วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : เดินหน้าท่องเที่ยวสีเขียว ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’  กรมอุทยานแห่งชาติฯ หนุนวิจัยวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

สกู๊ปพิเศษ : เดินหน้าท่องเที่ยวสีเขียว ‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ กรมอุทยานแห่งชาติฯ หนุนวิจัยวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

วันอาทิตย์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มีความหลากหลายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคซึ่งการท่องเที่ยวของไทยถือเป็นส่วนสำคัญที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ

อย่างไรก็ตาม การเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าชมความงดงามตามธรรมชาติของพื้นที่ต่างๆ โดยไม่มีการควบคุมให้เหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืนของการท่องเที่ยว เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความตระหนัก


ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติทั่วประเทศ ถูกปิด จึงว่างเว้นจากกิจกรรมการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการฟื้นฟูตามกลไกธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์กลับมาให้เห็นอย่างชัดเจน จึงเหมาะสมที่จะรักษาสภาพที่สวยงามเช่นนี้เอาไว้

และเมื่อไม่นานมานี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมและยกระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติกลุ่มป่าแก่งกระจาน ณ อาคารศูนย์ปฏิบัติการฯ ตึก H.A.Slade กรมอุทยานแห่งชาติฯ

นายสิทธิชัย เสรีส่งแสง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวถึงทิศทางการบริหารจัดการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ กลุ่มป่าแก่งกระจาน ว่า จากข้อมูลปี 2564 กลุ่มป่าแก่งกระจานมีพื้นที่กว่า 4 พันตารางกิโลเมตร ถือเป็นป่าผืนใหญ่ที่เชื่อมต่อไปทางด้านตะวันตกติดกับป่าทะนินตายีและเชื่อมต่อกับกลุ่มป่าตะวันตกทางตอนเหนือ ซึ่งเป็นแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศที่สำคัญยิ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับนโยบายการบริหารจัดการกลุ่มป่าแก่งกระจานนั้น นายสิทธิชัยกล่าวว่า กลุ่มป่าแก่งกระจาน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ มี 92 หมู่บ้านอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ทางกรมฯ ได้เร่งรัดแก้ปัญหาที่ดินทำกินของราษฎรที่อาศัยในพื้นที่ โดยการสำรวจประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกิน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มาตรา 64 ของ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 และสำรวจประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มาตรา 121 ของ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ขับเคลื่อนโครงการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และสร้างอาชีพทางเลือก พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ในการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก ส่งเสริมกลไกการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วม

“เรื่องการท่องเที่ยวกลุ่มป่าแก่งกระจานทั้งหมด ทั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เราอยากให้มีการเชื่อมโยงกัน เพื่อคนในพื้นที่จะได้ประโยชน์ มีรายได้ที่ดีขึ้น” รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าว

ส่วนงานวิจัยการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมและยกระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติกลุ่มป่าแก่งกระจาน ที่ร่วมมือกันหลายหน่วยงานนั้น รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า เป็นการนำผลงานวิจัยที่ได้ไปสู่กระบวนการวางแผนพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมและยกระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็น
จุดเริ่มต้นการนำร่องการพัฒนา และการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการสร้างความเข้าใจ เห็นคุณค่าและความสำคัญของระบบนิเวศ

“การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon อาจไม่ต้องถึงศูนย์ แต่ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด เราไม่เน้นปริมาณนักท่องเที่ยว แต่จะเน้นการท่องเที่ยวแบบมีคุณภาพ” รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าว

พร้อมกันนี้ ยังระบุว่า ปัจจุบันมีมาตรฐานอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้กำหนดขึ้น ทั้งการจัดการขยะ การจัดการของเสียและจะเน้นเรื่อง คาร์บอนเครดิต ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) พยายามใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยาน การรีไซเคิลขยะ เพิ่มมาตรฐานการคัดแยกขยะไปรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เหลือขยะไปฝังกลบให้เหลือน้อยที่สุด

ดร.อุษารดี ภู่มาลี หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้ วัตถุประสงค์หลัก เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) และกำหนดแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการท่องเที่ยวพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติกลุ่มป่าแก่งกระจาน ประเมินการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ภูมิทัศน์ที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน บทบาทชุมชนท้องถิ่นลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยกระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“หลังจบโครงการ กรมอุทยาน สามารถนำโปรแกรมคำนวณ Carbon Footprint ไปใช้ในการวัดผลกระทบจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอุทยานแห่งชาติอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็สามารถนำข้อมูลไปใช้ในทางการตลาดส่งเสริมสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ผ่านกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวสีเขียวอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังสามารถร่วมมือกับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในการจัดงานอีเว้นท์ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว และสร้างปริมาณนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้าสู่พื้นที่” ดร.อุษารดี กล่าว

ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวถึงความโดดเด่นของการวิจัยครั้งนี้ว่า มีการเชิญภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม ถือเป็นงานที่ดีมากสำหรับผืนป่าแก่งกระจาน ซึ่งผลประโยชน์หลายภาคส่วนจะได้รับ คือการได้โปรแกรมคำนวณว่า Carbon Footprint ที่หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวสามารถนำไปใช้ได้จริง และงานวิจัยนี้เราจะได้ข้อมูลที่เป็นตัวชี้วัดที่เป็นมูลค่าเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดที่เป็นรายได้ของชุมชน ผู้ประกอบการด้วย

“ในต่างประเทศมีโปรแกรมการคำนวณ Carbon Footprint เช่น นักท่องเที่ยวจะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไหนสักแห่ง จะต้องเตรียมตัว เอาแก้วน้ำ ช้อน จาน ชามไปเอง ไม่เอาขวดน้ำพลาสติกไป เพื่อลดการใช้น้ำ การใช้ทรัพยากร รวมถึงการใช้น้ำมันการใช้รถระหว่างเดินทางท่องเที่ยว มีแพลตฟอร์มให้คำนวณ หากเราปล่อยคาร์บอนไปเท่าไหร่ นักท่องเที่ยวสามารถชดเชยด้วยการปลูกต้นไม้ ปลูกป่า ทำกิจกรรมเสริม เป็นต้น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี กล่าว

การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเรื่องที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการที่จะช่วยกันทำให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติคงอยู่สืบไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน. สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน.
  • สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ  เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

‘ฮั้ว สว.’บาน! ‘ดีเอสไอ’เผยพบเครือข่ายขบวนการ‘อั้งยี่ฟอกเงิน’ 1,200 รายทั่วประเทศ

กทม.ผลักดันระบบสุขภาพพร้อมประกาศทำเมืองเข้มแข็งขึ้น

(คลิป) 'กฤษฏิ์' สส.ชลบุรี บอกลา 'พรรคส้ม' เผย! ทัศนคติไปด้วยกันไม่ได้

‘สว.’พร้อมใจเย็บปาก! เลี่ยงตอบปมร้อนออกหมายเรียก‘ฮั้ว’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved