วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ‘สทน.-สชวท.’ลงนามความร่วมมือ  แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนิวเคลียร์มุ่งสู่มาตรฐานสากล

สกู๊ปพิเศษ : ‘สทน.-สชวท.’ลงนามความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนิวเคลียร์มุ่งสู่มาตรฐานสากล

วันอาทิตย์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. และ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สชวท. จัดพิธีลงนามความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ และพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขา “นิวเคลียร์” ให้มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาตรฐานสากล

งานดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ที่อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์
ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สทน. ลงนามร่วมกับ ผศ.ดร.บุญส่งไข่เกษ นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือ สชวท. และมีคณะผู้บริหารจากทั้งสองหน่วยงานร่วมในพิธี


รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เปิดเผยถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า สทน.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านวิจัยพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ตลอดจนมีผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ในแขนงต่างๆ สทน.จึงยินดีที่จะสนับสนุนภารกิจของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ในส่วนของการพัฒนาหลักสูตรการอบรมและกำหนดหลักเกณฑ์การทดสอบความรู้ ความสามารถที่สอดคล้องกับมาตรฐานเพื่อการขอรับใบอนุญาต สาขานิวเคลียร์ พร้อมทั้งสนับสนุนข้อมูลวิชาการ บุคลากร เครื่องมือ ตลอดจนการอบรม การบริการวิชาการที่เกี่ยวเนื่องกับด้านนิวเคลียร์

“เชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะสามารถยกระดับวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และสามารถควบคุมมิให้ผู้ที่ขาดความรู้ความสามารถเข้ามาประกอบอาชีพในสาขาวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ซึ่งหากไม่มีการควบคุมบุคคลเหล่านั้น อาจทำให้เกิดความผิดพลาดที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนและสังคมโดยรวมได้” รศ.ดร.ธวัชชัย กล่าว

สำหรับเรื่องของความร่วมมือ เป็นการร่วมมือแบบบูรณาการทางด้านวิชาการสามารถที่จะมองได้ใน 2 ประเด็นหลักๆ ประเด็นแรก คือเรื่องของการฝึกอบรม และการวางเกณฑ์กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางด้านนิวเคลียร์เพื่อให้เกิดข้อกำหนดต่างๆ เพราะฉะนั้นจะเป็นการเอาความถนัดความรู้ ความสามารถ ทั้งสองหน่วยงานนี้มาเสริมกัน แล้วในเรื่องของการขยายการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อยอดสร้างความมั่นใจให้ผู้ที่รับใบอนุญาตแล้วยังมีองค์ความรู้มีจริยธรรม มีข้อมูลต่างๆ ที่ควรจะรู้เกี่ยวกับขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการดำเนินงานทางด้านนิวเคลียร์ที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นเพราะฉะนั้นก็จะช่วยทำให้เกิดความมั่นใจในเรื่องของหลักเกณฑ์ ในเรื่องของใบรับรองวิชาชีพ ได้มาตรฐานที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด

ประเด็นที่สอง การเอาเรื่องของข้อมูลทางวิชาการและประสบการณ์ต่างๆ มาแลกเปลี่ยนกัน จะเป็นสิ่งที่ทำให้การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีมาตรฐานสูงที่สุดและเป็นประโยชน์ที่สุดกับความปลอดภัยของการทำงานในกิจกรรมนั้นๆ

ผศ.ดร.บุญส่ง ไข่เกษ นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สชวท. กล่าวว่า สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 มีหน้าที่ส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ได้มาตรฐาน รวมทั้ง ควบคุม กำกับ การประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสาขาที่อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

ทั้งนี้ ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 กำหนดให้สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมและควบคุม การประกอบวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งมีหลักประกันความก้าวหน้า ในสายวิชาชีพ ตลอดจนให้มีอำนาจในการออกระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการ ส่งเสริม พัฒนาความรู้ ทักษะ และขีดความสามารถ ให้มีมาตรฐาน ยกระดับคุณภาพการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ซึ่งอาจดำเนินการผิดพลาด ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนและสังคมโดยรวมได้ อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัย ในชีวิต และ ทรัพย์สินของประชาชน

นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีให้ทุกสาขาวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มารวมกันกำหนดทิศทางในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน พัฒนาในแนวทางเดียวกัน ก่อให้เกิดพลังทเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ปัจจุบันสภาวิชาชีพฯ มีสมาชิกประมาณ 7,000 คน มีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ ทั้งหมด 8 สาขาได้แก่ 1) สาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตราย 2) สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ 3) สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค 4) สาขานิวเคลียร์ 5) สาขาธรณีวิทยา 6) สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม 7) สาขานิติวิทยาศาสตร์ และ 8) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อนาคตก็คงจะเพิ่มขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นและเป็นประโยชน์

สำหรับสภาวิชาชีพนั้น มีเป้าหมายหลักคือเน้นความปลอดภัยชีวิตของประชาชนเป็นตัวตั้ง เทคโนโลยีนิวเคลียร์ก็เป็นหนึ่งใน 8 สาขาวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการควบคุม การลงนามความร่วมมือระหว่าง สทน. และ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ ในวันนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะวิชาการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบว่าเรามีหน่วยงานเหล่านี้ เราทำความรู้เพื่อเสริมขีดความรู้ความสามารถ และส่งเสริมศักยภาพงานด้านนี้ให้พัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยกับชีวิตทรัพย์สินของประชาชน

รศ.พล.ต.ดร.ชัยณรงค์ เชิดชู นายกสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันมีอายุ30 ปี ต้องขอบคุณนายกสภาฯที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาพวกเรานักวิทยาศาสตร์ถึงจะเป็นนิวเคลียร์ เทคโนโลยีหรือรังสีอะไรก็ตาม มีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องของแหล่งพลังงานทั้งหลาย เราคงหนีไม่พ้นที่จะพิจารณาว่าประเทศไทย สมควรที่จะมีพลังงานที่มาจากนิวเคลียร์หรือไม่ นอกเหนือจากการใช้ฟอสซิลหรือแร่อื่นๆ

และในช่วงปลายเดือนมีนาคมจะมีการจัดงานสัมมนาใหญ่ที่ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จะเข้ามาจัดสัมมนาร่วมกับทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ในฐานะที่เป็น regulator ทางสมาคมและหน่วยงานเครือข่ายอื่นทางด้านนิวเคลียร์และรังสี โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ซึ่งเราพัฒนาไปได้ไกลมากเหลือแต่ทางด้านพลังงาน ถ้าเป็นไปได้เราก็ควรผลักดันตั้งแต่ด้านบนจนถึงด้านล่าง ความหมายก็คือถึงระดับประชาชน เราก็ต้องทำงานอีกเยอะ

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้เป็นระยะเวลา3 ปี นับตั้งแต่ลงนามร่วมมือและหากเป็นผลดีต่อวิชาชีพ สาขาวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขา “นิวเคลียร์” สามารถขยายเวลาความร่วมมือออกไปทุกๆ 3 ปี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน. สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน.
  • สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ  เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

(คลิป) FCส้มเดือดพลั่ก!! บุกสภาฯ รุมสาป‘สส.กฤษฎิ์’แถลงแยกทาง‘ปชน.’ซบ'กล้าธรรม'

(คลิป) เตือน!! ข่าวลือระวังเป็นข่าวจริง 'แดง-น้ำเงิน' ตีกัน ขู่! คว่ำร่างพรบ.งยประมาณ

‘ฮั้ว สว.’บาน! ‘ดีเอสไอ’เผยพบเครือข่ายขบวนการ‘อั้งยี่ฟอกเงิน’ 1,200 รายทั่วประเทศ

‘ดูเตอร์เต’อดีตผู้นำปินส์ชนะเลือกตั้งท้องถิ่น แม้ถูกคุมตัวตามหมายจับศาลโลก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved