ มันทำให้ความเป็นเด็กที่เกิดมาจากครอบครัวที่ไม่ต้องการแล้วได้ไปวิ่งในทุ่งลาเวนเดอร์ ผมไม่เคยเห็น คือเราเห็นวิ่งในขวากหนาม วิ่งในชีวิตที่ถูกทอดทิ้ง เพราะฉะนั้นเราก็เลยบอกว่า คือผมรู้สึกว่าอย่างนี้ คนไข้ที่มาตามกระบวนการการเข้าถึง การ Counseling (ให้คำปรึกษา) ต้องบอกอย่างนี้ก่อน เวลาคนไข้มาถึงว่าอยากยุติการตั้งครรภ์ มันจะมี 4 แบบให้เลือก 1.ท้องต่อและเลี้ยงเอง คือมาฟัง คุยกับหมอแล้วเรียบร้อย บางทีเขายังไม่ตัดสินใจแต่เขาอยากมาฟังข้อมูล

2.ท้องต่อญาติเลี้ยง แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อะไรก็ตามแต่ 3.ท้องต่อส่งสถานสงเคราะห์ และ 4.ยุติการตั้งครรภ์ คนไข้มีตั้งอีก 3 Option (ทางเลือก) ที่ตั้งครรภ์ต่อ คือเราไม่ได้มาถึงปุ๊บ! ยุติการครรภ์เลย มันต้องผ่านกระบวนการการ Counseling แต่อย่างที่บอก โดยส่วนตัวผมไม่เจอเด็กที่ถูกทอดทิ้งแล้วประสบความสำเร็จ คือเจอแต่เคสหนักๆ แย่กว่าเดิม จนเด็กบางคนที่ดูกับคุณพยาบาล พูดไปว่าเด็กเขาพ้นทุกข์แล้ว เพราะเขาผ่านประสบการณ์ที่แย่ๆ มามาก แต่เราก็เห็นตามข่าว ถูกทำร้ายร่างกายถูกอะไร” นพ.โอฬาริก ระบุ

นพ.โอฬาริก ยังกล่าวอีกว่า ในขณะที่แพทย์เองก็มี 3 ประเภทเมื่อมีหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมไปขอคำปรึกษา 1.ให้คำแนะนำและลงมือยุติการตั้งครรภ์ให้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะด้วยยาหรือเครื่องมือใดๆ ก็ตาม 2.ให้คำแนะนำแต่ส่งต่อโดยไม่ลงมือยุติการตั้งครรภ์ให้ด้วยตนเอง ด้วยหลากหลายเหตุผล และ 3.ไม่ให้คำแนะนำใดๆ เพราะไม่อยากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำแท้ง ดังนั้นหากหญิงรายใดไปเจอแพทย์ในประเภทที่ 3 ก็จะมีความเสี่ยง เพราะหญิงนั้นจะอยู่ในสภาพเคว้งคว้าง อีกทั้งเมื่อกลับมาถึงโรงพยาบาลอายุครรภ์ก็เพิ่มขึ้นแล้ว

แต่ในทางกลับกัน ก็เข้าใจความเชื่อของแพทย์กลุ่มนี้ และไม่เห็นด้วยกับการที่จะมีข้อกำหนดบังคับให้ต้องทำ เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นตราบาป (Stigma) ในชีวิต ดังนั้นจึงอยู่ที่ว่าจะวางระบบอย่างไรที่ให้แพทย์กลุ่มที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์ไม่ต้องลำบากใจ ควบคู่ไปกับการไม่ลิดรอนสิทธิของหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่จะมารับบริการ ซึ่งการวางระบบนี้ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่หน้างาน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีก เพราะยังมีบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกับแพทย์และอาจไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับการทำแท้ง

ด้าน ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ อาจารย์ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวเสริมว่า ในประเด็นสิทธิเด็ก ในทางวิชาการหรือทางกฎหมาย ให้นิยามความเป็นมนุษย์ไว้ว่า เมื่อคลอดออกจากครรภ์มารดาแล้วมีสัญญาณชีพ ซึ่งมุมหนึ่งการมองแบบนี้ดูจะแห้งแล้งเกินไป แต่อีกมุมหนึ่ง ในความเห็นส่วนตัวมองเรื่องสิทธิของผู้หญิงคนหนึ่งที่เกิดและเติบโตมาจนถึงวันที่ชีวิตผิดพลาดตั้งครรภ์ขึ้น ดังนั้นหากจำเป็นต้องเลือกก็ขอเลือกสิทธิของผู้หญิงคนนี้ก่อน

ส่วนประเด็นความลำบากใจของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาล ทางออกอาจจะอยู่ที่ “คลินิกเฉพาะด้าน” ดังที่ปัจจุบันมีคลินิกเสริมความงามเกิดขึ้นทั่วไป ซึ่งเชื่อว่าหากมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการยุติการตั้งครรภ์รวมถึงการเข้าถึงบริการที่เป็นมิตร ประกอบกับค่อยๆ ทยอยสร้างคลินิกที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ขึ้นในแต่ละจังหวัด ในอนาคตอันใกล้การเข้าถึงบริการที่ดีก็จะง่ายขึ้น

“อันนี้ต้องใช้เวลา ตรงนี้ภาคสังคมต้องช่วยเพราะหมอทำเรื่องนี้ไม่เก่ง ผมก็เชื่อว่าแพทยสภาก็ทำเรื่องนี้ไม่เก่ง เพราะแพทยสภาเป็นตัว Balance (รักษาสมดุล) ระหว่างหมอกับคนไข้ เขาก็ต้องดูแลหมอของเขาให้อยู่ได้ คือเรื่องความเชื่อเราไม่ว่าอะไร ทุกวันนี้ผมก็ยังกลัวผีอยู่ คือบอกไม่มีผีอย่างไรก็ไม่ได้ผมก็ยังกลัวอยู่ ผมว่าในอนาคตน่าจะมีคลินิกแบบนี้ให้มันเกิดขึ้นได้” ผศ.นพ.ธนพันธ์ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’

ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา

เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved