วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : สนทนาเตรียมตัวก่อนตาย  ใช้สิทธิ Living will ต้องรู้อะไรบ้าง

สกู๊ปพิเศษ : สนทนาเตรียมตัวก่อนตาย ใช้สิทธิ Living will ต้องรู้อะไรบ้าง

วันอาทิตย์ ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

นับเป็นเวลานานที่ประเทศไทยได้รับรอง “สิทธิแสดงเจตนาที่จะรับหรือไม่รับการรักษาที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดความตายในวาระสุดท้ายของชีวิต” หรือ “Living will” ที่กำหนดไว้ในมาตรา 12 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งไม่ใช่การปฏิเสธการรักษา แต่เป็นการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) เพื่อลดอาการเจ็บปวด ไม่สุขสบาย เพื่อการจากโลกนี้ไปอย่างสงบ โดยปัจจุบัน พบว่าคนในสังคมให้ความสนใจเรื่องนี้มากขึ้นเพื่อเตรียมตัวเอาไว้ แต่ยังไม่รู้ว่าจะมีขั้นตอน หรือต้องทำอะไรบ้าง “สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ สช.” จึงได้จัดเสวนา “ต้องรู้อะไรบ้างเมื่อต้องรับมือกับความตาย”

นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า Living will คือ หนังสือแสดงเจตนาที่จะจากไปตามธรรมชาติด้วยดีหรือการตายดี ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยในการวางแผนชีวิต ในหลายๆ ประเทศก็มีกฎหมายดังกล่าว ซึ่งสาระสำคัญคือ การรับรองสิทธิของบุคคลในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน ซึ่งผู้ป่วยสามารถทำหนังสือเพื่อบันทึกเจตนาที่จะรับการรักษาที่ตนเองต้องการในวาระสุดท้ายของชีวิตได้ ซึ่งการรับรองดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงสาธารณสุข โดยคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่ได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลที่ได้ทำหนังสือแสดงไว้


“หนังสือแสดงเจตนา เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยญาติ และผู้ให้การรักษา เมื่อบุคคลคนนั้นไม่สามารถสื่อสารแล้ว และไม่สามารถรักษาได้อีก”

พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร

ปัจจุบัน โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัย ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและโรคที่คุกคามชีวิตมากขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก็ทันสมัยขึ้น หากจัดการเรื่องนี้เข้าไปสนับสนุน นอกจากประชาชนจะได้รับการดูแลที่ดีแล้ว ยังมีส่วนช่วยระบบการเงินการคลัง ระบบการบริหารจัดการ และระบบการบริการต่างๆ ของสถานพยาบาล เพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันท้องถิ่นหลายแห่งได้ตั้งกองทุนดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต มีการบริหารจัดการเตียง เงินสวัสดิการ รวมถึงผู้ดูแล (Care Giver) นี่จึงเป็นโอกาสหนึ่งที่จะได้ทำให้คนไทยได้มีสุขภาวะดีขึ้น

ขณะนี้ รัฐสภาได้เอาเรื่องการดูแลระยะยาวไปเป็นเป้าหมายหนึ่งของการดูแลผู้สูงอายุ โดย Living will และการดูแลแบบประคับประคอง จะเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการดูแลระยะยาว (Long Term Care) ดังนั้นการเมืองก็จะมีทิศทางของนโยบาย รัฐบาลเองก็จะมอบให้กระทรวงสาธารณสุขได้เอาเรื่องราวเหล่านี้เข้าไปในระบบบริการสุขภาพด้วย

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สำหรับการรักษาผู้ป่วยระยะท้ายควรให้การรักษาที่ได้ประโยชน์ และควรหยุดการรักษาที่ไม่ได้ประโยชน์ ซึ่งคำว่า “ประโยชน์” ต้องขึ้นกับเป้าหมาย เช่น การรักษาแบบยืดเวลาเพื่อทำเป้าหมายของชีวิตให้สำเร็จ ยกตัวอย่าง คนไข้มะเร็งปอดระยะสุดท้าย ตอนนี้ภาวะหายใจล้มเหลว เมื่อใส่ท่อช่วยหายใจจะมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น แต่จะทรมานกับการใส่ท่อช่วยหายใจ แทบไม่มีโอกาสถอดท่อ กรณีนี้การใส่ท่อฯ จึงมีประโยชน์น้อย จึงต้องมาดูเป้าประสงค์ เช่น เพื่อยืดระยะเวลาออกไปอีก 3 วันเพื่อรอลูกกลับจากต่างประเทศ เป็นต้น

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ 

ในการรักษาจะมีวัตถุประสงค์ของแต่ละช่วง เริ่มตั้งแต่การป้องกันไม่ให้เกิดโรค และถ้าเป็นโรคก็พยายามรักษาโรคให้หายไว ในขณะเดียวกันเราก็หวังว่าชีวิตเราจะอยู่อย่างดี คือมีความสุขกาย สบายใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสุดท้ายถ้าเราต้องตาย เราก็ต้องการที่จะตายดี ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องการตั้งเป้าหมาย ถ้าได้เริ่มการรักษาไปแล้วไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ มีความทุกข์ทรมานเกิดขึ้น เราสามารถหยุดการรักษานั้นได้ หรือจะไม่เริ่มเลยถ้าคิดว่าการรักษานั้นไม่ได้ผลแน่นอน ซึ่งไม่ใช่การการุณยฆาต แต่เป็นการที่หยุดหรือไม่เริ่มการรักษาที่ไม่ได้ประโยชน์

“การุณยฆาตเป็นการเร่งความตาย แต่การทำ Palliative care เป็นการยอมรับความตาย ซึ่งเราไม่ได้เร่งแต่ไม่ยื้อ และไม่ได้หยุดการรักษา เพียงแต่เปลี่ยนมารักษาแบบประคับประคอง เลือกการรักษาที่เหมาะสมต่อเนื่องจนกระทั่งเสียชีวิต เป็นการเน้นประโยชน์ของผู้ป่วย ไม่ใช่ของญาติ”

นพ.ฉันชาย กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ กรณีผู้ป่วยไม่มีญาติ ทางโรงพยาบาลอาจมีการหารือในรูปแบบคณะกรรมการ และมีมติร่วมกันว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างไร อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งมีกฎเหล็กว่าหากไม่มีหนังสือแสดงเจตนา จะไม่ยอมทำตามที่ผู้ป่วยขอไม่ใส่ท่อฯ เพราะยังมีประเด็นเรื่องการฟ้องร้อง

ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร

ด้าน พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคูนกล่าวว่า การดูแลคนไข้ในห้องไอซียู บางครั้งก็ไม่รู้ว่าตรงกับความต้องการของผู้ป่วยจริงๆ หรือไม่ เพราะ ณ จุดนั้นคนไข้ไม่สามารถสื่อสารกับเราได้ ซึ่งญาติเองบางครั้งก็ไม่รู้ว่าคนไข้ต้องการอะไร เพราะไม่เคยคุยเรื่องนี้กันมาก่อน จึงต้องมีการทำ Advance care planหรือเปิดกระบวนการพูดคุยสื่อสารกันในครอบครัวมากขึ้น ทุกคนสามารถทำได้ หากสื่อสารกันไว้ตั้งแต่แรกว่า คนไข้อยากได้หรือไม่อยากได้อะไร ความหมายของการมีชีวิตอยู่หรือคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้คืออะไร ซึ่งนิยามของแต่ละคนแตกต่างกัน เมื่อเกิดวิกฤตในชีวิต ทั้งญาติและแพทย์ก็จะสามารถเข้าใจและทำตามความประสงค์ผู้ป่วยได้มากที่สุด

ทั้งนี้ การทำ Living will ไม่จำเป็นต้องทำเมื่ออายุมากแล้วเท่านั้น แม้เป็นคนแข็งแรงก็สามารถวางแผนไว้ล่วงหน้าได้ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าเวลาของเราจะมาถึงเมื่อไร แต่ปัจจุบันจำนวนคนทำ Living will ยังมีน้อย เพราะฉะนั้นหลักๆ ที่เราทำคือ Family Meeting คือการนัดคุยในครอบครัวให้ได้มากที่สุด ว่าคนไข้เคยพูดอะไรไว้บ้าง ทุกคนต้องเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ก่อนจะยุติการใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่ต้องยอมรับว่าไม่ใช่บุคลากรทุกคนจะยุติการใช้เครื่องช่วยหายใจหากไม่มี Living will

“ไม่มีใครอยากตาย แต่ถ้าต้องตายก็อยากตายในแบบที่ดีๆ อยากจากโลกนี้ไปแบบดีๆ แต่ส่วนใหญ่เราไม่ได้เตรียมตัวเพราะเรารู้สึกว่าการพูดเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดยาก สื่อสารยาก ไม่รู้ว่าจะคุยอย่างไรดีดังนั้นเราจึงควรปรับทัศนคติเกี่ยวกับการวางแผนสุขภาพล่วงหน้า พูดคุยกับครอบครัว จะเพิ่มโอกาสที่เราจะจากไปอย่างที่ต้องการได้”

สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล

ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ผู้อำนวยการเยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม กล่าวว่า เราพบว่าผู้สูงอายุเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อาการติดเชื้อ ไตวาย มากที่สุด แต่หากมีความเข้าใจและมีการวางแผนจะทำให้เราไม่หวาดกลัวกับโรคที่เผชิญอยู่ เช่น “โรคมะเร็ง” ซึ่งจะมีระยะเวลาในการดำเนินโรค ซึ่งจะมีทั้งคนที่อยากรักษาก็เข้าสู่กระบวนการ ส่วนคนที่ไม่อยากรักษาก็สามารถเข้าสู่กระบวนการดูแลแบบประคับประคองแทนได้

ปัจจุบัน คนไทยเผชิญกับโรคที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตอย่างรวดเร็วมากขึ้น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหลอดเลือดสมอง, อุบัติเหตุ เลือดออกในสมอง เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดเหตุ มักจะมี 2 ทางเลือก คือ หนึ่ง-ไปโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะต้องมีการใส่อุปกรณ์การแพทย์หลายอย่าง โดยผลการรักษาอาจจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ และหากไม่เสียชีวิตก็อาจจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง ต้องใช้เทคโนโลยีพยุงไว้ตลอดก็ได้ หรือ สอง-ไม่ไปโรงพยาบาล แล้วดูแลรักษาแบบประคับประคองที่บ้านเพื่อการจากไปอย่างสงบ ซึ่งการรักษาที่บ้านจะมีขั้นตอน คือ 1.การให้คนในครอบครัวมาคุยกันอย่างพร้อมหน้า 2.การทำเอกสารการ Living will ไว้ให้ 3.เชิญหมอมาดูแลที่บ้านต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะมีทั้งการดูแลให้คำปรึกษาผ่าน LINE หรือโทรศัพท์ 4.การเยี่ยมบ้านซ้ำตามประสงค์ ซึ่งระยะหลังพบคนต้องการ Palliative care เพิ่มมากขึ้น จึงต้องมีการเตรียมการและระบบไว้รองรับ

“ถ้ามีการทำ Living will ไว้ก่อน แพทย์สามารถดูแลได้ตามความต้องการของผู้ป่วย รวมถึงการพิจารณาถอดเครื่องช่วยหายใจเพื่อให้คนไข้จากไปอย่างสงบ แต่ก็ไม่ใช่ว่าหมอทุกคนจะทำได้ แต่ถ้าไม่มีเอกสารก็จะเกิดปัญหาว่าแล้วจะเอาอย่างไรดี ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีการชวนคุยทั้งครอบครัว เพื่อดูว่าทางออกที่ดีคืออะไร ถ้าคุยแล้วทุกคนเห็นพ้องกัน ซึ่งต้องใช้เวลาเพื่อดูว่าอะไรคือความประสงค์ร่วมกันของครอบครัว”

สำหรับการจัดเสวนา “ต้องรู้อะไรบ้างเมื่อต้องรับมือกับความตาย” เป็นหนึ่งในงาน “มหกรรมสร้างสุขที่ปลายทาง ครั้งที่ 4”ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2565 โดยความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กับภาคีเครือข่าย 13 องค์กร เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การวางแผนการดูแลล่วงหน้าและเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างสุขที่ปลายทางช่วยให้ผู้ที่ต้องวางแผนเพื่อตัดสินใจว่าช่วงระยะสุดท้ายของชีวิต หากเกิดการเจ็บป่วยจะจากไปด้วยวิธีใด จึงจะทำให้คุณภาพชีวิตของเราและครอบครัวดีที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะชีวิตเป็นของพวกเราทุกคน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  • สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : จุดพลังเยาวชนอาเซียน ดึง AI เปิดค่าย ‘AYC 2025’ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ สกู๊ปพิเศษ : รู้ทันอนาคต! เตรียมเปิด ‘FUTURIUM’ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมแห่งอนาคต - ทดสอบด้านอาชีพ
  • สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก สกู๊ปพิเศษ : กาง 9 มาตรการ ‘รับมือฝน’ ปี 2568 ‘เฝ้าระวัง-คุมเข้ม’ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก
  • ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล ยกโมเดล‘หาดบางแสน’ปลอดเหล้า-บุหรี่ สู่การสร้างเครือข่ายตะวันออกบอกรักทะเล
  • สกู๊ปพิเศษ : กินเที่ยวสุดฟิน@ตะวันออก สัมผัสเสน่ห์การกิน ‘ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี’ สกู๊ปพิเศษ : กินเที่ยวสุดฟิน@ตะวันออก สัมผัสเสน่ห์การกิน ‘ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี’
  •  

Breaking News

เผชิญหน้าครั้งแรก! 'ฟิล์ม-ดีเจแมน'นัดไกล่เกลี่ยคดีหมิ่นประมาทฯ ปมเรียกเงิน 14 ล้าน

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันพุธ 2​ กรกฎาคม 2568

'แอ๊ด คาราบาว'ฟันธง! ถ้าเพื่อไทยดันทุรังสร้างกาสิโน 'พรรค-ตระกูลเจ้าปัญหา'สาปสูญแน่

ลุงพลาดท่าถูกหลานชายป่วยทางจิตกระทืบดับ หลังทะเลาะกันในวงเหล้า

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved