วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘ออนไลน์’ในมือเด็ก-เยาวชน ‘ภัย’อื้อ!..ผู้ใหญ่ต้องช่วยระวัง

สกู๊ปแนวหน้า : ‘ออนไลน์’ในมือเด็ก-เยาวชน ‘ภัย’อื้อ!..ผู้ใหญ่ต้องช่วยระวัง

วันเสาร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

วุฒิสภา ร่วมกับ สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน(สสดย.), มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และอีกหลายองค์กรจัดงานวันส่งเสริมอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ เมื่อช่วงต้นเดือนก.พ. 2566 ที่ผ่านมา พร้อมเปิดวงเสวนาสถานการณ์ปัญหาและแนวทางป้องกันแก้ไขภัยออนไลน์ โดย ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กล่าวว่า ย้อนไปเมื่อ 2 ปีก่อน เคยมีการสำรวจว่าด้วยระบบรักษาความปลอดภัยออนไลน์ของเด็กในแต่ละประเทศ มีกลุ่มตัวอย่างคัดมา 30 ประเทศและไทยอยู่รั้งท้าย

ส่วนประเทศไทยเอง เมื่อช่วงกลางปี 2565 เคยมีการสำรวจสถานการณ์ภัยออนไลน์กับเด็ก ซึ่งเด็กร้อยละ 81 มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเอง และร้อยละ 85 ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นหากมองในแง่งานวิจัย ย่อมสุ่มเสี่ยงกับภัยออนไลน์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 โดยในขณะที่การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลของไทยสูงมาก แต่การป้องกันความเสี่ยงโดยเฉพาะกับเด็กกลับมีน้อย


ซึ่งด้านหนึ่งคือความไม่พร้อมของกฎหมายและเจ้าหน้าที่แต่อีกด้านพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่เข้าใจการเลี้ยงดูเด็ก เช่น อายุยังไม่ถึง 2 ขวบ ก็ได้จับโทรศัพท์มือถือแล้ว “เด็กทุกวันนี้โตมาแบบติดมือถือก็เพราะพ่อแม่ใช้มือถือเลี้ยงลูก” ในขณะที่เพื่อนบ้านของไทยอย่างมาเลเซียหรือสิงคโปร์ มีอันดับค่อนข้างดีในมาตรการปกป้องเด็กจากความเสี่ยงทางออนไลน์ หรือฟิลิปปินส์ก็มีกฎหมายป้องกันการล่อลวงแสวงหาประโยชน์ทางเพศกับเด็ก (Grooming) โดยเฉพาะ

“กฎหมาย Grooming แค่จับผู้ต้องสงสัยแล้วเอามือถือมาดูพบว่ากำลังคุยกับเด็ก 10 คน แล้วมีข้อความในลักษณะ รักเสมออยากเจอมาก เราจะอยู่ด้วยกันได้ไหม หรือบางทีเมื่อคืนนี้ฝันถึง คำพูดที่มันสามารถวิเคราะห์เจตนาว่าถ้าเจอเด็กเมื่อไร มีโอกาสเมื่อไรต้องละเมิดทางเพศเด็กแน่นอน อันนี้ก็เป็นหลักฐานแล้วนะ ไม่ต้องรอให้มีคลิปหลุด ไม่ต้องรอให้เกิดโศกนาฏกรรม ฉะนั้นประเทศที่เขามีระบบพวกนี้ถือว่าล้ำ แล้วเขาก็ได้การประเมินระดับต้น ประเทศเราควรจะต้องคุยกันเรื่องของกฎหมายที่เท่าทันสถานการณ์” ศรีดา กล่าว

ศรีดา ยังขยายความในประเด็นการเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ใช้โทรศัพท์มือถือ ว่า เหตุที่ไม่ควรทำเพราะส่งผลให้พัฒนาการของเด็กล่าช้า เรื่องนี้เคยมีผลการศึกษาเมื่อปี 2559 ที่ทำร่วมกันระหว่างสมาคมโรงเรียนอนุบาลแห่งประเทศไทยกับกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าถึงร้อยละ 30 อาทิ ด้านการสื่อสาร การเข้าสังคม การควบคุมอารมณ์ตนเอง และอาจมีภาวะออทิสติกเทียม (มีปัญหาด้านการเรียนรู้) ทั้งหมดนี้เป็นชุดความรู้ที่สังคมยังไม่ทราบ จึงยังปล่อยให้เด็กอยู่กับโทรศัพท์มือถือ

อีกทั้งยังมีตัวอย่างใกล้ตัว เป็นลูกของคนที่รู้จักกัน ด้วยความที่ปล่อยให้ลูกอยู่กับโทรศัพท์มือถือตั้งแต่เล็กๆ เด็กก็เรียนรู้จากสื่อในโทรศัพท์มือถือ เช่น ดูการ์ตูนรูปสัตว์ต่างๆ กระทั่งวันหนึ่งเห็นลูกมีพฤติกรรมแปลกๆ คือ คลาน 4 ขาเหมือนสัตว์แทนที่จะเดิน 2 ขาเหมือนมนุษย์ และพูดจาด้วยภาษาที่ฟังไม่รู้เรื่อง ซึ่งต่อมาผู้เป็นแม่ก็ทราบว่าต้นตอเกิดจากเด็กเลียนแบบจากสื่อการ์ตูนเหล่านั้น จึงยอมที่จะใช้เวลาอยู่กับลูกมากขึ้นจากเดิมที่ไปทำงานไกลบ้านแล้วฝากลูกไว้ให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง

พญ.วนิดา เปาอินทร์ กุมารแพทย์ กล่าวว่า หากดูการศึกษาด้านสมอง จะพบว่า “เด็กเล็กฉลาดขึ้นด้วยการเคลื่อนไหว” ดังนั้นการหยุดเคลื่อนไหวโดยให้อยู่กับหน้าจอก็เป็นผลกระทบส่วนหนึ่งอยู่แล้ว เด็กเล็กนั้นเรียนรู้แบบ 3 มิติ เช่น เมื่อเรียนรู้ที่จะฝึกพูด กระบวนการจะมีทั้งการได้ยินเสียง เห็นหน้า เห็นวิธีการพูด ที่ไม่ใช่จากหน้าจอ และจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นหากมีความสุข ซึ่งเกิดขึ้นจากผู้ใหญ่ที่มีความผูกพันกันมีกิจกรรมร่วมกัน

ขณะที่ “เด็กโตเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ” เด็กโตในที่นี้หมายถึงวัยที่เข้าเรียนชั้นประถมศึกษา การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อลงมือทำแล้วบอกกับตนเองว่าทำได้ หรือแม้แต่ทำแล้วล้มเหลวก็ยังได้เรียนรู้จากความพยายาม ส่วน “วัยรุ่นพัฒนาจากการมีตัวตน”หมายถึง การรู้สึกว่าตนเองมีค่า ตนเองเป็นใครในสังคมนี้ตนเองสามารถออกจากการดูแลของพ่อแม่ได้ โดยสรุปแล้ว “เด็กคือกลุ่มเสี่ยงอย่างที่สุด (Perfect Victim) จากภัยทางอินเตอร์เนต” ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยใดก็ตาม

“ยกตัวอย่างการล่อลวงต้องใช้ความสามารถทางภาษา ฉะนั้นตัวที่จะเป็น Victim (เหยื่อ) สูงๆ จากการถูกล่อลวงก็จะเป็นกลุ่ม Teen (วัยรุ่น) กับ Pre-Teen (ก่อนวัยรุ่น) เพราะถ้าเด็กเล็กกว่านั้นจะยังไม่สื่อสารได้ขนาดนั้น จะไม่สามารถเข้าใจการล่อลวงได้ เพราะฉะนั้น Teen กับ Pre-Teen จะโดนเยอะ ทีนี้ทำไมพวกนี้ถึงเป็น Perfect Victim เพราะอันแรกคือเมื่อแสวงหาตัวตน แสวงหาความรู้สึกว่าฉันมีค่า ฉันมีคนสนใจ หน้าตาดี ผิวพรรณดี น่าจะมาโฆษณาได้ อันนี้ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกมีค่า พอให้ค่าตอบแทนก็รู้สึกว่าตัวเองหาเงินได้

มันเป็นลักษณะที่มนุษย์แสวงหาสิ่งนี้ แสวงหาการยืนได้ด้วยตัวเอง ต้องการการยอมรับ ต้องการบอกว่าตัวเองมีคุณค่าแบบไหน แล้วคนที่มาล่อลวงเด็กเขามีความสามารถ เขาเข้าใจมนุษย์ จริงๆ ถ้าเขาเป็นคนดีเขาจะทำงานตรงนี้ได้พิเศษมากๆ แต่พอเขาใช้จิตวิทยาของเขาในอีกรูปแบบหนึ่ง เขาก็จะเป็นคนเก่งมากในสิ่งที่เขาทำอยู่ ก็คือจะล่อลวงเด็กได้เยอะ” พญ.วนิดา ระบุ

พญ.วนิดา ยังกล่าวอีกว่า “สมองของมนุษย์ของก่อนวัยรุ่นและตอนเป็นวัยรุ่นเป็นช่วงที่ต้องการความสุข สนุกและตื่นเต้นเร้าใจ” จึงอธิบายได้ว่า “ทำไมเด็กหรือวัยรุ่น (หรือแม้แต่ผู้ใหญ่) จึงชอบเล่นเกม เพราะเกมสามารถตอบสนองสิ่งที่สมองต้องการได้” แต่มนุษย์ก็ต้องการการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนั้นหากไม่ควบคุมการเล่นเกมโดยตรงแต่กำหนดว่าต้องทำสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น รับประทานอาหาร พักผ่อนออกกำลังกาย ฯลฯ เวลาที่ใช้เล่นเกมก็จะลดลงไปโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ “ให้เกมเป็นส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ส่วนใหญ่ของชีวิต” เพื่อไม่ให้สมดุลการพัฒนาหายไป

อนึ่ง “สมองส่วนหน้าเกี่ยวข้องทักษะการวิเคราะห์อันตรายและการมีเหตุผล..แต่การที่มนุษย์ถูกสร้างมาให้สมองส่วนกลางโตเร็วกว่าสมองส่วนหน้านั้นก็เพราะในช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต (วัยเด็กและวัยรุ่น) หากมีความกังวลมากการเรียนรู้ก็จะด้อยลง” การโตของสมองในลักษณะนี้
จึงมีขึ้นเพื่อให้มนุษย์ฉลาดที่สุด แต่ก็ทำให้มนุษย์มีช่วงที่ปกป้องตนเองจากอันตรายได้น้อยที่สุดด้วย

ร.ต.อ.เขมชาติ ประกายหงษ์มณี ผู้อำนวยการศูนย์คดีละเมิดทางเพศเด็ก กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กล่าวว่า ในอดีตเจ้าหน้าที่สามารถเฝ้าระวังอาชญากรรมโดยเจาะจงไปเฉพาะบางจุดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง เช่น ในเมืองท่องเที่ยว กระทั่งเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลคำว่าพื้นที่เสี่ยงก็ไม่มีอีกต่อไปเพราะความเสี่ยงมีอยู่ทุกที่ อีกทั้งการก่ออาชญากรรมยังทำได้แม้จะอยู่คนละประเทศ ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงต้องมีภาคีเครือข่ายระหว่างประเทศ

“คดีแบบนี้เด็กไม่อยากจะเล่าให้ใครฟัง เนื่องจากกฎหมายสอบสวนปากคำเด็กตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะให้นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ไว้วางใจ ส่วนใหญ่ที่เด็กร้องขอผู้ไว้วางใจมักจะไม่เลือกพ่อแม่ตัวเอง ชอบเลือกพ่อแม่เพื่อนมากกว่า เหมือนเวลาไปเล่นบ้านเพื่อนแล้วเห็นว่าพ่อแม่เพื่อนใจดีแล้วชอบให้พ่อแม่เพื่อนมาฟังเรื่องที่ตัวเองตกเป็นผู้เสียหายมากกว่าพ่อแม่ตัวเอง เนื่องจากกลัวว่าพ่อแม่จะเสียใจ กลัวพ่อแม่จะดุ จะลงโทษ หลากหลายเหตุผล แต่สิ่งที่เราพบเจอคือไม่อยากให้พ่อแม่ทราบ” ร.ต.อ.เขมชาติ กล่าว

ร.ต.อ.เขมชาติ กล่าวต่อไปว่า “อาชญากรบางครั้งก็เป็นคนใกล้ชิดกับเด็ก และการถูกจับกุมดำเนินคดีก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเด็กและครอบครัวไปด้วย” เช่น เคยมีบุญคุณกันมาก่อน เป็นนายจ้าง เป็นครู หรือเป็นคนที่สนิทสนมในละแวกที่พักอาศัย ขณะเดียวกัน “อาชญากรก็มีการพัฒนากลยุทธ์” เช่น มีการพูดคุยกันในเครือข่ายว่าจะหลบเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่อย่างไร แม้ผู้กระทำผิดแต่ละคนจะไม่รู้จักกันเลยก็ตาม เพียงแต่มารวมกลุ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลเพราะมีรสนิยมเดียวกัน

เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในช่วงแรกๆ ที่ สสส. ทำงานประเด็นภัยออนไลน์ จะมองไปที่ผู้สูงอายุว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ถูกหลอกขายสินค้า แต่ก็เริ่มมองเห็นเด็กและเยาวชนใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร อย่างไรก็ตาม สสส. ไม่ได้ทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ทำงานโดยชวนคนที่อยู่ในระบบนิเวศ (Ecosystem) หรือผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ไม่ว่าภาครัฐ เอกชนหรือภาคประชาสังคม ได้มาพบเจอกันเพื่อพูดคุยหาทางออกร่วมกัน

“ความต่อเนื่องสำคัญมากๆ ไม่ว่าปีนี้เราจะให้ความสำคัญเยอะ ปีหน้าอาจจะน้อยลง แต่เราทำและทำอย่างต่อเนื่อง หลายๆ เรื่องเราไม่สามารถบอกได้ว่าวันนี้เราทุ่มทุน ปีหน้าเราหยุด มันไม่ได้ มันก็คือต้องทำอย่างต่อเนื่อง และดีใจมากที่วันนี้เห็นโลโก้ขึ้น มันไม่ใช่แค่ 2-3 ที่แล้ว มันเติบโต เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ แล้วก็อยากให้เมืองไทยเป็นเมืองที่มองเห็นเพื่อนแล้วอยากช่วยเหลือ แล้วก็ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน มองเห็นเป้าหมายชัดเจนร่วมกัน” เบญจมาภรณ์ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'ภูมิธรรม'นั่งมท.1 ปัดหวังล้างแค้น'ภท.'คดีเขากระโดง ลั่นหากไม่ผิด ก็ไม่มีใครทำอะไรได้

ยันเป็นเขตแดนไทย! ทบ.แจง Google Map ไม่มีผลด้านกฎหมาย หลังหมุดปราสาทโผล่เขมร

บุกทลายร้านชำกระทุ่มแบน! พบปืนเถื่อน บุหรี่ไฟฟ้า น้ำท่อม ยาแก้ไอ วงพนันครบครัน

พลังบวกเชิงลบ!! 'ปกรณ์วุฒิ'ต้อนรับ'ภท.' บอกทำงานสบายๆ เพราะไม่ได้อยู่กันด้วยความสมัครใจ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved